คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิสัณห์ ลีตเวทย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 503 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างติดกัน: สิทธิของเจ้าของที่ดินและหน้าที่ในการป้องกันความเสียหาย
ตึกของโจทก์และจำเลยอยู่ห่างกัน 2 เมตร 50 เซนติเมตรช่องว่างระหว่างตึกเป็นที่ดินของจำเลย จำเลยจึงชอบที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินของจำเลยได้ การที่ฝาผนังตึกของโจทก์ชิดกับเขตที่ดินของจำเลยนี้ โจทก์ย่อมคาดหมายได้ว่าฝาผนังตึกของโจทก์ต้องมีสภาพเป็นกำแพงรั้วกั้นเขตที่ดินโจทก์และจำเลย เป็นธรรมดาที่การวางสิ่งของของจำเลยในที่ดินของจำเลยอาจจะไปติดกับฝาผนังตึกของโจทก์ได้ การที่จำเลยใช้ประโยชน์จากฝาผนังตึกนี้โดยไม่ปรากฏว่าทำให้โจทก์เสียหายประการใด จึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
เมื่อฝาผนังตึกของโจทก์สูงกว่าอาคารของจำเลย จึงเป็นธรรมดาที่น้ำฝนจากหลังคาและฝาผนังตึกของโจทก์ย่อมจะไหลลงไปสู่ทรัพย์สินของจำเลย ทำให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายโจทก์จะต้องจัดการป้องกันหรือแก้ไข แต่โจทก์มิได้จัดการฉะนั้น การที่จำเลยพอกปูนซีเมนต์เชื่อมหลังคาของจำเลยกับผนังตึกของโจทก์จึงเป็นการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดขึ้นแก่จำเลย หาใช่จำเลยใช้สิทธิไม่สุจริตมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 และ 340 ตรี โดยต้องลงโทษทั้งสองบท
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี เป็นเหตุให้รับโทษหนักขึ้นมิใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากศาลลงโทษจำเลยตาม มาตรา 340 ตรีซึ่งเป็นบทหนักเท่านั้นไม่ได้ต้องลงโทษตาม มาตรา 340,340 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1830/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าร้าง: การยินยอมให้แยกอยู่เพื่อหลบหนี้สิน ไม่ถือเป็นการละทิ้งร้าง
การที่จำเลย (ภริยา) หลบหนี้สินไปอยู่ที่อื่นโดยโจทก์ (สามี) ยินยอมทั้งจำเลยเป็นฝ่ายเลี้ยงดูบุตรตลอดมา และระหว่างนั้นจำเลยไปหาโจทก์ก็ถูกภริยาใหม่ของโจทก์ไล่กลับนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงร่วมออกค่าใช้จ่าย-การคืนเงิน: ไม่เป็นความผิดอาญา แต่เป็นเรื่องแพ่ง
โจทก์ทั้งสามกับพวกและจำเลยมีสัญญาตกลงกันให้จำเลยไปติดต่อกับการไฟฟ้าฯให้ต่อไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน โดยโจทก์ทั้งสามกับพวกและจำเลยรวม 9 คน ได้ช่วยกันออกค่าใช้จ่ายคนละเท่า ๆ กัน และเมื่อต่อไฟฟ้าเข้ามาใช้ในหมู่บ้านได้สำเร็จ หากมีชาวบ้านมาขอต่อใช้ไฟฟ้าภายหลังก็จะเรียกเก็บเงินเอามาคืนให้โจทก์ทั้งสามกับพวกและจำเลยรวมทั้ง 9 คน ดังนี้ เงินที่จำเลยเรียกเก็บจากชาวบ้านที่ขอต่อไฟฟ้าในภายหลัง เป็นเงินที่ชาวบ้านมอบให้จำเลยซึ่งเป็นคนละส่วนกันแล้วแต่ชาวบ้านจะมาติดต่อโจทก์ทั้งสามจะมีสิทธิได้เงินดังกล่าวหรือไม่นั้นก็โดยอาศัยสัญญาที่มีอยู่ต่อกันเท่านั้น หากจำเลยไม่นำเงินมาเฉลี่ยให้โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะเรียกร้องเอาแก่จำเลยในทางแพ่ง หามีมูลความผิดทางอาญาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาทำสัญญาซื้อขายที่ดิน: การกระทำของคู่สัญญาหลังหมดกำหนด มิถือเป็นการผิดสัญญา
กำหนดเวลาทำสัญญาซื้อขายใน 7 วัน นับแต่วันในสัญญาจองที่ดิน แต่หลังจากนั้นผู้ขายยังขอย้ายผู้ซื้อเข้าอยู่บ้านอื่นและให้ผู้ซื้อทำใบมอบอำนาจรับโอนและจำนองที่ดินอีก ไม่เป็นการถือวันที่กำหนดตามสัญญาจองเป็นสำคัญ ผู้ขายถือเป็นเหตุเลิกสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดกแม้พ้นอายุความ หากทายาทครอบครองแทนกัน
ระหว่างจัดการมรดก ทายาทที่ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน ย่อมถือได้ว่าครอบครองแทนทายาทอื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1368,1745,1748 ทายาทอื่นหรือผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นตัวแทนของทายาททั้งปวงย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเพื่อจัดการแบ่งปันต่อไปได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การช่วยเหลือผู้ต้องหา – ความผิดตาม ม.189 เจ้าพนักงานไม่จำเป็นต้องแจ้งข้อหา
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 นั้น เจ้าพนักงานผู้ติดตามจับกุมผู้กระทำผิดหาจำต้องแจ้งแก่ผู้ให้ที่พำนักซ่อนเร้นทราบว่าผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดได้กระทำความผิดฐานใด เพียงแต่แจ้งให้ทราบว่าบุคคลที่ตนให้ที่พำนักซ่อนเร้นเป็นผู้กระทำผิดก็พอแล้ว ส่วนจะเป็นความผิดฐานใดนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องและนำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดช่วยเหลือผู้กระทำผิด: เจ้าพนักงานไม่ต้องแจ้งรายละเอียดความผิด เพียงแจ้งว่าเป็นผู้กระทำผิด
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 นั้น เจ้าพนักงานผู้ติดตามจับกุมผู้กระทำผิดหาจำต้องแก่ผู้ให้ที่พำนักซ่อนเร้นทราบว่าผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องหาว่า กระทำความผิดได้กระทำความผิดฐานใด เพียงแต่แจ้งให้ทราบว่าบุคคลที่ตนให้ที่พำนักซ่อนเร้นเป็นผู้กระทำผิดก็พอแล้ว ส่วนจะเป็นความผิดฐานใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องและนำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าที่จำเลยไม่ทราบฟ้องและข้อบกพร่องของหนังสือยินยอมหย่า ทำให้สัญญาหย่าไม่สมบูรณ์
โจทก์รู้ที่อยู่ของจำเลยดี แต่หลีกเลี่ยงไม่ให้จำเลยทราบฟ้องโจทก์จำเลยแสดงเหตุที่ขาดนัดให้การและพิจารณา และชี้แจงในคำขอพิจารณาใหม่ว่าหนังสือหย่าทำผิดแบบ เป็นรายละเอียดที่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วหนังสือยินยอมหย่ามีพยานลงลายมือชื่อคนเดียวไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 1498 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกวดราคาที่ไม่ผูกพันสัญญา หากตกลงรายละเอียดไม่ได้ ผู้เสนอราคาต่ำสุดไม่จำเป็นต้องได้สัญญา
จำเลยประกาศแจ้งการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารของจำเลยโจทก์ยื่นซองประกวดราคาโดยเสนอราคาต่ำกว่ารายอื่น เมื่อปรากฏตามประกาศแจ้งการประกวดราคาของจำเลยดังกล่าวว่าจำเลยทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเลือกจ้างผู้ประกวดราคารายใดก็ได้ หาจำต้องว่าจ้างผู้เสนอราคาต่ำสุดเสมอไปไม่ประกอบกับการที่ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้เจรจา แต่ตกลงกันไม่ได้ในรายละเอียดการก่อสร้างและกำหนดการจ่ายค่าจ้าง จึงยังมิได้ทำสัญญากัน ดังนี้ จึงหามีผลผูกพันให้จำเลยต้องยอมให้โจทก์เข้าทำการก่อสร้างอาคารโดยไม่ต้องทำสัญญากันไม่และจะถือว่า จำเลยทำผิดสัญญาหาได้ไม่
โจทก์ยื่นซองประกวดราคาโดยเสนอราคา 9,250,000 บาทต่ำกว่ารายอื่น แม้จำเลยจะมีเงินทุนที่จดทะเบียนไว้เพียง 1 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าจำเลยจะได้เงินค่าก่อสร้างล่วงหน้าจากผู้มาสั่งจองซื้ออาคารถึง 80 คูหา ๆ ละประมาณสองแสนบาท และจำเลยสามารถเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารได้ในวงเงิน 5 ล้านบาท แสดงว่าจำเลยมีเงินพอชำระค่าก่อสร้างให้โจทก์ และมีเจตนาที่จะทำการก่อสร้างจริงๆ ไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาไม่สุจริตโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายเหตุที่ไม่มีการทำสัญญากันเพราะตกลงกันไม่ได้ในรายละเอียดจำเลยจึงหาได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่
of 51