พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี - การรับสภาพหนี้ - การคิดดอกเบี้ย - การค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์เป็นข้อตกลงที่จะให้มีบัญชีเดินสะพัดต่อกัน มีกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่ 20 กันยายน 2526 ซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 20 กันยายน 2527 จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2527 และหลังจากนั้นคงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนตลอดมา ทั้งยอดหนี้ในวันครบกำหนดสัญญาก็มีจำนวนสูงกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญา ประกอบกับสัญญาครบกำหนดแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอันแสดงว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2530แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชี เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันนับแต่วันที่ 20 กันยายน2527 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนไม่
การที่จำเลยที่ 1 โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ในวันที่ 23 เมษายน 2530 เป็นการรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1 อายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(มาตรา 172 เดิม) และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน2530 เป็นต้นไป หนี้รายนี้เป็นบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม2537 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่เหตุที่อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ให้การยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ได้รับสภาพหนี้เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามพระราชบัญญัติให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้ หลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี โดยไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์
สำหรับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำกัดวงเงินจำนวน 75,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ย แม้จะปรากฏว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 75,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์เพียงใด ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 75,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2527 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2527 และดอกเบี้ยไม่ทบต้น นับแต่วันที่ 21 กันยายน 2527 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
การที่จำเลยที่ 1 โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ในวันที่ 23 เมษายน 2530 เป็นการรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1 อายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(มาตรา 172 เดิม) และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน2530 เป็นต้นไป หนี้รายนี้เป็นบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม2537 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่เหตุที่อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลง ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ให้การยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ได้รับสภาพหนี้เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามพระราชบัญญัติให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้ หลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี โดยไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์
สำหรับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำกัดวงเงินจำนวน 75,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ย แม้จะปรากฏว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 75,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์เพียงใด ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 75,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2527 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2527 และดอกเบี้ยไม่ทบต้น นับแต่วันที่ 21 กันยายน 2527 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกัน อายุความสะดุดหยุดจากรับสภาพหนี้ ผู้ค้ำประกันจำกัดความรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์เป็นข้อตกลงที่จะให้มีบัญชีเดินสะพัดต่อกัน มีกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่ 20 กันยายน 2526ซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 20 กันยายน 2527 จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2527 และหลังจากนั้นคงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนตลอดมา ทั้งยอดหนี้ในวันครบกำหนดสัญญาก็มีจำนวนสูงกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญา ประกอบกับสัญญาครบกำหนดแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอันแสดงว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 1 ครั้งเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2530 แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชี เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันนับแต่วันที่ 20 กันยายน 2527 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดที่จำเลยที่ 1จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนไม่
การที่จำเลยที่ 1 โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ในวันที่ 23เมษายน 2530 เป็นการรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1อายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา193/14 (มาตรา 172 เดิม) และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน2530 เป็นต้นไป หนี้รายนี้เป็นบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2537 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่เหตุที่อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ให้การยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ได้รับสภาพหนี้เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.ให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523ดังนี้ หลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี โดยไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์
สำหรับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำกัดวงเงินจำนวน 75,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ย แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 75,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ด้วยไม่เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์เพียงใดผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 75,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2527 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2527 และดอกเบี้ยไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 21 กันยายน 2527 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
การที่จำเลยที่ 1 โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ในวันที่ 23เมษายน 2530 เป็นการรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1อายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา193/14 (มาตรา 172 เดิม) และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน2530 เป็นต้นไป หนี้รายนี้เป็นบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2537 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่เหตุที่อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ให้การยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ได้รับสภาพหนี้เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.ให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523ดังนี้ หลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี โดยไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์
สำหรับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำกัดวงเงินจำนวน 75,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ย แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 75,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ด้วยไม่เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์เพียงใดผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 75,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2527 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2527 และดอกเบี้ยไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 21 กันยายน 2527 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์สมบูรณ์เมื่อกล่าวถึงประเด็นสำคัญ, สิทธิในการคิดดอกเบี้ยทบต้น, และค่าเบี้ยประกันตามสัญญา
อุทธรณ์จะสมบูรณ์หรือไม่ ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทั้งฉบับ มิใช่พิจารณาเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดเท่านั้น
แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว
สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้
แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสัญญาที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่าจำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลงดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้
ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป
แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว
สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้
แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสัญญาที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่าจำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลงดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้
ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์สมบูรณ์เมื่อกล่าวถึงประเด็นสำคัญ แม้ไม่คัดลอกคำพิพากษาทั้งหมด การปรับดอกเบี้ยและค่าเบี้ยประกันภัยตามสัญญา
อุทธรณ์จะสมบูรณ์หรือไม่ ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทั้งฉบับมิใช่พิจารณาเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดเท่านั้น แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้ คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ย ในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสำคัญที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลง ต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่า จำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้า กับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลง ดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้ โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้ ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดิ่งที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3476/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการหักกลบลบหนี้จากเงินฝากประจำหลังสัญญาสิ้นสุด ต้องกระทำภายในสัญญากำลังมีผลบังคับใช้
แม้ตามข้อตกลงจะแสดงว่าธนาคารโจทก์มีสิทธิและอำนาจหักทอนบัญชีนำเงินฝากประจำตามสมุดคู่ฝากเงินที่จำเลยจำนำไว้แก่โจทก์มาหักกลบลบหนี้กับยอดเงินเบิกเกินบัญชีได้เมื่อใดก็ตามแต่สิทธิและอำนาจนี้โจทก์ต้องดำเนินการในระหว่างสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลใช้บังคับเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันว่าไม่มีรายการเดินสะพัดทางบัญชีอันจะเป็นหลักฐานว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อปีอีกนับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันที่5พฤศจิกายน2534ทั้งสมุดเงินฝากประจำก็ปิดบัญชีแล้วในวันที่11กันยายน2534คงมีแต่จำเลยได้นำเงินบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ตามยอดเงินที่ค้างชำระในวันที่8พฤษภาคม2535จำนวน353,997.70บาทเท่านั้นหาเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีแต่อย่างใดไม่แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเดินสะพัดทางบัญชีกับจำเลยอีกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่5พฤศจิกายน2534เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธินำเงินฝากประจำตามสมุดคู่ฝากเงินที่จำเลยจำนำไว้แก่โจทก์มาหักโอนชำระหนี้แก่โจทก์ทันทีหลังจากนั้นหากจำเลยยังค้างชำระหนี้อยู่จำนวนเท่าใดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินดังกล่าวแบบไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ19ต่อปีจนกว่าจะชำระเสร็จเท่านั้นหาใช่โจทก์จะใช้สิทธิและอำนาจคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตามอำเภอใจเมื่อใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและหนังสือต่ออายุ การกำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุไว้ชัดแจ้งว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินที่ได้เบิกไปในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และในสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันกับสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง ก็ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตรา ดังกล่าว สำหรับหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 4 ฉบับนั้น ฉบับแรกไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ อัตราดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ฉบับที่สองและฉบับที่สามกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 17.5 ต่อปีเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 19 ต่อปีเป็นร้อยละ 17.5 ต่อปี และฉบับที่สี่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ อัตราดอกเบี้ยจึงเป็นไปตามอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สามคือร้อยละ 17.5 ต่อปีดังนี้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย ไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสอง ชำระดอกเบี้ยไม่เกินกว่าอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นการพิพากษาที่ชอบแล้ว จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินไม่เกิน 600,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีโดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าธรรมเนียมศาลแทนโจทก์เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่2 ต้องรับผิด เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่สำหรับค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนโจทก์นั้นเป็นจำนวนน้อยและต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดมากจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดลงหรือแยกให้จำเลยที่ 2 รับผิด ศาลฎีกาจึงให้จำเลยที่ 2ร่วมชำระค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุไว้ชัดแจ้งว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินที่ได้เบิกไปในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และในสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันกับสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง ก็ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราดังกล่าว สำหรับหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 4 ฉบับนั้น ฉบับแรกไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ อัตราดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ฉบับที่สองและฉบับที่สามกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 17.5 ต่อปี เป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 19 ต่อปีเป็นร้อยละ 17.5 ต่อปี และฉบับที่สี่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ อัตราดอกเบี้ยจึงเป็นไปตามอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สามคือร้อยละ 17.5 ต่อปี ดังนี้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยไม่เกินกว่าอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นการพิพากษาที่ชอบแล้ว
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินไม่เกิน 600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีโดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าธรรมเนียมศาลแทนโจทก์เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่สำหรับค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนโจทก์นั้นเป็นจำนวนน้อยและต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดมากจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดลงหรือแยกให้จำเลยที่ 2 รับผิด ศาลฎีกาจึงให้จำเลยที่ 2 ร่วมชำระค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินไม่เกิน 600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีโดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าธรรมเนียมศาลแทนโจทก์เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่สำหรับค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนโจทก์นั้นเป็นจำนวนน้อยและต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดมากจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดลงหรือแยกให้จำเลยที่ 2 รับผิด ศาลฎีกาจึงให้จำเลยที่ 2 ร่วมชำระค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเกินบัญชี: สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนกว่าจะบอกเลิกสัญญา & การฟ้องร้องต้องระบุรายละเอียดหนี้ชัดเจน
คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีการค้าของธนาคารโจทก์ได้บรรยายที่มาแห่งหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามความรับผิดของจำเลยทั้งสามที่มีต่อโจทก์และการคิดดอกเบี้ยตลอดจนจำนวนหนี้ที่คำนวณถึงวันฟ้องโดยละเอียดและชัดแจ้งเป็นที่เข้าใจได้อย่างดีว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์เพราะเหตุใดจำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ให้โจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนเงินเท่าใดและจำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนเงินเท่าใดจึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วโจทก์หาต้องแบบหลักฐานหรือเอกสารแสดงรายละเอียดการเบิกเงินการชำระเงินการหักทอนบัญชีและการคิดดอกเบี้ยในแต่ละเดือนมาพร้อมกับคำฟ้องไม่เพราะเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบกันต่อไปในชั้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่1ได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารโจทก์ต่อมาจำเลยที่1ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวในวงเงิน16,500,000บาทโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้กรณีเช่นนี้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ซึ่งมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้คืนจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้วสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยที่1ให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา856และ859ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกันโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกัน ตามรายการในบัญชีของโจทก์ระบุข้อความไว้ถึงจำนวนวงเงินเบิกเกินบัญชีอัตราดอกเบี้ยและวันครบกำหนดไว้ว่าเป็นวันที่30ธันวาคม2528ซึ่งเป็นเพียงวิธีปฏิบัติทางบัญชีภายในของโจทก์มิได้ผูกพันถึงจำเลยที่1ด้วยและจำเลยที่1และที่2ก็มิได้ตกลงกันให้การเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่1ครบกำหนดตามวันที่ระบุไว้ตามรายการในบัญชีดังกล่าวทั้งตามรายการในบัญชีที่โจทก์ยกยอดมาตั้งเป็นบัญชีใหม่เมื่อวันที่30สิงหาคม2528ในช่องวันครบกำหนดก็มิได้ระบุวันครบกำหนดไว้และโจทก์ยังคงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่1ต่อไปดังนั้นจึงไม่อาจถือว่าโจทก์และจำเลยที่1ตกลงถือเอาวันที่ระบุไว้ในบัญชีเป็นวันครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและมีการต่อสัญญากันจนถึงวันที่30ธันวาคม2528อันเป็นวันสิ้นสุดของสัญญาไม่แม้หลังจากวันที่30ธันวาคม2528จะปรากฏว่าจำเลยที่1ไม่เคยเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวอีกและมียอดเงินในบัญชียังไม่เกินวงเงินตามข้อตกลงในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีคงปรากฏแต่รายการที่จำเลยที่1นำเงินชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเท่านั้นก็ตาแต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงยังไม่สิ้นสุดลงโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาได้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนไว้ส่งไปถึงจำเลยวันที่1มีนาคม2534และเรียกให้ชำระหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ทั้งหมดภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถามหากไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ได้สิ้นสุดลงณวันครบกำหนดเวลาดังกล่าวจึงถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกและหักทอนบัญชีในวันที่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่31มีนาคม2534ซึ่งเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1เป็นอันสิ้นสุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนกว่าจะบอกเลิกสัญญา
คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีการค้าของธนาคาร โจทก์ได้บรรยายที่มาแห่งหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม ความรับผิดของจำเลยทั้งสามที่มีต่อโจทก์ และการคิดดอกเบี้ยตลอดจนจำนวนหนี้ที่คำนวณถึงวันฟ้องโดยละเอียดและชัดแจ้งเป็นที่เข้าใจได้อย่างดีว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์เพราะเหตุใด จำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ให้โจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนเงินเท่าใด และจำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนเงินเท่าใดจึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วโจทก์หาต้องแบบหลักฐานหรือเอกสาร แสดงรายละเอียดการเบิกเงินการชำระเงิน การหักทอนบัญชีและการคิดดอกเบี้ยในแต่ละเดือนมาพร้อมกับคำฟ้องไม่ เพราะเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบกันต่อไปในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 1 ได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวในวงเงิน 16,500,000 บาท โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ กรณีเช่นนี้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้คืนจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้วสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856และ 859 ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกัน ตามรายการในบัญชีของโจทก์ระบุข้อความไว้ถึงจำนวนวงเงินเบิกเกินบัญชี อัตราดอกเบี้ยและวันครบกำหนดไว้ว่าเป็นวันที่30 ธันวาคม 2528 ซึ่งเป็นเพียงวิธีปฏิบัติทางบัญชีภายในของโจทก์มิได้ผูกพันถึงจำเลยที่ 1 ด้วย และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ตกลงกันให้การเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1ครบกำหนดตามวันที่ระบุไว้ตามรายการในบัญชีดังกล่าว ทั้งตามรายการในบัญชีที่โจทก์ยกยอดมาตั้งเป็นบัญชีใหม่เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม2528 ในช่องวันครบกำหนดก็มิได้ระบุวันครบกำหนดไว้และโจทก์ยังคงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ต่อไป ดังนั้นจึงไม่อาจถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงถือเอาวันที่ระบุไว้ในบัญชีเป็นวันครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและมีการต่อสัญญากันจนถึงวันที่30 ธันวาคม 2528 อันเป็นวันสิ้นสุดของสัญญาไม่ แม้หลังจากวันที่30 ธันวาคม 2528 จะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวอีกและมียอดเงินในบัญชียังไม่เกินวงเงิน ตามข้อตกลงในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี คงปรากฏแต่รายการที่จำเลยที่ 1 นำเงินชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเท่านั้น ก็ตา แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาได้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนไว้ส่งไปถึงจำเลยวันที่ 1 มีนาคม 2534 และเรียกให้ชำระหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ทั้งหมดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม หากไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดลง ณ วันครบกำหนดเวลาดังกล่าวจึงถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกและหักทอนบัญชีในวันที่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2534 ซึ่งเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันสิ้นสุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, การเลิกสัญญา, และสิทธิเรียกร้องหนี้
คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีการค้าของธนาคาร โจทก์ได้บรรยายที่มาแห่งหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสาม ความรับผิดของจำเลยทั้งสามที่มีต่อโจทก์ และการคิดดอกเบี้ยตลอดจนจำนวนหนี้ที่คำนวณถึงวันฟ้องโดยละเอียดและชัดแจ้งเป็นที่เข้าใจได้อย่างดีว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์เพราะเหตุใด จำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ให้โจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนเงินเท่าใด และจำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นจำนวนเงินเท่าใดจึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว โจทก์หาต้องแนบหลักฐานหรือเอกสาร แสดงรายละเอียดการเบิกเงิน การชำระเงิน การหักทอนบัญชีและการคิดดอกเบี้ยในแต่ละเดือนมาพร้อมกับคำฟ้องไม่ เพราะเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบกันต่อไปในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวในวงเงิน 16,500,000 บาท โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ กรณีเช่นนี้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้คืนจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 856 และ 859 ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกัน
ตามรายการในบัญชีของโจทก์ระบุข้อความไว้ถึงจำนวนวงเงินเบิกเกินบัญชี อัตราดอกเบี้ยและวันครบกำหนดไว้ว่าเป็นวันที่ 30 ธันวาคม 2528ซึ่งเป็นเพียงวิธีปฏิบัติทางบัญชีภายในของโจทก์มิได้ผูกพันถึงจำเลยที่ 1 ด้วย และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ตกลงกันให้การเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ครบกำหนดตามวันที่ระบุไว้ตามรายการในบัญชีดังกล่าว ทั้งตามรายการในบัญชีที่โจทก์ยกยอดมาตั้งเป็นบัญชีใหม่เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2528 ในช่องวันครบกำหนดก็มิได้ระบุวันครบกำหนดไว้และโจทก์ยังคงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1ต่อไป ดังนั้นจึงไม่อาจถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงถือเอาวันที่ระบุไว้ในบัญชีเป็นวันครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและมีการต่อสัญญากันจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม2528 อันเป็นวันสิ้นสุดของสัญญาไม่ แม้หลังจากวันที่ 30 ธันวาคม 2528 จะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวอีกและมียอดเงินในบัญชียังไม่เกินวงเงิน ตามข้อตกลงในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี คงปรากฏแต่รายการที่จำเลยที่ 1 นำเงินชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเท่านั้น ก็ตาม แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาได้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนไว้ส่งไปถึงจำเลยวันที่ 1 มีนาคม 2534 และเรียกให้ชำระหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ทั้งหมดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม หากไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดลง ณ วันครบกำหนดเวลาดังกล่าว จึงถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกและหักทอนบัญชีในวันที่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2534 ซึ่งเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันสิ้นสุดลง
จำเลยที่ 1 ได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวในวงเงิน 16,500,000 บาท โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ กรณีเช่นนี้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้คืนจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 856 และ 859 ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกัน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกัน
ตามรายการในบัญชีของโจทก์ระบุข้อความไว้ถึงจำนวนวงเงินเบิกเกินบัญชี อัตราดอกเบี้ยและวันครบกำหนดไว้ว่าเป็นวันที่ 30 ธันวาคม 2528ซึ่งเป็นเพียงวิธีปฏิบัติทางบัญชีภายในของโจทก์มิได้ผูกพันถึงจำเลยที่ 1 ด้วย และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ตกลงกันให้การเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ครบกำหนดตามวันที่ระบุไว้ตามรายการในบัญชีดังกล่าว ทั้งตามรายการในบัญชีที่โจทก์ยกยอดมาตั้งเป็นบัญชีใหม่เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2528 ในช่องวันครบกำหนดก็มิได้ระบุวันครบกำหนดไว้และโจทก์ยังคงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1ต่อไป ดังนั้นจึงไม่อาจถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงถือเอาวันที่ระบุไว้ในบัญชีเป็นวันครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและมีการต่อสัญญากันจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม2528 อันเป็นวันสิ้นสุดของสัญญาไม่ แม้หลังจากวันที่ 30 ธันวาคม 2528 จะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวอีกและมียอดเงินในบัญชียังไม่เกินวงเงิน ตามข้อตกลงในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี คงปรากฏแต่รายการที่จำเลยที่ 1 นำเงินชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเท่านั้น ก็ตาม แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงยังไม่สิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาได้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด
โจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนไว้ส่งไปถึงจำเลยวันที่ 1 มีนาคม 2534 และเรียกให้ชำระหนี้ค้างชำระแก่โจทก์ทั้งหมดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม หากไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดลง ณ วันครบกำหนดเวลาดังกล่าว จึงถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกและหักทอนบัญชีในวันที่ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2534 ซึ่งเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันสิ้นสุดลง