พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การด่าด้วยคำหยาบคายระหว่างทะเลาะวิวาท ไม่ถือเป็นความผิดดูหมิ่นซึ่งหน้า
การที่จำเลยทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นและต่างคนต่างด่ากันว่า อีเหี้ย ดังนี้การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การด่าด้วยคำหยาบคายในขณะทะเลาะวิวาท ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า
การที่จำเลยทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นและต่างคนต่างด่ากันว่า อีเหี้ย ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่การขายฝาก: แม้เลยกำหนด แต่หากโจทก์มีความพร้อมและจำเลยจงใจทำให้ไม่สามารถไถ่ได้ ถือว่าใช้สิทธิทันเวลา
โจทก์มีเงินแต่ยังเบิกไม่ได้เพราะเป็นวันหยุดราชการรุ่งขึ้นไม่ได้ไถ่ขายฝากเพราะจำเลยว่าหนังสือสัญญาอยู่ที่อื่นให้มาไถ่วันหลังถือว่าโจทก์ใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338-339/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าของนิติบุคคล แม้หยุดประกอบกิจการ แต่ยังไม่จดทะเบียนเลิกห้าง ยังมีอำนาจฟ้องร้องได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้เช่าตึกพิพาททำการค้าโจทก์อยู่ในตึกในฐานะบุคคลธรรมดาดูแลรักษาทรัพย์สินแทนห้าง เป็นบริวารของห้างแม้นานกว่า 10 ปี ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเป็นสัญญาเช่าขึ้นได้ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้ทำการค้ามากว่า 10 ปี แต่ไม่ได้ชำระบัญชีจดทะเบียนเลิกห้างยังมีสภาพนิติบุคคลและฟ้องขับไล่ผู้โต้แย้งสิทธิการเช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญา, การคืนสู่ฐานะเดิม, และการชดใช้ค่าก่อสร้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391
โจทก์ทำสัญญาตกลงกับจำเลย ให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์และตึกแถวลงในที่ดินของโจทก์ด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเองโดยโจทก์ต้องยอมให้จำเลยเช่ามีกำหนด 20 ปี จำเลยผิดสัญญาในการก่อสร้างตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยโดยชอบแล้ว ดังนี้ สัญญาและข้อผูกพันต่าง ๆ ในสัญญาก่อสร้างต้องสิ้นสุดลงจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเช่าหรือครอบครองโรงภาพยนตร์และตึกแถวตามสัญญานั้นอีกต้องคืนที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้โจทก์ส่วนโจทก์ก็ต้องชดใช้ค่าก่อสร้างอันเป็นผลงานที่จำเลยสร้างลงไปให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จำกัดเฉพาะการสั่งตามที่กฎหมายกำหนด ไม่สามารถสั่งจ่ายค่าชดเชยนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติ
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ข้อ 75 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ที่ว่า "เมื่อได้รับคำร้องกล่าวหาตามข้อ 74 แล้ว ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับคำร้องกล่าวหา และถ้าปรากฏว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อ 70 ข้อ 71 ข้อ 72 หรือข้อ 73 ให้สั่งเป็นหนังสือให้ผู้ถูกกล่าวหา กระทำหรืองดเว้นกระทำตามควรแก่กรณีโดยให้นำข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" นั้น เป็นการให้อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้ผู้ถูกกล่าวหากระทำหรืองดเว้นกระทำตามควรแก่กรณี หมายถึงการให้กระทำหรืองดเว้นกระทำในเรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหากำลังก่อความเดือดร้อนหรือความเสียหายให้แก่ผู้ร้องเรียนอยู่ตามที่ระบุไว้ในข้อ 70 ข้อ 71 ข้อ 72 หรือข้อ 73
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาจ่ายค่าชดเชยอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515
ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าคำสั่งที่ 11/2517 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2517 ของจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นคำสั่งที่ชอบแต่เพียงบางส่วนก็ควรพิพากษาชี้ขาดไปเพียงนั้น ไม่ควรจะพิพากษาบังคับให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยแก่ (ลูกจ้าง) นายวิชัยกับพวกรวม 22 คน ตามคำชี้ขาดข้อ 1 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายอีกเพราะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาจ่ายค่าชดเชยอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515
ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าคำสั่งที่ 11/2517 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2517 ของจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นคำสั่งที่ชอบแต่เพียงบางส่วนก็ควรพิพากษาชี้ขาดไปเพียงนั้น ไม่ควรจะพิพากษาบังคับให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยแก่ (ลูกจ้าง) นายวิชัยกับพวกรวม 22 คน ตามคำชี้ขาดข้อ 1 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายอีกเพราะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จำกัดเฉพาะการสั่งการตามกฎหมายที่มีอยู่ ไม่สามารถสั่งจ่ายค่าชดเชยนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ข้อ 75 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ที่ว่า"เมื่อได้รับคำร้องกล่าวหาตามข้อ 74 แล้ว ให้คณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์พิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ รับคำร้องกล่าวหา และถ้าปรากฏว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อ 70 ข้อ 71 ข้อ 72 หรือ ข้อ 73 ให้สั่งเป็นหนังสือให้ผู้ถูกกล่าวหา กระทำหรืองดเว้นกระทำตามควรแก่กรณีโดยให้นำข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" นั้น เป็นการให้อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้ผู้ถูกกล่าวหากระทำหรืองดเว้นกระทำตามควรแก่กรณีหมายถึงการให้กระทำหรืองดเว้นกระทำในเรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหากำลังก่อความเดือดร้อน หรือความเสียหายให้แก่ผู้ร้องเรียนอยู่ตามที่ระบุไว้ในข้อ 70 ข้อ 71 ข้อ 72 หรือข้อ 73
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ ผู้ถูกกล่าวหาจ่ายค่าชดเชยอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515
ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าคำสั่งที่ 11/2517 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2517 ของจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นคำสั่งที่ชอบแต่เพียงบางส่วนก็ควรพิพากษาชี้ขาดไปเพียงนั้น ไม่ควรจะพิพากษาบังคับให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยแก่ (ลูกจ้าง) นายวิชัยกับพวกรวม 22 คน ตามคำชี้ขาดข้อ 1 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายอีกเพราะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ ผู้ถูกกล่าวหาจ่ายค่าชดเชยอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515
ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าคำสั่งที่ 11/2517 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2517 ของจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นคำสั่งที่ชอบแต่เพียงบางส่วนก็ควรพิพากษาชี้ขาดไปเพียงนั้น ไม่ควรจะพิพากษาบังคับให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยแก่ (ลูกจ้าง) นายวิชัยกับพวกรวม 22 คน ตามคำชี้ขาดข้อ 1 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายอีกเพราะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2708/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโอนที่ดินตามคำพิพากษาศาล: ไม่จำเป็นต้องใช้ น.ส.3 ฉบับผู้ถือ หากศาลมีคำสั่งให้ถือคำพิพากษาเป็นเจตนา
ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72 ที่บัญญัติให้คู่กรณีนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น หมายถึงคู่กรณีที่มีความประสงค์จะขอทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยปกติธรรมดา จึงต้องนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับผู้ถือมาจดทะเบียน มิใช่กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาชี้ขาดให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของคู่กรณีที่ไม่ยอมมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
การที่ศาลพิพากษาให้ บ. โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของ บ. เมื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขอจดทะเบียนที่ดิน โดยถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของ บ. ดังนี้ แม้โจทก์ไม่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ฉบับผู้ถือไปแสดงเพราะบ. ผู้มีชื่อใน น.ส.3 ไม่ยอมมาจดทะเบียนให้ จำเลยก็ชอบที่จะจดทะเบียนให้ตามคำพิพากษานั้น
การที่ศาลพิพากษาให้ บ. โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของ บ. เมื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขอจดทะเบียนที่ดิน โดยถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของ บ. ดังนี้ แม้โจทก์ไม่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ฉบับผู้ถือไปแสดงเพราะบ. ผู้มีชื่อใน น.ส.3 ไม่ยอมมาจดทะเบียนให้ จำเลยก็ชอบที่จะจดทะเบียนให้ตามคำพิพากษานั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขเงินเพิ่มภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 26 โดยคำนึงถึงเจตนาผู้เสียภาษี
ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับการเสียเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 26 ได้(อ้างฎีกาที่ 989-993/2498) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจประเมินและวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มขึ้น 2 เท่า ของจำนวนเงินภาษีอากร ดังนี้ เมื่อได้ความว่าโจทก์มีเจตนาจะเสียภาษีเงินได้ของตนให้น้อยลงกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมายโดยผลักภาระการเสียภาษีเงินได้ของตนให้บริษัทที่ตนตั้งขึ้นเป็นผู้ชำระแทนมิได้ตั้งใจจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีเงินได้เสียทีเดียว ศาลย่อมมีอำนาจให้โจทก์เสียเงินเพิ่มเพียง 1 เท่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติที่ปรึกษาผู้ถือหุ้นขัดต่อ กม.แพ่งฯ และการลงชื่อนัดประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การประชุมใหญ่ที่ปรึกษาเรื่องนอกระเบียบวาระ มติซึ่งผู้ถือหุ้นลงมติให้จ่ายเงินใช้หนี้ซึ่งตนเป็นเจ้าหนี้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175,1185 ผู้ชำระบัญชีลงชื่อนัดประชุมแต่คนเดียวอีกคนหนึ่งไม่รู้เห็นด้วย ขัดต่อ มาตรา 1261 ผู้ถือหุ้นยื่นคำร้องต่อศาลให้เพิกถอนได้ตาม มาตรา 1195