คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1255

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อเลิกบริษัท กรรมการบริษัทสามารถเป็นผู้ชำระบัญชีได้หากที่ประชุมใหญ่ยังไม่เลือกบุคคลอื่น
เมื่อที่ประชุมกรรมการบริษัทผู้คัดค้านที่1มีมติตั้งกรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีโดยข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดการตั้งผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่นการตั้งผู้ชำระบัญชีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่กรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อบริษัทเลิกกันนั้นถือว่าเป็นการชั่วคราวเมื่อมีการประชุมใหญ่ก็จะต้องเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาว่าจะควรให้กรรมการบริษัทคงเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือไม่หรือจะเลือกบุคคลอื่นแทนหาใช่ว่าจะต้องให้ที่ประชุมใหญ่รับรองก่อนจึงจะเป็นผู้ชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีจากกรรมการบริษัท: ความชอบธรรมและการอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
เมื่อที่ประชุมกรรมการบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 มีมติตั้งกรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชี โดยข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดการตั้งผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่น การตั้งผู้ชำระบัญชีจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่กรรมการบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อบริษัทเลิกกันนั้นถือว่าเป็นการชั่วคราว เมื่อมีการประชุมใหญ่ก็จะต้องเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาว่าจะควรให้กรรมการบริษัทคงเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือไม่ หรือจะเลือกบุคคลอื่นแทน หาใช่ว่าจะต้องให้ที่ประชุมใหญ่รับรองก่อนจึงจะเป็นผู้ชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อผู้ชำระบัญชี กรณีละเลยหน้าที่ตามกฎหมายห้างหุ้นส่วน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250,1253,1254 และ 1255 บัญญัติถึงหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ และตามพระราชบัญญัติ กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ พ.ศ. 2499 บัญญัติถึงความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการชำระบัญชีเป็นความผิดของผู้ชำระบัญชีมีบทลงโทษตามมาตรา 32,33 และ 35 โจทก์เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลซึ่งศาลได้พิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และตั้งให้จำเลยเป็นผู้ชำระบัญชี โจทก์มีผลประโยชน์ได้เสียในห้างหุ้นส่วนอยู่ซึ่งผลประโยชน์ของโจทก์จะได้ผลประการใดนั้นอยู่ที่ผู้ชำระบัญชีจะต้องปฏิบัติตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ให้กระทำ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีไม่กระทำการตามที่ กฎหมายบังคับไว้ดังกล่าวแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องผู้ชำระบัญชีในทางอาญาเกี่ยวแก่ความผิดต่อพระราชบัญญัตินั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้ชำระบัญชีต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราา 1250,1253,1254,1255 บัญญัติถึงหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ และตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ พ.ศ. 2499 บัญญัติถึงความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการชำระบัญชีเป็นความผิดของผู้ชำระบัญชีมีบทลงโทษตามมาตรา 32,33 และ 35 โจทก์เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลซึ่งศาลได้พิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และตั้งให้จำเลยเป็นผู้ชำระบัญชีโจทก์มีผลประโยชน์ได้เสียในห้างหุ้นส่วนอยู่ ซึ่งผลประโยชน์ของโจทก์จะได้ผลประการใดนั้นอยู่ที่ผู้ชำระบัญชีจะต้องปฏิบัติตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ให้กระทำ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีไม่กระทำการตามที่กฎหมายบังคับไว้ดังกล่าแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะฟ้องผู้ชำระบัญชีในทางอาญาเกี่ยวแก่ความผิดต่อพระราชบัญญัตินั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการแสดงรายการค่าใช้จ่ายของผู้ชำระบัญชี: ไม่จำเป็นต้องแยกรายละเอียดการจ่ายเช็คให้ตนเอง หากแสดงยอดรวมถูกต้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1255, 1270 ไม่ได้บังคับว่าผู้ชำระบัญชีต้องแสดงรายการจ่ายเช็คที่ผู้ชำระบัญชีได้ออกสั่งจ่ายให้แก่ตนเองว่า ตนได้ใช้จ่ายอย่างไรในการชำระบัญชีเป็นราย ๆ ไปทุกราย เมื่อศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ชำระบัญชีแสดงรายจ่ายรวมยอดได้ไม่จำต้องแยกยอด และบัญชีของจำเลยแสดงรายจ่ายถูกต้องแล้ว ก็ไม่มีข้อใดที่ขัดต่อกฎหมาย