คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 204

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,956 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีมูลค่าเพิ่มหลังพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 สิทธิในการเลือกเสียภาษีและดอกเบี้ยผิดนัด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นสัญญาให้บริการที่โจทก์ได้ทำกับจำเลยซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล โดยสัญญานั้นได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535และมีงานให้บริการตามสัญญาส่วนที่เหลือที่จะต้องปฎิบัติตามสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2535 ต่อไปอีก โจทก์จึงมิได้รับยกเว้นที่จะยังคงเสียภาษีการค้าต่อไปสำหรับค่าตอบแทนจากการให้บริการหลังวันที่ 1 มกราคม 2535 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมีหน้าที่ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น กรณีที่ได้มี พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 249) พ.ศ.2535 ซึ่งประกาศใช้ในภายหลังได้บัญญัติไว้มาตรา 3 ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งป.รัษฎากร ที่ได้ยื่นซองประกวดราคาหรือให้บริการกับกระทรวงทบวงกรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 ในการที่จะเลือกเสียภาษีการค้าตามบทบัญญัติหมวด 4 ภาษีการค้า ในลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ.2534 หรือเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น พ.ร.ฎ.ดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องใช้สิทธิเลือกเสียภาษีการค้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดระยะเวลาเท่าใดและวิธีการอย่างไร ที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือน กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน และกรกฎาคม2535 ก็ได้ความว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์ ได้หักภาษีการค้ารวมทั้งภาษีบำรุงท้องถิ่น จากเงินที่จ่ายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 4 และ 5 กุมภาพันธ์2535 สำหรับงานงวดที่ 14, 18 และ 19 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 สำหรับงานงวดที่ 17, 20 และ 21 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2535 สำหรับงานงวดที่ 2,25 และ 26 โดยจำเลยได้ออกใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้โจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรที่จำเลยหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งอำเภอท้องที่จากกรมสรรพากรแล้ว เช่นนี้ การยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือนภาษีกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน และกรกฎาคม 2535 ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาเลือกชำระภาษีการค้าสำหรับรายรับค่าบริการ (ค่าก่อสร้าง)ตาม พ.ร.ฎ.ออกความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 249) พ.ศ.2535 แต่การที่โจทก์มีหนังสือขอแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มถึงจำเลย ฉบับลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤศจิกายน2535 และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวแก่กรมสรรพากร ตามแบบแสดงการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างที่รับจากจำเลยผู้รับบริการตามมาตรา 82/4 แห่งป.รัษฎากร แต่จำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 12 ถึง 14 งวดที่ 17ถึง 30 และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค) สำหรับงานงวดที่ 10, 22, 25และ 26 ให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ชำระดังกล่าวจากจำเลย
ค่าก่อสร้างตามสัญญามีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่เพราะใบเสนอราคาของโจทก์ที่เสนอต่อจำเลยในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารได้ระบุว่ามีค่าภาษีรวมอยู่ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าก่อสร้างที่โจทก์คิดจากจำเลยมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แต่ในเวลาทำสัญญาจ้างคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่าจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ที่ให้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้บังคับแทนภาษีการค้า จึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในค่าก่อสร้าง แต่ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 79 ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิตภาษีด้วย เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นมาหักออกจากค่าจ้างก่อนที่จะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ดีเมื่อค่าจ้างดังกล่าวมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วย ทั้งโจทก์ก็มีสิทธิได้รับภาษีดังกล่าวนี้คืนจากกรมสรรพากร เพื่อความเป็นธรรม จึงให้นำภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 คงให้จำเลยรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงร้อยละ 3.7 ของยอดเงินค่าจ้าง
สำหรับค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค)เป็นค่าชดเชยที่ส่วนราชการจ่ายให้แก่ผู้ประกอบการตามมติคณะรัฐมนตรีในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาหรือขาดแคลน ไม่ใช่ค่าชดเชยที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79 วรรคสาม (2) แห่ง ป.รัษฎากร ค่าชดเชยดังกล่าวจึงยังถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับค่าชดเชยดังกล่าวจากจำเลย ทั้งนี้โดยไม่หักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 ออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ก่อนคำนวณ เพราะค่าจ้างปรับราคาดังกล่าวมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์เสนอแก่จำเลยตั้งแต่ต้นจึงไม่มีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย
โจทก์จะมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อหรือนำภาษีซื้อที่ถูกผู้ประกอบการอื่นที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บไปแล้วมาหักจากภาษีขายได้หรือไม่นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตาม ป.รัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการมีหน้าที่ต้องชำระ ดังนั้นโจทก์จึงไม่ต้องนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกจากจำเลย
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ผิดนัดจึงไม่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้น ในเรื่องดอกเบี้ยจำเลยคงให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญา และไม่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์เท่านั้น จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ให้เป็นประเด็นในคำให้การว่า จำเลยมิได้ผิดนัดยังไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
หนี้ค่าภาษีที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์เป็นหนี้เงิน ที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้กู้เงินจากธนาคารนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15ต่อปีนั้น ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว และไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ดอกเบี้ยได้สูงกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 224 โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น
โจทก์เพิ่งแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและขอเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยค้างจ่ายนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามหนังสือของโจทก์ฉบับลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์ในวันเดียวกัน เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ จึงถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างของงานงวดที่ 14 งวดที่ 17 ถึง 22งวดที่ 25 ถึง 26 และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค) สำหรับงานงวดที่ 10ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 ต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันดังกล่าวส่วนค่าจ้างสำหรับงานงวดอื่น ๆ ที่ต้องชำระหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2535เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ก็ย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดนับตั้งแต่วันที่มีการชำระค่าจ้างจำเลยต้องใช้ดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นนับแต่วันผิดนัดชำระค่าจ้างแต่ละงวด
การให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 161 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ศาลภาษีอากรกลางจึงชอบที่พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ แม้ว่าจะตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือค่าอาหาร/ค่ากะดึก ไม่ถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม นายจ้างมีสิทธิเรียกคืนได้
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างให้เงินสนับสนุนร้านค้าเดือนละ15,000บาทเพื่อนำอาหารราคาถูกมาจำหน่ายให้แก่ลูกจ้างของโจทก์เฉพาะลูกจ้างประเภทพนักงานทั่วไปที่ทำงานตั้งแต่เวลา8นาฬิกาถึง17นาฬิกาและลูกจ้างประเภทพนักงานกะเช้าที่ทำงานตั้งแต่เวลา6.30นาฬิกาถึง18.30นาฬิกาเท่านั้นส่วนพนักงานกะดึกที่ทำงานตั้งแต่เวลา18.30นาฬิกาถึง6.30นาฬิกาและลูกจ้างอื่นๆที่ทำงานล่วงเวลาหลังเวลา18.30นาฬิกาโจทก์ให้เงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารในอัตราชั่วโมงละ5บาทเนื่องจากลูกจ้างที่ทำงานในรอบกลางคืนไม่มีร้านอาหารจัดอาหารราคาถูกจำหน่ายให้เหตุที่โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานกะดึกชั่วโมงละ5บาทเนื่องจากโจทก์ไม่ได้จัดอาหารราคาถูกให้ลูกจ้างดังเช่นลูกจ้างประเภทพนักงานทั่วไปที่ทำงานกลางวันและพนักงานกะเช้านอกจากนี้โจทก์ยังจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่พนักงานทั่วไปที่ทำงานเวลากลางวันหากต้องมาทำงานล่วงเวลาในช่วงเวลาหลัง18.30นาฬิกานอกเหนือจากค่าล่วงเวลาอีกด้วยเห็นได้ว่าการที่โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวก็โดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นเงินสวัสดิการแก่ลูกจ้างโดยแท้แม้เงินดังกล่าวโจทก์จะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำและมีจำนวนแน่นอนตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานจริงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติฉะนั้นไม่ว่าจะเรียกเงินดังกล่าวว่าเป็นเงินช่วยเหลือค่าอาหารหรือเงินค่ากะดึกเงินดังกล่าวก็ไม่เป็นค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533มาตรา5 แม้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมจำเลยที่2พิจารณาและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์จ่ายเงินสมทบเป็นการใช้ดุลพินิจและพิจารณาตามอำนาจที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินไปชำระตามคำสั่งของจำเลยที่2ก็ตามแต่เมื่อปรากฏในภายหลังว่าคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจำเลยที่1และจำเลยที่2จึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมคืนให้จนโจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องฟ้องบังคับจำเลยทั้งสองจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือค่าอาหาร/ค่ากะดึก ไม่ถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างให้เงินสนับสนุนร้านค้าเดือนละ 15,000บาท เพื่อนำอาหารราคาถูกมาจำหน่ายให้แก่ลูกจ้างของโจทก์เฉพาะลูกจ้างประเภทพนักงานทั่วไปที่ทำงานตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา และลูกจ้างประเภทพนักงานกะเช้าที่ทำงานตั้งแต่เวลา 6.30 นาฬิกา ถึง 18.30 นาฬิกาเท่านั้น ส่วนพนักงานกะดึกที่ทำงานตั้งแต่เวลา 18.30 นาฬิกา ถึง 6.30 นาฬิกาและลูกจ้างอื่น ๆ ที่ทำงานล่วงเวลาหลังเวลา 18.30 นาฬิกา โจทก์ให้เงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารในอัตราชั่วโมงละ 5 บาท เนื่องจากลูกจ้างที่ทำงานในรอบกลางคืนไม่มีร้านอาหารจัดอาหารราคาถูกจำหน่ายให้ เหตุที่โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานกะดึกชั่วโมงละ 5 บาท เนื่องจากโจทก์ไม่ได้จัดอาหารราคาถูกให้ลูกจ้างดังเช่นลูกจ้างประเภทพนักงานทั่วไปที่ทำงานกลางวันและพนักงานกะเช้า นอกจากนี้โจทก์ยังจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่พนักงานทั่วไปที่ทำงานเวลากลางวันหากต้องมาทำงานล่วงเวลาในช่วงเวลาหลัง 18.30นาฬิกา นอกเหนือจากค่าล่วงเวลาอีกด้วย เห็นได้ว่า การที่โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวก็โดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นเงินสวัสดิการแก่ลูกจ้างโดยแท้ แม้เงินดังกล่าวโจทก์จะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำและมีจำนวนแน่นอนตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานจริงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเรียกเงินดังกล่าวว่าเป็นเงินช่วยเหลือค่าอาหาร หรือเงินค่ากะดึก เงินดังกล่าวก็ไม่เป็นค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 5
แม้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม จำเลยที่ 2 พิจารณาและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์จ่ายเงินสมทบเป็นการใช้ดุลพินิจและพิจารณาตามอำนาจที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินไปชำระตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่เมื่อปรากฏในภายหลังว่าคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมคืนให้จนโจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องฟ้องบังคับ จำเลยทั้งสองจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน: เริ่มนับจากวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถาม ไม่ใช่แค่วันออกตั๋ว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกำหนดให้อายุความเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทกำหนดไว้ชัดเจนว่าผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์เมื่อทวงถามดังนั้นวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทจึงหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา9013(3)หาใช่ถึงกำหนดใช้เงินในวันออกตั๋วไม่ทั้งได้มีการทวงถามให้ผู้ออกตั๋วและจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้รับอาวัลชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแล้วอายุความจึงไม่อาจเริ่มนับจากวันที่ออกตั๋วได้ ในหนังสือบอกกล่าวทวงถามของโจทก์ได้ให้เวลาจำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้เสร็จสิ้นภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าวหมายความว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลานั้นหาได้ไม่แต่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นได้หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้วไม่ชำระก็ถือว่าจำเลยทั้งสี่ผิดนัดโจทก์อาจบังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในฐานะผู้รับอาวัลได้นับแต่วันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามแล้วเป็นต้นไปวันครบกำหนด7วันตามหนังสือทวงถามคือวันที่19กันยายน2533อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่20กันยายน2533เป็นต้นไปหาใช่เริ่มนับแต่วันที่จำเลยทั้งสี่ได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามไม่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่14กันยายน2536ยังไม่ครบกำหนด3ปีคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1001

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: การปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนจดทะเบียน, สาระสำคัญของสัญญา, และผลของการผิดสัญญา
ตามสัญญาเช่าที่ดินมีลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติตามสัญญาว่าชั้นแรกตามสัญญาข้อ3จำเลยทั้งสามจะต้องจัดการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยเดิมและบริวารออกไปจากที่ดินรวมทั้งรื้อถอนอาคารตกแถวและบ้านของจำเลยทั้งสามออกไปจากที่ดินให้เสร็จสิ้นภายในวันที่31ธันวาคม2534เสียก่อนหลังจากนั้นก็ส่งมอบที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์พร้อมจดทะเบียนการเช่าส่วนโจทก์ก็ต้องชำระเงินค่าเซ้งส่วนที่เหลืออีกจำนวน8,000,000บาทให้แก่จำเลยทั้งสามในวันจดทะเบียนการเช่าการที่จำเลยยังมิได้จัดการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยเดิมรวมทั้งบริวารออกจากที่ดินและยังมิได้รื้อถอนอาคารตึกแถวรวมทั้งบ้านของจำเลยทั้งสามออกจากที่ดินภายในวันที่31ธันวาคม2534แสดงว่าจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินข้อ3ซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญาจำเลยทั้งสามจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าส่วนภายหลังจากที่จำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าแล้วแม้ต่อมาจำเลยทั้งสามจะนัดให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าในวันที่31มกราคม2535พร้อมทั้งให้โจทก์ชำระค่าเซ้งส่วนที่เหลืออีกจำนวน8,000,000บาทแต่โจทก์ไม่ยอมจดทะเบียนการเช่าและไม่ยอมชำระเงินค่าเซ้งส่วนที่เหลือก็ไม่ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะจำเลยทั้งสามยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาเช่าที่ดินข้อ3 เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าที่ดินและตามสัญญาเช่าที่ดินได้ระบุไว้ว่าเมื่อครบ30ปีตามสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ายอมให้อาคารและสิ่งปลุกสร้างทั้งหมดที่อยู่ในที่ดินตกเป็นของผู้ให้เช่าทันทีโดยปราศจากภาระผูกพันใดๆทั้งสิ้นสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาแม้จะทำสัญญาเช่าที่ดินเกินกว่า3ปีแต่ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ผูกพันบังคับกันได้โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: การผิดสัญญาขั้นตอนสำคัญและสิทธิในการบังคับตามสัญญา
ตามสัญญาเช่าที่ดินมีลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติตามสัญญาว่าชั้นแรกตามสัญญาข้อ 3 จำเลยทั้งสามจะต้องจัดการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยเดิมและบริวารออกไปจากที่ดินรวมทั้งรื้อถอนอาคารตึกแถวและบ้านของจำเลยทั้งสามออกไปจากที่ดินให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2534 เสียก่อน หลังจากนั้นก็ส่งมอบที่ดินที่เช่าให้แก่โจทก์พร้อมจดทะเบียนการเช่า ส่วนโจทก์ก็ต้องชำระเงินค่าเซ้งส่วนที่เหลืออีกจำนวน 8,000,000 บาท ให้แก่จำเลยทั้งสามในวันจดทะเบียนการเช่าการที่จำเลยยังมิได้จัดการให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัยเดิมรวมทั้งบริวารออกจากที่ดินและยังมิได้รื้อถอนอาคารตึกแถวรวมทั้งบ้านของจำเลยทั้งสามออกจากที่ดินภายในวันที่ 31ธันวาคม 2534 แสดงว่าจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินข้อ 3 ซึ่งเป็นสาระ-สำคัญของสัญญา จำเลยทั้งสามจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า ส่วนภายหลังจากที่จำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าแล้ว แม้ต่อมาจำเลยทั้งสามจะนัดให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าในวันที่ 31 มกราคม 2535 พร้อมทั้งให้โจทก์ชำระค่าเซ้งส่วนที่เหลืออีกจำนวน8,000,000 บาท แต่โจทก์ไม่ยอมจดทะเบียนการเช่าและไม่ยอมชำระเงินค่าเซ้งส่วนที่เหลือ ก็ไม่ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะจำเลยทั้งสามยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของสัญญาเช่าที่ดินข้อ 3
เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าที่ดิน และตามสัญญาเช่าที่ดินได้ระบุไว้ว่า เมื่อครบ 30 ปี ตามสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่ายอมให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่อยู่ในที่ดินตกเป็นของผู้ให้เช่าทันทีโดยปราศจากภาระผูกพันใด ๆ ทั้งสิ้น สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาแม้จะทำสัญญาเช่าที่ดินเกินกว่า 3 ปี แต่ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ผูกพันบังคับกันได้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามสัญญาเช่าที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10166/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม แม้ไม่แสดงบัตรก็ไม่เสียสิทธิ หากมีสิทธิครบถ้วน และดอกเบี้ยคิดจากวันฟ้อง
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และระเบียบสำนักงานประกันสังคมว่าด้วยการออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ไม่มีมาตราใดหรือข้อใดในพระราชบัญญัติหรือระเบียบดังกล่าวกำหนดว่าหากไม่แสดงบัตรรับรองสิทธิหรือไม่ไปขอออกใบแทนบัตรรับรองสิทธิกรณีบัตรสูญหายแล้วผู้ประกันตนจะเสียสิทธิอย่างไร เมื่อโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินสมทบครบเงื่อนเวลามีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือป่วยเจ็บอันมิใช่เนื่องจากการทำงานและได้รับบัตรรับรองสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงิน เพียงแต่โจทก์มิได้แสดงบัตรรับรองสิทธิเมื่อเข้ารับราชการรักษาเพราะบัตรสูญหายแต่โจทก์ได้แจ้งความและไม่ได้ไปขอออกใบแทน เท่านั้น โจทก์หาสิ้นสิทธิที่จะได้รับเงินไม่ ไม่ปรากฎว่า โอกาสร้องขอรับเงินประโยชน์ทดแทนเมื่อใดศาลชอบที่จะกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันฟ้อง เพราะการที่โจทก์ฟ้องคดีถือว่าเป็นการทวงถามอยู่ในตัว เมื่อจำเลยไม่ชำระถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9656/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย - ผิดสัญญาชำระหนี้ - เบี้ยปรับ - การลดเบี้ยปรับ
สัญญาจะซื้อจะขายข้อ1กำหนดว่าจำเลยจะไปทำการโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่27ธันวาคม2533และข้อ5กำหนดว่าจำเลยจะต้องดำเนินการจัดการให้ผู้ที่อาศัยหรือทำประโยชน์ในที่่ดินพิพาทออกไปจากที่ดินพิพาททั้งหมดด้วยเมื่อปรากฎว่าในวันนัดโอนโจทก์มีเงินค่าที่ดินพร้อมที่จะชำระให้แก่จำเลยเหตุที่ไม่มีการโอนที่ดินพิพาททั้งๆที่โจทก์และจำเลยได้ไปสำนักงานที่ดินในวันนัดโอนเนื่องจากจำเลยยังมิได้จัดการให้ช. รื้อถอนบ้านและออกไปจากที่ดินพิพาทจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย การที่จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาในข้อที่ว่าจะไปทำการโอนที่ดินพิพาทในวันนัดโอนแล้วเพียงแต่จำเลยจัดการให้ผู้อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทล่าช้าไปบ้างนั้นแม้เป็นการผิดสัญญาแต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้เสียทีเดียวอันจะเป็นผลให้จำเลยต้องส่งคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา378(3)อีกทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายก็มิได้กำหนดว่าถ้าฝ่ายจำเลยผิดสัญญาให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นอันเลิกกันและโจทก์ก็ยังมิได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแต่อย่างใดเมื่อจำเลยจัดการให้ผู้ที่อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วจำเลยสามารถโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้การชำระหนี้ไม่เป็นการพ้นวิสัยโจทก์จึงเรียกมัดจำจำนวน500,000บาทคืนจากจำเลยไม่ได้ ส่วนค่าเสียหายซึ่งสัญญาจะซื้อจะขายกำหนดว่าถ้าผู้จะขายเป็นฝ่ายผิดสัญญาผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับคดีได้ทันทีและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีกส่วนหนึ่งเป็นจำนวน1,000,000บาทนั้นค่าเสียหายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาและเป็นเบี้ยปรับซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรกล่าวคือไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381จำเลยผิดสัญญาโดยไม่จัดการให้ผู้ที่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทก่อนวันนัดโอนนอกจากโจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทอันเป็นการชำระหนี้แล้วโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากจำเลยได้ด้วยแต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้1,000,000บาทนั้นสูงเกินส่วนที่ศาลชั้นต้นลดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชดใช้ให้โจทก์ลงเหลือ100,000บาทเป็นจำนวนที่สมควรแล้ว ไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับเมื่อใดถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้องโจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสำหรับเบี้ยปรับจากจำเลยนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9656/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, และดอกเบี้ย
สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 1 กำหนดว่า จำเลยจะไปทำการโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2533 และข้อ 5 กำหนดว่า จำเลยจะต้องดำเนินการจัดการให้ผู้ที่อาศัยหรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทออกไปจากที่ดินพิพาททั้งหมดด้วย เมื่อปรากฏว่าในวันนัดโอนโจทก์มีเงินค่าที่ดินพร้อมที่จะชำระให้แก่จำเลย เหตุที่ไม่มีการโอนที่ดินพิพาททั้ง ๆ ที่โจทก์และจำเลยได้ไปสำนักงานที่ดินในวันนัดโอนเนื่องจากจำเลยยังมิได้จัดการให้ ช.รื้อถอนบ้านและออกไปจากที่ดินพิพาท จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย
การที่จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาในข้อที่ว่าจะไปทำการโอนที่ดินพิพาทในวันนัดโอนแล้ว เพียงแต่จำเลยจัดการให้ผู้อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทล่าช้าไปบ้างนั้น แม้เป็นการผิดสัญญาแต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้เสียทีเดียว อันจะเป็นผลให้จำเลยต้องส่งคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 378 (3) อีกทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายก็มิได้กำหนดว่า ถ้าฝ่ายจำเลยผิดสัญญาให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นอันเลิกกันและโจทก์ก็ยังมิได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแต่อย่างใด เมื่อจำเลยจัดการให้ผู้ที่อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยสามารถโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้ การชำระหนี้ไม่เป็นการพ้นวิสัย โจทก์จึงเรียกมัดจำจำนวน 500,000 บาท คืนจากจำเลยไม่ได้
ส่วนค่าเสียหายซึ่งสัญญาจะซื้อจะขาย กำหนดว่า ถ้าผู้จะขายเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับคดีได้ทันที และยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีกส่วนหนึ่งเป็นจำนวน 1,000,000 บาท นั้น ค่าเสียหายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา และเป็นเบี้ยปรับซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร กล่าวคือ ไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 381 จำเลยผิดสัญญาโดยไม่จัดการให้ผู้ที่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทก่อนวันนัดโอนนอกจากโจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทอันเป็นการชำระหนี้แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากจำเลยได้ด้วย แต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ 1,000,000 บาท นั้น สูงเกินส่วน ที่ศาลชั้นต้นลดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชดใช้ให้โจทก์ลงเหลือ 100,000 บาท เป็นจำนวนที่สมควรแล้ว
ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับเมื่อใด ถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสำหรับเบี้ยปรับจากจำเลยนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนกัน และอำนาจฟ้องตามสัญญา การแปลงหนี้ การผิดนัดชำระหนี้
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัทล.โดยน.กรรมการบริษัทกับอ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลยโดยอ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับแต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัทล.เป็นหนี้โจทก์จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัทล.ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าอ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเองหาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้นย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของอ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349และ350แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัทล.อยู่ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใดๆที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไปบันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลยแต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่าจำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัทล.ให้แก่โจทก์และบริษัทล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้กรณีต้องด้วยมาตรา314ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัทล.และบริษัทล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์ บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัทล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด4เดือนนับแต่วันทำสัญญาเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงมิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม
of 196