พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,956 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหลักทรัพย์ ตัวแทนชำระหนี้ และอายุความคดีตัวการตัวแทน
พยานบุคคลของโจทก์ได้เบิกความรับรองพยานเอกสารว่ามีอยู่จริงและถูกต้อง แม้พยานโจทก์ที่เบิกความมาจะมิได้รู้เห็นขณะทำพยานเอกสาร แต่พยานเหล่านั้นเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับพยานเอกสาร และเมื่อได้ตรวจสอบเอกสารต่าง ๆแล้ว ก็สามารถรับรองความถูกต้องแท้จริงได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังพยานบุคคลของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95(2) ข้อตกลงในหนังสือแต่งตั้งตัวแทนมีสาระสำคัญว่าเมื่อโจทก์ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่งของจำเลยและออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยภายใน 4 วัน นับแต่วันซื้อจำเลยจะต้องชำระเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายจนครบพร้อมค่าใช้จ่ายและบำเหน็จ มี ส. เบิกความยืนยันว่า จำเลยเป็นผู้ลงชื่อออกตั๋วสัญญาใช้เงินชำระหนี้ให้โจทก์ แม้ ส. จะมิได้รู้เห็นขณะจำเลยลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ ส. เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและปฏิบัติการของโจทก์ และได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ ทั้งยังปรากฏว่าจำเลยเคยออกตั๋วสัญญาใช้เงินแลกเปลี่ยนกับฉบับเดิมที่ไม่ได้มีการชำระมาหลายครั้ง ลายมือชื่อของจำเลยในตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมอยู่ในความรู้เห็นของ ส.ดังนั้นส. จึงอยู่ในฐานะที่จะรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวได้คำเบิกความของพยานจึงไม่ใช่พยานบอกเล่าที่จะต้องห้ามมิให้รับฟัง การที่ ก. พยานโจทก์เบิกความว่าตามหลักฐานที่โจทก์ส่งศาลในวันเบิกความไม่มีฉบับใดยืนยันว่าโจทก์ซื้อหุ้นบริษัท ส.และบริษัทฟ. แต่เมื่อ ก. ได้เบิกความไว้ด้วยว่า เอกสารที่ศาลขอหมายเรียกไปก่อนมาเบิกความนั้นได้จัดส่งมาให้แล้ว แต่ส่งผิดไปที่ศาลอื่น จึงไม่มีเอกสารดังกล่าวให้พยานตรวจดู จะฟังว่าโจทก์มิได้ซื้อหลักทรัพย์ของ 2 บริษัทดังกล่าวและมิได้ออกเงินทดรองแทนจำเลยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ที่ค้าง โจทก์จึงนำหุ้นของจำเลย5 รายการ ออกขายในตลาดหลักทรัพย์นำเงินมาหักชำระหนี้ที่ค้าง และจำเลยยอมรับว่ามีการขายหุ้นของจำเลยไปจริงดังนี้ เมื่อปรากฏตามหนังสือตั้งตัวแทนซึ่งมีข้อความว่าหากจำเลยผิดนัดในการชำระเงิน ยอมให้โจทก์เลือกปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง และยอมให้โอนขายหลักทรัพย์ดังกล่าวแก่บุคคลใด ๆ ในราคาที่เห็นสมควร ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวนี้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมนำหุ้นที่ซื้อแทนจำเลยไว้ออกขายได้โดยไม่จำต้องมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า แม้ในคำฟ้องจะใช้คำว่า ขอเรียกค่านายหน้า แต่กรณีนี้ความจริงเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยในกิจการที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยเข้าลักษณะตัวการตัวแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด10 ปี มิใช่ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนนัดโอนที่ดินหลายครั้งไม่ถือเป็นผิดสัญญา หากมีเหตุสุดวิสัยและคู่สัญญามีเจตนาผ่อนปรนซึ่งกันและกัน
โจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ตกลงเลื่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญากันหลายครั้งสาเหตุของการเลื่อนวันนัดมีทั้งจากฝ่ายโจทก์บ้างและฝ่ายจำเลยทั้งสองบ้างแสดงว่าคู่สัญญาต่างฝ่ายต่างผ่อนปรนให้แก่กันโดยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามสัญญาเรื่องกำหนดเวลาโอนที่ดินพิพาทถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้ถือเอาการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญดังนั้นการที่นาย ว. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ไปพบกับจำเลยทั้งสองที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนครนายกตามกำหนดวันนัดในสัญญาและได้จัดเตรียมแคชเชียร์เช็คและเงินสดสำหรับชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วแต่เกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้เนื่องจากแคชเชียร์เช็คที่นาย ว. นำไปเกิดหายไปและขณะนั้นก็เป็นเวลาประมาณ16นาฬิกาใกล้เวลาเลิกทำงานของทางราชการย่อมไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ทันทั้งวันนัดโอนดังกล่าวก็เป็นวันศุกร์การที่โจทก์ขอเลื่อนการจดทะเบียนการโอนไปเป็นวันจันทร์ซึ่งเป็นวันเริ่มเปิดทำการใหม่ของทางราชการพออนุโลมได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดชำระหนี้จำเลยทั้งสองจะอ้างเหตุดังกล่าวว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดและไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนปรนกำหนดเวลาชำระหนี้และการไม่ถือเป็นผิดนัดสัญญาซื้อขายที่ดิน
โจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ตกลงเลื่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญากันหลายครั้ง สาเหตุของการเลื่อนวันนัดมีทั้งจากฝ่ายโจทก์บ้างและฝ่ายจำเลยทั้งสองบ้าง แสดงว่าคู่สัญญาต่างฝ่ายต่างผ่อนปรนให้แก่กันโดยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามสัญญาเรื่องกำหนดเวลาโอนที่ดินพิพาท ถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้ถือเอาการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ ดังนั้นการที่นาย ว. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ไปพบกับจำเลยทั้งสองที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนครนายกตามกำหนดวันนัดในสัญญาและได้จัดเตรียมแคชเชียร์เช็คและเงินสดสำหรับชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองแล้ว แต่เกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้เนื่องจากแคชเชียร์เช็คที่นาย ว.นำไปเกิดหายไป และขณะนั้นก็เป็นเวลาประมาณ16 นาฬิกา ใกล้เวลาเลิกทำงานของทางราชการย่อมไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ทัน ทั้งวันนัดโอนดังกล่าวก็เป็นวันศุกร์ การที่โจทก์ขอเลื่อนการจดทะเบียนการโอนไปเป็นวันจันทร์ซึ่งเป็นวันเริ่มเปิดทำการใหม่ของทางราชการ พออนุโลมได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดชำระหนี้ จำเลยทั้งสองจะอ้างเหตุดังกล่าวว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัด และไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของคู่สัญญาในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสัญญาขยายระยะเวลา สัญญาฉบับหลังมีผลบังคับใช้
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศและสัญญาขยายระยะเวลาศึกษาต่ออีก 2 ฉบับ มีข้อความอย่างเดียวกัน จะต่างกันก็แต่รายละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จำเลยลาไปศึกษาต่อตามที่ได้ขอขยายจากกำหนดเดิมออกไปและอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญาเท่านั้น และสัญญาแต่ละฉบับไม่มีข้อความเท้าถึงกันซึ่งตามสัญญาและสัญญาขยายระยะเวลาครั้งแรกระบุดอกเบี้ยของเงินที่ต้องชำระอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนสัญญาฉบับสุดท้ายคิดดอกเบี้ยในกรณีเดียวกันอัตราร้อยละ12 ต่อปี ดังนี้ การที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยขยายเวลาศึกษาต่อโดยได้ทำสัญญาขยายระยะเวลาฉบับสุดท้ายนั้น จึงมีผลทำให้จำเลยมิต้องตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาเดิมที่ทำกันไว้กับมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญาจากเดิมร้อยละ 15 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 12 ต่อปี กรณีนี้เมื่อสัญญาทั้งสามฉบับได้ทำต่อเนื่องกันมาโดยระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาแต่ละฉบับแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งอาจตีความได้สองนัยว่าจะบังคับตามสัญญาฉบับใด เป็นเรื่องที่จะต้องตีความเจตนาของคู่สัญญา โดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาเป็นสำคัญยิ่งกว่าตัวอักษร การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้ลดหย่อนจากอัตราเดิมที่ทำกันไว้นั้น จะว่าไม่มีผลใช้บังคับเลยนั้นไม่ได้ รูปคดีมีเหตุให้ตีความได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะผ่อนผันให้แก่กันโดยมีความประสงค์จะบังคับตามสัญญาฉบับสุดท้าย เมื่อเป็นเช่นนี้โจทก์จะยกเอาเจตนาเดิมมาลบล้างสัญญาซึ่งโจทก์กับจำเลยทำกันโดยตกลงกันใหม่หาได้ไม่ จำเลยจึงมีความผูกพันต้องชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ดังระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการทำสัญญาขยายเวลาและเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องกัน เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่าตัวอักษร
สัญญา ข้าราชการไป ศึกษาต่อภายในประเทศและสัญญาขยายระยะเวลาศึกษาต่ออีก2ฉบับมีข้อความอย่างเดียวกันจะต่างกันก็แต่รายละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จำเลยลาไปศึกษาต่อตามที่ได้ขอขยายจากกำหนดเดิมออกไปและอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญาเท่านั้นและสัญญาแต่ละฉบับไม่มีข้อความเท้าถึงกันซึ่งตามสัญญาและสัญญาขยายระยะเวลาครั้งแรกระบุดอกเบี้ยของเงินที่ต้องชำระอัตราร้อยละ15ต่อปีส่วนสัญญาฉบับสุดท้ายคิดดอกเบี้ยในกรณีเดียวกันอัตราร้อยละ12ต่อปีดังนี้การที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยขยายเวลาศึกษาต่อโดยได้ทำสัญญาขยายระยะเวลาฉบับสุดท้ายนั้นจึงมีผลทำให้จำเลยมิต้องตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาเดิมที่ทำกันไว้กับมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญาจากเดิมร้อยละ15ต่อปีมาเป็นร้อยละ12ต่อปีกรณีนี้เมื่อสัญญาทั้งสามฉบับได้ทำต่อเนื่องกันมาโดยระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาแต่ละฉบับแตกต่างกันอย่างชัดเจนซึ่งอาจตีความได้สองนัยว่าจะบังคับตามสัญญาฉบับใดเป็นเรื่องที่จะต้อง ตีความ เจตนาของคู่สัญญาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาเป็นสำคัญยิ่งกว่าตัวอักษรการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้ลดหย่อนจากอัตราเดิมที่ทำกันไว้นั้นจะว่าไม่มีผลใช้บังคับเลยนั้นไม่ได้รูปคดีมีเหตุให้ตีความได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะผ่อนผันให้แก่กันโดยมีความประสงค์จะบังคับตามสัญญาฉบับสุดท้ายเมื่อเป็นเช่นนี้โจทก์จะยกเอาเจตนาเดิมมาลบล้างสัญญาซึ่งโจทก์กับจำเลยทำกันโดยตกลงกันใหม่หาได้ไม่จำเลยจึงมีความผูกพันต้องชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ12ต่อปีดังระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยละเลยหน้าที่ยื่นขออนุญาตโอนที่ดินในเขตจัดรูปที่ดิน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลพิพากษายืนตามศาลล่าง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันในราคา230,000บาทโจทก์ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่1ไปทั้งสิ้น205,000บาทคงเหลืออยู่อีก15,000บาทนับว่าเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินที่โจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วแม้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งขณะที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและวันครบกำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนแต่มีข้อยกเว้นว่าจะโอนได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทจะต้องยื่นคำขออนุญาตต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจำเลยที่1เบิกความรับว่าจำเลยที่1กับโจทก์ไม่เคยไปติดต่อที่สำนักงานจัดรูปที่ดินแสดงว่าจำเลยที่1ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตโอนที่ดินพิพาทต่อคณะกรรมการจัดการรูปที่ดินถือได้ว่าจำเลยที่1ละเลยประกอบกับพยานคนกลางผู้ไกล่เกลี่ยกรณีของโจทก์กับจำเลยทั้งสองเบิกความว่าโจทก์ประสงค์จะรับโอนที่ดินพิพาทแต่จำเลยทั้งสองจะขอซื้อที่ดินพิพาทคืนจึงตกลงกันไม่ได้พยานหลักฐานของ โจทก์มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่าย ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6797/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การชำระราคาเต็มจำนวนเป็นเงื่อนไขสำคัญ แม้จำเลยริบมัดจำแล้ว โจทก์ต้องชำระส่วนที่เหลือทั้งหมดจึงจะบังคับให้โอนได้
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยโจทก์ได้วางมัดจำไว้บางส่วน ส่วนที่เหลือจะชำระในวันจดทะเบียนโอน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงมีสิทธิริบมัดจำ แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายจึงยังมีผลบังคับ เมื่อโจทก์จะให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป โจทก์ต้องชำระราคาที่ดินทั้งหมดตามสัญญา จะเพียงแต่ชำระส่วนที่ขาดโดยนำเงินมัดจำที่จำเลยใช้สิทธิริบไปแล้วมาคิดหักไม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้เสนอที่จะชำระเงินเต็มตามสัญญา การที่จำเลยไม่โอนที่ดินให้โจทก์จึงไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6797/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิริบมัดจำกับการปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย หากจำเลยไม่บอกเลิกสัญญา โจทก์ต้องชำระราคาทั้งหมด
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยโจทก์ได้วางมัดจำไว้บางส่วน ส่วนที่เหลือจะชำระในวันจดทะเบียนโอน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงมีสิทธิริบมัดจำ แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายจึงยังมีผลบังคับ เมื่อโจทก์จะให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป โจทก์ต้องชำระราคาที่ดินทั้งหมดตามสัญญา จะเพียงแต่ชำระส่วนที่ขาดโดยนำเงินมัดจำที่จำเลยใช้สิทธิริบไปแล้วมาคิดหักไม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้เสนอที่จะชำระเงินเต็มตามสัญญา การที่จำเลยไม่โอนที่ดินให้โจทก์จึงไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสิทธิการเช่า: การบังคับให้โอนสิทธิการเช่าและการแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่า
สัญญาขายสิทธิการเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งก่อให้เกิดหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยจำเลยเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะเรียกร้องเอาราคาค่าโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ ในขณะเดียวกันก็เป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยในการที่จะเรียกร้องให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ และเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระราคาค่ารับโอนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลย และข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ตามกฎหมายเมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ดำเนินการโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ การโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทจะมีผลต่อเมื่อผู้ให้เช่ายินยอมเสียก่อนจึงจะโอนกันได้ จะถือเอาคำพิพากษาบังคับผู้ให้เช่ายอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทไม่ได้ ต้องพิพากษาให้จำเลยแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่ายอมโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายสิทธิการเช่า: หน้าที่ของคู่สัญญาและการบังคับตามสัญญา
สัญญาขายสิทธิการเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งก่อให้เกิดหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยจำเลยเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะเรียกร้องเอาราคาค่าโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ ในขณะเดียวกันก็เป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยในการที่จะเรียกร้องให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ และเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระราคาค่ารับโอนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลย และข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ดำเนินการโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
การโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทจะมีผลต่อเมื่อผู้ให้เช่ายินยอมเสียก่อนจึงจะโอนกันได้ จะถือเอาคำพิพากษาบังคับผู้ให้เช่ายอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทไม่ได้ ต้องพิพากษาให้จำเลยแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่ายอมโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์
การโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทจะมีผลต่อเมื่อผู้ให้เช่ายินยอมเสียก่อนจึงจะโอนกันได้ จะถือเอาคำพิพากษาบังคับผู้ให้เช่ายอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทไม่ได้ ต้องพิพากษาให้จำเลยแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่ายอมโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์