พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างของรายละเอียดการทำร้ายในฟ้อง กับข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา ไม่ทำให้ศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยใช้มือชกทำร้ายผู้เสียหายถูกที่ขอบตาขวาถึงบาดเจ็บ ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยชกต้นคอผู้เสียหายไม่ถึงบาดเจ็บ และใช้สันขวานตีถูกที่ขอบตาของผู้เสียหายถึงบาดเจ็บ ดังนี้ เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดที่โจทก์ต้องกล่าวบรรยายในฟ้อง อันเป็นข้อแตกต่างมิใช่ในข้อสารสำคัญ และจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้เพราะจำเลยให้การปฏิเสธ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: ศาลพลเรือนต้องถือข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาศาลทหาร
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลพลเรือนจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 54 เมื่อศาลทหารพิพากษาชี้ขาดข้อเท็จจริงแล้วว่าพยานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ว่าประมาท ข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ผู้เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาของศาลทหาร การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งใหม่ว่าจำเลยที่ 1 ประมาททำให้โจทก์เสียหาย ศาลจะรับฟังตามที่โจทก์นำสืบหาได้ไม่ เพราะขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ประมาททำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2985/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาศาลทหารในคดีแพ่ง: ศาลพลเรือนต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลทหารวินิจฉัย
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลพลเรือนจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 54 เมื่อศาลทหารพิพากษาชี้ขาดข้อเท็จจริงแล้วว่าพยานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ว่าประมาทข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ผู้เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาของศาลทหารการที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งใหม่ว่าจำเลยที่ 1 ประมาททำให้โจทก์เสียหาย ศาลจะรับฟังตามที่โจทก์นำสืบหาได้ไม่ เพราะขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าวเมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ประมาททำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2685/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามฆ่าด้วยวัตถุระเบิดกำลังอ่อน ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษจาก 80 เป็น 81 จำเลยฎีกาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีวัตถุระเบิดไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 38,74 ให้จำคุก 2 ปี กระทงหนึ่ง และมีความผิดฐานพยายามฆ่า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 ให้จำคุก 10 ปี อีกกระทงหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะความผิดฐานพยายามฆ่า เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 81 ให้จำคุก 4 ปี ดังนี้ ข้อหาฐานมีวัตถุระเบิดฯ ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ส่วนข้อหาฐานพยายามฆ่านั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก จำเลยจึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าลูกระเบิดที่จำเลยขว้างผู้เสียหายนั้นเป็นลูกระเบิดชนิดรา้ยแรงเพียงใดหรือไม่ แต่ปรากฏบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับทั้ง ๆ ที่ผู้เสียหายอยู่ตรงจุดระเบิดนั้นเองว่า มีบาดแผลเพียง 4 แห่งคือ 1. บริเวณกกหูขวา หูขวา และใบหน้าแถบขวา แผลจุดแดงเล็ก ๆ ทั่วบริเวณและผิวหนังแดงพอง 2. บริเวณคอแถบขวาแผลยาว 1.5 เซนติเมตร2 แห่ง รอบแผลบวมแดง 3. สะบักขวาผิวหนังขาดกว้าง 4 เซนติเมตร ยวา 4 เซนติเมตร ลึก 0.5 เซนติเมตร รอบแผลบวมมาก และบริเวณเดียวกันมีแผลยาว 2 เซนติเมตร 3 แห่ง รอบ ๆ แผลมีจุดแดง ๆ เล็ก ๆ ทั่วไป ผิวหนังพอง 4. เนื้อไหม้เป็นวงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้วฟุต ผู้เสียหายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 1 คืน รุ่งขึ้นแพทย์ก็ให้กลับบ้านได้ เพียงแต่ให้ไปรักษาบาดแผลที่โรงพยาบาลอีกเท่านั้น ดังนี้ แสดงว่าวัตถุระเบิดนั้นมีกำลังอ่อน ไม่อาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ แม้จำเลยมีเจตนาฆ่า แต่การกระทำของจำเลยไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,81หาใช่มาตรา 288,80 ไม่
ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าลูกระเบิดที่จำเลยขว้างผู้เสียหายนั้นเป็นลูกระเบิดชนิดรา้ยแรงเพียงใดหรือไม่ แต่ปรากฏบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับทั้ง ๆ ที่ผู้เสียหายอยู่ตรงจุดระเบิดนั้นเองว่า มีบาดแผลเพียง 4 แห่งคือ 1. บริเวณกกหูขวา หูขวา และใบหน้าแถบขวา แผลจุดแดงเล็ก ๆ ทั่วบริเวณและผิวหนังแดงพอง 2. บริเวณคอแถบขวาแผลยาว 1.5 เซนติเมตร2 แห่ง รอบแผลบวมแดง 3. สะบักขวาผิวหนังขาดกว้าง 4 เซนติเมตร ยวา 4 เซนติเมตร ลึก 0.5 เซนติเมตร รอบแผลบวมมาก และบริเวณเดียวกันมีแผลยาว 2 เซนติเมตร 3 แห่ง รอบ ๆ แผลมีจุดแดง ๆ เล็ก ๆ ทั่วไป ผิวหนังพอง 4. เนื้อไหม้เป็นวงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้วฟุต ผู้เสียหายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 1 คืน รุ่งขึ้นแพทย์ก็ให้กลับบ้านได้ เพียงแต่ให้ไปรักษาบาดแผลที่โรงพยาบาลอีกเท่านั้น ดังนี้ แสดงว่าวัตถุระเบิดนั้นมีกำลังอ่อน ไม่อาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ แม้จำเลยมีเจตนาฆ่า แต่การกระทำของจำเลยไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,81หาใช่มาตรา 288,80 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าแต่ทำไม่สำเร็จ วัตถุระเบิดมีกำลังอ่อน ศาลลดโทษจากพยายามฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ความพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 38, 74 ให้จำคุก 2 ปี กระทงหนึ่ง และมีความผิดฐานพยายามฆ่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 ให้จำคุก 10 ปี อีกกระทงหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะความผิดฐานพยายามฆ่า เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 81 ให้จำคุก 4 ปี ดังนี้ ข้อหาฐานมีวัตถุระเบิดฯ ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ส่วนข้อหาฐานพยายามฆ่านั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก จำเลยจึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าลูกระเบิดที่จำเลยขว้างผู้เสียหายนั้นเป็นลูกระเบิดชนิดร้ายแรงเพียงใดหรือไม่ แต่ปรากฏบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับทั้งๆ ที่ผู้เสียหายอยู่ตรงจุดระเบิดนั้นเองว่า มีบาดแผลเพียง 4 แห่ง คือ 1.บริเวณกกหูขวา หูขวา และใบหน้าแถบขวา แผลจุดแดงเล็กๆ ทั่วบริเวณและผิดหนังแดงพอง 2.บริเวณคอแถบขวาแผลขาว 1.5 เซนติเมตร 2 แห่ง รอบแผลบวมแดง 3.สะบักขวาผิดหนังขาดกว้าง 4 เซนติเมตร ยาว 4 เซนติเมตร ลึก 0.5 เซนติเมตร รอบแผลบวมมาก และบริเวณเดียวกันมีแผลยาว 2 เซนติเมตร 3 แห่ง รอบๆ แผลมีจุดแดงๆ เล็ก ทั่วไป ผิวหนังพอง 4. เนื้อไหม้เป็นวงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้วฟุต ผู้เสียหายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 1 คืน รุ่งขึ้นแพทย์ก็ให้กลับบ้านได้ เพียงแต่ให้ไปรักษาบาดแผลที่โรงพยาบาลอีกเท่านั้น ดังนี้ แสดงว่าวัตถุระเบิดนั้นมีกำลังอ่อน ไม่อาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ แม้จำเลยมีเจตนาฆ่า แต่การกระทำของจำเลยไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 81 หาใช่มาตรา 288, 80 ไม่
ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าลูกระเบิดที่จำเลยขว้างผู้เสียหายนั้นเป็นลูกระเบิดชนิดร้ายแรงเพียงใดหรือไม่ แต่ปรากฏบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับทั้งๆ ที่ผู้เสียหายอยู่ตรงจุดระเบิดนั้นเองว่า มีบาดแผลเพียง 4 แห่ง คือ 1.บริเวณกกหูขวา หูขวา และใบหน้าแถบขวา แผลจุดแดงเล็กๆ ทั่วบริเวณและผิดหนังแดงพอง 2.บริเวณคอแถบขวาแผลขาว 1.5 เซนติเมตร 2 แห่ง รอบแผลบวมแดง 3.สะบักขวาผิดหนังขาดกว้าง 4 เซนติเมตร ยาว 4 เซนติเมตร ลึก 0.5 เซนติเมตร รอบแผลบวมมาก และบริเวณเดียวกันมีแผลยาว 2 เซนติเมตร 3 แห่ง รอบๆ แผลมีจุดแดงๆ เล็ก ทั่วไป ผิวหนังพอง 4. เนื้อไหม้เป็นวงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้วฟุต ผู้เสียหายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 1 คืน รุ่งขึ้นแพทย์ก็ให้กลับบ้านได้ เพียงแต่ให้ไปรักษาบาดแผลที่โรงพยาบาลอีกเท่านั้น ดังนี้ แสดงว่าวัตถุระเบิดนั้นมีกำลังอ่อน ไม่อาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ แม้จำเลยมีเจตนาฆ่า แต่การกระทำของจำเลยไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 81 หาใช่มาตรา 288, 80 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการต่ออายุใบอนุญาตโรงงานแปรรูปไม้และการพิจารณาตามอำนาจ
จำเลยไม่ต่ออายุใบอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ให้โจทก์ได้ตามอำนาจหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 58 ฉบับที่ 5พ.ศ.2518 มาตรา 23 โดยพิจารณาเห็นสมควรเช่นนั้นไม่จำต้องสั่งพักใบอนุญาตก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ฉบับแก้ไขต่อคดีอาญา: การยกฟ้องจากเหตุขออนุญาตภายในเก้าสิบวัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานปล้นทรัพย์และร่วมกันมีอาวุธปืนฯ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องในข้อหาปล้นทรัพย์ และยกฟ้องโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 ในข้อหามีอาวุธปืนฯ โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 2 มิได้ฎีการะหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ออกมาใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 3 บัญญัติความว่า ผู้มีอาวุธปืนฯซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตถ้าได้นำมาขอรับอนุญาตภายในกำหนดเก้าสิบวันผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ฉะนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับโทษ
แม้ข้อหาฐานมีอาวุธปืนฯ สำหรับจำเลยที่ 2 จะยุติในชั้นอุทธรณ์แล้วก็ตาม แต่คดีของจำเลยที่ 2 ก็ยังไม่ถึงที่สุด จึงต้องนำพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานนี้เช่นกัน
แม้ข้อหาฐานมีอาวุธปืนฯ สำหรับจำเลยที่ 2 จะยุติในชั้นอุทธรณ์แล้วก็ตาม แต่คดีของจำเลยที่ 2 ก็ยังไม่ถึงที่สุด จึงต้องนำพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานนี้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายใหม่ที่มีผลเป็นคุณแก่จำเลยในคดีอาญา แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ โจทก์ฎีกา ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 ออกใช้บังคับ พระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้พระราชบัญญัตินี้มาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาขึ้นมา เมื่อคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา และมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ต้องรับโทษ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายยกเว้นโทษอาวุธปืนใหม่มีผลย้อนหลัง ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้อง แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯโจทก์ฎีกา ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ออกใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้พระราชบัญญัตินี้มาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาขึ้นมา เมื่อคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา และมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ต้องรับโทษ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานจากสายตำรวจ: การรับฟังคำให้การของผู้ที่ไม่ใช่ผู้ต้องหา
คำของผู้ซึ่งมิใช่ผู้ต้องหา แต่เป็นสายให้กับตำรวจฟังเป็นพยานได้