คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 204

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,956 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8461/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายแร่ดีบุกเรื่องการหักภาษีอากร และการคิดดอกเบี้ยจากเงินที่รับเกิน
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการรับซื้อแร่ดีบุก ข้อ 6 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาซื้อแร่ดีบุกสุทธิไว้ว่า (ก) ให้หักค่าถลุงจากราคาซื้อแร่ดีบุกเบื้องต้น (ข) หักค่ามลทินสกปรก (ค) หักออกเป็นเงินบาทมีจำนวนค่าเท่ากับภาษีทั้งมวล (ไม่รวมภาษีเงินได้และภาษีบำรุงท้องที่) และอากรทั้งมวลที่บริษัทผู้ถลุงหรือผู้ซื้อต้องเสียให้แก่รัฐบาลไทย หรือหน่วยราชการใด ๆ โดยเหตุเนื่องในการซื้อแร่ดีบุกในการถลุงโลหะดีบุกจากแร่ดีบุกและในการขายและการส่งออกนอกประเทศไทย ซึ่งโลหะดีบุกที่ผลิตได้จากแร่ดีบุก และ (ง) ราคาซื้อเบื้องต้นสำหรับแร่ดีบุกเมื่อหักรายการต่าง ๆ ที่คิดหักตามข้อ 6 (ก) (ข) และ (ค) แล้ว ก็เป็นราคาซื้อสุทธิ ดังนี้ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่จะนำเงินภาษีอากรมาหักเพื่อคำนวณราคาซื้อสุทธิตามข้อ 6(ค) นั้นคือเงินที่ผู้ซื้อต้องเสียให้แก่รัฐบาลไทยหรือหน่วยราชการเนื่องในการซื้อแร่ดีบุกซึ่งมิได้กำหนดไว้ตายตัวแน่นอน แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าคือจำนวนที่รัฐบาลไทยหรือหน่วยราชการเรียกเก็บอยู่ในขณะที่มีการซื้อขายกัน ฉะนั้นเงินภาษีที่จะนำมาหักได้จึงต้องเป็นเงินที่ผู้ซื้อจำเป็นต้องเสียตามจำนวนที่แท้จริง เมื่อมีประกาศกระทรวงการคลังลดค่าภาษีการค้าลงร้อยละ 2 ของค่าภาษีที่ต้องเสีย จำนวนที่ลดลงนี้ผู้ซื้อจึงไม่ต้องชำระ จะนำมาหักออกจากราคาซื้อเบื้องต้นไม่ได้ ข้อกำหนดและเงื่อนไขนี้ชัดแจ้งอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงหรือเจตนารมณ์ของคู่สัญญามาประกอบการตีความ จำเลยในฐานะผู้ซื้อจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าแร่ดีบุกในส่วนที่ได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ของค่าภาษีการค้าคืนให้แก่โจทก์
เมื่อกรณีเป็นการโต้เถียงเกี่ยวกับการคำนวณหาราคาแร่ดีบุกสุทธิที่ซื้อขายกันอยู่ว่าตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาควรเป็นอย่างไร ก่อนฟ้องจำเลยย่อมไม่ทราบราคาที่ต้องคืนว่ามีจำนวนแน่นอนเป็นเท่าใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืนตั้งแต่เมื่อใด อันจะถือได้ว่าจำเลยผิดนัดต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ซื้อปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายแร่ดีบุกโดยให้ชำระเงินที่รับเกินไป ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8461/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายแร่ดีบุก: การหักเงินภาษีอากรในการคำนวณราคาซื้อขาย การคิดดอกเบี้ย และอายุความ
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการรับซื้อแร่ดีบุก ข้อ 6ได้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาซื้อแร่ดีบุกสุทธิไว้ว่า(ก)ให้หักค่าถลุงจากราคาซื้อแร่ดีบุกเบื้องต้น(ข) หักค่ามลทินสกปรก(ค) หักออกเป็นเงินบาทมีจำนวนค่าเท่ากับภาษีทั้งมวล (ไม่รวมภาษีเงินได้และภาษีบำรุงท้องที่)และอากรทั้งมวลที่บริษัทผู้ถลุงหรือผู้ซื้อต้องเสียให้แก่รัฐบาลไทย หรือหน่วยราชการใด ๆ โดยเหตุเนื่องในการซื้อแร่ดีบุกในการถลุงโลหะดีบุกจากแร่ดีบุกและในการขายและส่งออกนอกประเทศไทย ซึ่งโลหะดีบุกที่ผลิตได้จากแร่ดีบุกและ (ง) ราคาซื้อเบื้องต้นสำหรับแร่ดีบุกเมื่อหักรายการต่าง ๆที่คิดหักตามข้อ 6(ก)(ข)และ(ค) แล้ว ก็เป็นราคาซื้อสิทธิดังนี้ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่จะนำเงินภาษีอากรมาหักเพื่อคำนวณราคาซื้อสุทธิตามข้อ 6(ค) นั้นคือเงินที่ผู้ซื้อต้องเสียให้แก่รัฐบาลไทยหรือหน่วยราชการเนื่องในการซื้อแร่ดีบุกซึ่งมิได้กำหนดไว้ตายตัวแน่นอน แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าคือจำนวนที่รัฐบาลไทยหรือหน่วยราชการเรียกเก็บอยู่ในขณะที่มีการซื้อขายกัน มิฉะนั้นเงินภาษีที่จะนำมาหักได้จึงต้องเป็นเงินที่ผู้ซื้อจำเป็นต้องเสียตามจำนวนที่แท้จริงเมื่อมีประกาศกระทรวงการคลังลดค่าภาษีการค้าลงร้อยละ 2ของค่าภาษีที่ต้องเสีย จำนวนที่ลดลงนี้ผู้ซื้อจึงไม่ต้องชำระจะนำมาหักออกจากราคาซื้อเบื้องต้นไม่ได้ ข้อกำหนดและเงื่อนไขนี้ชัดแจ้งอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงหรือเจตนารมณ์ของคู่สัญญามาประกอบการตีความ จำเลยในฐานะผู้ซื้อจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าแร่ดีบุกในส่วนที่ได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ของค่าภาษีการค้าคืนให้แก่โจทก์ เมื่อกรณีเป็นการโต้เถียงเกี่ยวกับการคำนวณหาราคาแร่ดีบุกสุทธิที่ซื้อขายกันอยู่ว่าตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาควรเป็นอย่างไร ก่อนฟ้องจำเลยย่อมไม่ทราบราคาที่ต้องคืนว่ามีจำนวนแน่นอนเป็นเท่าใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืนตั้งแต่เมื่อใดอันจะถือได้ว่าจำเลยผิดนัด ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ซื้อปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายแร่ดีบุกโดยให้ชำระเงินที่รับเกินไปซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน-ทางเข้าออก จำเลยไม่สามารถจัดหาได้ โจทก์บอกเลิกสัญญาได้
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันเป็นหนังสือแม้โจทก์ได้วางมัดจำด้วยก็ถือว่าการวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่เมื่อตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทหรือทางเข้าออกแก่โจทก์ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบถึงข้อความเพิ่มเติมนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงโอนที่ดินกันภายใน 3 เดือน ซึ่งตรงกับวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2534 แต่ผู้เขียนสัญญาลืมเขียนข้อความระบุวันนัดโอนนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ดังนั้นแม้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและ ขอคำยืนยันจากจำเลยภายในวันที่ 29 มีนาคม 2534 ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงให้โจทก์ทราบว่าสามารถโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ได้หรือไม่ ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยได้รับหนังสือ ของโจทก์แล้ว แม้ว่าหนังสือของโจทก์ครั้งที่สองแจ้งให้จำเลย โอนที่ดินในระยะกระชั้นชิด แต่หนังสือของโจทก์ครั้งแรก ที่เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวในครั้งที่สองเป็นเวลาห่างกันถึง 6 เดือน จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกจากที่ดินพิพาทเชื่อมถนนสาธารณะ ซึ่งได้ความว่าเจ้าของที่ดินได้ขอรับวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วเสร็จ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ใช้ทำเป็นทางเข้าออกเมื่อวันที่15 ตุลาคม 2534 การที่จำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 อ้างว่า จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ และให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่เหลือณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 เวลา 10 นาฬิกานั้นปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จและออกหนังสือ น.ส.3 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534ถ้าหากโจทก์ไปสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตามที่จำเลยนัดหมาย โจทก์ก็ไม่สามารถ รับโอนที่ดินตามสัญญาจากจำเลยได้ และการที่จำเลยไม่สามารถจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกตามสัญญาได้ แต่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26 กันยายน 2534 นัดโอนที่ดินกันจึงเป็นการประวิงการปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้คำนึงว่าจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ตามสัญญาได้ จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอยู่นั่นเองดังนั้นการที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นการกำหนดระยะเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ 480,000 บาท และชำระเบี้ยปรับ 960,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วจึงเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7433/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดินเนื่องจากไม่สามารถโอนพร้อมทางเข้าออกได้ แม้จะมีการนัดหมายโอนภายหลังก็ถือเป็นการประวิง
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันเป็นหนังสือ แม้โจทก์ได้วางมัดจำด้วยก็ถือว่าการวางมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำไม่ เมื่อตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทหรือทางเข้าออกแก่โจทก์ ณสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบถึงข้อความเพิ่มเติมนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญา โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงโอนที่ดินกันภายใน 3 เดือน ซึ่งตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 แต่ผู้เขียนสัญญาลืมเขียนข้อความระบุวันนัดโอนนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) ดังนั้นแม้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่ไปสำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา
ก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและขอคำยืนยันจากจำเลยภายในวันที่ 29 มีนาคม 2534 ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีหนังสือชี้แจงให้โจทก์ทราบว่าสามารถโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ได้หรือไม่ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19กันยายน 2534 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์แล้ว แม้ว่าหนังสือของโจทก์ครั้งที่สองแจ้งให้จำเลยโอนที่ดินในระยะกระชั้นชิด แต่หนังสือของโจทก์ครั้งแรกที่เร่งรัดให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจนถึงวันที่โจทก์บอกกล่าวในครั้งที่สองเป็นเวลาห่างกันถึง 6 เดือน จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกจากที่ดินพิพาทเชื่อมถนนสาธารณะ ซึ่งได้ความว่าเจ้าของที่ดินได้ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วเสร็จ และเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ใช้ทำเป็นทางเข้าออกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2534 การที่จำเลยกลับมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26กันยายน 2534 อ้างว่า จำเลยพร้อมที่จะโอนที่ดินตามสัญญาให้โจทก์ และให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่เหลือ ณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 11 ตุลาคม 2534เวลา 10 นาฬิกา นั้นปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินเสร็จและออกหนังสือ น.ส.3 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534 ถ้าหากโจทก์ไปสำนักงานที่ดินอำเภอเมืองลพบุรีในวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตามที่จำเลยนัดหมาย โจทก์ก็ไม่สามารถรับโอนที่ดินตามสัญญาจากจำเลยได้ และการที่จำเลยไม่สามารถจัดซื้อที่ดินสำหรับเป็นทางเข้าออกตามสัญญาได้ แต่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ลงวันที่ 26กันยายน 2534 นัดโอนที่ดินกันจึงเป็นการประวิงการปฏิบัติตามสัญญาโดยไม่ได้คำนึงว่าจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทพร้อมทางเข้าออกให้โจทก์ตามสัญญาได้จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอยู่นั่นเอง ดังนั้นการที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยให้จำเลยโอนที่ดินในวันที่ 19 กันยายน 2534 เป็นการกำหนดระยะเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้จึงถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่า จำเลยผิดสัญญาขอให้คืนเงินมัดจำ480,000 บาท และชำระเบี้ยปรับ 960,000 บาท ภายในกำหนด 7 วัน หากพ้นกำหนดจะดำเนินคดีต่อไป ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว จึงเป็นกรณีที่ถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7305/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การบังคับคดีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้จำเลยไม่ลงชื่อในเอกสาร หากโจทก์ดำเนินการตามสัญญาได้
ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมจำเลยทั้งสองตกลงยอมให้ค่าปรับแก่โจทก์ต่อเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการปลอดภาระผูกพันในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นก่อนวันอันถึงกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์เว้นแต่ภาระจำนองที่จำเลยทั้งสองจะต้องดำเนินการปลอดจำนองในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แต่จากคำแถลงของโจทก์ได้ความว่าเมื่อถึงวันนัดไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่คู่ความต่างเลื่อนไปในวันที่28ตุลาคม2535จำเลยที่2ไม่ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียนนิติกรรมการทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่อาจจะกระทำได้โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการปลอดภาระจำนองแต่ประการใดทั้งการที่จำเลยที่2ไม่ยอมลงชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็ให้สิทธิแก่โจทก์บังคับคดีโดยถือเอาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสองต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้อยู่แล้วแสดงว่าแม้หากจำเลยที่2ไม่ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโจทก์ก็สามารถใช้คำพิพากษาตามยอมแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์ได้โดยปลอดภาระจำนองตามกำหนดนัดในวันที่28ตุลาคม2535และการบังคับคดีในลักษณะนี้ก็มิใช่เป็นการบังคับคดีที่จะต้องดำเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงหาจำต้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีอีกแต่ประการใดไม่ดังนั้นเพียงการที่จำเลยที่2ไม่ยอมลงชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่2ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะปรับจำเลยทั้งสองได้ การที่โจทก์เพิ่งดำเนินการบังคับคดีชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนจำเลยทั้งสองแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์เมื่อวันที่10มิถุนายน2536โดยต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารนับแต่วันที่28ตุลาคม2535ถึงวันที่10มิถุนายน2536จึงเท่ากับเป็นการเสียดอกเบี้ยในระหว่างที่โจทก์ผิดนัดไม่ดำเนินการตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยส่วนนี้จากเงินที่ต้องชำระแก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7305/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การผิดนัด และผลกระทบต่อดอกเบี้ย
ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอม จำเลยทั้งสองตกลงยอมให้ค่าปรับแก่โจทก์ต่อเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการปลอดภาระผูกพันในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นก่อนวันอันถึงกำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์เว้นแต่ภาระจำนองที่จำเลยทั้งสองจะต้องดำเนินการปลอดจำนองในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่จากคำแถลงของโจทก์ได้ความว่าเมื่อถึงวันนัดไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่คู่ความต่างเลื่อนไปในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียนนิติกรรม การทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่อาจจะกระทำได้ โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการปลอดภาระจำนองแต่ประการใด ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็ให้สิทธิแก่โจทก์บังคับคดีโดยถือเอาสัญญาประนี-ประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสองต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้อยู่แล้ว แสดงว่าแม้หากจำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียน โจทก์ก็สามารถใช้คำพิพากษาตามยอมแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์ได้โดยปลอดภาระจำนองตามกำหนดนัดในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 และการบังคับคดีในลักษณะนี้ก็มิใช่เป็นการบังคับคดีที่จะต้องดำเนินการโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงหาจำต้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีอีกแต่ประการใดไม่ ดังนั้น เพียงการที่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมลงชื่อในเอกสารการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะปรับจำเลยทั้งสองได้
การที่โจทก์เพิ่งดำเนินการบังคับคดีชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนจำเลยทั้งสองแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2536 โดยต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารนับแต่วันที่ 28 ตุลาคม2535 ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2536 จึงเท่ากับเป็นการเสียดอกเบี้ยในระหว่างที่โจทก์ผิดนัดไม่ดำเนินการตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยส่วนนี้จากเงินที่ต้องชำระแก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีส่วนขาด แต่ไม่ถือเป็นผิดนัด
จำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์เป็นงวด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมตลอดมาโดยวางเงินต่อศาล จนถึงงวดสุดท้ายจำเลยก็ได้ชำระเงินภายในกำหนดเวลา จำเลยจึงหาได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่ เพียงแต่งวดสุดท้ายชำระหนี้ขาดไป 40,000 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนหนี้ทั้งหมด2,150,000 บาท แล้ว นับว่าเป็นส่วนน้อยมากและเกิดขึ้นเพราะความเผอเรอ อีกทั้งเมื่อจำเลยทราบเหตุก็ได้นำเงินมาวางต่อศาลเพื่อให้โจทก์รับไปทันที แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะบิดพลิ้วในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ และต่อมาโจทก์ก็ขอรับเงินดังกล่าวไปโดยมิได้อิดเอื้อน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัด อันจะเป็นเหตุให้โจทก์บังคับคดีได้เต็มตามฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ขาดจำนวนน้อย ก็ไม่ถือเป็นการผิดสัญญาหากเจตนาดีและมีการชำระหนี้ครบถ้วนในภายหลัง
จำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์เป็นงวดๆตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมตลอดมาโดยวางเงินต่อศาลจึงถึงงวดสุดท้ายจำเลยก็ได้ชำระเงินภายในกำหนดเวลาจำเลยจึงหาได้กำหนดเวลาจำเลยจึงหาได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่เพียงแต่งวดสุดท้ายชำระหนี้ขาดไป40,000บาทซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนหนี้ทั้งหมด2,150,000บาทแล้วนับว่าเป็นส่วนน้อยมากและเกิดขึ้นเพราะความเผอเรออีกทั้งเมื่อจำเลยทราบเหตุก็ได้นำเงินมาวางต่อศาลเพื่อให้โจทก์รับไปทันทีแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะบิดพลิ้วในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์และต่อมาโจทก์ก็ขอรับเงินดังกล่าวไม่มีเจตนาที่จะบิดพลิ้วในการชำระหนี้ให้แก่โจทก์และต่อมาโจทก์ก็ขอรับเงินดังกล่าวไปโดยมิได้อิดเอื้อนจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์บังคับคดีได้เต็มตามฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5761/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้จริงของคู่สัญญา การเปลี่ยนแปลงตัวผู้ซื้อ และการเลิกสัญญาสัญญาซื้อขาย
ท. ได้แจ้งแก่จำเลยแต่แรกว่าผู้ซื้อเครื่องจักรปั่นน้ำยางซึ่งจะเป็นคู่สัญญากับจำเลยคือบริษัทโจทก์แต่เนื่องจากยังมิได้จดทะเบียนตั้งบริษัทจึงให้ใส่ชื่อ ท. และ ส. เป็นคู่สัญญาไปก่อนและเมื่อจดทะเบียนแล้วได้แจ้งแก่จำเลยให้ออกใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้าใหม่ในนามบริษัทโจทก์ซึ่งจำเลยก็ได้ออกให้นอกจากนั้นในหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาซื้อขายที่จำเลยมีถึงบริษัทโจทก์ผ่าน ท.ได้ระบุไว้ชัดว่าบริษัทโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายฉบับแรกที่ทำไว้กับจำเลยซึ่งมี ท. และ ส. เป็นผู้ลงชื่อในฐานะผู้ซื้อดังนั้นถือได้ว่าทั้ง ท. และจำเลยต่างมีเจตนาแท้จริงร่วมกันมาแต่ต้นว่าให้บริษัทโจทก์เป็นผู้ซื้อและเป็นคู่สัญญากับจำเลยเมื่อต่อมาบริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลโดยชอบแล้วจึงต้องถือว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยจำเลยจะอ้างว่าในขณะทำสัญญาบริษัทโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและไม่มีชื่อเป็นคู่สัญญาหาได้ไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยได้ตกลงขยายระยะเวลาการเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ออกไปจากวันที่ระบุไว้ในใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้าโดยไม่มีกำหนดโจทก์จึงยังไม่ผิดสัญญาจนกว่าจำเลยจะกำหนดเวลาแน่นอนให้โจทก์เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเสียก่อนเมื่อจำเลยยังมิได้กระทำการดังกล่าวแม้โจทก์จะไม่ได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์ก็ไม่ใช่ฝ่ายผิดสัญญาจำเลยไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำเมื่อจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและโจทก์ก็มีหนังสือถึงจำเลยเรียกเงินมัดจำคืนตามพฤติการณ์ถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมซึ่งในกรณีนี้จำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่รับไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5761/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาและผลกระทบต่อสัญญาซื้อขาย รวมถึงการเลิกสัญญาสินค้า
ท. ได้แจ้งแก่จำเลยแต่แรกว่า ผู้ซื้อเครื่องจักรปั่นน้ำยางซึ่งจะเป็นคู่สัญญากับจำเลย คือบริษัทโจทก์ แต่เนื่องจากยังมิได้จดทะเบียนตั้งบริษัทจึงให้ใส่ชื่อ ท. และ ส. เป็นคู่สัญญาไปก่อน และเมื่อจดทะเบียนแล้วได้แจ้งแก่จำเลยให้ออกใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้าใหม่ในนามบริษัทโจทก์ ซึ่งจำเลยก็ได้ออกให้ นอกจากนั้นในหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาซื้อขายที่จำเลยมีถึงบริษัทโจทก์ผ่าน ท. ได้ระบุไว้ชัดว่า บริษัทโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายฉบับแรกที่ทำไว้กับจำเลย ซึ่งมี ท. และ ส. เป็นผู้ลงชื่อในฐานะผู้ซื้อ ดังนั้นถือได้ว่าทั้ง ท. และจำเลยต่างมีเจตนาแท้จริงร่วมกันมาแต่ต้นว่าให้บริษัทโจทก์เป็นผู้ซื้อและเป็นคู่สัญญากับจำเลย เมื่อต่อมาบริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลโดยชอบแล้ว จึงต้องถือว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย จำเลยจะอ้างว่าในขณะทำสัญญาบริษัทโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและไม่มีชื่อเป็นคู่สัญญาหาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยได้ตกลงขยายระยะเวลาการเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ออกไป จากวันที่ระบุไว้ในใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้าโดยไม่มีกำหนดโจทก์จึงยังไม่ผิดสัญญาจนกว่าจำเลยจะกำหนดเวลาแน่นอนให้โจทก์เปิดเล็ตเตอร์ออฟ-เครดิตเสียก่อน เมื่อจำเลยยังมิได้กระทำการดังกล่าว แม้โจทก์จะไม่ได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้ โจทก์ก็ไม่ใช่ฝ่ายผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำ เมื่อจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญา และโจทก์ก็มีหนังสือถึงจำเลยเรียกเงินมัดจำคืน ตามพฤติการณ์ถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ซึ่งในกรณีนี้จำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่รับไว้
of 196