คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 204

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,956 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงเปลี่ยนแปลงกำหนดส่งมอบงานและการใช้ดุลพินิจศาลในการลดเบี้ยปรับ
แม้หนังสือสัญญาว่าจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ฉบับพิพาทจะได้กำหนดให้ทำเฟอร์นิเจอร์ส่งมอบแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2532 แต่ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้รับจ้างกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างก็ได้ตกลงเลื่อนกำหนดวันส่งมอบงานออกไปเป็นให้ส่งมอบงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเดิมเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนั้นจำเลยที่ 1 จะอ้างว่าโจทก์ส่งมอบงานล่าช้าโดยถือว่าโจทก์ผิดสัญญาก่อนวันที่ 5สิงหาคม 2533 หาได้ไม่
โจทก์ได้ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วว่าหากทำไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ก็จะยอมให้ปรับ โดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ผ่อนผันโดยไม่ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการส่งมอบล่าช้าหรือไม่แล้วเสร็จตามสัญญาเดิมคู่สัญญาต่างมีเจตนาระงับกันไปโดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาอีกต่อไปจนกว่าจะล่วงพ้นวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนทั้งหมดแล้วในวันที่ 10 กันยายน 2533 ล่าช้าไปจากวันที่ 5สิงหาคม 2533 เป็นระยะเวลา 35 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็มิได้โต้แย้ง เท่ากับว่าโจทก์ผิดสัญญาเพียง 35 วัน ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดปรับรายวันรวม 35 วันมาจึงชอบแล้ว
เบี้ยปรับถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามข้อตกลงศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาส่งมอบงานและการคิดค่าปรับ: การตกลงแก้ไขสัญญาย่อมมีผลเหนือกว่าข้อกำหนดเดิม
แม้หนังสือสัญญาว่าจ้างทำเฟอร์นิเจอร์ฉบับพิพาทจะได้กำหนดให้ทำเฟอร์นิเจอร์ส่งมอบแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2532 แต่ต่อมาโจทก์ ในฐานะผู้รับจ้างกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างก็ได้ตกลงเลื่อนกำหนดวันส่งมอบงานออกไปเป็นให้ส่งมอบงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอากำหนดตามสัญญาเดิม เป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนั้น จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าโจทก์ ส่งมอบงานล่าช้าโดยถือว่าโจทก์ผิดสัญญาก่อนวันที่ 5สิงหาคม 2533 หาได้ไม่ โจทก์ได้ตกลงทำสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วว่าหากทำไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 สิงหาคม 2533 ก็จะยอมให้ปรับโดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ผ่อนผันโดยไม่ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการส่งมอบล่าช้าหรือไม่แล้วเสร็จตามสัญญาเดิมคู่สัญญาต่างมีเจตนาระงับกันไปโดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดสัญญาอีกต่อไปจนกว่าจะล่วงพ้นวันที่ 5 สิงหาคม2533 ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนทั้งหมดแล้วในวันที่ 10 กันยายน 2533 ล่าช้าไปจากวันที่5 สิงหาคม 2533 เป็นระยะเวลา 35 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1ก็มิได้โต้แย้ง เท่ากับว่าโจทก์ผิดสัญญาเพียง 35 วันที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดปรับรายวันรวม 35 วัน มาจึงชอบแล้ว เบี้ยปรับถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา แต่ก็มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามข้อตกลง ศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4379/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยปริยาย เนื่องจากการต่างฝ่ายต่างไม่พร้อมชำระหนี้
โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินมีโฉนด เนื้อที่ประมาณ3,400 ตารางวา ในราคา 18,360,000 บาท มีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องถมที่ดินทั้งแปลง ทำถนนลาดยางเข้าสู่ที่ดินจนถึงหน้าที่ดินที่จะซื้อขาย ปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้า 3 สายจนถึงหน้าที่ดินที่จะซื้อขาย แบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อขายออกเป็น6 โฉนด และจดทะเบียนภาระจำยอมทางเดินเพื่อให้ที่ดินที่แบ่งแยกมีทางออกสู่ทางสาธารณะและมีข้อตกลงอื่นอีก ส่วนโจทก์จะชำระราคาส่วนที่เหลือในวันนัดไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากโจทก์ผิดนัดยอมให้จำเลยทั้งสองริบเงินมัดจำแต่ถ้าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัด จำเลยยอมคืนเงินมัดจำและยอมให้โจทก์ปรับเป็นเงิน3,672,000 บาท ในวันครบกำหนดที่โจทก์และจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา จำเลยมิได้ปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้าเข้าไปยังที่ดินที่จะซื้อขายกันไว้ตามสัญญา และจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมทางเดินเพื่อให้ที่ดินที่แบ่งแยกออกไปมีทางออกสู่ถนนสาธารณะ และในวันนัดไปจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยต่างก็ไม่พร้อมที่จะปฏิบัติชำระหนี้ตามสัญญาสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทั้งสองต่างมีหนี้ที่จะชำระเป็นการตอบแทนกัน เมื่อโจทก์ไม่พร้อมที่จะชำระหนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ และเมื่อต่างฝ่ายต่างมิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ อีกฝ่ายหนึ่งจึงหาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ แต่การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยคืนมัดจำและชำระค่าปรับตามสัญญา โดยมิได้เรียกร้องให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญา และจำเลยให้การต่อสู้ว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยมิได้ฟ้องแย้งให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือถือว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันจำเลยต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4379/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การไม่พร้อมชำระหนี้ของทั้งสองฝ่ายทำให้สัญญาเลิกกันโดยปริยาย
โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินมีโฉนดเนื้อที่ประมาณ 3,400 ตารางวา ในราคา 18,360,000 บาท มีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องถมที่ดินทั้งแปลง ทำถนนลาดยางเข้าสู่ที่ดินจนถึงหน้าที่ดินที่จะซื้อขาย ปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้า 3 สายจนถึงหน้าที่ดินที่จะซื้อขาย แบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อขายออกเป็น 6 โฉนด และจดทะเบียนภาระจำยอมทางเดินเพื่อให้ที่ดินที่แบ่งแยกมีทางออกสู่ทางสาธารณะและมีข้อตกลงอื่นอีก ส่วนโจทก์จะชำระราคาส่วนที่เหลือในวันนัดไปจด ทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากโจทก์ผิดนัดยอมให้จำเลยทั้งสองริบเงินมัดจำแต่ถ้าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัด จำเลยยอมคืนเงินมัดจำและยอมให้โจทก์ปรับเป็นเงิน 3,672,000 บาท ในวันครบกำหนดที่โจทก์และจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจำเลยมิได้ปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้าเข้าไปยังที่ดิน ที่จะซื้อขายกันไว้ตามสัญญา และจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมทางเดินเพื่อให้ที่ดินที่แบ่งแยกออกไปมีทางออกสู่ถนนสาธารณะ และ ในวันนัดไปจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา ทั้งฝ่ายโจทก์ และฝ่ายจำเลย ต่างก็ไม่พร้อมที่จะปฏิบัติชำระหนี้ตามสัญญา จะซื้อขายที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทั้งสองต่างมีหนี้ที่จะชำระเป็นการตอบแทนกัน เมื่อโจทก์ไม่พร้อมที่จะชำระหนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ และเมื่อต่างฝ่ายต่างมิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ อีกฝ่ายหนึ่งจึงหาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ แต่การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยคืนมัดจำและชำระค่าปรับตามสัญญา โดยมิได้เรียกร้องให้บังคับจำเลย ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญา และจำเลยให้การ ต่อสู้ว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยมิได้ฟ้องแย้งให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือถือว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันจำเลยต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวการและตัวแทนในการชำระหนี้จากการซื้อสินค้าของราชการ แม้มีอายุความแต่มีการรับว่าจะชำระหนี้
โจทก์กล่าวในฎีกาเพียงว่า จำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อสินค้าและได้รับสินค้าไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในราชการเรียบร้อยแล้ว จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงให้ชัดแจ้งในฎีกาว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะตัวแทนจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ตามฟ้องฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจตระเวณชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อพัสดุของใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 ซึ่งเป็นส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่ 1เมื่อปรากฏว่าการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงาน หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้จัดซื้อการสั่งซื้อสินค้าของกองกำกับการตำรวจตระเวณชายแดนที่ 32 เป็นการสั่งการตามลำดับการบังคับบัญชาคือ ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้างเป็นการทำแทนหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ดังนั้น การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ก็เท่ากับทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดต่อโจทก์นับตั้งแต่วันครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยของหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดซื้อจัดจ้างแทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 จัดซื้อสินค้าเพื่อใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยใช้งบประมาณที่จำเลยที่ 1 จัดสรรมาให้เป็นรายปี ส่วนการที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จัดซื้อสินค้าโดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 และระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการมอบอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้าง ฉบับที่ 14 พ.ศ.2528 ก็เป็นเรื่องผิดระเบียบภายในวงราชการของจำเลยที่ 1 ซึ่งผู้ปฏิบัติผิดระเบียบต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 1 อีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากภาระที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3ก่อขึ้นแก่โจทก์
แม้หนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อขาดอายุความไปแล้ว แต่ต่อมาจำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือรับว่าจะชำระหนี้ทั้งหมดให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 192 เดิม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการหาอาจยกเหตุการขาดอายุความนั้นขึ้นอ้างเพื่อบอกปัดการชำระหนี้ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนซื้อสินค้าไม่ตรงตามระเบียบ ราชการต้องรับผิดชอบหนี้, การรับสภาพหนี้ทำให้ขาดอายุความ
โจทก์กล่าวในฎีกาเพียงว่า จำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อสินค้าและได้รับสินค้าไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในราชการเรียบร้อยแล้ว จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงให้ชัดแจ้งในฎีกาว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะตัวแทนจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ตามฟ้องฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3 ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อพัสดุของใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 ซึ่งเป็นส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่ 1เมื่อปรากฏว่าการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้จัดซื้อการสั่งซื้อสินค้าของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นการสั่งการตามลำดับการบังคับบัญชาคือ ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้างเป็นการทำแทนหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ก็เท่ากับทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดต่อโจทก์นับตั้งแต่วันครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยของหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดซื้อจัดจ้างแทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 จัดซื้อสินค้าเพื่อใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยใช้งบประมาณที่จำเลยที่ 1 จัดสรรมาให้เป็นรายปี ส่วนการที่จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จัดซื้อสินค้าโดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. 2521 และระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการมอบอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้าง ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2528ก็เป็นเรื่องผิดระเบียบภายในวงราชการของจำเลยที่ 1ซึ่งผู้ปฏิบัติผิดระเบียบต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 1อีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากภาระที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 ก่อขึ้นแก่โจทก์ แม้หนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อขาดอายุความไปแล้ว แต่ต่อมาจำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือรับว่าจะชำระหนี้ทั้งหมดให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 เดิมจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการหาอาจยกเหตุการขาดอายุความนั้นขึ้นอ้างเพื่อบอกปัดการชำระหนี้ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้สัญญาเงินกู้และการบังคับจำนอง การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ตามสัญญากู้ยืม จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใด ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันที โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนด-สัญญา พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฎิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญ จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว
แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง โดยจำเลยที่ 1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม และการบอกกล่าวบังคับจำนอง การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ตามสัญญากู้ยืม จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใด ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันที โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดสัญญา พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองโดยจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้วเมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้สัญญากู้ยืม โจทก์มีสิทธิบอกกล่าวบังคับจำนองและคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่1มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือนหากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใดถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนปรากฏว่าจำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืมแต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่1โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่1ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดสัญญาพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่1ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่1ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่1ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองโดยจำเลยที่1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนองจำเลยที่2และที่3ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวจึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้วเมื่อจำเลยที่1ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่1ชำระหนี้ดังกล่าวครบกำหนดแล้วจำเลยที่1เพิกเฉยต้องถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามสัญญากู้จำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ13ต่อปีและอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ1ต่อปีและหากจำเลยที่1ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ21ต่อปีดังนี้เมื่อจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ21ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีมูลค่าเพิ่มหลังพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 สิทธิในการเลือกเสียภาษีและดอกเบี้ยผิดนัด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นสัญญาให้บริการที่โจทก์ได้ทำกับจำเลยซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล โดยสัญญานั้นได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535และมีงานให้บริการตามสัญญาส่วนที่เหลือที่จะต้องปฎิบัติตามสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2535 ต่อไปอีก โจทก์จึงมิได้รับยกเว้นที่จะยังคงเสียภาษีการค้าต่อไปสำหรับค่าตอบแทนจากการให้บริการหลังวันที่ 1 มกราคม 2535 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมีหน้าที่ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น กรณีที่ได้มี พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 249) พ.ศ.2535 ซึ่งประกาศใช้ในภายหลังได้บัญญัติไว้มาตรา 3 ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งป.รัษฎากร ที่ได้ยื่นซองประกวดราคาหรือให้บริการกับกระทรวงทบวงกรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 ในการที่จะเลือกเสียภาษีการค้าตามบทบัญญัติหมวด 4 ภาษีการค้า ในลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ.2534 หรือเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น พ.ร.ฎ.ดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องใช้สิทธิเลือกเสียภาษีการค้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดระยะเวลาเท่าใดและวิธีการอย่างไร ที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือน กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน และกรกฎาคม2535 ก็ได้ความว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์ ได้หักภาษีการค้ารวมทั้งภาษีบำรุงท้องถิ่น จากเงินที่จ่ายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 4 และ 5 กุมภาพันธ์2535 สำหรับงานงวดที่ 14, 18 และ 19 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 สำหรับงานงวดที่ 17, 20 และ 21 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2535 สำหรับงานงวดที่ 2,25 และ 26 โดยจำเลยได้ออกใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้โจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรที่จำเลยหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งอำเภอท้องที่จากกรมสรรพากรแล้ว เช่นนี้ การยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือนภาษีกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน และกรกฎาคม 2535 ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาเลือกชำระภาษีการค้าสำหรับรายรับค่าบริการ (ค่าก่อสร้าง)ตาม พ.ร.ฎ.ออกความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 249) พ.ศ.2535 แต่การที่โจทก์มีหนังสือขอแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มถึงจำเลย ฉบับลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤศจิกายน2535 และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวแก่กรมสรรพากร ตามแบบแสดงการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างที่รับจากจำเลยผู้รับบริการตามมาตรา 82/4 แห่งป.รัษฎากร แต่จำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 12 ถึง 14 งวดที่ 17ถึง 30 และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค) สำหรับงานงวดที่ 10, 22, 25และ 26 ให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ชำระดังกล่าวจากจำเลย
ค่าก่อสร้างตามสัญญามีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่เพราะใบเสนอราคาของโจทก์ที่เสนอต่อจำเลยในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารได้ระบุว่ามีค่าภาษีรวมอยู่ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าก่อสร้างที่โจทก์คิดจากจำเลยมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แต่ในเวลาทำสัญญาจ้างคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่าจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ที่ให้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้บังคับแทนภาษีการค้า จึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในค่าก่อสร้าง แต่ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 79 ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิตภาษีด้วย เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นมาหักออกจากค่าจ้างก่อนที่จะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ดีเมื่อค่าจ้างดังกล่าวมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วย ทั้งโจทก์ก็มีสิทธิได้รับภาษีดังกล่าวนี้คืนจากกรมสรรพากร เพื่อความเป็นธรรม จึงให้นำภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 คงให้จำเลยรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงร้อยละ 3.7 ของยอดเงินค่าจ้าง
สำหรับค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค)เป็นค่าชดเชยที่ส่วนราชการจ่ายให้แก่ผู้ประกอบการตามมติคณะรัฐมนตรีในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาหรือขาดแคลน ไม่ใช่ค่าชดเชยที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79 วรรคสาม (2) แห่ง ป.รัษฎากร ค่าชดเชยดังกล่าวจึงยังถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับค่าชดเชยดังกล่าวจากจำเลย ทั้งนี้โดยไม่หักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 ออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ก่อนคำนวณ เพราะค่าจ้างปรับราคาดังกล่าวมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์เสนอแก่จำเลยตั้งแต่ต้นจึงไม่มีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย
โจทก์จะมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อหรือนำภาษีซื้อที่ถูกผู้ประกอบการอื่นที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บไปแล้วมาหักจากภาษีขายได้หรือไม่นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตาม ป.รัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการมีหน้าที่ต้องชำระ ดังนั้นโจทก์จึงไม่ต้องนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกจากจำเลย
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ผิดนัดจึงไม่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้น ในเรื่องดอกเบี้ยจำเลยคงให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญา และไม่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์เท่านั้น จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ให้เป็นประเด็นในคำให้การว่า จำเลยมิได้ผิดนัดยังไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
หนี้ค่าภาษีที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์เป็นหนี้เงิน ที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้กู้เงินจากธนาคารนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15ต่อปีนั้น ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว และไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ดอกเบี้ยได้สูงกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 224 โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น
โจทก์เพิ่งแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและขอเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยค้างจ่ายนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามหนังสือของโจทก์ฉบับลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์ในวันเดียวกัน เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ จึงถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างของงานงวดที่ 14 งวดที่ 17 ถึง 22งวดที่ 25 ถึง 26 และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค) สำหรับงานงวดที่ 10ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 ต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันดังกล่าวส่วนค่าจ้างสำหรับงานงวดอื่น ๆ ที่ต้องชำระหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2535เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ก็ย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดนับตั้งแต่วันที่มีการชำระค่าจ้างจำเลยต้องใช้ดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นนับแต่วันผิดนัดชำระค่าจ้างแต่ละงวด
การให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 161 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ศาลภาษีอากรกลางจึงชอบที่พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ แม้ว่าจะตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีก็ตาม
of 196