พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,956 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ให้เช่า ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จำเลย ปฏิบัติผิดสัญญาเช่าว่า นับแต่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดจนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าแล้วจำเลยได้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม2533 เป็นต้นมา อันหมายความว่า จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่านับจากเดือนกรกฎาคม 2533 ตลอดมาจนถึงวันฟ้อง ในระหว่างเวลา ดังกล่าวแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยมิได้นำเงินค่าเช่า ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2534 เป็นต้นมา ก็ต้องถือว่ายังอยู่ในข้อกล่าวหาของโจทก์อยู่นั่นเองส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับวันผิดนัดจริงหากยังอยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องแล้วย่อมถือไม่ได้ว่า เป็นเรื่องนอกฟ้อง จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับถือว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว โจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้หาได้ไม่ กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลย ตกเป็นผู้ผิดนัด ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขับไล่ และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิ โดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ในคดีแพ่ง ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิฟ้องโดยไม่สุจริตทำให้ขาดอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะพยายามชำระหนี้
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่าว่า นับแต่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดจนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าแล้ว จำเลยได้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม2533 เป็นต้นมา อันหมายความว่า จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่านับจากเดือนกรกฎาคม2533 ตลอดมาจนถึงวันฟ้อง ในระหว่างเวลาดังกล่าวแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยมิได้นำเงินค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2534เป็นต้นมา ก็ต้องถือว่ายังอยู่ในข้อกล่าวหาของโจทก์อยู่นั่นเอง ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับวันผิดนัดจริงหากยังอยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องแล้วย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องนอกฟ้อง
จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับ ถือว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว โจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้หาได้ไม่ กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ในคดีแพ่ง ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับ ถือว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว โจทก์จะปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้หาได้ไม่ กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ในคดีแพ่ง ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานพิจารณาคดีขาดนัด & ความรับผิดร่วมของผูรับเหมาในค่าจ้าง & ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย
ในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน แม้ในกรณีจำเลยขาดนัดที่ให้ศาลชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้น หากศาลแรงงานเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การคำแถลงของคู่ความ และพยานหลักฐานอื่นที่ปรากฏอยู่ในสำนวน คดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของโจทก์หรือจำเลย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดในค่าจ้างลูกจ้างของผู้รับเหมาช่วง แม้จำเลยขาดนัดศาลก็วินิจฉัยได้จากเอกสาร
ในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน แม้ในกรณีจำเลยขาดนัดที่ให้ศาลชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้นหากศาลแรงงานเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การคำแถลงของคู่ความ และพยานหลักฐานอื่นที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของ โจทก์หรือจำเลย ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่งกำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา และการปรับอัตราดอกเบี้ยเกินสิทธิ
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ และจะชำระต้นเงินกู้ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 180 เดือน นับตั้งแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป โดยจะผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นรายเดือนหากผิดนัดชำระต้นเงินคืนและหรือดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามกำหนดดังกล่าวไม่ว่าเดือนหนึ่งเดือนใดยอมให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ทั้งหมดเมื่อถึงกำหนดผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่23 พฤษภาคม 2535 จำเลยมิได้ผ่อนชำระหนี้เดือนละ 27,000 บาทให้แก่โจทก์ตามกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยย่อมได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีตามข้อตกลงในสัญญากู้เงิน เมื่อปรากฏว่าในวันที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แต่โจทก์กับจำเลยก็ตกลงกันกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี เพียงแต่ตกลงกันตามข้อ 2แห่งสัญญากู้เงินดังกล่าวว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้วอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าที่ตกลงกันไว้โจทก์จึงจะมีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบ ให้เห็นว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้ว ได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือประกาศธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงเพิ่มขึ้น ดังนั้น การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 14 ต่อปี เป็นร้อยละ 17 ต่อปีโดยปรับในวันถัดจากวันทำสัญญาและให้มีผลตั้งแต่วันทำสัญญา ไม่ต้องด้วยข้อกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจปรับอัตรา ดอกเบี้ยขึ้นใหม่ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: การปรับอัตราดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาและมีเหตุผลรองรับ
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ 2,000,000 บาท บอกกล่าวแก่จำเลยหรือไม่ก็ตาม และจะชำระต้นเงินกู้ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 180 เดือนนับตั้งแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป โดยจะผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ 27,000 บาท ทั้งจะเริ่มผ่อนชำระตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535และทุก ๆ วันสิ้นเดือนของเดือนต่อ ๆ ไปไม่ให้ขาดระยะจนกว่าจะชำระเสร็จหากผิดนัดชำระต้นเงินคืนและหรือดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามกำหนดดังกล่าวไม่ว่าเดือนหนึ่งเดือนใดยอมให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ทั้งหมดเมื่อถึงกำหนดผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 จำเลยมิได้ผ่อนชำระหนี้เดือนละ 27,000 บาท ให้แก่โจทก์ ตามกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยย่อมได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีตามข้อตกลงในสัญญากู้เงิน
เมื่อปรากฏว่าในวันที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่โจทก์กับจำเลยก็ตกลงกันกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี เพียงแต่ตกลงกันตามข้อ 2 แห่งสัญญากู้เงินดังกล่าวว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้วอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงจะมีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้ว ได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือประกาศธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงเพิ่มขึ้นดังนั้น การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 14 ต่อปี เป็นร้อยละ 17 ต่อปีโดยปรับในวันถัดจากวันทำสัญญาและให้มีผลตั้งแต่วันทำสัญญาไม่ต้องด้วยข้อกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินดังกล่าว
เมื่อปรากฏว่าในวันที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่โจทก์กับจำเลยก็ตกลงกันกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี เพียงแต่ตกลงกันตามข้อ 2 แห่งสัญญากู้เงินดังกล่าวว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้วอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงจะมีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้ว ได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือประกาศธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงเพิ่มขึ้นดังนั้น การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 14 ต่อปี เป็นร้อยละ 17 ต่อปีโดยปรับในวันถัดจากวันทำสัญญาและให้มีผลตั้งแต่วันทำสัญญาไม่ต้องด้วยข้อกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานกู้ยืมเงินจากเอกสารที่มีลายมือชื่อผู้กู้ แม้ไม่มีคำว่า 'กู้ยืม' ก็ใช้ได้ และการคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัด
คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้เคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่ากู้ยืมอยู่ในหนังสือนั้นเมื่อเอกสารมีข้อความระบุว่าจำเลยเป็นหนี้กู้ยืมเงินโจทก์รวม 116,000 บาท มีลายมือชื่อจำเลยลงไว้ แม้ลายมือชื่อมิได้อยู่ในช่องผู้กู้ แต่มีตัวโจทก์มาสืบประกอบอธิบายว่าเหตุที่ให้จำเลยกู้ยืมเงินเพราะเห็นว่าจำเลยเป็นคนน่าเชื่อถือได้โดยจำเลยกู้เงินไปเพื่อทำสวน จำเลยเองก็เบิกความว่าตนมีสวนอยู่ 80 ไร่ ใช้ปุ๋ยครั้งละประมาณ 2 ตัน เป็นเงินเกือบ20,000 บาท จำเลยถูกธนาคารฟ้องเรียกเงินที่กู้ยืม แสดงว่าฐานะของจำเลยไม่ดีนัก เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารที่มีข้อความระบุว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จึงถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้ จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้น หลักฐานการกู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดวันชำระหนี้ แม้จะมีข้อความส่วนที่เขียนด้วยดินสอว่า "ผู้ยืมมารับใบนี้ไปเมื่อ12 มีนาคม 2537" จะถือเป็นวันที่จำเลยผิดนัดไม่ได้เพียงแต่เป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เท่านั้นจะเป็นการผิดนัดต่อเมื่อโจทก์ได้เตือนให้ชำระหนี้แล้วจำเลยไม่ชำระ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคหนึ่ง จึงจะคิดดอกเบี้ยตามมาตรา 224 เมื่อโจทก์นำสืบว่าได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ซึ่งให้เวลาชำระหนี้ภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือซึ่งใบตอบรับระบุว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามในวันที่ 20 กรกฎาคม 2537จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2537 ต้องชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินได้จากการขายผลิตผลและการเช่าที่ดิน เงินได้เหล่านี้เป็นของเจ้าของและจำเลยมีหน้าที่คืน
ฎีกาโจทก์ที่ว่า เงินที่หักหรือลดเป็นค่าการตลาดร้อยละ 5 จากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์ และเงินค่าเช่าหรือค่าตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์ เป็นฎีกาในปัญหาจากข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วว่า จะมีผลทางกฎหมายว่าเงินดังกล่าวเป็นของโจทก์ หรือเป็นเงินค่าใช้จ่ายปกติที่ต้องเสียซึ่งเป็นเรื่องที่คณะกรรมการบริหารกับผู้ขายที่สามารถจัดเข้าไว้เป็นเงินกองกลางได้เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
เงินค่าการตลาดที่หักหรือลดให้ไว้จากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์เกิดขึ้นหรือมีที่มาจากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์ หาได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้เงินนี้เป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของหรือเป็นเงินกองกลางไม่ ส่วนเงินที่ได้รับตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นดอกผล ย่อมตกได้แก่เจ้าของทรัพย์คือโจทก์ด้วย เมื่อไม่มีกฎหมายหรือระเบียบให้นำเงินดังกล่าวไปใช้ได้โดยไม่ต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว การที่จำเลยนำเงินดังกล่าวไปใช้โดยไม่ส่งคืนโจทก์ ไม่ว่าจะนำไปใช้โดยสุจริตหรือเพื่อประโยชน์ต่อโจทก์ก็ตาม ถือว่าเป็นการนำไปใช้โดยไม่มีอำนาจ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ด้วย
เงินค่าการตลาดที่หักหรือลดให้ไว้จากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์เกิดขึ้นหรือมีที่มาจากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์ หาได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้เงินนี้เป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของหรือเป็นเงินกองกลางไม่ ส่วนเงินที่ได้รับตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นดอกผล ย่อมตกได้แก่เจ้าของทรัพย์คือโจทก์ด้วย เมื่อไม่มีกฎหมายหรือระเบียบให้นำเงินดังกล่าวไปใช้ได้โดยไม่ต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว การที่จำเลยนำเงินดังกล่าวไปใช้โดยไม่ส่งคืนโจทก์ ไม่ว่าจะนำไปใช้โดยสุจริตหรือเพื่อประโยชน์ต่อโจทก์ก็ตาม ถือว่าเป็นการนำไปใช้โดยไม่มีอำนาจ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินรายได้ของสถานศึกษาและค่าเช่าที่ดิน จำเลยต้องชดใช้เงินให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
ฎีกาโจทก์ที่ว่า เงินที่หักหรือลดเป็นค่าการตลาดร้อยละ 5 จากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์ และเงินค่าเช่าหรือค่าตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาจากข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วว่า จะมีผลทางกฎหมายว่าเงินดังกล่าวเป็นของโจทก์ หรือเป็นเงินค่าใช้จ่ายปกติที่ต้องเสียซึ่งเป็นเรื่องที่คณะกรรมการบริหารกับผู้ขายที่สามารถจัดเข้าไว้เป็นเงินกองกลางได้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย เงินค่าการตลาดที่หักหรือลดให้ไว้จากการขายผลิตผลงานฟาร์ม ของโจทก์เกิดขึ้นหรือมีที่มาจากการขายผลิตผลงานฟาร์ม ของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์ หาได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้ เงินนี้เป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของหรือเป็นเงินกองกลางไม่ส่วนเงินที่ได้รับตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นดอกผล ย่อมตกได้แก่เจ้าของทรัพย์คือโจทก์ด้วยเมื่อไม่มีกฎหมายหรือระเบียบให้นำเงินดังกล่าวไปใช้ได้โดยไม่ต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว การที่จำเลยนำเงินดังกล่าวไปใช้โดยไม่ส่งคืนโจทก์ ไม่ว่าจะนำไปใช้โดยสุจริตหรือเพื่อประโยชน์ต่อโจทก์ก็ตาม ถือว่าเป็นการนำไปใช้โดยไม่มีอำนาจ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิหักบัญชีเงินฝากของผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัด
โจทก์มีสิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาที่เรียกชื่อว่าสัญญาจำนำสิทธิ จำนวน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยมาชำระหนี้โจทก์ได้ทันทีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ เมื่อปรากฏจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2535 โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวหักบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้โจทก์นับแต่นั้น การที่โจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปแล้วจึงค่อยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 มาชำระหนี้ เป็นการไม่ถูกต้อง โจทก์จึงต้องใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวตามข้อตกลงในสัญญานั้น