คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 204

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,956 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9029/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีหน้าที่รับผิดตามสัญญาประกัน แม้ใช้ที่ดินของห้างหุ้นส่วนเป็นหลักประกัน โดยมีเจตนาทำสัญญาประกันในนามตนเอง
การขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกันนั้นต้องประกอบด้วยผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวประการหนึ่งกับผู้ร้องขอประกันได้จัดหาหลักประกันมาอีกประการหนึ่งตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 106, 112, และมาตรา 114
จำเลยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอประกันและเป็นผู้ทำสัญญาประกันตัว ป. ผู้ต้องหาในคดีความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ จากโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจัดหาหลักประกันมาตามมาตรา 114 เมื่อไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าหลักประกันนั้นจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกันแต่ผู้เดียว การที่จำเลยจัดหาหลักประกันเป็นที่ดินมีโฉนดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของห้างหุ้นส่วน ส. และห้างหุ้นส่วนดังกล่าวยินยอมให้นำโฉนดที่ดินมาวางต่อโจทก์ในการขอปล่อย ป. ผู้ต้องหาชั่วคราว โดยทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้รับโฉนดที่ดินไปดำเนินการแทนนั้น หาได้แปลว่า จำเลยยื่นคำร้องขอประกันและทำสัญญาประกันตัว ป. ผู้ต้องหาคดีดังกล่าวในฐานะที่จำเลยเป็นเพียงตัวแทนของห้างหุ้นส่วน ส. แต่อย่างใดไม่ แต่แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเข้าทำสัญญาประกันตัว ป.ผู้ต้องหาในนามของจำเลยเองด้วย หากจำเลยเป็นแต่เพียงผู้รับมอบอำนาจจากห้างหุ้นส่วน ส. ให้มาประกันตัวผู้ต้องหาจริงแล้ว จำเลยก็ควรระบุไว้ในคำร้องขอประกันและสัญญาประกันด้วยว่า ทำแทนหรือเป็นตัวแทนของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ดังนั้น สัญญาประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยในฐานะคู่สัญญา
การที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดในวันที่ 27 ธันวาคม 2539 ย่อมทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาประกัน โจทก์ชอบที่จะบังคับตามสัญญาประกันได้โดยมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาประกันซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ แต่การชำระหนี้ดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาอันจะพึงชำระหนี้แก่กันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ก่อน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้นั้น ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น กรณีมิใช่เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระในวันเดียวกับวันที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัด อันจะทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ส่งตัว ป. ผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนเพียงแต่มีบันทึกลงไว้ในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานว่าจะได้ดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาดำเนินการฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไปเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยผิดนัดไม่ส่งตัวผู้ต้องหาแล้ว โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยให้ชำระเงินตามสัญญาประกัน จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่ วันที่ 27 ธันวาคม 2539 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้อันเป็นการเรียกให้ชำระหนี้เงินแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาผิดนัดชำระหนี้จากสัญญาประกันตัว: เริ่มเมื่อมีหนังสือบอกกล่าว
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากโจทก์ เมื่อถึงกำหนดนัดส่งตัวผู้ต้องหาในวันที่ 18 มกราคม 2544 จำเลยไม่นำตัวผู้ต้องหามาส่งโจทก์ ย่อมทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาประกันตัว โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ตีราคาประกันไว้ในสัญญาประกันซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ แต่การชำระหนี้ดังกล่าวมิได้มีกำหนดเวลาอันพึงจะชำระแก่กันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้ก่อน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น กรณีมิใช่เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระในวันเดียวกับวันที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วแต่ไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดนับแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาผิดนัดชำระหนี้จากสัญญาประกัน: เริ่มนับเมื่อมีหนังสือบอกกล่าวกำหนดเวลาชำระ
การที่จำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดย่อมทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาประกัน โจทก์ชอบที่จะบังคับตามสัญญาประกันได้โดยมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ตีราคาประกันไว้ในสัญญาประกันซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ แต่การชำระหนี้ดังกล่าวมิได้กำหนดระยะเวลาอันพึงจะชำระแก่กันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้ก่อน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้นั้นย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น กรณีมิใช่หนี้ที่กำหนดระยะเวลาชำระวันเดียวกับวันที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8114-8868/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพการจ้างตามปกติวิสัยและผลของการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายโบนัสโดยไม่ได้รับความยินยอม
โจทก์ทั้งหมดและจำเลยมีการตกลงเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างทุกปีตลอดมาจนเป็นปกติวิสัยโดยไม่ได้ยึดถือหรือคำนวณจากผลประกอบการหรือกำไรสุทธิเป็นเกณฑ์ แต่ยึดอายุงานและความขยันหมั่นเพียรไม่ขาด สาย ป่วย ลา เกินกำหนด เป็นสำคัญ จึงถือได้ว่าเป็นสภาพการจ้างที่ตกลงกันโดยปริยายซึ่งมีผลผูกพันโจทก์ทั้งหมดดังกล่าวและจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม จำเลยจะออกประกาศ ระเบียบหรือกฎเกณฑ์ใดให้ขัดหรือแย้งกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัสนั้นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง เมื่อจำเลยออกประกาศเรื่องการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2544 ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ทั้งหมดมากกว่าสภาพการจ้างเดิม ประกาศของจำเลยฉบับดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับแก่โจทก์รายใดจึงขึ้นอยู่กับโจทก์รายนั้น ๆ ให้ความยินยอมรับเอาเงินโบนัสตามประกาศของจำเลยเป็นสำคัญ
เงินโบนัสประจำปีมีประเพณีปฏิบัติกำหนดจ่ายภายในวันสิ้นปี จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน ดังนั้น โจทก์รายที่ยังไม่ได้รับเงินโบนัส และโจทก์รายที่ได้รับเงินโบนัสประจำปีไปแล้วบางส่วน เมื่อถึงกำหนดจ่ายเงินโบนัสประจำปี จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ดังกล่าว การที่จำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัด แม้ได้ความว่าจำเลยได้ปิดประกาศเรื่องการจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างทราบอันอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติการขอชำระหนี้ก็ตาม แต่ตามประกาศนั้นกำหนดเงินโบนัสที่จะจ่ายน้อยกว่าสิทธิที่โจทก์แต่ละรายจะพึงมีสิทธิได้รับตามข้อตกลงในส่วนที่เป็นสภาพการจ้าง การที่โจทก์เหล่านั้นปฏิเสธจึงมีมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับเงินโบนัสประจำปีพิพาท เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปีตามวันที่กำหนดย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากค่าปรับสัญญาประกัน: การกำหนดค่าปรับ, การแจ้งหนี้, และการผิดนัดชำระ
ธ. ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้ตามกำหนด ถ้าผิดนัดยินยอมชดใช้เงิน 120,000 บาท การที่ ธ. ไม่ส่งตัวผู้ต้องหาในวันที่ 17 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นวันที่กำหนด จึงเป็นการผิดนัดตามสัญญาประกันอันจะต้องเสียค่าปรับนับแต่วันนั้น แต่จำเลยจะผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยค่าปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ก็ต่อเมื่อโจทก์กำหนดค่าปรับและแจ้งให้ ธ. ทราบแล้วไม่ชำระตามมาตรา 204 โจทก์มีหนังสือทวงถามให้ ธ. นำเงินมาชำระในวันที่ 25 มิถุนายน 2542 เมื่อ ธ. ไม่ชำระจึงเป็นการผิดนัดต้องรับผิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับ 120,000 บาท นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2542

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าปรับจากสัญญาประกันตัว: การกำหนดค่าปรับ การแจ้งหนี้ และการผิดนัดชำระ
ธ. ทำสัญญาขอปล่อยชั่วคราว ส. ผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนกับโจทก์ ในวงเงิน 120,000 บาท เมื่อถึงกำหนด นัดส่งตัว ส. ในวันที่ 17 เมษายน 2542 ธ. ไม่นำตัว ส. มาส่งโจทก์จึงเป็นการผิดนัดตามสัญญาประกันอันจะต้องเสียค่าปรับนับแต่วันนั้น แต่จำเลยจะผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยค่าปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 ก็ต่อเมื่อโจทก์กำหนดค่าปรับและแจ้งให้ ธ. ทราบแล้วไม่ชำระ ตามมาตรา 204 โจทก์มีหนังสือทวงถามให้ ธ. นำเงิน 120,000 บาท มาชำระในวันที่ 25 มิถุนายน 2542 ธ. เพิกเฉย ธ. จึงต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงิน 120,000 บาท นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2542 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของทายาทต่อหนี้ของเจ้ามรดก และการคิดดอกเบี้ยจากวันที่ผิดนัดชำระหนี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ ผ. ชำระค่าปรับตามสัญญารับรองการขออนุญาตเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรชั่วคราวแก่โจทก์ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2537 ผ. เพิกเฉยไม่ชำระถือว่า ผ. เป็นฝ่ายผิดนัดตั้งแต่วันที่ 31มีนาคม 2537 เป็นต้นไป โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันที่ ผ. ผิดนัดโดยเป็นผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบอกกล่าวสงวนสิทธิไว้ในหนังสือแจ้งให้ ผ. ชำระเงินแก่โจทก์
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ ผ. จึงเป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของ ผ. มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของ ผ. ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินของ ผ. ทุกชนิด ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่ความรับผิดต่าง ๆ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกันกับ ผ. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกในฐานะทายาทโดยธรรม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ ผ. ต้องรับผิดใช้ให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ ผ. ผิดนัดจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้เริ่มคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยที่ 2และที่ 3 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามที่โจทก์แจ้งจึงไม่ชอบ เพราะมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2และที่ 3 จะต้องรับผิดเป็นส่วนตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินไม่ครบถ้วน โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายได้
การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันโดยจำเลยชำระเงินบางส่วนแล้วเข้าทำนาในที่ดิน ครั้นถึงกำหนดโอนที่ดินจำเลยยังชำระราคาที่ดินแก่โจทก์ไม่ครบตามจำนวนที่ระบุในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2400/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการ: ความรับผิดส่วนบุคคลและการคิดดอกเบี้ย
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการพ.ศ. 2530 ข้อ 13 และข้อ 21 เป็นเพียงกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการเท่านั้น ไม่มีผลทำให้คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอมีสภาพเป็นนิติบุคคล ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจทำสัญญากู้ยืมเงินแทนกองทุนดังกล่าว จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงินและได้รับต้นเงินกู้ไปจากโจทก์ จำเลยจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแม้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2530ข้อ 13 จะกำหนดให้การปฏิบัติงานสวัสดิการภายในส่วนราชการตามระเบียบนี้ให้ถือเป็นการปฏิบัติราชการ แต่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดหนังสือสัญญากู้เงิน จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
จำเลยจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้โจทก์อัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่กฎหมายกำหนดทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ตกเป็นโมฆะ แต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระต้นเงินคืนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ดอกเบี้ยส่วนนี้ไม่ตกเป็นโมฆะ เมื่อสัญญากู้เงินมิได้กำหนดชำระต้นเงินคืนไว้ตามวันแห่งปฏิทิน ดังนั้นโจทก์จะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยต่อเมื่อได้ทวงถามและกำหนดเวลาให้จำเลยชำระต้นเงินแล้วตาม 204 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าได้ทวงถามเมื่อใด จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันซื้อขายสินค้าและการผิดนัดชำระหนี้ตามกำหนด
แม้การสั่งซื้อสินค้าพิพาทและการลงลายมือชื่อรับสินค้าของเจ้าหน้าที่คลังสินค้าของจำเลยจะถูกต้องตามระเบียบที่จำเลยกำหนดหรือไม่ก็ตาม แต่การที่สินค้าพิพาทอยู่ที่จำเลยและพฤติการณ์ที่จำเลยได้ส่งสินค้าพิพาทบางส่วนไปให้โจทก์ซ่อมแซม ถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันในการซื้อสินค้าพิพาทแล้ว จำเลยจึงต้องชำระราคาสินค้าพิพาทแก่โจทก์
ข้อตกลงการชำระราคาสินค้ามีว่าต้องชำระภายใน 45 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้า จึงเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ตามกำหนด จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโดยโจทก์มิพักต้องเตือนอีก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินที่ค้างชำระนับแต่วันครบกำหนด
of 196