พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3204/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้ร่วมกระทำผิดฐานพรากตัวเรียกค่าไถ่ แม้ไม่ได้ร่วมในการฆ่า แต่การกระทำเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกอีก 5 คนร่วมกันจับเอาตัวผู้ตายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ ระหว่างผู้ตายถูกพวกของจำเลยควบคุมตัวไว้เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่นั้น พวกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ฆ่าผู้ตายเพระาเหตุที่ผู้ตายไม่ยอมเขียนจดหมายเพื่อให้บุตรผู้ตายนำเงินมาไถ่ตัว แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้รู้เห็นในการฆ่าด้วย ก็ต้องถือว่าเนื่องด้วยการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้นเองเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3204/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดฐานร่วมกันพยายามข่มขืนและฆ่าผู้อื่น แม้ไม่ได้ลงมือเอง แต่การกระทำเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกอีก 5 คนร่วมกันจับเอาตัวผู้ตายไป เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ ระหว่างผู้ตายถูกพวกของจำเลยควบคุมตัวไว้เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่นั้น พวกของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ฆ่าผู้ตายเพราะเหตุที่ผู้ตายไม่ยอมเขียนจดหมาย เพื่อให้บุตรผู้ตายนำเงินมาไถ่ตัว แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้รู้เห็นในการฆ่าด้วย ก็ต้องถือว่าเนื่องด้วยการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้นเองเป็นเหตุให้ ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การฟ้องเรียกค่าเสียหายหลังนิติสัมพันธ์สิ้นสุดนานกว่า 10 ปี ศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำนิติกรรมให้โจทก์โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ รู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของรัฐบาลแล้วยังขืนทำการโอนให้โจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ถูกผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ฟ้องขับไล่ ศาลฎีกาพิพากษาขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาท ทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับ เมื่อคดีฟังข้อเท็จจริงได้ว่า นับแต่วันที่โจทก์ทำนิติกรรมซื้อที่ดินพิพาทจนถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลเป็นเวลาห่างกันถึง 21 ปี และโจทก์เพิ่งยื่นฟ้องคดีนี้ภายหลังจากที่โจทก์ได้ฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนแล้วถึง 2 ปีเศษ คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการจดทะเบียนที่ดินผิดพลาดเกิน 10 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำพินัยกรรมให้โจทก์โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ รู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของรัฐบาลแล้วยังขืนทำการโอนให้โจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ถูกผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ฟ้องขับไล่ ศาลฎีกาพิพากษาขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาท ทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความเรื่องละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับ เมื่อคดีฟังข้อเท็จจริงได้ว่า นับแต่วันที่โจทก์ทำนิติกรรมซื้อที่ดินพิพาทจนถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลเป็นเวลาห่างกันถึง 21 ปี และโจทก์เพิ่งยื่นฟ้องคดีนี้ภายหลังจากที่โจทก์ได้ฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนแล้วถึง 2 ปีเศษ คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องสัญญาจ้าง: ข้อตกลงในสัญญาเหนือมาตรา 601
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้าง ตามที่โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากันไว้ เป็นเรื่องฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างธรรมดาซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 601 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องตรวจสอบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คอย่างระมัดระวัง หากพบความแตกต่างมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายเงิน และต้องรับผิดต่อความเสียหายหากจ่ายเงินผิดพลาด
ธนาคารจำเลยเป็นผู้รับฝากเงินเป็นอาชีพโดยหวังผลประโยชน์ในบำเหน็จค่าฝาก หรือจากการเอาเงินฝากของผู้ฝากไปแสวงหาประโยชน์ มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องใช้ความระมัดระวังและความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษตรวจสอบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายว่าเหมือนลายมือที่ให้ตัวอย่างไว้กับจำเลยหรือไม่ หากเห็นว่าลายมือชื่อสั่งจ่ายใบเช็คพิพาทไม่เหมือนตัวอย่างที่ให้ไว้ จำเลยก็ชอบที่จะปฏิเสธการจ่ายเงิน ฉะนั้น การที่จำเลยได้จ่ายหรือหักบัญชีเงินฝากของโจทก์ให้บุคคลอื่นไปจึงถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเช็คปลอม ผู้รับฝากต้องใช้ความระมัดระวังตรวจสอบลายมือชื่อ
ธนาคารจำเลยเป็นผู้รับฝากเงินเป็นอาชีพโดยหวังผลประโยชน์ในบำเหน็จค่าฝาก หรือจากการเอาเงินฝากของผู้ฝากไปแสวงหาประโยชน์ได้ มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องใช้ความระมัดระวังและความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษตรวจสอบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายว่าเหมือนลายมือชื่อที่ให้ตัวอย่างไว้กับจำเลยหรือไม่ หากเห็นว่าลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาทไม่เหมือนตัวอย่างที่ให้ไว้ จำเลยก็ชอบที่จะปฏิเสธการจ่ายเงิน ฉะนั้นการที่จำเลยได้จ่ายหรือหักบัญชีเงินฝากของโจทก์ให้บุคคลอื่นไปจึงถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการไถ่ถอนจำนองและการคิดดอกเบี้ย ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์เรื่องดอกเบี้ยตามสัญญา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจำเลยเป็นฝ่ายฎีกา โจทก์มิได้ฎีกาแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกาว่าโจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปี ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มดอกเบี้ยให้โจทก์หาได้ไม่ เพราะไม่มีคำขอและคำฟ้องฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย, อายุความภาษีอากร, การรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 29,30 ได้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลแล้ว กล่าวคือให้โอกาสแก่ผู้เสียภาษีปฏิบัติได้เป็นขั้นตอนเมื่อผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินก็ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วผู้เสียภาษียังไม่เห็นด้วยก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ จำนำคดีมาฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีต่อศาลโดยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามวิธีการดังกล่าวเสียก่อนหาได้ไม่
จำเลยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของตนตามประมวลกฎรัษฎากรมาตรา 50 และต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่จะต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนกังาน จำเลยจึงต้องผูกพันเป็นลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานทำการประเมินโดยผลแห่งบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินไม่ชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเพราะลูกจ้างมีเงินรายได้พึงประเมินแต่ละปีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ค่าภาษีอากรประจำปี พ.ศ.2508 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ภายในเดือนมีนาคม 2509 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น เจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ลูกหนี้รับผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 จึงเป็นการใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์เด็ดขาด ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
จำเลยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของตนตามประมวลกฎรัษฎากรมาตรา 50 และต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่จะต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนกังาน จำเลยจึงต้องผูกพันเป็นลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานทำการประเมินโดยผลแห่งบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินไม่ชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเพราะลูกจ้างมีเงินรายได้พึงประเมินแต่ละปีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ค่าภาษีอากรประจำปี พ.ศ.2508 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ภายในเดือนมีนาคม 2509 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น เจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ลูกหนี้รับผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 จึงเป็นการใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์เด็ดขาด ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของนายจ้าง & อายุความเรียกร้องหนี้ภาษี กรณีล้มละลาย
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 29,30 ได้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลแล้ว กล่าวคือให้โอกาสแก่ผู้เสียภาษีปฏิบัติได้เป็นขั้นตอนเมื่อผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินก็ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วผู้เสียภาษียังไม่เห็นด้วยก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ จะนำคดีมาฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีต่อศาลโดยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามวิธีการดังกล่าวเสียก่อนหาได้ไม่
จำเลยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของตนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 และต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่จะต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงาน จำเลยจึงต้องผูกพันเป็นลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานทำการประเมินโดยแห่งบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่อาจยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินไม่ชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเพราะลูกจ้างมีเงินรายได้พึงประเมินแต่ละปีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ค่าภาษีอากรประจำปี พ.ศ. 2508 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ภายในเดือนมีนาคม 2509 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น เจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ลูกหนี้รับผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 จึงเป็นการใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลจึงจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
จำเลยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของตนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 และต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่จะต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงาน จำเลยจึงต้องผูกพันเป็นลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานทำการประเมินโดยแห่งบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่อาจยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินไม่ชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเพราะลูกจ้างมีเงินรายได้พึงประเมินแต่ละปีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ค่าภาษีอากรประจำปี พ.ศ. 2508 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ภายในเดือนมีนาคม 2509 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น เจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ลูกหนี้รับผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 จึงเป็นการใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลจึงจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ