คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 ม. 72

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231-3233/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐในการจัดซื้อที่ดิน – ประมาทเลินเล่อและผลประโยชน์ทับซ้อน
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินให้ทางราชการว่า 'การจัดซื้อควรติดต่อโดยตรงกับเจ้าของที่ดินด้วย' นั้น คำว่า 'ควร' ไม่ได้หมายความว่า ผู้มีหน้าที่จัดซื้อที่ดินไม่จำต้องติดต่อโดยตรงกับเจ้าของที่ดินทุกรายเสมอไป เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดซื้อที่ดินย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันรักษาประโยชน์ของรัฐมิให้เกิดเสียหาย เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์ในการเป็นนายหน้าเสนอขายที่ดินให้แก่ทางราชการ โดยที่ตนเองมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
แม้จำเลยจะถูกฟ้องในคดีอาญาข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินโดยมิชอบและทุจริต และมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีส่วนอาญาให้ยกฟ้องแล้วก็ ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจึงเป็นข้อเท็จจริงคนละประเด็นต่างหากจากคดีอาญา ศาลมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำโดยประมาทนั้นได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231-3233/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เจ้าหน้าที่รัฐในการจัดซื้อที่ดินต้องระมัดระวัง ป้องกันความเสียหายจากการซื้อขายที่ไม่สุจริต
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินให้ทางราชการว่า "การจัดซื้อควรติดต่อโดยตรงกับเจ้าของที่ดินด้วย" นั้น คำว่า "ควร" ไม่ได้หมายความว่า ผู้มีหน้าที่จัดซื้อที่ดินไม่จำต้องติดต่อโดยตรงกับเจ้าของที่ดินทุกรายเสมอไป เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดซื้อที่ดินย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันรักษาประโยชน์ของรัฐมิให้เกิดเสียหาย เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์ในการเป็นนายหน้าเสนอขายที่ดินให้แก่ทางราชการโดยที่ตนเองมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
แม้จำเลยจะถูกฟ้องในคดีอาญาข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินโดยมิชอบและทุจริต และมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีส่วนอาญาให้ยกฟ้องแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจึงเป็นข้อเท็จจริงคนละประเด็นต่างหากจากคดีอาญาศาลมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำโดยประมาทนั้นได้ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของข้าราชการต่อความเสียหายจากเงินถูกยักยอก กรณีละเลยคำสั่งและหน้าที่
กรณีข้าราชการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เงินของทางราชการถูกยักยอกไป อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รับทราบรายงานการสอบสวนว่าจำเลยต้องรับผิด
คำสั่งทางราชการมิให้นายอำเภอเก็บเงินไว้เกิน 8,000 บาท ถ้าเกินให้นายอำเภอหรือผู้รักษาการแทนนำส่งจังหวัดแต่ถ้าติดราชการจะนำส่งเองไม่ได้ก็ให้ตั้งกรรมการอำเภออย่างน้อย 2 นาย คุมเงินไปส่งได้ จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอ ได้เก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนด จำเลยที่ 1 ติดราชการจึงสั่งตั้งกรมการอำเภอ 3 นาย คุมเงินไปส่งจังหวัดโดยระบุชัดว่าต้องร่วมกันระวังรักษาและห้ามมิให้แยกย้ายจากกันตลอดเวลาที่เงินอยู่ในความรับผิดชอบแต่จำเลยที่ 2 ซึ่งขณะนั้นรักษาการแทนนายอำเภอได้มอบเงินให้กรมการอำเภอเพียง 2 นาย คุมเงินไปส่งเพราะกรมการอำเภออีก 1 นายนั้นติดราชการแต่ก็ได้ให้ตำรวจอีก 2 นาย ร่วมทางไปด้วย ในการส่งเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการคุมเงินไปด้วยกลับนั่งรออยู่นอกห้องสรรพากรและห้องคลังจังหวัด ปล่อยให้กรรมการอีก 1 นายเอาเงินเข้าไปส่งผู้เดียว เป็นเหตุให้กรรมการผู้นั้นทำลายใบนำส่งและเขียนขึ้นใหม่เป็นนำเงินส่งน้อยกว่าจำนวนที่รับมอบมาแล้วยักยอกเอาเงินที่เหลือไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดฐานละเมิดเพราะจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 มาตรา71,72,79 ความเสียหายจึงได้เกิดขึ้นส่วนจำเลยที่ 1 ถึงแม้จะฝ่าฝืนคำสั่งเก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนด แต่ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นในตอนนั้น และจำเลยที่ 1,2 ก็ได้สั่งการไปโดยชอบแล้ว ในการคุมเงินไปส่งจำเลยที่ 1,2 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการ กรณีประมาทเลินเล่อในการรักษาเงินของทางราชการและการปฏิบัติตามคำสั่ง
กรณีข้าราชการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เงินของทางราชการถูกยักยอกไป อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รับทราบรายงานการสอบสวนว่าจำเลยต้องรับผิด
คำสั่งทางราชการมิให้นายอำเภอเก็บเงินไว้เกิน 8,000 บาท ถ้าเกิน ให้นายอำเภอหรือผู้รักษาการแทนนำส่งจังหวัด แต่ถ้าติดราชการจะนำส่งเองไม่ได้ ก็ให้ตั้งกรรมการอำเภออย่างน้อย 2 นาย คุมเงินไปส่งได้ จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอได้เก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนดจำเลยที่ 1 ติดราชการจึงสั่งตั้งกรมการอำเภอ 3 นายคุมเงินไปส่งจังหวัดโดยระบุไว้ชัดว่าต้องร่วมกันระวังรักษาและห้ามมิให้แยกย้ายจากกันตลอดเวลาที่เงินอยู่ในความรับผิดชอบ แต่จำเลย ที่ 2 ซึ่งขณะนั้นรักษาแทนนายอำเภอได้ มอบเงินให้กรมการอำเภอเพียง 2 นาย คุมเงินไปส่งเพราะกรมการอำเภออีก 1 นาย นั้นติดราชการแต่ก็ได้ให้ตำรวจอีก 2 นายร่วมทางไปด้วย ในการส่งเงิน จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการคุมเงินไปด้วยกลับนั่งรออยุ่นอกห้องสรรพกรและห้องคลังจังหวัด ปล่อยให้กรรมการอีก 1 นายเอาเข้าไปส่งแต่เพียงผู้เดียว เป็นเหตุให้กรรมการผู้นั้นทำลายในนำส่งและเขียนขึ้นมาใหม่ เป็นนำเงินส่งน้อยกว่าจำนวนที่รับมอบมา แล้วยักยอกเอาเงินที่เหลือไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดฐานละเมิดเพราะจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอผู้บังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2497 มาตรา 71, 72, 79 ความเสียหายจึงได้เกิดขึ้น ส่วนจำเลยที่ 1 ถึงแม้จะฝ่าฝืนคำสั่งเก็บเงินไว้เกินจำนวนที่กำหนด แต่ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้นในตอนนั้น และจำเลยที่ 1,2 ก็ได้สั่งการไปโดยชอบแล้ว ในการคุมเงินไปส่งจำเลยที่ 1, 2 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย