พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดี: การยอมรับของจำเลยทำให้ไม่ต้องนำสืบเอกสารมอบอำนาจ แม้เอกสารไม่สมบูรณ์
โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ฟ้องคดีนี้แทนตามใบมอบอำนาจท้ายฟ้อง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้จึงถือว่าจำเลยยอมรับว่า ส. ได้รับมอบอำนาจที่ถูกต้องตามใบมอบอำนาจนั้นจริง ทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้สงสัยว่าเป็นการมอบอำนาจที่ไม่ถูกต้อง คดีจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีนี้จริง ไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบในข้อนี้ โจทก์จึงไม่ต้องส่งใบมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานต่อศาลอีก ฉะนั้น แม้ใบมอบอำนาจนี้จะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อการรับฟังข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้โต้แย้งว่า ส. มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินกู้: เริ่มนับเมื่อผิดนัดชำระดอกเบี้ย แม้สัญญาจะกำหนดวันใช้เงินต้นในภายหลัง
โจทก์ให้จำเลยกู้เงิน สัญญากู้ข้อ 3 กำหนดให้ใช้ต้นเงินคืนวันที่ 4 มิถุนายน 2508 สัญญาข้อ 4 กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ทุกเดือน และในสัญญาข้อ 6 มีความว่า "แม้ว่าข้าพเจ้า (จำเลย) ประพฤติผิดสัญญานี้แต่ข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ยอมให้ท่าน (โจทก์) ฟ้องร้องเรียก6 นี้ ถ้าจำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยในเดือนใด นับแต่วันนั้นโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินคืนได้แล้ว ไม่จำต้องรอจนครบกำหนดวันใช้ต้นเงินคืนตามสัญญาข้อ 3 จำเลยผิดนัดไม่นำดอกเบี้ยมาชำระให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 4กรกฎาคม 2507 โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้และดอกเบี้ยในวันที่ 9 กันยายน 2517 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้องอาญา – ความผิดกรรมเดียวแต่กฎหมายหลายบท – การลงโทษเกินคำฟ้อง
คำฟ้องข้อ 1 ข. ได้บรรยายถึงการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงเจ้าทรัพย์และคนอื่น ๆ ซึ่งมิใช่เจ้าทรัพย์ตายเพื่อสะดวกในการปล้นและเพื่อปกปิดการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289,340,340 ตรี เช่นนี้เป็นฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบทเท่านั้น แม้ทางพิจารณาหากจะได้ความว่าจำเลยทำผิดหลายกรรม ศาลจะลงโทษ จำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปไม่ได้ เพราะเกินคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้องอาญา: การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท vs. หลายกรรมเป็นกระทง
คำฟ้องข้อ 1 ข. ได้บรรยายถึงการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงเจ้าทรัพย์และคนอื่น ๆ ซึ่งมิใช่เจ้าทรัพย์ตายเพื่อสะดวกในการปล้นและเพื่อปกปิดการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289, 340, 340 ตรี เช่นนี้เป็นฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบทเท่านั้นแม้ทางพิจารณาหากจะได้ความว่าจำเลยทำผิดหลายกรรม ศาลจะลงโทษจำคุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปไม่ได้ เพราะเกินคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการฟ้องแย่งการครอบครองที่เกินกำหนดอายุความ
สามีโจทก์เคยครอบครองที่พิพาทและแจ้งการครอบครองไว้ ต่อมาสามีโจทก์ย้ายไปรับราชการที่จังหวัดอื่นแล้วถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2504 ครั้น พ.ศ. 2507 จำเลยได้เข้าทำที่พิพาทเป็นสวนสาธารณะและดูแลรักษาตลอดมา โจทก์เพิ่งทราบถึงที่ตั้งของที่พิพาทเมื่อ พ.ศ. 2513 ดังนี้ การที่จำเลยได้เข้าไปทำที่พิพาทให้เป็นสวนสาธารณะและดูแลรักษาตลอดมานั้น ถือได้ว่าโจทก์ถูกจำเลยแย่งการครอบครองในที่พิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 แล้ว โจทก์จึงต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองเสียภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์เพิ่งฟ้องคดีเมื่อปี 2513 จึงหมดสิทธิ์ที่จะฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองในที่พิพาทดังที่บัญญัติไว้ในวรรคสองของมาตรา 1375
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2519
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2519
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย่งการครอบครอง: การเข้าทำประโยชน์สวนสาธารณะถือเป็นการแย่งการครอบครอง
สามีโจทก์เคยครอบครองที่พิพาทและแจ้งการครอบครองไว้ ต่อมาสามีโจทก์ย้ายไปรับราชการที่จังหวัดอื่นแล้วถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2504 ครั้น พ.ศ. 2507 จำเลยได้เข้าทำที่พิพาทเป็นสวนสาธารณะและดูแลรักษาตลอดมาโจทก์เพิ่งทราบถึงที่ตั้งของที่พิพาทเมื่อ พ.ศ. 2513 ดังนี้ การที่จำเลยได้เข้าไป ทำที่พิพาทให้เป็นสวนสาธารณะและดูแลรักษาตลอดมานั้น ถือได้ว่าโจทก์ ถูกจำเลยแย่งการครอบครองในที่พิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 แล้ว โจทก์จึงต้องฟ้อง เอาคืนซึ่งการครอบครองเสียภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองโจทก์เพิ่งฟ้องคดีเมื่อปี 2513 จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองในที่พิพาทดังที่บัญญัติไว้ในวรรคสองของมาตรา 1375หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2519
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสุรานอกเวลา แม้ไม่ได้ระบุใบอนุญาตในคำฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยฟ้องสมบูรณ์ได้หากมีข้อเท็จจริงแสดงการกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาปรากฏตามบันทึกคำฟ้องประกอบกับหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจาว่า เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2518 เวลา 01.30 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาที่ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยได้บังอาจจำหน่ายสุราแม่โขงและเบียร์ให้ ส. และ ว. โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ศาลชั้นต้นมิได้บันทึกความที่ว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตขายสุราไว้ก็ตาม ก็ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทใดประเภทหนึ่งระหว่างประเภทที่ 3 ถึงประเภทที่ 6 ตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 จึงจะต้องห้ามมิให้ขายสุรานอกเหนือเวลาที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 253 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 2 กำหนดไว้ หากจำเลยมิใช่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขายสุราตามความในกฎหมายว่าด้วยสุรา จำเลยก็ขายสุราไม่ได้เลยไม่ว่าภายในหรือนอกเวลาที่กำหนด ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำหน่ายสุรานอกเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้ไม่มีรายละเอียดในคำฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำฟ้องครบองค์ประกอบความผิด
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาปรากฏตามบันทึกคำฟ้องประกอบกับหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจาว่า เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2518 เวลา 01.30 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาที่ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยได้บังอาจจำหน่ายสุราแม่โขงและเบียร์ให้ ส.และว. โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ศาลชั้นต้นมิได้บันทึกความที่ว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตขายสุราไว้ก็ตาม ก็ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทใดประเภทหนึ่งระหว่างประเภทที่ 3 ถึงประเภทที่ 6 ตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 จึงจะต้องห้ามมิให้ขายสุรานอกเหนือเวลาที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 253 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 2 กำหนดไว้ หากจำเลยมิใช่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขายสุราตามความในกฎหมายว่าด้วยสุรา จำเลยก็ขายสุราไม่ได้เลย ไม่ว่าภายในหรือนอกเวลาที่กำหนด ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาโอนสิทธิ์เช่า: เงินค่าตอบแทนไม่ใช่เงินผ่อนทุน แต่เป็นผลประโยชน์จากการทำสัญญา ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิ์การเช่าตึกแถวซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างในที่ดินของผู้อื่นให้แก่จำเลย เพื่อเป็นค่าตอบแทน จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งโดยจ่ายบางส่วนในวันทำสัญญา และในวันเข้าอยู่ในตึกแถว ส่วนที่เหลือตกลงแบ่งชำระกันเป็น 2 งวด งวดแรกชำระแล้ว คงค้างชำระงวดหลังซึ่งนานเกิน 5 ปีแล้ว ดังนี้ เงินตามสัญญาที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์นั้นเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ยอมตกลงทำสัญญาให้จำเลยได้รับโอนสิทธิ์การเช่าตึกแถวซึ่งตามปกติธรรมดาแล้วจำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ทั้งหมด แต่เพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้จำเลย จึงได้ทำสัญญาเป็นแบ่งงวดชำระ จำนวนเงินดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ที่โจทก์ควรจะได้รับจากการที่ยอมให้จำเลยเข้าทำสัญญาเช่าตึกแถว มิใช่เงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนโดยตรงเป็นงวด ๆ และไม่ใช่การเรียกเอาเงินค้างจ่าย เช่น เงินปี เงินเดือนหรือเงินอื่น ๆ ที่เป็นทำนองเดียวกันที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิ์เรียกร้องที่กำหนดอายุความไว้ 5 ปี ตามความในมาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิ์เรียกร้องของโจทก์เข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะเป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัญญาเช่าและการโอนสิทธิเช่า: สิทธิเรียกร้องลักษณะสัญญาต่างตอบแทนมีอายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกแถวซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างในที่ดินของผู้อื่นให้แก่จำเลย เพื่อเป็นค่าตอบแทน จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งโดยจ่ายบางส่วนในวันทำสัญญาและในวันเข้าอยู่ในตึกแถวส่วนที่เหลือตกลงแบ่งชำระกันเป็น 2 งวด งวดแรกชำระแล้ว คงค้างชำระงวดหลังซึ่งนานเกิน 5 ปีแล้ว ดังนี้เงินตามสัญญาที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์นั้นเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ยอมตกลงทำสัญญาให้จำเลยได้รับโอนสิทธิการเช่าตึกแถวซึ่งตามปกติธรรมดาแล้วจำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ทั้งหมด แต่เพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้จำเลย จึงได้ทำสัญญาเป็นแบ่งงวดชำระ จำนวนเงินดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ที่โจทก์ควรจะได้รับจากการที่ยอมให้จำเลยเข้าทำสัญญาเช่าตึกแถว มิใช่เงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนโดยตรงเป็นงวดๆ และไม่ใช่การเรียกเอาเงินค้างจ่าย เช่น เงินปีเงินเดือน หรือเงินอื่นๆ ที่เป็นทำนองเดียวกันที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิเรียกร้องที่กำหนดอายุความไว้ 5 ปี ตามความในมาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะเป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164