พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,956 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญากู้ยืมเงินกรณีคณะกรรมการไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และการคิดดอกเบี้ยเมื่อไม่ได้กำหนดเวลาชำระ
หนังสือ สัญญากู้ยืม เงิน ระบุ คณะกรรมการ กองทุน ผู้บริหาร สำนักงาน การ ประถม ศึกษา อำเภอ เป็น ผู้กู้ โดย มี จำเลย เป็น ผู้ลงนาม ใน ฐานะ ประธาน คณะกรรมการ แต่เมื่อ คณะกรรมการ ไม่มี ฐานะ เป็น นิติบุคคล ที่ จะ สามารถ รับผิด ต่อ โจทก์ ใน ฐานะ บุคคลภายนอก สำหรับ กิจการ ที่ จำเลย กระทำ ไป ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 จึง ถือไม่ได้ว่า จำเลย เข้า ทำ สัญญา แทน ตัวการ ที่ มี ตัว อยู่ จริง ดังนั้น จำเลย จึง ต้อง รับผิด ตาม สัญญากู้ยืม เงิน ตาม ลำพัง สัญญากู้ยืม เงิน ไม่ได้ กำหนด อัตรา ดอกเบี้ย ไว้ เพียงแต่ กำหนด ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ทุกวัน สิ้นเดือน โจทก์ จึง มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย ใน ระหว่าง ผิดนัด อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ อัตรา ร้อยละ 2 บาท ต่อ เดือน ก็ เป็น การ ชำระ ดอกเบี้ย ตาม อำเภอ ใจ โดย รู้ อยู่ ว่า ตน ไม่มี ความผูกพัน ที่ จะ ต้อง ชำระ จำเลย หา มีสิทธิ จะ ได้รับ ดอกเบี้ย ที่ ชำระ ไป แล้ว คืน ไม่ อย่างไร ก็ ตาม เนื่องจาก สัญญากู้ยืม เงิน มิได้ กำหนด เวลา ให้ จำเลย ใช้ คืนเงิน ที่ กู้ยืม และ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้ บอกกล่าว แก่ จำเลย ให้ คืนเงิน ดังกล่าว ภายใน เวลา อันควร ตาม มาตรา 652 จึง ไม่อาจ ถือว่า วันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่ง เป็น วัน หลังจาก วันที่ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย สำหรับ เดือน สุดท้าย ให้ แก่ โจทก์ เป็น วันที่ จำเลย ผิดนัด ต้อง ถือว่า จำเลย ผิดนัด และ ต้อง เสีย ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1759/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญากู้ยืมเงินเมื่อผู้ลงนามไม่ใช่ตัวการ และการคิดดอกเบี้ยเมื่อไม่ได้กำหนดเวลาชำระ
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุคณะกรรมการกองทุนผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเป็นผู้กู้โดยมีจำเลยเป็นผู้ลงนามในฐานะประธานคณะกรรมการ แต่เมื่อคณะกรรมการไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่จะสามารถรับผิดต่อโจทก์ในฐานะบุคคลภายนอกสำหรับกิจการที่จำเลยกระทำไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 820 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าทำสัญญาแทนตัวการที่มีตัวอยู่จริง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินตามลำพัง
สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 บาทต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไม่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากสัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรตามมาตรา 652จึงไม่อาจถือว่าวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์ เป็นวันที่จำเลยผิดนัด ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 บาทต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไม่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากสัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรตามมาตรา 652จึงไม่อาจถือว่าวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์ เป็นวันที่จำเลยผิดนัด ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาซื้อขายและการคืนเงินเมื่อผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้ ศาลพิจารณาความเสียหายและคิดดอกเบี้ย
จำเลยสร้างตึกแถวที่จะขายให้โจทก์เสร็จพร้อมที่จะโอนตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2539 โจทก์ย่อมมีหน้าที่รับโอนและชำระราคาส่วนที่เหลืออีก 2,000,000 บาท แก่จำเลย แต่โจทก์ไม่ชำระแม้ในช่วงเวลานั้นต่างมิได้ถือเอาเงื่อนไขในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ เนื่องจากจำเลยกำลังบอกขายตึกแถวพร้อมที่ดินให้แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ของโจทก์ แต่ไม่เป็นการแน่นอนว่าจะสำเร็จได้ โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอในการเตรียมเงินชำระให้แก่จำเลยการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินที่ค้างชำระแก่จำเลยภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ อันเป็นเวลาหลังจากที่จำเลยปลูกสร้างตึกแถวแล้วเสร็จเกือบ 1 ปี จึงเป็นการบอกกล่าวให้เวลาอันสมควรแล้ว เมื่อหนังสือดังกล่าวมีข้อความแสดงเจตนาเลิกสัญญา และโจทก์ไม่ชำระเงินภายในเวลากำหนดสัญญาจะซื้อจะขายย่อมเป็นอันเลิกกันเมื่อล่วงพ้น 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือทวงถามนั้น แต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมจำเลยมีหน้าที่คืนเงิน 1,200,000 บาท ที่รับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
โจทก์ชำระเงินดาวน์ 300,000 บาท อันเป็นส่วนหนึ่งของเงินจำนวน1,200,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา โดยมิใช่เป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระล่วงหน้า มิใช่มัดจำที่จำเลยจะริบได้ เมื่อจำเลยมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแล้วโจทก์เพิกเฉย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตามมาตรา 215 การที่จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ต้องคืนเงินล่วงหน้า 1,200,000 บาท ให้แก่โจทก์จนครบจำนวน เนื่องจากจำเลยได้รับความเสียหาย เพราะเหตุที่โจทก์ผิดนัดและต้องรับภาระดอกเบี้ยที่กู้ยืมเงินจากธนาคารมาลงทุนปลูกสร้างอาคารพอแปลได้ว่าจำเลยเรียกเอาเงิน 1,200,000 บาท นั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้
การที่โจทก์ไม่ชำระเงิน 2,000,000 บาทให้แก่จำเลยเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี แต่ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์จึงมิได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดไม่ได้ อย่างไรก็ดีการที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่จำเลยย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายดังนั้น แม้จำเลยจะนำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็มีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
โจทก์ชำระเงินดาวน์ 300,000 บาท อันเป็นส่วนหนึ่งของเงินจำนวน1,200,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา โดยมิใช่เป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระล่วงหน้า มิใช่มัดจำที่จำเลยจะริบได้ เมื่อจำเลยมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแล้วโจทก์เพิกเฉย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตามมาตรา 215 การที่จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ต้องคืนเงินล่วงหน้า 1,200,000 บาท ให้แก่โจทก์จนครบจำนวน เนื่องจากจำเลยได้รับความเสียหาย เพราะเหตุที่โจทก์ผิดนัดและต้องรับภาระดอกเบี้ยที่กู้ยืมเงินจากธนาคารมาลงทุนปลูกสร้างอาคารพอแปลได้ว่าจำเลยเรียกเอาเงิน 1,200,000 บาท นั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้
การที่โจทก์ไม่ชำระเงิน 2,000,000 บาทให้แก่จำเลยเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี แต่ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์จึงมิได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดไม่ได้ อย่างไรก็ดีการที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่จำเลยย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายดังนั้น แม้จำเลยจะนำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็มีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาซื้อขายและคืนเงินดาวน์ กรณีผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้และผลกระทบต่อค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายตึกแถวกัน ต่อมาจำเลยปลูกสร้างตึกแถวเสร็จพร้อมที่จะโอนให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมชำระราคาส่วนที่เหลือแก่จำเลย ทั้งโจทก์ยังขอร้องให้จำเลยช่วยบอกขายตึกแถวดังกล่าวให้ด้วยแสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะชำระราคาส่วนที่เหลือแก่จำเลยมาตั้งแต่แรก แม้จะได้ความว่าในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งโจทก์และจำเลยต่างมิได้ถือเอาเงื่อนไขในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญเพราะจำเลยกำลังบอกขายตึกแถวให้แก่ผู้อื่นเพื่อประโยชน์ของโจทก์ก็ตาม แต่ก็ไม่แน่นอนว่าจำเลยจะสามารถขายตึกแถวให้เป็นผลสำเร็จได้ โจทก์จึงย่อมมีเวลาเพียงพอในการเตรียมเงินให้พร้อมเพื่อชำระให้แก่จำเลย การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินที่ค้างอยู่จำนวน 2,000,000 บาท ภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือ อันเป็นเวลาหลังจากที่จำเลยปลูกสร้างตึกแถวแล้วเสร็จและพร้อมที่จะโอนให้โจทก์เกือบ 1 ปี ซึ่งเป็นการบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในเวลาอันควรแล้ว
เมื่อหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินระบุว่าหากพ้นกำหนด 15 วันแล้ว โจทก์ไม่ชำระให้ถือเอาหนังสือฉบับนั้นเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญา การที่โจทก์ไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือภายในเวลาดังกล่าว สัญญาจะซื้อจะขายตึกแถวจึงเป็นอันเลิกกัน อันเป็นผลจากการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันในภายหลังไม่ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโจทก์และจำเลยต้องให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม โดยจำเลยมีหน้าที่คืนเงินที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
เงินดาวน์ 300,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา ไม่ปรากฏว่าเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกันการที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยล่วงหน้า มิใช่เงินมัดจำที่จำเลยจะริบได้ ทั้งไม่มีข้อสัญญาให้จำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ชำระแล้วด้วย
เมื่อโจทก์เพิกเฉยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกกล่าวโจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสองจำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215
ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบถึงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 17.5 ต่อปี ที่จำเลยต้องเสียให้แก่ธนาคารจากการที่โจทก์ผิดนัด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวไม่ได้แต่ศาลมีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของหนี้เงินในระหว่างที่ลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
เมื่อหนังสือแจ้งให้โจทก์ชำระเงินระบุว่าหากพ้นกำหนด 15 วันแล้ว โจทก์ไม่ชำระให้ถือเอาหนังสือฉบับนั้นเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญา การที่โจทก์ไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือภายในเวลาดังกล่าว สัญญาจะซื้อจะขายตึกแถวจึงเป็นอันเลิกกัน อันเป็นผลจากการที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันในภายหลังไม่ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วโจทก์และจำเลยต้องให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม โดยจำเลยมีหน้าที่คืนเงินที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
เงินดาวน์ 300,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา ไม่ปรากฏว่าเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นประกันการที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยล่วงหน้า มิใช่เงินมัดจำที่จำเลยจะริบได้ ทั้งไม่มีข้อสัญญาให้จำเลยมีสิทธิริบเงินที่โจทก์ชำระแล้วด้วย
เมื่อโจทก์เพิกเฉยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกกล่าวโจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสองจำเลยมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่โจทก์ผิดนัดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215
ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบถึงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 17.5 ต่อปี ที่จำเลยต้องเสียให้แก่ธนาคารจากการที่โจทก์ผิดนัด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นถึงความเสียหายเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวไม่ได้แต่ศาลมีอำนาจคิดคำนวณให้ได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีโดยเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของหนี้เงินในระหว่างที่ลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ประกอบกับความสุจริตในการดำเนินคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ และการกำหนดวันผิดนัดชำระหนี้
พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด การที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) จึงเป็นโมฆะ
ตามสัญญากู้ยืมเงินระบุให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือนภายในวันที่ 4 ของทุกเดือน แต่เมื่อจำเลยผ่อนชำระหลังวันที่ 4 ของเดือน โจทก์ก็รับชำระหนี้โดยไม่มีการทักท้วง แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ถือเอาระยะเวลาที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยกำหนดระยะเวลาให้ 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยรับหนังสือทวงถามวันที่ 27 ตุลาคม 2541 ครบ 7 วัน ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดวันผิดนัดในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2541 จึงชอบแล้ว
ตามสัญญากู้ยืมเงินระบุให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือนภายในวันที่ 4 ของทุกเดือน แต่เมื่อจำเลยผ่อนชำระหลังวันที่ 4 ของเดือน โจทก์ก็รับชำระหนี้โดยไม่มีการทักท้วง แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ถือเอาระยะเวลาที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยกำหนดระยะเวลาให้ 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยรับหนังสือทวงถามวันที่ 27 ตุลาคม 2541 ครบ 7 วัน ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดวันผิดนัดในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2541 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8001/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงาน กรณีออกแบบและควบคุมงานผิดพลาด ทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงการก่อสร้าง
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่า โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นวิศวกรผู้ออกแบบสะพานช่วงยาวข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ที่ 3ที่ 5 และที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานให้ร่วมกันควบคุมการก่อสร้างสะพานตามที่วิศวกรผู้ออกแบบได้ออกแบบไว้ ตามสัญญาจ้างเอกสารท้ายฟ้อง แล้วโจทก์ยังบรรยายด้วยว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญาคือมิได้ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิชาชีพ ออกแบบให้ปูสารกันน้ำซึมชนิดมาสติค แอสฟัลท์ไม่เหมาะสมที่จะใช้กับสะพาน ซึ่งจะทำให้มาสติค แอสฟัลท์อ่อนตัว พื้นผิวทางเกิดเป็นคลื่นอย่างรุนแรงและแตกตัวในที่สุด และจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ในฐานะวิศวกรผู้ควบคุมงานก็ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญาคือมิได้ตรวจสอบแบบและข้อกำหนดเกี่ยวกับสารกันน้ำซึมและวัสดุพื้นผิวจราจรที่ใช้ในการก่อสร้างว่าถูกต้องสามารถนำไปใช้ในงานก่อสร้างได้ดีหรือไม่ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเปลี่ยนสารกันน้ำซึมจากมาสติค แอสฟัลท์มาเป็น ที.อี.ยู. ตามคำแนะนำของวิศวกรผู้ควบคุมงานโดยเสียค่าใช้จ่ายในการปูสารกันน้ำซึม ที.อี.ยู. เกินกว่าที่ปูด้วยสารกันน้ำซึมชนิดมาสติค แอสฟัลท์31,821,821.80 บาท และหลังจากเปิดทดลองใช้สะพานแล้ว ปรากฏว่าระบบพื้นผิวจราจรชำรุดเสียหายอย่างมาก ในที่สุดต้องรื้อพื้นผิวจราจรออกทั้งหมดและทำพื้นผิวจราจรโดยใช้สารกันน้ำซึมใหม่ เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดจนค่าขาดประโยชน์รวมเป็นเงิน 139,937,235.79 บาท รวมค่าเสียหายทั้งสิ้น 171,759,057.59 บาทซึ่งเหตุแห่งความเสียหายดังกล่าว เกิดจากความบกพร่องของวิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานที่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงได้บรรยายโดยแจ้งชัดถึงข้ออ้างที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานก็เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดทั้งสองฐานะตามข้อผูกพันของสัญญาแต่ละฉบับซึ่งมีความรับผิดแตกต่างกัน หาใช่เป็นการซ้ำซ้อนไม่ สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการซ่อมแซมที่โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าใช้วัสดุชนิดใดเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยโจทก์เป็นนิติบุคคลตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ข้อ 2 ซึ่งตามข้อ 17 บัญญัติว่า "ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย..." หมายถึง ผู้ว่าการเป็นผู้แทนโจทก์ในการกระทำกิจการต่าง ๆ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการผิดสัญญาของจำเลย ผู้ว่าการซึ่งเป็นผู้แทนของนิติบุคคลย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 70วรรคสอง (มาตรา 75 เดิม)
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบปฏิบัติผิดสัญญาจ้างโดยมิได้ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิชาชีพ ออกแบบผิดพลาดทำให้เกิดความเสียหายขึ้น และฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ในฐานะวิศวกรผู้ควบคุมงานปฏิบัติผิดสัญญาจ้างโดยมิได้ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิชาชีพ ทำให้เกิดความเสียหายขึ้น เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดเนื่องจากการผิดสัญญาจ้างธรรมดาคือออกแบบและควบคุมงานผิดพลาด ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
สัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.1 และจ.2 ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ทั้งสองฉบับระบุไว้ชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.1 และจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 จะร่วมกันทำงานและร่วมรับผิดชอบตามข้อกำหนดในสัญญา และในสัญญาไม่มีข้อความตอนใดแบ่งแยกความรับผิดของจำเลยแต่ละคนไว้ แต่กลับเรียกชื่อคู่สัญญาฝ่ายจำเลยทุกคนรวมกันว่า "วิศวกร" ซึ่งบ่งบอกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ส่วนการจัดองค์การทำงานระหว่างจำเลยด้วยกันเองเป็นเรื่องภายในกลุ่มของจำเลยเอง ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แบ่งแยกความรับผิดของจำเลยแต่ละคนต่อโจทก์ได้
ตามสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องใช้ความรู้ทั้งทางเทคนิคและทางเศรษฐศาสตร์อย่างดีที่สุดและเป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิชาชีพวิศวกรด้วยความชำนาญ เอาใจใส่ ขยันหมั่นเพียรและจะต้องดำเนินการให้เป็นประโยชน์ต่อโจทก์มากที่สุดในการออกแบบสะพานให้สามารถก่อสร้างและใช้งานได้เป็นอย่างดี และจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ในฐานะวิศวกรผู้ควบคุมงานมีหน้าที่และความรับผิดชอบในงานควบคุมการก่อสร้างที่ต้องใช้ความรู้ทางวิชาการวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ และวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างดีที่สุดให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับกันทางด้านวิชาชีพนานาชนิด ต้องดำเนินงานด้วยความชำนาญเอาใจใส่ขยันหมั่นเพียร และเป็นประโยชน์ต่อโจทก์มากที่สุด โดยต้องตรวจสอบแบบก่อสร้างข้อกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ที่ใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์ นำไปใช้ในงานก่อสร้างได้สัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมาย ในกรณีที่ปรากฏข้อผิดพลาดในการออกแบบ ต้องเสนอแนะต่อโจทก์ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบและข้อกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะต้องศึกษาถึงคุณสมบัติของวัสดุที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้งานก่อสร้างสำเร็จลุล่วงใช้ประโยชน์ได้สูงสุดการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ออกแบบให้ใช้มาสติค แอสฟัลท์เป็นสารกันน้ำซึมบนพื้นผิวสะพานที่เป็นเหล็กนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ควรที่จะศึกษาถึงคุณสมบัติของมาสติค แอสฟัลท์อย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับอุณหภูมิที่จะทำให้มาสติค แอสฟัลท์อ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูป เพราะประเทศไทยมีอากาศร้อนและพื้นผิวสะพานที่ออกแบบไว้ก็เป็นเหล็กอากาศร้อนย่อมมีโอกาสที่จะทำให้ความร้อนที่สะสมบนพื้นผิวสะพานที่ทำด้วยเหล็กสูงขึ้นจนทำให้มาสติค แอสฟัลท์อ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูปได้ แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มิได้ศึกษาโดยละเอียดถึงคุณสมบัติของมาสติค แอสฟัลท์ แต่กลับยืนยันในระยะแรกให้ใช้มาสติคแอสฟัลท์ จนผู้รับเหมาต้องทักท้วงหลายครั้ง จึงได้ทำการทดสอบและยอมรับว่ามาสติคแอสฟัลท์ ไม่สามารถใช้เป็นวัสดุกันน้ำซึมบนสะพานได้ นอกจากนั้นหัวหน้าวิศวกรประจำจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยังมีหนังสือถึงผู้อำนวยการโครงการของโจทก์ มีข้อความเกี่ยวกับความเหมาะสมของมาสติค แอสฟัลท์ ว่าเมื่อพิจารณาถึงการรับน้ำหนักและความลาดชันของสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานครแล้ว เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ของการอ่อนตัวของมาสติค แอสฟัลท์ซึ่งจะทำให้ผิวทางเกิดเป็นคลื่นอย่างรุนแรงและแตกในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นในฤดูร้อนแรกของการเปิดใช้งาน การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ออกแบบให้ใช้สารกันน้ำซึมชนิดมาสติค แอสฟัลท์โดยไม่ได้ศึกษาให้ดีเกี่ยวกับคุณสมบัติที่แท้จริงของวัสดุ โดยเฉพาะอุณหภูมิที่จะทำให้วัสดุนั้นอ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูปรวมทั้งการคำนวณเกี่ยวกับความร้อนสะสมของโครงสร้างสะพานที่เป็นเหล็กในประเทศที่มีอากาศร้อนเช่นประเทศไทยว่าสมควรจะใช้วัสดุนั้นเป็นสารกันน้ำซึมหรือไม่ ย่อมเป็นความผิดพลาด บกพร่อง ไม่ใช้ความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นวิศวกรผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ต้องตรวจสอบแบบของวิศวกรผู้ออกแบบตั้งแต่แรกด้วยความระมัดระวังว่าสารกันน้ำซึมชนิดมาสติค แอสฟัลท์เหมาะสมที่จะใช้กับสะพานที่มีพื้นผิวเป็นเหล็กหรือไม่ แต่กลับไม่ทำการตรวจสอบให้ดีแม้ผู้รับเหมาจะได้ทักท้วง แต่วิศวกรผู้ควบคุมงานก็ยังคงยืนยันในระยะแรกให้ใช้มาสติคแอสฟัลท์ และให้ผู้รับเหมาส่งตัวอย่างวัสดุพร้อมแผนงานเพื่อตรวจสอบ ยังคงเป็นสารกันน้ำซึมได้ เพียงแต่ต้องปรับปรุงบ้าง และในเดือนเมษายน 2530 ต่อมาจึงยอมรับว่ามาสติค แอสฟัลท์ไม่เหมาะสม รวมระยะเวลาที่เสียไปถึง 9 เดือน ทำให้เกิดความล่าช้าแก่โครงการก่อสร้างโดยเฉพาะระยะเวลาการทดสอบหาสารกันน้ำซึมชนิดใหม่ที่มีคุณภาพเหมาะสม ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 บกพร่องต่อหน้าที่ตามสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นเช่นกัน
การว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นวิศวกรผู้ออกแบบและให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานนั้นมุ่งประสงค์ให้การก่อสร้างสะพานสัมฤทธิ์ผลใช้งานได้ตามความมุ่งหมาย ที.อี.ยู. โดยความเห็นชอบของวิศวกรดังกล่าว แต่ทั้งวิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานซึ่งทราบดีถึงปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้แล้วมิได้ทำการทดสอบให้แน่ชัด เมื่อสาเหตุของความเสียหายทั้งหมดเกิดจากความบกพร่องในการออกแบบและควบคุมงานเกี่ยวกับการใช้วัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมแก่การใช้งาน วิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย การที่ผู้ออกแบบจะเลือกใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง ผู้ออกแบบควรที่จะต้องทราบถึงคุณสมบัติของวัสดุนั้นว่าใช้งานได้ดีหรือไม่ หากไม่แน่ใจก็ควรจะทดสอบให้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจก่อนที่จะกำหนดให้ใช้วัสดุนั้น การกำหนดใช้วัสดุให้ถูกต้องกับการคิดค้นประดิษฐ์วัสดุขึ้นใหม่เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อจำเลยที่ 1 รับออกแบบ จำเลยที่ 1 ก็ต้องกำหนดหรือหาวัสดุที่จะใช้งานได้กับแบบที่ออกมาหากไม่สามารถหาวัสดุดังกล่าวได้เพราะไม่มีในประเทศไทยหรือไม่มีเวลาเพียงพอที่จะทำการทดสอบการใช้งาน จำเลยที่ 1 ก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบและปรึกษาหาทางแก้ไขมิใช่กำหนดวัสดุหรือเปลี่ยนแปลงวัสดุโดยเพียงแต่เข้าใจว่าน่าจะใช้งานได้หรือทำการทดสอบผิวเผิน แล้วทำการก่อสร้างไปจนเกิดความเสียหายขึ้น
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ออกแบบและควบคุมงานให้งานก่อสร้างสัมฤทธิ์ผลใช้งานได้ เมื่อการออกแบบกำหนดให้ใช้สารกันน้ำซึมครั้งแรกไม่ถูกต้องแล้วมีการเปลี่ยนมาใช้สาร ที.อี.ยู. โดยวิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานเห็นชอบโดยไม่ตรวจสอบหรือทดสอบให้แน่ชัดเสียก่อน จึงไม่อาจอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นคนเลือกสรร ที.อี.ยู. และมีการรับประกันโดยบริษัทผู้ผลิตเพื่อให้ตนเองพ้นผิดได้ ส่วนการที่โจทก์ไม่เรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทผู้ผลิต ที.อี.ยู. ก็เป็นสิทธิในส่วนของโจทก์ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้ว
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะมิได้ฎีกา แต่เนื่องจากเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ได้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
จำเลยทั้งหกก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยทั้งหกจึงมีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกหลังจากผ่านขั้นตอนอนุญาโตตุลาการตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างแล้วได้ และการฟ้องคดีของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการทวงถามการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งหกเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องจึงชอบแล้ว
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยโจทก์เป็นนิติบุคคลตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ข้อ 2 ซึ่งตามข้อ 17 บัญญัติว่า "ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย..." หมายถึง ผู้ว่าการเป็นผู้แทนโจทก์ในการกระทำกิจการต่าง ๆ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการผิดสัญญาของจำเลย ผู้ว่าการซึ่งเป็นผู้แทนของนิติบุคคลย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 70วรรคสอง (มาตรา 75 เดิม)
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบปฏิบัติผิดสัญญาจ้างโดยมิได้ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิชาชีพ ออกแบบผิดพลาดทำให้เกิดความเสียหายขึ้น และฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ในฐานะวิศวกรผู้ควบคุมงานปฏิบัติผิดสัญญาจ้างโดยมิได้ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิชาชีพ ทำให้เกิดความเสียหายขึ้น เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดเนื่องจากการผิดสัญญาจ้างธรรมดาคือออกแบบและควบคุมงานผิดพลาด ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
สัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.1 และจ.2 ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ทั้งสองฉบับระบุไว้ชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.1 และจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 จะร่วมกันทำงานและร่วมรับผิดชอบตามข้อกำหนดในสัญญา และในสัญญาไม่มีข้อความตอนใดแบ่งแยกความรับผิดของจำเลยแต่ละคนไว้ แต่กลับเรียกชื่อคู่สัญญาฝ่ายจำเลยทุกคนรวมกันว่า "วิศวกร" ซึ่งบ่งบอกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ส่วนการจัดองค์การทำงานระหว่างจำเลยด้วยกันเองเป็นเรื่องภายในกลุ่มของจำเลยเอง ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แบ่งแยกความรับผิดของจำเลยแต่ละคนต่อโจทก์ได้
ตามสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องใช้ความรู้ทั้งทางเทคนิคและทางเศรษฐศาสตร์อย่างดีที่สุดและเป็นไปตามมาตรฐานทางด้านวิชาชีพวิศวกรด้วยความชำนาญ เอาใจใส่ ขยันหมั่นเพียรและจะต้องดำเนินการให้เป็นประโยชน์ต่อโจทก์มากที่สุดในการออกแบบสะพานให้สามารถก่อสร้างและใช้งานได้เป็นอย่างดี และจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ในฐานะวิศวกรผู้ควบคุมงานมีหน้าที่และความรับผิดชอบในงานควบคุมการก่อสร้างที่ต้องใช้ความรู้ทางวิชาการวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ และวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างดีที่สุดให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับกันทางด้านวิชาชีพนานาชนิด ต้องดำเนินงานด้วยความชำนาญเอาใจใส่ขยันหมั่นเพียร และเป็นประโยชน์ต่อโจทก์มากที่สุด โดยต้องตรวจสอบแบบก่อสร้างข้อกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ที่ใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์ นำไปใช้ในงานก่อสร้างได้สัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมาย ในกรณีที่ปรากฏข้อผิดพลาดในการออกแบบ ต้องเสนอแนะต่อโจทก์ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบและข้อกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ในฐานะวิศวกรผู้ออกแบบจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะต้องศึกษาถึงคุณสมบัติของวัสดุที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างเพื่อให้งานก่อสร้างสำเร็จลุล่วงใช้ประโยชน์ได้สูงสุดการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ออกแบบให้ใช้มาสติค แอสฟัลท์เป็นสารกันน้ำซึมบนพื้นผิวสะพานที่เป็นเหล็กนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ควรที่จะศึกษาถึงคุณสมบัติของมาสติค แอสฟัลท์อย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับอุณหภูมิที่จะทำให้มาสติค แอสฟัลท์อ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูป เพราะประเทศไทยมีอากาศร้อนและพื้นผิวสะพานที่ออกแบบไว้ก็เป็นเหล็กอากาศร้อนย่อมมีโอกาสที่จะทำให้ความร้อนที่สะสมบนพื้นผิวสะพานที่ทำด้วยเหล็กสูงขึ้นจนทำให้มาสติค แอสฟัลท์อ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูปได้ แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มิได้ศึกษาโดยละเอียดถึงคุณสมบัติของมาสติค แอสฟัลท์ แต่กลับยืนยันในระยะแรกให้ใช้มาสติคแอสฟัลท์ จนผู้รับเหมาต้องทักท้วงหลายครั้ง จึงได้ทำการทดสอบและยอมรับว่ามาสติคแอสฟัลท์ ไม่สามารถใช้เป็นวัสดุกันน้ำซึมบนสะพานได้ นอกจากนั้นหัวหน้าวิศวกรประจำจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยังมีหนังสือถึงผู้อำนวยการโครงการของโจทก์ มีข้อความเกี่ยวกับความเหมาะสมของมาสติค แอสฟัลท์ ว่าเมื่อพิจารณาถึงการรับน้ำหนักและความลาดชันของสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานครแล้ว เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ของการอ่อนตัวของมาสติค แอสฟัลท์ซึ่งจะทำให้ผิวทางเกิดเป็นคลื่นอย่างรุนแรงและแตกในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นในฤดูร้อนแรกของการเปิดใช้งาน การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ออกแบบให้ใช้สารกันน้ำซึมชนิดมาสติค แอสฟัลท์โดยไม่ได้ศึกษาให้ดีเกี่ยวกับคุณสมบัติที่แท้จริงของวัสดุ โดยเฉพาะอุณหภูมิที่จะทำให้วัสดุนั้นอ่อนตัวหรือเปลี่ยนรูปรวมทั้งการคำนวณเกี่ยวกับความร้อนสะสมของโครงสร้างสะพานที่เป็นเหล็กในประเทศที่มีอากาศร้อนเช่นประเทศไทยว่าสมควรจะใช้วัสดุนั้นเป็นสารกันน้ำซึมหรือไม่ ย่อมเป็นความผิดพลาด บกพร่อง ไม่ใช้ความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นวิศวกรผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ต้องตรวจสอบแบบของวิศวกรผู้ออกแบบตั้งแต่แรกด้วยความระมัดระวังว่าสารกันน้ำซึมชนิดมาสติค แอสฟัลท์เหมาะสมที่จะใช้กับสะพานที่มีพื้นผิวเป็นเหล็กหรือไม่ แต่กลับไม่ทำการตรวจสอบให้ดีแม้ผู้รับเหมาจะได้ทักท้วง แต่วิศวกรผู้ควบคุมงานก็ยังคงยืนยันในระยะแรกให้ใช้มาสติคแอสฟัลท์ และให้ผู้รับเหมาส่งตัวอย่างวัสดุพร้อมแผนงานเพื่อตรวจสอบ ยังคงเป็นสารกันน้ำซึมได้ เพียงแต่ต้องปรับปรุงบ้าง และในเดือนเมษายน 2530 ต่อมาจึงยอมรับว่ามาสติค แอสฟัลท์ไม่เหมาะสม รวมระยะเวลาที่เสียไปถึง 9 เดือน ทำให้เกิดความล่าช้าแก่โครงการก่อสร้างโดยเฉพาะระยะเวลาการทดสอบหาสารกันน้ำซึมชนิดใหม่ที่มีคุณภาพเหมาะสม ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 บกพร่องต่อหน้าที่ตามสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นเช่นกัน
การว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นวิศวกรผู้ออกแบบและให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานนั้นมุ่งประสงค์ให้การก่อสร้างสะพานสัมฤทธิ์ผลใช้งานได้ตามความมุ่งหมาย ที.อี.ยู. โดยความเห็นชอบของวิศวกรดังกล่าว แต่ทั้งวิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานซึ่งทราบดีถึงปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้แล้วมิได้ทำการทดสอบให้แน่ชัด เมื่อสาเหตุของความเสียหายทั้งหมดเกิดจากความบกพร่องในการออกแบบและควบคุมงานเกี่ยวกับการใช้วัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมแก่การใช้งาน วิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย การที่ผู้ออกแบบจะเลือกใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง ผู้ออกแบบควรที่จะต้องทราบถึงคุณสมบัติของวัสดุนั้นว่าใช้งานได้ดีหรือไม่ หากไม่แน่ใจก็ควรจะทดสอบให้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจก่อนที่จะกำหนดให้ใช้วัสดุนั้น การกำหนดใช้วัสดุให้ถูกต้องกับการคิดค้นประดิษฐ์วัสดุขึ้นใหม่เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อจำเลยที่ 1 รับออกแบบ จำเลยที่ 1 ก็ต้องกำหนดหรือหาวัสดุที่จะใช้งานได้กับแบบที่ออกมาหากไม่สามารถหาวัสดุดังกล่าวได้เพราะไม่มีในประเทศไทยหรือไม่มีเวลาเพียงพอที่จะทำการทดสอบการใช้งาน จำเลยที่ 1 ก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบและปรึกษาหาทางแก้ไขมิใช่กำหนดวัสดุหรือเปลี่ยนแปลงวัสดุโดยเพียงแต่เข้าใจว่าน่าจะใช้งานได้หรือทำการทดสอบผิวเผิน แล้วทำการก่อสร้างไปจนเกิดความเสียหายขึ้น
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ออกแบบและควบคุมงานให้งานก่อสร้างสัมฤทธิ์ผลใช้งานได้ เมื่อการออกแบบกำหนดให้ใช้สารกันน้ำซึมครั้งแรกไม่ถูกต้องแล้วมีการเปลี่ยนมาใช้สาร ที.อี.ยู. โดยวิศวกรผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานเห็นชอบโดยไม่ตรวจสอบหรือทดสอบให้แน่ชัดเสียก่อน จึงไม่อาจอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นคนเลือกสรร ที.อี.ยู. และมีการรับประกันโดยบริษัทผู้ผลิตเพื่อให้ตนเองพ้นผิดได้ ส่วนการที่โจทก์ไม่เรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทผู้ผลิต ที.อี.ยู. ก็เป็นสิทธิในส่วนของโจทก์ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้ว
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะมิได้ฎีกา แต่เนื่องจากเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ได้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
จำเลยทั้งหกก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยทั้งหกจึงมีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกหลังจากผ่านขั้นตอนอนุญาโตตุลาการตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างแล้วได้ และการฟ้องคดีของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการทวงถามการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งหกเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573-5228/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง, เงินเพิ่มกรณีผิดนัดชำระเฉพาะค่าจ้าง, ข้อตกลงใหม่หลังพ้นสภาพงานไม่ผูกพัน
เงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นรางวัลในการปฏิบัติงานเท่านั้น มิใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง เงินโบนัสจึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 เมื่อเงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้าง การที่นายจ้างไม่จ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างจึงมิใช่กรณีที่นายจ้างจงใจไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างและต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 9 วรรคสอง
ข้อบังคับของธนาคารจำเลยที่ระบุว่า จำเลยจะพิจารณาจ่ายโบนัสให้ปีละ 2 ครั้ง ภายหลังการปิดบัญชีประจำงวด นั้นแม้จำเลยจะจ่ายโบนัสครั้งแรกพร้อมเงินเดือนในเดือนมิถุนายนโดยตลอดก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นกำหนดเวลาจ่ายเงินโบนัสครั้งแรก หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระ จำเลยจะตกเป็นลูกหนี้ผู้ผิดนัดต่อเมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามก่อน
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมแล้ว การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงาน ธ. และต่อมาได้มีการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับเงินโบนัสขึ้นใหม่ ภายหลังที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยแล้วข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามอัตราเดิม
ข้อบังคับของธนาคารจำเลยที่ระบุว่า จำเลยจะพิจารณาจ่ายโบนัสให้ปีละ 2 ครั้ง ภายหลังการปิดบัญชีประจำงวด นั้นแม้จำเลยจะจ่ายโบนัสครั้งแรกพร้อมเงินเดือนในเดือนมิถุนายนโดยตลอดก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นกำหนดเวลาจ่ายเงินโบนัสครั้งแรก หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระ จำเลยจะตกเป็นลูกหนี้ผู้ผิดนัดต่อเมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามก่อน
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมแล้ว การที่จำเลยยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงาน ธ. และต่อมาได้มีการจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับเงินโบนัสขึ้นใหม่ ภายหลังที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยแล้วข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามอัตราเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่จ่ายบำเหน็จตกทอดของส่วนราชการเมื่อมีผู้ทวงถาม และการคิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัด
บำเหน็จตกทอดของ ป. ผู้ตายมิใช่มรดก และกฎหมายมิได้บังคับให้กรมบัญชีกลางจำเลยต้องจ่ายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในทันทีที่ ป. ตาย แต่จะต้องจ่ายเมื่อมีผู้มีส่วนได้เสียทวงถาม โจทก์และจำเลยที่ 2 ยื่นเรื่องราวขอรับบำเหน็จตกทอดของ ป. ต่อจำเลยที่ 1 ต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นภริยาของ ป.โดยโจทก์อ้างว่าจดทะเบียนสมรสกับ ป. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2517ส่วนจำเลยที่ 2 อ้างว่า หย่ากับ ป. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมในปี 2516 แต่ยังมิได้ไปจดทะเบียนหย่า เช่นนี้ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยให้เสร็จไปภายในเวลาอันสมควรว่าจะจ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าปฏิเสธการจ่ายเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้องต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บำเหน็จตกทอดไม่ใช่ทรัพย์มรดก ส่วนราชการผู้จ่ายมีหน้าที่วินิจฉัยสิทธิ และถือเป็นผู้ผิดนัดเมื่อปฏิเสธการจ่าย
บำเหน็จตกทอดมิใช่ทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. บรรพ 6
โจทก์และจำเลยที่ 2 ยื่นเรื่องราวขอรับบำเหน็จตกทอดของ ป. ต่อจำเลยที่ 1 โดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นภริยาของ ป. โจทก์อ้างว่าจดทะเบียนสมรสกับ ป. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2517 ส่วนจำเลยที่ 2 อ้างว่า หย่ากับ ป. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมในปี 2516 แต่ยังมิได้จดทะเบียนหย่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยให้เสร็จไปภายในเวลาอันสมควรว่าจะจ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าปฏิเสธการจ่ายเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้องต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์และจำเลยที่ 2 ยื่นเรื่องราวขอรับบำเหน็จตกทอดของ ป. ต่อจำเลยที่ 1 โดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นภริยาของ ป. โจทก์อ้างว่าจดทะเบียนสมรสกับ ป. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2517 ส่วนจำเลยที่ 2 อ้างว่า หย่ากับ ป. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมในปี 2516 แต่ยังมิได้จดทะเบียนหย่า จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวินิจฉัยให้เสร็จไปภายในเวลาอันสมควรว่าจะจ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่าย แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าปฏิเสธการจ่ายเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้องต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่ายตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน การกำหนดวันผิดนัดชำระหนี้ และสิทธิเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม
จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือนจึงถือได้ว่า ค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์เป็นหนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคสอง หากจำเลยไม่ชำระตามกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับถัดแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไปซึ่งจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันฟ้อง การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง จึงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เมื่อมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา7 วัน
การที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เมื่อมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา7 วัน