พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,956 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเวลาสถานีวิทยุ: สัญญาไม่ระบุขอบเขตการส่งสัญญาณชัดเจน ไม่ถือเป็นผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าเวลาของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์จากโจทก์ในระบบเอฟ.เอ็มและเอ.เอ็ม ระหว่างสัญญากำลังส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์ของโจทก์ทั้งสองระบบรับฟังไม่ชัดเจนในพื้นที่นอกเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เมื่อตามสัญญาเช่าเวลาดังกล่าวไม่มีข้อตกลงในรายละเอียดว่าโจทก์ต้องจัดการให้กำลังส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์ทั้งสองระบบดังกล่าวมีกำลังส่งที่ประชาชนซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ทั้งหมดรับฟังได้อย่างชัดเจน และโจทก์จำเลยมีเจตนาผูกพันกันตามสภาพที่กำลังส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์มีอยู่ในขณะทำสัญญา ดังนั้นการที่กำลังส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์ที่จำเลยเช่าจากโจทก์ไม่สามารถส่งกระจายเสียงให้ประชาชนที่อยู่นอกเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์รับฟังได้ชัดเจนนั้น หาใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่จะถือได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่นนี้ แม้จำเลยจะแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่โจทก์ ก็หามีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบอันจะทำให้สัญญาเลิกกันไม่ จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาค้ำประกันและสัญญาใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญา รวมถึงการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
แม้สัญญารับทุนจะใช้แบบตามที่กระทรวงการคลังกำหนดให้ใช้กับข้าราชการผู้รับทุน โดยที่จำเลยที่ 1 มิได้เป็นข้าราชการหรือได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างชั่วคราวแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 สมัครใจทำสัญญาที่มีข้อความตามแบบดังกล่าว อันเป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1เพื่อจะก่อให้เกิดสิทธิตามข้อความในสัญญาซึ่งชอบด้วยกฎหมาย และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว สัญญาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 จึงผูกพันจำเลยที่ 2 ที่ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย ศูนย์เอกสารทางหลวงเอเชียอยู่ในสังกัดของโจทก์ น.เป็นข้าราชการของโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ดังกล่าว น.ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ตามที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง องค์การสหประชาชาติเป็นผู้ออกค่าเดินทางระหว่างประเทศรัฐบาลอังกฤษภายใต้แผนโคลัมโบออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ระหว่างการฝึกอบรม ณ ประเทศอังกฤษ และต่อมารัฐบาลอังกฤษยินยอมขยายเวลาให้จำเลยที่ 1 ศึกษาขั้นปริญญาโททางบรรณารักษศาสตร์อีก 1 ปีด้วยทุนภายใต้แผนโคลัมโบ ผ่านกรมวิเทศสหการ จึงถือได้ว่าเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยและรัฐบาลไทยตกลงรับทุนนั้น โจทก์เป็นกรมในรัฐบาลไทยที่จะได้รับประโยชน์จากทุนดังกล่าว และได้ให้ตัวแทนทำสัญญากับจำเลยทั้งสองจึงถือได้ว่าเป็นทุนของโจทก์ แม้ทุนที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปฝึกอบรมกับทุนศึกษาต่อขั้นปริญญาโท จะเป็นวิชาบรรณารักษศาสตร์เช่นเดียวกันก็ตาม แต่การศึกษาต่อขั้นปริญญาโทแตกต่างจากการฝึกอบรม มิใช่เรื่องที่ต่อเนื่องจากการฝึกอบรม ถือไม่ได้ว่าการศึกษาต่อขั้นปริญญาโทอยู่ภายในขอบของสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้แก่โจทก์จะมิได้กำหนดอายุของสัญญาไว้ก็ดี แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ใหม่ในการที่จำเลยที่ 1 ได้รับทุนไปศึกษาต่อขั้นปริญญาโทจำเลยที่ 2 จึงหาต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญารับทุนไปศึกษาต่อขั้นปริญญาโทไม่ คงรับผิดเพียงเฉพาะการไปฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 ก่อนศึกษาต่อขั้นปริญญาโท ตามสัญญารับทุนถ้าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะต้องชดใช้ทุนและค่าเดินทางให้แก่โจทก์ตามส่วนเฉลี่ยที่ทำงานชดใช้ทุนคืนไม่ครบและเบี้ยปรับอีก 1 เท่า ตลอดทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของจำนวนที่ต้องชดใช้คืนภายในกำหนดตามสัญญาด้วย เงินที่จะต้องชดใช้คืนทั้ง 3 ประเภทและดอกเบี้ยดังกล่าวมานี้เป็นเบี้ยปรับที่ลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะชดใช้ให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้เจ้าหนี้ริบและเรียกเอาเบี้ยปรับได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 แต่แม้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ก็ตาม ลูกหนี้จะต้องชำระเบี้ยปรับก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้เรียกเอาเบี้ยปรับนั้นก่อนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคแรก,381 วรรคแรก เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ทำงานชดใช้ทุนคืนให้ถูกต้องตามสัญญา แม้โจทก์จะมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ให้ชดใช้เงินทุนคืนและเบี้ยปรับอีก 1 เท่าเป็นเงินจำนวนหนึ่งต่ำกว่าเงินทุนและเบี้ยปรับที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนตามจำนวนที่ถูกต้องเพราะการคำนวณผิดพลาด ทั้งมิได้ทวงถามค่าเดินทางและเบี้ยปรับ 1 เท่าด้วยก็ตามก็ต้องถือว่าเบี้ยปรับในส่วนของเงินทุนนี้โจทก์ได้ทวงถามให้ชดใช้ทั้งหมดตามจำนวนที่ถูกต้องแล้ว หาใช่เพียงเรียกให้ชดใช้ตามจำนวนที่ผิดพลาดดังกล่าวไม่ สำหรับเบี้ยปรับในส่วนของค่าเดินทางแม้โจทก์จะมิได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระด้วย แต่การฟ้องเรียกเอาเบี้ยปรับในส่วนนี้ก็คือการทวงถามหรือการเรียกเอาเบี้ยปรับนั่นเองจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับในส่วนของเงินทุนจำนวนที่ถูกต้องพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ครบกำหนดตามหนังสือทวงถามเป็นต้นไป และเบี้ยปรับในส่วนของค่าเดินทางพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ สำหรับความรับผิดของจำเลยที่ 2 เฉพาะในการค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมนั้น ทางพิจารณาไม่ปรากฏชัดว่ารัฐบาลอังกฤษได้ออกทุนให้เฉพาะการฝึกอบรมเป็นเงินจำนวนเท่าใด คงได้ความว่าทุนที่ให้ทั้งการฝึกอบรมและการศึกษาต่อขั้นปริญญาโทรวมเป็นเงินจำนวนหนึ่งสำหรับการไปฝึกอบรมและศึกษาต่อนาน 2 ปี 45 วัน หรือเท่ากับ 775 วัน จำเลยที่ 1 จะต้องทำงานใช้ทุนอีก 424 วัน ตามคำของจำเลยที่ 2 ก็คงอ้างลอย ๆ มาว่า เท่าที่ทราบมาค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 9 เดือน เป็นเงินจำนวนที่น้อยกว่าเท่านั้น ศาลฎีกากำหนดให้คิดเงินทุนในการฝึกอบรมโดยเฉลี่ยตามระยะเวลา โดยคำนวณจากเงินทุนในการฝึกอบรมและการศึกษาต่อขั้นปริญญาโท คูณด้วยระยะเวลาในการไปฝึกอบรม หารด้วยระยะเวลาในการไปฝึกอบรมและศึกษาต่อ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติว่า "การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน" อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้จึงหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารพาณิชย์ในวันที่อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันมีคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างก่อนจดทะเบียนบริษัท: ผลผูกพันต่อบริษัทที่จัดตั้งภายหลัง และความรับผิดของผู้เริ่มก่อการ
ก่อนบริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อ. ได้ ตกลงให้โจทก์ออกแบบตกแต่งภายในให้บริษัทจำเลยที่ 1โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นกรรมการของ จำเลยที่ 1 นั่งร่วมปรึกษาหารือ ทั้งเมื่อโจทก์ได้ออกแบบ ตกแต่งภายใน ซึ่งเป็นงานของจำเลยที่ 1 ตามความต้องการของ อ.และจำเลยที่2อ.ก็ได้อนุมัติแบบตกแต่ง ถือว่า อ. และจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่ง ภายในสำนักงานสาขาของบริษัทจำเลยที่ 1 และถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะเป็นผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่ 1 ทั้งก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำ สัญญาเช่าอาคารเพื่อทำเป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 ยังไม่เป็นนิติบุคคล และต่อมาเมื่อ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ก็ได้ใช้สถานที่ซึ่ง โจทก์ออกแบบตกแต่งภายในและควบคุมการก่อสร้างเป็น สำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 แสดงว่าที่ประชุมตั้ง บริษัทจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันสัญญาว่าจ้างที่จำเลยที่ 1 ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้กับโจทก์ สัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงผูกพัน จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็น กรรมการของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จึงพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1113 โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยได้รับเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2530 ตามหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 29สิงหาคม 2530 เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยชำระเงิน ให้โจทก์เสร็จสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างก่อนจดทะเบียนบริษัท การผูกพันนิติบุคคล และความรับผิดของผู้เริ่มก่อการ
ก่อนบริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อ.ได้ตกลงให้โจทก์ออกแบบตกแต่งภายในให้บริษัทจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 นั่งร่วมปรึกษาหารือ ทั้งเมื่อโจทก์ได้ออกแบบตกแต่งภายใน ซึ่งเป็นงานของจำเลยที่ 1 ตามความต้องการของ อ.และจำเลยที่ 2 อ.ก็ได้อนุมัติแบบตกแต่ง ถือว่า อ.และจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่งภายในสำนักงานสาขาของบริษัทจำเลยที่ 1และถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะเป็นผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่ 1ทั้งก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารเพื่อทำเป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 ยังไม่เป็นนิติบุคคล และต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ก็ได้ใช้สถานที่ซึ่งโจทก์ออกแบบตกแต่งภายในและควบคุมการก่อสร้างเป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 แสดงว่าที่ประชุมตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันสัญญาว่าจ้างที่จำเลยที่ 1 ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้กับโจทก์ สัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จึงพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1113
โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยได้รับเมื่อวันที่ 19สิงหาคม 2530 ตามหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 29 สิงหาคม 2530 เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 30สิงหาคม 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยชำระเงินให้โจทก์เสร็จสิ้น
โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยได้รับเมื่อวันที่ 19สิงหาคม 2530 ตามหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 29 สิงหาคม 2530 เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 30สิงหาคม 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยชำระเงินให้โจทก์เสร็จสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3984/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การปฏิบัติตามสัญญา, ความสามารถในการชำระหนี้, และผลกระทบต่อการผิดสัญญา
โจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินต่อกัน แต่การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เกิดจากเหตุขัดข้อง2 ประการ เหตุประการแรก เจ้าพนักงานที่ดินไม่กล้าตัดสินใจว่าการขายที่ดินเข้าข่ายจะต้องขออนุญาตค้าที่ดินจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตาม ประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 101 ก่อนหรือไม่เป็นการวินิจฉัยสั่งการของเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของจำเลยทั้งสอง การที่เจ้าพนักงานที่ดินไม่กล้าตัดสินใจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจนกว่าจะได้หารือกรมที่ดินก่อนมิใช่เกิดจากความผิดของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา เหตุประการที่สอง เรื่องที่ฝ่ายโจทก์เพียงแต่เตรียมตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 3 ฉบับ ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงินกับนำสมุดเงินฝากออมทรัพย์ของ ส. ไปแสดงต่อจำเลยทั้งสองแทนค่าซื้อไว้ก่อน แต่จำเลยทั้งสองไม่ยินยอม ซึ่งตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระเงินที่ค้างชำระทั้งหมดในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์การที่โจทก์พา ส. ไปซื้อที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์ แม้จะไม่ใช่เรื่องผิดสัญญาในส่วนของตัวบุคคลผู้ที่จะเป็นผู้ซื้อก็ตามก็เรียกได้ว่าโจทก์และ ส. ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ค่าซื้อที่ดินส่วนที่ค้างชำระ โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ชอบที่จำเลยทั้งสองจะริบมัดจำได้ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การส่งมอบงาน, การแก้ไขงานเพิ่มเติม, และสิทธิในการเรียกค่าจ้าง
โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้แก่จำเลยแล้วต่อมาจำเลยแจ้งให้โจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำแก้ไขงานที่ยังไม่เรียบร้อยอีก 9 รายการ โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 30 ตุลาคม 2529 แจ้งจำเลยว่าแก้ไขงานเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่จำเลยแจ้งว่างานรายการที่ 5คือบ่อพักบางจุดไม่มีขอบรัดฝาบ่อพัก และฝาบ่อพักไม่วางบนขอบบ่อพัก ให้โจทก์แก้ไขโดยไม่โต้แย้งงานอีก 8 รายการ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์แก้ไขงานอื่นตามที่จำเลยแจ้งเสร็จเรียบร้อยแล้วสำหรับงานรายการที่ 5 นั้น นับแต่เริ่มทำการก่อสร้างปรากฏว่าแนวของท่อระบายน้ำไปติดกับท่อเมนประปาและบ้านเรือนของราษฎร เป็นอุปสรรคไม่สามารถก่อสร้างตามแบบแปลนได้ ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยทำบันทึกลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2529ขออนุมัติจำเลยเปลี่ยนแปลงแนวท่อ จำเลยอนุมัติในวันเดียวกันนั้น โจทก์ได้ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าตามแบบแปลนที่แก้ไขใหม่ โดยย้ายแนวท่อตามที่ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าจำเลยอนุมัติให้แก้ไขรายการก่อสร้างให้ไม่ต้องมีขอบรัดฝา บ่อพักสำหรับบ่อพักที่เป็นปัญหาตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2529 แล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบงานงวดสุดท้าย ให้จำเลยแล้วเสร็จบริบูรณ์ในวันที่ 30 ตุลาคม 2529 จำเลยจึงมีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันนับแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2529 อันเป็นวันหลังวันที่โจทก์จะต้องทำงาน แล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2529 รวมเป็นเวลา 18 วันเท่านั้น ตามสัญญาจ้างมีข้อความว่า จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าคันหินรางตื้นถนนประชาสัมพันธ์ฝั่งด้านทิศใต้จากถนนอุทัยรามฤทธิ์ความยาวไม่น้อยกว่า 555 เมตร เป็นราคารวมทั้งสิ้น1,026,000 บาท เป็นการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโดยกำหนดจุดที่จะก่อสร้างไว้โดยชัดเจน และกำหนดราคาจ้างเหมาทั้งสิ้น โดยกำหนดความยาวของท่อระบายน้ำทางเท้าไม่น้อยกว่า 555 เมตรเมื่อโจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้ายาวเกินกว่า555 เมตร ออกไปอีก 9.20 เมตร แต่ส่วนที่ก่อสร้างเพิ่มเติมยังอยู่ในช่วงถนนตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียก ค่าก่อสร้างเพิ่มเติม โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายแก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันแก้ไข งานเรียบร้อยถึงวันฟ้อง และค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้โจทก์ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล อนาคต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบงานก่อสร้าง, การแก้ไขงาน, และสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มเติม
โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้แก่จำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยแจ้งให้โจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำแก้ไขงานที่ยังไม่เรียบร้อยอีก 9 รายการ โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 30 ตุลาคม 2529 แจ้งจำเลยว่าแก้ไขงานเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่จำเลยแจ้งว่างานรายการที่ 5 คือบ่อพักบางจุดไม่มีขอบรัดฝาบ่อพัก และฝาบ่อพักไม่วางบนขอบบ่อพัก ให้โจทก์แก้ไขโดยไม่โต้แย้งงานอีก 8 รายการ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์แก้ไขงานอื่นตามที่จำเลยแจ้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว สำหรับงานรายการที่ 5 นั้น นับแต่เริ่มทำการก่อสร้างปรากฏว่าแนวของท่อระบายน้ำไปติดกับท่อเมนประปาและบ้านเรือนของราษฎร เป็นอุปสรรคไม่สามารถก่อสร้างตามแบบแปลนได้ ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยทำบันทึกลงวันที่ 26 พฤษภาคม2529 ขออนุมัติจำเลยเปลี่ยนแปลงแนวท่อ จำเลยอนุมัติในวันเดียวกันนั้น โจทก์ได้ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าตามแบบแปลนที่แก้ไขใหม่ โดยย้ายแนวท่อตามที่ช่างควบคุมงานก่อสร้างของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าจำเลยอนุมัติให้แก้ไขรายการก่อสร้างให้ไม่ต้องมีขอบรัดฝาบ่อพักสำหรับบ่อพักที่เป็นปัญหาตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2529แล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้จำเลยแล้วเสร็จบริบูรณ์ในวันที่ 30 ตุลาคม 2529 จำเลยจึงมีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันนับแต่วันที่ 12 ตุลาคม2529 อันเป็นวันหลังวันที่โจทก์จะต้องทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่ 29 ตุลาคม2529 รวมเป็นเวลา 18 วันเท่านั้น
ตามสัญญาจ้างมีข้อความว่า จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าคันหินรางตื้นถนนประชาสัมพันธ์ฝั่งด้านทิศใต้จากถนนอุทัยรามฤทธิ์ถึงถนนวารีราชเดช..ความยาวไม่น้อยกว่า 555 เมตร เป็นราคารวมทั้งสิ้น1,026,000 บาท เป็นการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโดยกำหนดจุดที่จะก่อสร้างไว้โดยชัดเจน และกำหนดราคาจ้างเหมาทั้งสิ้น โดยกำหนดความยาวของท่อระบายน้ำทางเท้าไม่น้อยกว่า 555 เมตร เมื่อโจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้ายาวเกินกว่ากว่า 555 เมตร ออกไปอีก 9.20 เมตร แต่ส่วนที่ก่อสร้างเพิ่มเติมยังอยู่ในช่วงถนนตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าก่อสร้างเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายแก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันแก้ไขงานเรียบร้อยถึงวันฟ้อง และค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้โจทก์ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต
ตามสัญญาจ้างมีข้อความว่า จำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้าคันหินรางตื้นถนนประชาสัมพันธ์ฝั่งด้านทิศใต้จากถนนอุทัยรามฤทธิ์ถึงถนนวารีราชเดช..ความยาวไม่น้อยกว่า 555 เมตร เป็นราคารวมทั้งสิ้น1,026,000 บาท เป็นการว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโดยกำหนดจุดที่จะก่อสร้างไว้โดยชัดเจน และกำหนดราคาจ้างเหมาทั้งสิ้น โดยกำหนดความยาวของท่อระบายน้ำทางเท้าไม่น้อยกว่า 555 เมตร เมื่อโจทก์ก่อสร้างท่อระบายน้ำทางเท้ายาวเกินกว่ากว่า 555 เมตร ออกไปอีก 9.20 เมตร แต่ส่วนที่ก่อสร้างเพิ่มเติมยังอยู่ในช่วงถนนตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าก่อสร้างเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายแก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันแก้ไขงานเรียบร้อยถึงวันฟ้อง และค่าเสียหายในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้โจทก์ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3468/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การบอกเลิกสัญญาและการปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทน
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่าหากโจทก์ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองผู้ขายตามกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายเป็นอันเลิกกันทันที แม้เช็คที่โจทก์สั่งจ่ายให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นการชำระราคาที่เหลือจะถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ตาม แต่วัตถุประสงค์แห่งสัญญานั้นเห็นได้ว่า โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 388 สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 กล่าวคือ จำเลยทั้งสองจะต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระราคาที่เหลือภายในระยะเวลาพอสมควรก่อนถ้าโจทก์ไม่ชำระภายในระยะเวลาดังกล่าวนั้น จำเลยทั้งสองจึงจะบอกเลิกสัญญาเสียได้ การที่จำเลยทั้งสองทราบว่า ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วจำเลยทั้งสองไม่ไปที่สำนักงานที่ดินในวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และต่อมาได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายนั้นจำเลยทั้งสองยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา การซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะพร้อมที่จะสามารถชำระหนี้ได้จะถือว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาในอันที่จะต้องชำระเบี้ยปรับและใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนหุ้นในคดีล้มละลาย พิจารณาความสุจริตและค่าตอบแทนของผู้รับโอน
เมื่อการโอนหุ้นพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านที่ 1 ได้กระทำขึ้นในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายผู้คัดค้านที่ 1 จึงต้องมีภาระพิสูจน์ว่าได้รับโอนหุ้นพิพาทมาจากจำเลยโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ผู้คัดค้านที่ 1 สนิทสนมกับจำเลยเป็นอย่างดี และได้ประกอบกิจการค้าอยู่ด้วยกัน 4-5 ปี ก่อนจำเลยถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายจำเลยได้ถูกฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็คและถูกฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค และในระหว่างระยะเวลานั้นผู้คัดค้านที่ 1 ก็ได้รับโอนหุ้นพิพาทมาจากจำเลย เมื่อผู้ร้องเรียกผู้คัดค้านที่ 1 มาสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องการรับโอนหุ้นพิพาท ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่ยอมมา ส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 ส่วนการโอนหุ้นพิพาทระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการโอนกันภายหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 116 การเพิกถอนการโอนหุ้นพิพาทเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้อง ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกเลิกสัญญา, การคิดดอกเบี้ย, และการหักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝาก
การที่โจทก์บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่จำเลยที่ 1 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาเดิมของจำเลยร่วม ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีผู้รับหนังสือบอกเลิกฉบับนั้นยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปถึงจำเลยที่ 1 โดยชอบแล้วสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2527ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวัน ปรากฏว่าในวันที่ 27 เมษายน 2527จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 301,046.27 บาท จากนั้นจนถึงวันที่สัญญาสิ้นสุดลง และในเวลาต่อมาไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีจึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากันอีกต่อไปแล้ว สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงนับแต่ถึงกำหนดในสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป โจทก์จะต้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เสียในวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง และจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว หากมีหนี้เหลืออยู่เท่าใดโจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ส่วนนั้น พร้อมด้วยดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นต่อไป