พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,956 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยค่าจ้างและการเรียกค่าเพิ่ม กรณีจำเลยผิดนัดชำระค่าจ้างตามกำหนด
จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือนถือได้ว่า ค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์นั้นเป็นหนี้ที่กำหนด เวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคสอง หากจำเลยไม่ชำระตามกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับถัดแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป ซึ่งจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แถลงขอคิดดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันฟ้องตามที่ศาลแรงงานวินิจฉัยไว้ คำพิพากษาของศาลแรงงานที่พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง จึงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นไปโดยจงใจโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน
เมื่อไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นไปโดยจงใจโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดชำระหนี้ค่าจ้าง, ดอกเบี้ยผิดนัด, และเงื่อนไขการเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม
จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือนจึงถือได้ว่า ค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์เป็นหนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฎิทินตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคสอง หากจำเลยไม่ชำระตามกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับถัดแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไปซึ่งจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันฟ้อง การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง จึงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เมื่อมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน
การที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เมื่อมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8701/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหมายจดทะเบียนโอนที่ดินตรงกับวันหยุดราชการ มิอาจถือเป็นเหตุผิดสัญญาได้
วันที่ 17 เมษายน 2537 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินตามสัญญาซื้อขายกัน เป็นวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการไม่อาจจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินกันได้ในวันนั้น และกรณีดังกล่าวไม่ได้อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินให้แก่โจทก์ในวันที่ 18 เมษายน 2537 การที่จำเลยไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ในวันดังกล่าว ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินให้โจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาเรียกเบี้ยปรับและขอคืนเงินมัดจำจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4995/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อเมื่อผู้ให้เช่าไม่ถือเอาการชำระหนี้ตรงเวลาเป็นสาระสำคัญ
สัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทมีใจความว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดการชำระราคาจนทำให้ฝ่ายผู้ให้เช่าต้องติดตามเพื่อเรียกเก็บเองและเสียค่าใช้จ่ายในการนี้ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น และจะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีของเงินจำนวนที่ผิดนัดนี้ ข้อตกลงดังกล่าวนี้เป็นข้อกำหนดเรื่องเบี้ยปรับในกรณีที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตรงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเงื่อนเวลาที่ตกลงกันไว้เพื่อประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมสละประโยชน์นี้เสียได้โดยการแสดงเจตนาอย่างแจ้งชัดหรือโดยปริยาย
ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาโดยตลอดตั้งแต่งวดแรก ทั้งการชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ก็ชำระเลยกำหนดระยะเวลางวดสุดท้ายประมาณ 7 เดือน ผู้ให้เช่าซื้อก็รับเงินดังกล่าวไว้ นอกจากนี้แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่ได้หักดอกเบี้ยออกจากจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อชำระในแต่ละงวดทั้งตามหนังสือที่ผู้ให้เช่าซื้อส่งคืนเช็คที่ชำระค่าเช่าซื้อ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อก็เพียงแต่ขอให้ผู้เช่าซื้อโอนเงินที่ค้างชำระให้เท่านั้น โดยไม่มีการทวงถามหรือกล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้แต่ละงวดเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เช่าซื้อ การที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลา จะถือว่าผู้เช่าซื้อตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุที่ผู้เช่าซื้อผิดนัด
ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาโดยตลอดตั้งแต่งวดแรก ทั้งการชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ก็ชำระเลยกำหนดระยะเวลางวดสุดท้ายประมาณ 7 เดือน ผู้ให้เช่าซื้อก็รับเงินดังกล่าวไว้ นอกจากนี้แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่ได้หักดอกเบี้ยออกจากจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อชำระในแต่ละงวดทั้งตามหนังสือที่ผู้ให้เช่าซื้อส่งคืนเช็คที่ชำระค่าเช่าซื้อ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อก็เพียงแต่ขอให้ผู้เช่าซื้อโอนเงินที่ค้างชำระให้เท่านั้น โดยไม่มีการทวงถามหรือกล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้แต่ละงวดเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เช่าซื้อ การที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลา จะถือว่าผู้เช่าซื้อตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุที่ผู้เช่าซื้อผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4995/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากสัญญาเช่าซื้อเมื่อผู้ให้เช่าซื้อไม่ถือเอาการชำระหนี้ล่าช้าเป็นสาระสำคัญ
สัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทมีใจความว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดการชำระราคาจนทำให้ฝ่ายผู้ให้เช่าต้องติดตามเพื่อเรียกเก็บเองและเสียค่าใช้จ่ายในการนี้ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น และจะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีของเงินจำนวนที่ผิดนัดนี้ ข้อตกลงดังกล่าวนี้เป็นข้อกำหนดเรื่องเบี้ยปรับในกรณีที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตรงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเงื่อนเวลาที่ตกลงกันไว้เพื่อประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมสละประโยชน์นี้เสียได้โดยการแสดงเจตนาอย่างแจ้งชัดหรือโดยปริยาย
ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาโดยตลอดตั้งแต่งวดแรก ทั้งการชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ก็ชำระเลยกำหนดระยะเวลางวดสุดท้ายประมาณ 7เดือน ผู้ให้เช่าซื้อก็รับเงินดังกล่าวไว้ นอกจากนี้แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่ได้หักดอกเบี้ยออกจากจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อชำระในแต่ละงวดทั้งตามหนังสือที่ผู้ให้เช่าซื้อส่งคืนเช็คที่ชำระค่าเช่าซื้อ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อก็เพียงแต่ขอให้ผู้เช่าซื้อโอนเงินที่ค้างชำระให้เท่านั้น โดยไม่มีการทวงถามหรือกล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้แต่ละงวดเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เช่าซื้อ การที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลา จะถือว่าผู้เช่าซื้อตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุที่ผู้เช่าซื้อผิดนัด
ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาโดยตลอดตั้งแต่งวดแรก ทั้งการชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ก็ชำระเลยกำหนดระยะเวลางวดสุดท้ายประมาณ 7เดือน ผู้ให้เช่าซื้อก็รับเงินดังกล่าวไว้ นอกจากนี้แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่ได้หักดอกเบี้ยออกจากจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อชำระในแต่ละงวดทั้งตามหนังสือที่ผู้ให้เช่าซื้อส่งคืนเช็คที่ชำระค่าเช่าซื้อ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อก็เพียงแต่ขอให้ผู้เช่าซื้อโอนเงินที่ค้างชำระให้เท่านั้น โดยไม่มีการทวงถามหรือกล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้แต่ละงวดเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เช่าซื้อ การที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลา จะถือว่าผู้เช่าซื้อตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุที่ผู้เช่าซื้อผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4710/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวสัญญาซื้อขายที่ดินไม่ชอบตามสัญญาและจำเลยผิดสัญญา
หนังสือบอกกล่าวแต่ละฉบับที่จำเลยมีไปถึงโจทก์ได้กำหนดให้โจทก์ไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและชำระเงินที่ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 ตามวันแห่งปฏิทิน การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยไม่ต้องเตือนให้ชำระอีก แต่การที่จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวอีกครั้ง แจ้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและชำระเงินในส่วนที่ค้างชำระทั้งหมดให้แก่จำเลยภายใน 7 วัน นับจากวันที่ออกหนังสือหากเกินกำหนดนี้โจทก์ไม่ไป จำเลยจะถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอีกต่อไป แสดงให้เห็นว่า จำเลยไม่ได้ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อหนังสือบอกกล่าวฉบับ ดังกล่าวให้เวลาปฏิบัติตามภายใน 7 วัน ซึ่งขัดต่อข้อกำหนดในสัญญาซึ่งกำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ การบอกกล่าวของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบและสัญญาดังกล่าวยังมีผลบังคับอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืมเงินและการจำนองทรัพย์สิน แม้ฟ้องผิดฐานแต่ศาลสามารถแก้ไขได้
แม้หนี้เงินกู้จำนวน 3,500,000 บาท ซึ่งอ. สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์ เป็นหนี้ที่อ. ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของอ.ฝ่ายเดียวก็ตามแต่จำเลยก็ยินยอมให้อ.กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่อ. ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4)จำเลยในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับอ. ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้ หนี้เงินกู้ที่อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่อ. และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่อ. สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดยอ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวอ. ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้วกรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีกจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อ เป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตามแต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไร การที่ โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ. สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอมและจำเลย ยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่อ. และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไปจะเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ก็ตามแต่เมื่อจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วต่อมาอ. ได้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์หลังจากนั้นอ. และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีกเมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้งแต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ระบุไว้ในสัญญาในวันที่21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งมิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ตกลงทำสัญญาให้คิดดอกเบี้ยฝ่าฝืนกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืมและจำนองทรัพย์สิน แม้ภริยาไม่ได้กู้โดยตรง แต่ให้ความยินยอมและสัตยาบันถือเป็นลูกหนี้ร่วม
แม้หนี้เงินกู้ซึ่ง อ. สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ. ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของอ.ฝ่ายเดียวก็ตามแต่จำเลยก็ยินยอมให้อ. กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่ อ. ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4) จำเลย ในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับ อ. ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งมิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐาน ดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็น หนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้ หนี้เงินกู้ที่ อ. กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ. และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ. สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ประกันเงินกู้ โดย อ. ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ. ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐาน แห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมี หลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ. ผิดนัดจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อ เป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตามแต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์ นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ. สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอม จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ. และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนอง อัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2537 อ. ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์หลังจากนั้น อ. และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวด วันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็น ผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537 เป็นต้นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัด ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืม และผลของการผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาจำนอง
แม้หนี้เงินกู้ซึ่ง อ.สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์ เป็นหนี้ที่ อ.ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของ อ.ฝ่ายเดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ยินยอมให้ อ.กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่ อ.ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) จำเลยในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับ อ.ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้
หนี้เงินกู้ที่ อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ.สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดย อ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ.ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตาม แต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ.สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21มีนาคม 2537 อ.ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หลังจากนั้น อ.และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้
หนี้เงินกู้ที่ อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ.สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดย อ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ.ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตาม แต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ.สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21มีนาคม 2537 อ.ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หลังจากนั้น อ.และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและการชดใช้ค่าที่ดิน โดยการบังคับจำนองและการเกิดภารจำยอม
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 94068 ของโจทก์และโฉนดเลขที่ 94012 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลย เป็นที่ดินแปลงเดียวกันซึ่งโจทก์ซื้อ มาจากน. โดยมีสิ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินมาก่อนแล้ว ต่อมาโจทก์นำที่ดินโฉนดเลขที่ 94012 ไปจดทะเบียนจำนองและมีการ บังคับจำนอง ซึ่งต.เป็นผู้ประมูลได้จากนั้นต.ขายที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลย ปรากฏว่าสิ่งปลูกสร้าง บางส่วนคือส่วนหนึ่งของบ้านเลขที่ 17 และรั้วบ้านรุกล้ำที่ดิน โฉนดเลขที่ 94068 ของโจทก์ กรณีจึงไม่เข้า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 เพราะการรุกล้ำมิได้ เกิดจากจำเลยสร้างขึ้น เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้จึงต้องนำมาตรา 1312 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับ ตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อส่วนของบ้านเลขที่ 17ที่รุกล้ำ แต่มีสิทธิเรียกเงินเป็นค่าใช้ส่วนแดนกรรมสิทธิ์และดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม เมื่อรั้วบ้าน ที่รุกล้ำนั้นมิใช่การรุกล้ำของโรงเรือนหรือส่วนหนึ่งส่วนใด ของโรงเรือนอันจะปรับใช้มาตรา 1312 ได้ จำเลยจึงต้อง รื้อรั้วบ้านที่รุกล้ำ โจทก์มีคำขอให้จำเลยรื้อสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไป รั้วบ้าน ก็อยู่ในความหมายของสิ่งปลูกสร้างในที่ดินเช่นเดียวกับโรงเรือน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อรั้วบ้านที่รุกล้ำ จึงหาได้ เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องไม่ แม้ก่อนฟ้องคดีนี้จำเลยยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด แต่เมื่อโจทก์ ฟ้องเรียกค่าใช้ที่ดินจากจำเลยแล้ว จำเลยปฏิเสธไม่ยอมชำระ ค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ ย่อมถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด นับแต่วันฟ้องแล้ว