พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด ผลบังคับใช้ดอกเบี้ยไม่ทบต้น การหักชำระหนี้จากบัญชีอื่น
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทระบุว่า เมื่อถึงกำหนด 12 เดือนตามข้อ 1 (คือวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533) และไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลากันใหม่ ผู้เบิกเงินเกินบัญชีและธนาคารตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญานี้ต่ออีกคราวละ 6 เดือน ตลอดไป หมายความเพียงว่าหลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามข้อ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเบิกเงินจากโจทก์ต่อไปโดยไม่มีการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนังสือจึงจะเป็นการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน หาใช่ว่าเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามข้อ 1แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินจากโจทก์อีกต่อไป จะเป็นการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน ตลอดไปไม่ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาเป็นหนังสือกันต่อไป และไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่านับแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินจากบัญชีหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่านับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินจากโจทก์อีก การที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เท่านั้นไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันและสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีคือวันที่ 13 พฤศจิกายน2533 ซึ่งมีผลให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ได้ถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น
ผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงให้ดอกเบี้ยแก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีทบต้นตามประเพณีธนาคารพาณิชย์ซึ่งธนาคารจะคำนวณและลงบัญชีตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์ทุกเดือน และโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้นดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน2533 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญานั้นยังไม่ถึง 1 เดือน ตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ยไม่ทบต้น และหลังจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดแล้วโจทก์คิดดอกเบี้ยได้แบบไม่ทบต้น โจทก์คิดดอกเบี้ยในเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2533 ในอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปีดังนั้นนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 แบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้โจทก์ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533การที่โจทก์ยังคงคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิตลอดมาทำให้ยอดหนี้ค้างชำระของจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในบัญชีกระแสรายวันสูงขึ้น จนเวลาให้ล่วงเลยมาจนครบ 1 ปี จึงนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 เข้าหักทอนบัญชีจึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อปรากฏรายการเพียงวันที่ 31 ตุลาคม 2533 ว่า จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ 1,100,010.68 บาท จึงให้ถือยอดเงินดังกล่าวเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินแก่โจทก์เสร็จ โดยให้นำเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน2533 และให้หักเงินที่จำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีนับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2533เป็นต้นไปออกจากยอดเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระโดยหักออกชดใช้เป็นค่าดอกเบี้ยไม่ทบต้นก่อน ที่เหลือให้หักชำระต้นเงินทุกครั้งที่มีการนำเงินเข้าบัญชี จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับ
ผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงให้ดอกเบี้ยแก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีทบต้นตามประเพณีธนาคารพาณิชย์ซึ่งธนาคารจะคำนวณและลงบัญชีตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์ทุกเดือน และโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้นดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน2533 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญานั้นยังไม่ถึง 1 เดือน ตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ยไม่ทบต้น และหลังจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดแล้วโจทก์คิดดอกเบี้ยได้แบบไม่ทบต้น โจทก์คิดดอกเบี้ยในเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2533 ในอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปีดังนั้นนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 แบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้โจทก์ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533การที่โจทก์ยังคงคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิตลอดมาทำให้ยอดหนี้ค้างชำระของจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏในบัญชีกระแสรายวันสูงขึ้น จนเวลาให้ล่วงเลยมาจนครบ 1 ปี จึงนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 เข้าหักทอนบัญชีจึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อปรากฏรายการเพียงวันที่ 31 ตุลาคม 2533 ว่า จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ 1,100,010.68 บาท จึงให้ถือยอดเงินดังกล่าวเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินแก่โจทก์เสร็จ โดยให้นำเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน2533 และให้หักเงินที่จำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีนับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2533เป็นต้นไปออกจากยอดเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระโดยหักออกชดใช้เป็นค่าดอกเบี้ยไม่ทบต้นก่อน ที่เหลือให้หักชำระต้นเงินทุกครั้งที่มีการนำเงินเข้าบัญชี จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อครบกำหนดสัญญา การคิดดอกเบี้ยเกินสิทธิและวิธีการหักชำระหนี้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทระบุว่า เมื่อถึงกำหนด12 เดือน ตามข้อ 1(คือวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533) และไม่มีการ ต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานหนังสือกำหนดเวลา กันใหม่ ผู้เบิกเงินเกินบัญชีและธนาคารตกลงกันให้มีการเบิกเงิน เกินบัญชีตามสัญญานี้ต่ออีกคราวละ 6 เดือน ตลอดไป หมายความ เพียงว่าหลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามข้อ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเบิกเงินจากโจทก์ต่อไปโดยไม่มีการต่ออายุสัญญา เบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนังสือจึงจะเป็นการตกลงให้มี การเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน หาใช่ว่าเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามข้อ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้เบิกเงินจากโจทก์อีกต่อไป จะเป็นการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน ตลอดไปไม่ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาเป็นหนังสือกันต่อไป และไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่านับแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ จำเลยที่ 1ขอเบิกเงินจากบัญชีหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงิน เกินบัญชีต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่านับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด ชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้เบิกเงิน จากโจทก์อีก การที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีหลายครั้ง ภายหลังจากครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เท่านั้นไม่ใช่เพื่อ ให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี อีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ย่อมเลิกกันและสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา เบิกเงินเกินบัญชีคือวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งมีผลให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ได้ถึงวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น ผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงให้ดอกเบี้ยแก่ธนาคารสำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีทบต้นตามประเพณีธนาคารพาณิชย์ซึ่งธนาคารจะคำนวณและลงบัญชีตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์ทุกเดือน และโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็น รายเดือน ดังนั้นดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญานั้น ยังไม่ถึง 1 เดือน ตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ย ไม่ทบต้น หลังจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดแล้วในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีแบบไม่ทบต้นได้ในอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 และเมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัด ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลง แล้วโจทก์มีสิทธิที่จะ หักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้ โจทก์ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 ได้ทันที การที่โจทก์ยังคง คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิ ตลอดมา ทำให้ยอดหนี้ค้างชำระของจำเลยที่ 1 ตามที่ปรากฏ ในบัญชีกระแสรายวันสูงขึ้น จนเวลาให้ล่วงเลยมาจนครบ 1 ปี จึงนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 เข้าหักทอนบัญชีจึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อปรากฏรายการเพียงวันที่ 31 ตุลาคม 2533 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 1,100,010.68 บาท จึงต้องถือยอดเงินดังกล่าวเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533ไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินแก่โจทก์เสร็จ โดยให้นำเงิน จากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยหัก ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 และให้หักเงินที่จำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีนับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2533เป็นต้นไปออกจากยอดเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระโดยหักออกชดใช้เป็นค่าดอกเบี้ยไม่ทบต้นก่อน ที่เหลือให้หักชำระต้นเงินทุกครั้งที่มีการนำเงินเข้าบัญชีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด ไม่ต่ออายุ โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นเกินสิทธิ
ข้อความในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า เมื่อถึงกำหนด12 เดือน คือ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 และไม่มี การต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนังสือกำหนดเวลา กันใหม่ ผู้เบิกเงินเกินบัญชีและธนาคารตกลงให้มีการต่อสัญญานี้ต่อไปอีกคราวละ 6 เดือนตลอดไปนั้น หมายความเพียงว่าหลังจากครบกำหนดในสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเบิกเงินจากโจทก์ต่อไปโดยไม่มีการต่ออายุสัญญาเป็นหนังสือจึงจะเป็น การตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน วันครบกำหนดชำระหนี้คือวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533แต่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็นรายเดือนดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่13 พฤศจิกายน 2533 ยังไม่ครบ 1 เดือน โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยได้แบบไม่ทบต้น เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 โจทก์ชอบที่จะหักเงินจาก บัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้ให้โจทก์ ทั้งตามรายการบัญชีไม่ปรากฏรายการวันที่ 13 พฤศจิกายน 2533 คงปรากฏรายการเพียงวันที่ 31 ตุลาคม 2533 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์1,100,010.68 บาท ดังนั้น ยอกเงินดังกล่าวจึงเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น อัตราร้อยละ 11.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ไปจนกว่าจำเลยที่ 1จะชำระเงินแก่โจทก์เสร็จ โดยให้นำเงินจากบัญชีเงินฝากประจำ ของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 และให้หักเงินที่จำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีนับแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป ออกจากยอดเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระ โดยหักออกชดใช้ เป็นค่าดอกเบี้ยไม่ทบต้นก่อนที่เหลือให้หักชำระต้นเงินทุกครั้ง ที่มีการนำเงินเข้าบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7377/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด: การสิ้นสุดสัญญา, อายุความ, และดอกเบี้ย
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลย ไม่ได้ตกลงกันเกี่ยวกับหนี้เบิกเงินเกินบัญชีว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ต่อกันแล้ว
การที่จำเลยนำเงินเข้าหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 20มกราคม 2525 และหยุดเดินสะพัดบัญชีกับโจทก์ภายหลังจากวันที่ 16 เมษายน 2525โดยมิได้ขอปิดบัญชีต่อโจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คก็มิใช่เป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยาย แม้เมื่อจำเลยหยุดเดินสะพัดทางบัญชีโดยไม่ติดต่อกับโจทก์และโจทก์เขียนข้อความในบัญชีเดินสะพัดว่า บัญชีเงินกู้เกินกำหนดชำระเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียว หาใช่การแสดงเจตนาหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินที่คงเหลือไม่ จึงไม่มีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยปริยาย และภายหลังวันที่ 30 มีนาคม 2527สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยก็ยังคงมีอยู่ตลอดไปหาได้ยกเลิกหรือสิ้นสุดลงไม่ แม้จำเลยจะมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากโจทก์อีกโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือหักทอนบัญชีและมีการผิดนัดชำระแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้อีก
ดังนั้นเมื่อโจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดส่งไปถึงจำเลยเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2537 และเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าว จึงถือได้ว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกและหักทอนบัญชีกันเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม2537 แต่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่ระบุไว้ในหนังสือดังกล่าว คือเริ่มนับแต่วันที่ 15 กันยายน2537 เป็นต้นไป ซึ่งการฟ้องคดีเกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2537 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยนำเงินเข้าหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 20มกราคม 2525 และหยุดเดินสะพัดบัญชีกับโจทก์ภายหลังจากวันที่ 16 เมษายน 2525โดยมิได้ขอปิดบัญชีต่อโจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คก็มิใช่เป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยาย แม้เมื่อจำเลยหยุดเดินสะพัดทางบัญชีโดยไม่ติดต่อกับโจทก์และโจทก์เขียนข้อความในบัญชีเดินสะพัดว่า บัญชีเงินกู้เกินกำหนดชำระเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียว หาใช่การแสดงเจตนาหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินที่คงเหลือไม่ จึงไม่มีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยปริยาย และภายหลังวันที่ 30 มีนาคม 2527สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยก็ยังคงมีอยู่ตลอดไปหาได้ยกเลิกหรือสิ้นสุดลงไม่ แม้จำเลยจะมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากโจทก์อีกโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือหักทอนบัญชีและมีการผิดนัดชำระแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้อีก
ดังนั้นเมื่อโจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดส่งไปถึงจำเลยเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2537 และเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าว จึงถือได้ว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกและหักทอนบัญชีกันเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม2537 แต่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่ระบุไว้ในหนังสือดังกล่าว คือเริ่มนับแต่วันที่ 15 กันยายน2537 เป็นต้นไป ซึ่งการฟ้องคดีเกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2537 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อใด, ดอกเบี้ยทบต้น, และการหักกลบลบหนี้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยรวมอยู่ ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี มีกำหนดเวลา 12 เดือนเมื่อครบกำหนดเวลาแล้วมีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไป อีก 12 เดือน ครบกำหนดในวันที่ 6 สิงหาคม 2535แล้วหลังจากนั้นไม่มีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ออกไปอีกและจำเลยก็ไม่ได้เบิกและถอนเงินออกจากบัญชีอีกเพียงแต่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์รวม4 ครั้ง เท่านั้น ดังนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงในวันที่6 สิงหาคม 2535 หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม 2535 โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงคิดดอกเบี้ยได้ตามธรรมดา โดยไม่ทบต้นเท่านั้น และดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิ คิดจากจำเลยต้องเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและผลต่อการคิดดอกเบี้ย
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี มีกำหนดเวลา 12 เดือน เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วมีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปอีก 12 เดือน ครบกำหนดในวันที่ 6 สิงหาคม 2535 แล้วหลังจากนั้นไม่มีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปอีก และจำเลยก็ไม่ได้เบิกและถอนเงินออกจากบัญชีอีก เพียงแต่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์รวม4 ครั้ง เท่านั้น ดังนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 6 สิงหาคม 2535 หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม 2535โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงคิดดอกเบี้ยได้ตามธรรมดาโดยไม่ทบต้นเท่านั้น และดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยต้องเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเดินสะพัด – การคิดดอกเบี้ย – วันหักบัญชีครั้งสุดท้าย
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์และจำเลยทำต่อกันเป็นแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา วงเงินไม่เกิน 4,000,000 บาทจำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายวันที่ 9 มกราคม 2539 จำนวน 509,000 บาท แล้วจำเลยได้นำเงินฝากเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2539 จำนวน 30,000 บาท หักทอนบัญชีแล้วมียอดหนี้ 4,070,147.21 บาท หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกถอนเงินจาก บัญชีอีก คงมีแต่รายการหนี้ค่าธรรมเนียมเช็คคืนและดอกเบี้ยที่โจทก์คิดทบต้นทุกเดือนจนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเท่านั้นการที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คถอนเงินออกจากบัญชี แล้วโจทก์ไม่ยอมจ่ายเงินและคิดค่าธรรมเนียมเช็คคืนเมื่อวันที่ 22มกราคม 2539 แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปและโจทก์หักทอนบัญชีในวันที่ 31 มกราคม 2539 ถือว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มี การเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่ มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มกราคม 2539 ซึ่งเป็น วันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิ คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทอายุความสัญญาบัตรเครดิต สัญญาไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด อายุความ 2 ปี
โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ให้มีการใช้เช็คเบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้นโดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกัน แล้วคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวย่อมมิใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการโดยใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสด ตลอดจนใช้บัตรเครดิตนั้นเบิกถอนเงินสดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าวโดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายให้จำเลยก่อน และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตดังกล่าวด้วยโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป ซึ่งมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)เมื่อปรากฏว่าวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตโจทก์จะใช้วิธีโอนจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาชำระหนี้และโจทก์ได้แจ้งการหักโอนบัญชีแก่จำเลยครั้งสุดท้ายว่าโจทก์จะหักบัญชีในวันที่ 6 มกราคม 2535 เท่ากับกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ชำระ เป็นการ ผิดนัดชำระหนี้ ดังนี้ อย่างช้าที่สุดที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้จึงเริ่มนับแต่วันถัดไป คือวันที่ 7 มกราคม 2535 เป็นต้นไป นับถึงวันฟ้องวันที่ 3 พฤษภาคม 2539 เป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัตรเครดิตและการคิดอายุความหนี้สินจากสัญญาที่ไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด
โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ให้มีการใช้เช็คเบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้นโดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกัน แล้วคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 856สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวย่อมมิใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น
โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการโดยใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสด ตลอดจนใช้บัตรเครดิตนั้นเบิกถอนเงินสดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว โดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายให้จำเลยก่อน และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตดังกล่าวด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/34 (7) เมื่อปรากฏว่าวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิต โจทก์จะใช้วิธีโอนจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาชำระหนี้ และโจทก์ได้แจ้งการหักโอนบัญชีแก่จำเลยครั้งสุดท้ายว่า โจทก์จะหักบัญชีในวันที่ 6 มกราคม 2535 เท่ากับกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ชำระเป็นการผิดนัดชำระหนี้ ดังนี้อย่างช้าที่สุดที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้จึงเริ่มนับแต่วันถัดไป คือวันที่ 7มกราคม 2535 เป็นต้นไป นับถึงวันฟ้องวันที่ 3 พฤษภาคม 2539 เป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการโดยใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสด ตลอดจนใช้บัตรเครดิตนั้นเบิกถอนเงินสดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว โดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายให้จำเลยก่อน และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตดังกล่าวด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/34 (7) เมื่อปรากฏว่าวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิต โจทก์จะใช้วิธีโอนจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาชำระหนี้ และโจทก์ได้แจ้งการหักโอนบัญชีแก่จำเลยครั้งสุดท้ายว่า โจทก์จะหักบัญชีในวันที่ 6 มกราคม 2535 เท่ากับกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ชำระเป็นการผิดนัดชำระหนี้ ดังนี้อย่างช้าที่สุดที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้จึงเริ่มนับแต่วันถัดไป คือวันที่ 7มกราคม 2535 เป็นต้นไป นับถึงวันฟ้องวันที่ 3 พฤษภาคม 2539 เป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปี หากเป็นค่าทดรองจ่าย ไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและขอสมัครเป็น ผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้วจำเลยจะต้องใช้เงินที่โจทก์จ่ายแทนไปดังกล่าวโดยวิธีการให้โจทก์หักโอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันบัตรเครดิตต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลงในสัญญาการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวน ปรากฏว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตเท่านั้น การที่ จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้ก็เพียงเพื่อให้โจทก์หัก เงิน ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวตาม พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัดและเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระ เงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยในภายหลัง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลย และการที่โจทก์ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยไปก่อนแล้วจึงเรียก เก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)มิใช่สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ10 ปีแต่อย่างใด เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยโดยการหักบัญชีกระแสรายวันหรือบัญชีเงินฝากทุกประเภทของจำเลยที่มีอยู่กับโจทก์ ซึ่งโจทก์จะแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยทราบตามใบแจ้งหักบัญชี เมื่อโจทก์แจ้งจำเลยว่าจะหักบัญชีในวันที่ 6 ธันวาคม 2534เท่ากับว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว ดังนั้นการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาดังกล่าว ถือว่าจำเลย ตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่5 เมษายน 2539 พ้นกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ