คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ฟักทองพรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแข่งขันขนส่งประจำทาง: ใบอนุญาตขนส่งสาธารณะจำกัดสิทธิในการแข่งขันกับผู้มีใบอนุญาตขนส่งประจำทางได้
บริษัทขนส่งจำกัด ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งประจำทางระหว่างกรุงเทพฯกับเชียงใหม่ ส่วนบริษัทจำเลยได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภทการขนส่งสาธารณะ บริษัทจำเลยได้จัดรถรับส่งคนโดยสารในเส้นทางระหว่างกรุงเทพฯกับลำปางและเชียงใหม่ โดยมีกำหนดวันเวลาที่รถออกแน่นอนเป็นประจำ มีการขายตั๋วโดยสารเป็นรายบุคคลให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะเดินทาง แต่บริการของบริษัทจำเลยมีข้อที่แตกต่างกับของบริษัทขนส่งจำกัด คือ รถของบริษัทจำเลยหยุดรับส่งคนโดยสารระหว่างทางเฉพาะที่ลำปางเพียงแห่งเดียว ส่วนรถของบริษัทขนส่งจำกัดหยุดรับส่งคนโดยสารตามรายทางที่ใบอนุญาตกำหนดไว้ ค่าโดยสารของบริษัทจำเลยแพงกว่าค่าโดยสารของบริษัทขนส่งจำกัด และกำหนดอัตราไว้เพียง 2 อัตรา คือ ระหว่างกรุงเทพฯกับลำปางและระหว่างกรุงเทพฯกับเชียงใหม่ ส่วนบริษัทขนส่งจำกัดคิดค่าโดยสารตามระยะทาง บริษัทจำเลยให้บริการที่ดีกว่าบริษัทขนส่งจำกัด รถของบริษัทจำเลยมีที่นั่งที่สะดวกสบายรวมทั้งมีห้องน้ำอยู่ในรถ ระหว่างทางก็มีอาหารและเครื่องดื่มเลี้ยงผู้โดยสารด้วย ดังนี้ การประกอบการขนส่งของบริษัทจำเลยมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับบริษัทขนส่งจำกัด เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งให้คืนทรัพย์ในคดีอาญา สิ้นสุดเมื่อไม่มีความผิดฐานยักยอก ผู้เสียหายต้องฟ้องทางแพ่ง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ประกอบกับมาตรา 44 วรรค 2 อำนาจของพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สิน หรือราคาแทนผู้เสียหายในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ย่อมเป็นส่วนหนึ่งแห่งคดีอาญา และอำนาจการพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคา ก็เป็นส่วนหนึ่งแห่งคดีอาญา เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอกดังที่โจทก์ฟ้อง อำนาจของพนักงานอัยการที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 43 ย่อมสิ้นไป ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะพิพากษาให้คืน หรือใช้ราคาทรัพย์ได้
(ถูก 1039/2516 ประชุมใหญ่ ทับเสียแล้ว)