พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต การปรับอัตราดอกเบี้ยต้องแจ้งให้ทราบ และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาเลิก
ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต ให้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่ในกรณีที่มีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยยินยอมให้ธนาคารเรียกดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ จำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยได้และให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติในการคิดดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ แต่ข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยได้พลการเองโดยมิต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อน เมื่อโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนว่าจะปรับดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละเท่าใดแล้วจึงต้องถือว่าโจทก์ยังคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ15 ต่อปี ตามข้อสัญญาเดิม โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยการประกาศหนังสือพิมพ์ระบุว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่พร้อมดอกเบี้ยให้นำมาชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2535ซึ่งโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 16ตุลาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่นำเงินมาชำระตามกำหนดที่โจทก์ทวงถาม สัญญาจึงเป็นอันเลิกกัน โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2535 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6457/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นฝ่าฝืนกฎหมาย, อายุความจำนอง, สิทธิบังคับจำนอง
ตามคำขอกู้เงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โจทก์ได้ระบุวัตถุประสงค์จะขอกู้เงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากจำเลยจำนวน 984,000 บาท โดยขอนำที่ดินจำนองเป็นประกัน กำหนดชำระคืนภายใน 120 เดือน เดือนละ 16,400 บาทซึ่งต่อมาก็มีการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จำเลย โดยโจทก์จำนองที่ดิน เป็นประกันจึงเป็นเรื่องสัญญากู้ยืมเงินธรรมดา แม้ตามบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองระบุข้อความว่า ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ยอมส่งเงินดอกเบี้ยทุก ๆ เดือนเสมอไป ถ้าผิดนัดชำระดอกเบี้ยยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ค้างทบเข้าในบัญชีของผู้จำนองด้วย ก็เห็นได้ว่า โจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียวไม่มีหนี้สินอะไรที่จะหักกลบลบหนี้ในทางบัญชีเดินสะพัดได้ ส่วนบัญชีที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองดังกล่าว ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทำบัญชีเพื่อประสงค์จะทราบว่าโจทก์กู้เงินไปเมื่อใด จำนวนเท่าใด ผ่อนชำระดอกเบี้ยและต้นเงินแล้วเพียงใดกับยังค้างชำระอีกเท่าใด หาใช่บัญชีเดินสะพัดหรือการค้าขายอย่างอื่นทำนองบัญชีเดินสะพัดไม่ เมื่อบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความว่า ต้องรอให้ดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนจึงจะนำมาทบเข้ากับต้นเงิน แล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น กรณีต้องปรับด้วย ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ซึ่งห้ามเอาดอกเบี้ยทบเข้ากับต้นเงิน ข้อตกลงเฉพาะที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายข้างต้นตกเป็นโมฆะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
หนี้กู้ยืมที่สัญญาจำนองประกันอยู่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 แต่กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจำนองจึงบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้
หนี้กู้ยืมที่สัญญาจำนองประกันอยู่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 แต่กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจำนองจึงบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การบอกเลิกสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, และการคิดดอกเบี้ยหลังสิ้นสุดสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์และได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์และเพิ่มวงเงินกู้2ครั้งรวมเป็นวงเงิน5,000,000บาทคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดตามประเพณีการค้าของธนาคารร้อยละ15ต่อปีโดยมีกำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาหลังจากนั้นจำเลยที่1ได้ถอนเงินและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันตลอดมาจนสัญญาครบกำหนดจำเลยที่1คงเบิกเงินจากบัญชีต่อไปแต่ไม่ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์อีกต่อไปจึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1จำเลยที่1คงค้างชำระหนี้โจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน7,095,820.70บาทรายละเอียดปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ซึ่งโจทก์จะส่งศาลให้ชั้นพิจารณาขอให้จำเลยที่1รับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ดังนี้คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้วแม้โจทก์จะไม่มีบัญชีเดินสะพัด(บัญชีกระแสรายวัน)ของจำเลยที่1แนบมาท้ายฟ้องแต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีรายละเอียดปรากฏอยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่โจทก์ไม่ได้แนบบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1มาท้ายฟ้องจึงไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม เอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับคำขอเปิดเลตเตอร์2ฉบับตั๋วแลกเงิน6ฉบับและทรัสต์รีซีท6ฉบับรวม15ฉบับซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศรวม3ครั้งค่าสินค้าคิดเป็นเงินตราต่างประเทศตามจำนวนที่ระบุในฟ้องโจทก์ได้ชำระค่าสินค้าดังกล่าวแก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้วเมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยที่1ไม่ชำระค่าสินค้าจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์แต่จำเลยที่1ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์รวม6ฉบับเพื่อขอรับเอกสารเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวไปขอออกสินค้าก่อนโดยทำตั๋วแลกเงินสัญญาว่าจะชำระเงินแก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดรวม6ฉบับให้โจทก์ไว้เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับถึงกำหนดโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่1ชำระจำเลยที่1ชำระค่าสินค้าให้โจทก์บางส่วนคงค้างชำระค่าสินค้าและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน4,551,867.19บาทโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินค่าสินค้าชื่อบริษัทผู้ขายในต่างประเทศเลขที่ตั๋วแลกเงินพร้อมจำนวนเงินตามตั๋วและรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่นๆตามใบแจ้งเรียกเก็บเงินของโจทก์กับจำนวนเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์บางส่วนแล้วคำฟ้องในส่วนนี้จึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ชัดแจ้งแล้วเอกสารท้ายฟ้องหมายเลขดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ส่งประกอบคำบรรยายฟ้องเท่านั้นแม้จะเป็นภาษาต่างประเทศก็ไม่มีผลทำให้คำฟ้องที่มีข้อความชัดแจ้งแล้วกลับกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุม ข้อความในหนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องโจทก์ตั้งป. เป็นตัวแทนของโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งคดีอาญาคดีล้มละลายและกิจการทั้งหลายอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับคดีดังกล่าวภายในขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์ต่อศาลทั้งปวงป. จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจฟ้องคดีหรือทำกิจการใดๆเกี่ยวกับคดีในศาลแทนโจทก์ได้ทุกอย่างโดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียวและหนังสือมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวจึงปิดอากรแสตมป์30บาทถูกต้องตามข้อ7(ข)ของบัญชีอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรแล้วโจทก์จึงมีสิทธิที่จะใช้ตราสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในคดีแพ่งได้ทุกคดีหาได้ฝ่าฝืนประมวลรัษฎากรมาตรา118ไม่การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบแล้ว จำเลยที่1ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์และทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์2ครั้งในวงเงิน5,000,000บาทโดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ2และ3ใจความว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือนถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดดังกล่าวก็ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราวๆไปและให้ถือว่าเป็นต้นเงินที่ผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในคราวต่อไปตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันปรากฏว่ามีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยทบต้นกันทุกวันสิ้นเดือนประกอบกับในบัญชีกระแสรายวันมีแต่รายการที่จำเลยที่1สั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีกับรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้นดังนี้แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่1ได้ปฏิบัติต่อกันตามข้อตกลงในลักษณะเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่อกันอันเป็นบัญชีเดินสะพัดโดยมีการถอนเงินและนำเงินเข้าเพื่อหักทอนบัญชีกับคิดดอกเบี้ยทบต้นกันตลอดมาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามข้อ3ของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้น สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตามสัญญาที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินเกินบัญชีและจำเลยที่1ต้องนำเงินเข้าบัญชีมีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะจึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วยเมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาตามสัญญาสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ย่อมสิ้นสุดไปด้วยปรากฏว่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อวันที่25เมษายน2532จำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์5,492,962.01บาทหลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาโจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินต่อไปส่วนจำเลยที่1ก็นำเงินเข้าหักทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้งโจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่1กุมภาพันธ์2533หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกหรือถอนเงินต่อไปส่วนจำเลยที่1ก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีกดังนี้ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่1ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดกันทางบัญชีระหว่างกันต่อไปและโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่28กุมภาพันธ์2533ปรากฏว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ทั้งสิ้นเป็นเงิน6,118,039.86บาทซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันพฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่1ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่28กุมภาพันธ์2533ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่1อีกคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นได้ต่อไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาบัญชีเดินสะพัดและการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังสิ้นสุดสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์และได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ และเพิ่มวงเงินกู้ 2 ครั้ง รวมเป็นวงเงิน 5,000,000 บาท คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดตามประเพณีการค้าของธนาคารร้อยละ 15 ต่อปี โดยมีกำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญา หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบํญชีกันตลอดมาจนสัญญาครบกำหนด จำเลยที่ 1 คงเบิกเงินจากบัญชีต่อไป แต่ไม่ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชี โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อีกต่อไป จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 คงค้างชำระหนี้โจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 7,095,820.70 บาท รายละเอียดปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์จะส่งศาลให้ชั้นพิจารณา ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนี้ คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว แม้โจทก์จะไม่มีบัญชีเดินสะพัด (บัญชีกระแสรายวัน) ของจำเลยที่ 1 แนบมาท้ายฟ้อง แต่สัญญาบัญชี-เดินสะพัดรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี มีรายละเอียดปรากฏอยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่โจทก์ไม่ได้แนบบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 มาท้ายฟ้อง จึงไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม
เอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับคำขอเปิดเลตเตอร์ 3 ฉบับ ตั๋วแลกเงิน 6 ฉบับ และทรัสต์รีซีท 6 ฉบับ รวม15 ฉบับ ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศรวม 3 ครั้ง ค่าสินค้าคิดเป็นเงินตราต่างประเทศตามจำนวนที่ระบุในฟ้อง โจทก์ได้ชำระค่าสินค้าดังกล่าวแก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้ว เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าสินค้าจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์รวม 6 ฉบับเพื่อขอรับเอกสารเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวไปขอออกสินค้าก่อน โดยทำตั๋วแลกเงินสัญญาว่าจะชำระเงินแก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดรวม 6 ฉบับ ให้โจทก์ไว้เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับถึงกำหนดโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระ จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าให้โจทก์บางส่วน คงค้างชำระค่าสินค้าและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน4,551,867.19 บาท โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินค่าสินค้า ชื่อบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ เลขที่ตั๋วแลกเงินพร้อมจำนวนเงินตามตั๋ว และรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามใบแจ้งเรียกเก็บเงินของโจทก์กับจำนวนเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์บางส่วนแล้ว คำฟ้องในส่วนนี้จึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ชัดแจ้งแล้ว เอกสารท้ายฟ้องหมายเลขดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ส่งประกอบคำบรรยายฟ้องเท่านั้น แม้จะเป็นภาษาต่างประเทศก็ไม่มีผลทำให้คำฟ้องที่มีข้อความชัดแจ้งแล้วกลับกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องโจทก์ตั้ง ป.เป็นตัวแทนของโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลายและกิจการทั้งหลายอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับคดีดังกล่าวภายในขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์ต่อศาลทั้งปวง ป.จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจฟ้องคดีหรือทำกิจการใด ๆ เกี่ยวกับคดีในศาลแทนโจทก์ได้ทุกอย่าง โดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียว และหนังสือมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวจึงปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ถูกต้องตามข้อ 7 (ข) ของบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะใช้ตราสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในคดีแพ่งได้ทุกคดีหาได้ฝ่าฝืน ป.รัษฎากร มาตรา 118 ไม่ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์และทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ 2 ครั้ง ในวงเงิน 5,000,000 บาท โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ 2 และ 3 ใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี กำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือน ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดดังกล่าว ก็ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ถือว่าเป็นต้นเงินที่ผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในคราวต่อไปตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันปรากฏว่ามีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยทบต้นกันทุกวันสิ้นเดือน ประกอบกับในบัญชีกระแสรายวันมีแต่รายการที่จำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีกับรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้น ดังนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติต่อกันตามข้อตกลงในลักษณะเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่อกันอันเป็นบัญชีเดินสะพัด โดยมีการถอนเงินและนำเงินเข้าเพื่อหักทอนบัญชีกับคิดดอกเบี้ยทบต้นกันตลอดมา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามข้อ 3 ของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตามสัญญาที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 1 ต้องนำเงินเข้าบัญชีมีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย เมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาตามสัญญา สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมสิ้นสุดไปด้วย ปรากฏว่า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เมื่อวันที่25 เมษายน 2532 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 5,492,962.01 บาท หลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาโจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็นำเงินเข้าหักทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้ง โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดกันทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งสิ้นเป็นเงิน6,118,039.86 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่28 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 อีก คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นได้ต่อไปเท่านั้น
เอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับคำขอเปิดเลตเตอร์ 3 ฉบับ ตั๋วแลกเงิน 6 ฉบับ และทรัสต์รีซีท 6 ฉบับ รวม15 ฉบับ ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศรวม 3 ครั้ง ค่าสินค้าคิดเป็นเงินตราต่างประเทศตามจำนวนที่ระบุในฟ้อง โจทก์ได้ชำระค่าสินค้าดังกล่าวแก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้ว เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าสินค้าจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์รวม 6 ฉบับเพื่อขอรับเอกสารเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวไปขอออกสินค้าก่อน โดยทำตั๋วแลกเงินสัญญาว่าจะชำระเงินแก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดรวม 6 ฉบับ ให้โจทก์ไว้เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับถึงกำหนดโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระ จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้าให้โจทก์บางส่วน คงค้างชำระค่าสินค้าและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน4,551,867.19 บาท โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินค่าสินค้า ชื่อบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ เลขที่ตั๋วแลกเงินพร้อมจำนวนเงินตามตั๋ว และรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามใบแจ้งเรียกเก็บเงินของโจทก์กับจำนวนเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์บางส่วนแล้ว คำฟ้องในส่วนนี้จึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ชัดแจ้งแล้ว เอกสารท้ายฟ้องหมายเลขดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ส่งประกอบคำบรรยายฟ้องเท่านั้น แม้จะเป็นภาษาต่างประเทศก็ไม่มีผลทำให้คำฟ้องที่มีข้อความชัดแจ้งแล้วกลับกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องโจทก์ตั้ง ป.เป็นตัวแทนของโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลายและกิจการทั้งหลายอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับคดีดังกล่าวภายในขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์ต่อศาลทั้งปวง ป.จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจฟ้องคดีหรือทำกิจการใด ๆ เกี่ยวกับคดีในศาลแทนโจทก์ได้ทุกอย่าง โดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียว และหนังสือมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวจึงปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ถูกต้องตามข้อ 7 (ข) ของบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะใช้ตราสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในคดีแพ่งได้ทุกคดีหาได้ฝ่าฝืน ป.รัษฎากร มาตรา 118 ไม่ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์และทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ 2 ครั้ง ในวงเงิน 5,000,000 บาท โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ 2 และ 3 ใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี กำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือน ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดดังกล่าว ก็ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ถือว่าเป็นต้นเงินที่ผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในคราวต่อไปตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันปรากฏว่ามีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยทบต้นกันทุกวันสิ้นเดือน ประกอบกับในบัญชีกระแสรายวันมีแต่รายการที่จำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีกับรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้น ดังนี้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติต่อกันตามข้อตกลงในลักษณะเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่อกันอันเป็นบัญชีเดินสะพัด โดยมีการถอนเงินและนำเงินเข้าเพื่อหักทอนบัญชีกับคิดดอกเบี้ยทบต้นกันตลอดมา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามข้อ 3 ของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตามสัญญาที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 1 ต้องนำเงินเข้าบัญชีมีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย เมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาตามสัญญา สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมสิ้นสุดไปด้วย ปรากฏว่า เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เมื่อวันที่25 เมษายน 2532 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 5,492,962.01 บาท หลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาโจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็นำเงินเข้าหักทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้ง โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดกันทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งสิ้นเป็นเงิน6,118,039.86 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่28 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 อีก คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นได้ต่อไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์: การประเมินและเรียกเก็บอากรแสตมป์เพิ่มเติมจากบันทึกเพิ่มเติมสัญญาเงินกู้
เมื่อวันที่15กุมภาพันธ์2525บ. ขอกู้เงินตามวิธีและธรรมเนียมประเพณีการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ในวงเงิน2,000,000บาทกำหนดชำระหนี้ให้หมดสิ้นภายในวันที่15กุมภาพันธ์2526ได้ทำสัญญากันไว้ตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"โดยปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ในตราสารดังกล่าวแล้วต่อมาได้ทำ"บันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ให้เบิกเงินเกินบัญชีได้ถึงวันที่15กุมภาพันธ์2530(ในวงเงินเดิม)และในวันที่26กุมภาพันธ์2529บ. ได้ทำ"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"กับโจทก์โดยตกลงเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ขึ้นอีกรวมเป็นวงเงิน3,000,000บาทข้อตกลงอื่นคงให้เป็นไปตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ดังนั้นในวันที่26กุมภาพันธ์2529บ. ยังมีข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ประกอบ"บันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"อยู่จำนวน2,000,000บาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหาได้ถูกยกเลิกไปแล้วไม่การที่บ.ตกลงเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ตาม"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ในวันดังกล่าวจึงเป็นการที่โจทก์ตกลงให้บ.เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารในยอดเงินเพียง1,000,000บาทส่วนจำนวน2,000,000บาทยังคงเป็นยอดเงินเบิกเกินบัญชีตาม"สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"ซึ่งโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์ไว้บริบูรณ์แล้วโจทก์จึงมีหน้าที่ปิดอากรแสตมป์ในตราสาร"บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี"โดยคำนวณจากยอดเงินเพียง1,000,000บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เบิกเกินบัญชี, การบอกเลิกสัญญา, การประวิงหนี้, บุคคลล้มละลาย
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้วจำเลยยังคงเบิกและถอนเงินจากบัญชีและข้อสัญญาระบุว่าหากครบกำหนดแล้วผู้กู้ยังเบิกเงินอีกให้ถือว่าเป็นหนี้เงินกู้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีถือได้ว่าสัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีอยู่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา พฤติการณ์ที่จำเลยหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ถึงสองครั้งถือได้ว่าจำเลยประวิงการชำระหนี้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา8(4)ข้อข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9345/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะนิติสัมพันธ์เป็นบัญชีเดินสะพัด ไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แม้ฟ้องอ้างเป็นการกู้ยืม
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยได้เอาเงินไปจากโจทก์เป็นคราว ๆ โดยโจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยเอาเงินที่รับไปเหมามะม่วงและเอามะม่วงมาส่งให้โจทก์โดยหักค่ามะม่วงจากเงินที่รับไป เมื่อส่งมะม่วงหมดแล้วจึงคิดบัญชีกัน หากค่ามะม่วงที่ส่งให้โจทก์ยังไม่พอกับจำนวนเงินที่จำเลยเอาไป จำเลยจะต้องรับผิดชอบ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และตกลงจะนำเงินมาใช้คืนให้โจทก์ไม่ จึงไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 แต่กรณีเช่นนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นลักษณะของบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856
แม้โจทก์จะฟ้องและฎีกาว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป แต่โจทก์ก็ได้อ้างเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นหลักในการฟ้องด้วย ซึ่งเมื่อพิเคราะห์คำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายฟ้อง อันกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการที่จำเลยเอาเงินโจทก์ไป และข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยรวมทั้งการคิดราคาค่ามะม่วงแต่ละครั้งที่จำเลยนำมาส่งให้โจทก์แล้ว เห็นได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายเข้าลักษณะของบัญชีเดินสะพัด ซึ่งศาลมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้
แม้โจทก์จะฟ้องและฎีกาว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป แต่โจทก์ก็ได้อ้างเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นหลักในการฟ้องด้วย ซึ่งเมื่อพิเคราะห์คำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายฟ้อง อันกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการที่จำเลยเอาเงินโจทก์ไป และข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยรวมทั้งการคิดราคาค่ามะม่วงแต่ละครั้งที่จำเลยนำมาส่งให้โจทก์แล้ว เห็นได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายเข้าลักษณะของบัญชีเดินสะพัด ซึ่งศาลมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9345/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์ซื้อขายมะม่วงผ่านบัญชีเดินสะพัด มิใช่การกู้ยืมเงิน
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยได้เอาเงินไปจากโจทก์เป็นคราว ๆ โดยโจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยเอาเงินที่รับไปเหมามะม่วงและเอามะม่วงมาส่งให้โจทก์โดยหักค่ามะม่วงจากเงินที่รับไป เมื่อส่งมะม่วงหมดแล้วจึงคิดบัญชีกันหากค่ามะม่วงที่ส่งให้โจทก์ยังไม่พอกับจำนวนเงินที่จำเลยเอาไป จำเลยจะต้องรับผิดชอบ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และตกลงจะนำเงินมาใช้คืนให้โจทก์ไม่ จึงไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 แต่กรณีเช่นนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นลักษณะของบัญชีเดินสะพัดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 แม้โจทก์จะฟ้องและฎีกาว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปแต่โจทก์ก็ได้อ้างเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นหลักในการฟ้องด้วยซึ่งเมื่อพิเคราะห์คำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องอันกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการที่จำเลยเอาเงินโจทก์ไปและข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยรวมทั้งการคิดราคาค่ามะม่วงแต่ละครั้งที่จำเลยนำมาส่งให้โจทก์แล้ว เห็นได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายเข้าลักษณะของบัญชีเดินสะพัด ซึ่งศาลมีอำนาจยกบทกฎหมาย ที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8313/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิธนาคารในการหักเงินจากบัญชีร้านค้าเมื่อได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินจากมาสเตอร์การ์ด
ตามบันทึกข้อตกลงข้อ 9 ระบุว่า ในกรณีที่ธนาคาร (จำเลย)ได้รับเซลส์สลิปและนำเงินเข้าบัญชีของร้านค้า (โจทก์) แล้ว ปรากฏในภายหลังว่าร้านค้าปฏิบัติผิดไปจากข้อตกลง... หรือกรณีอื่นใดอันเป็นผลให้ธนาคารได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินจากสมาชิก... ร้านค้าจะต้องคืนเงินเท่ากับจำนวนที่ธนาคารได้รับปฏิเสธการจ่ายเงินดังกล่าวให้กับธนาคารพร้อมทั้งยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์คิดจากผู้กู้ยืม...โดยให้ธนาคารหักเงินดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดจากบัญชีเดินสะพัดตามที่ระบุไว้...เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ เนื่องจากมีผู้นำมาสเตอร์การ์ดที่ออกโดยธนาคารในต่างประเทศซึ่งเป็นสมาชิกมาสเตอร์การ์ดระหว่างประเทศมาซื้อสินค้าจากโจทก์ตามข้อตกลง ครั้นเมื่อจำเลยเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ออกมาสเตอรการ์ดแล้วได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงิน กรณีจึงต้องด้วยข้อตกลงที่ว่า กรณีอื่นใดอันเป็นผลให้จำเลยได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินตามบันทึกข้อตกลงข้อ 9 จำเลยจึงมีสิทธิหักเงินออกจากบัญขีของโจทก์ได้ตามข้อตกลงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เริ่มนับเมื่อสัญญาหมดอายุ ไม่ใช่เมื่อบอกเลิกสัญญา
เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์แล้วได้เบิกเงินเกินบัญชีจนครบกำหนดสัญญาโดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ ซึ่งโจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมา แสดงว่ามิได้มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกเลย การที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญา ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เท่านั้นหาได้มีเจตนาจะเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ต่อไปไม่ ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากันอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกำหนดไว้ในสัญญาตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ได้แสดงเจตนากันไว้เช่นนั้นในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหาใช่เลิกกันนับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาในวันที่ 6มีนาคม 2534 อายุความในคดีนี้จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11ธันวาคม 2520 อันเป็นวันหลังจากครบกำหนดตามสัญญากู้เงินเกินบัญชี แม้ว่าการที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายในวันที่ 15 ธันวาคม 2523 จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม(มาตรา 193/14(1) ที่แก้ไขใหม่) อันมีผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้น ย่อมไม่นับเข้าในอายุความ ตามมาตรา 181วรรคแรก เดิม (มาตรา 193/15 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2523 ตามมาตรา 181 วรรคสอง เดิม (มาตรา 193/15 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2535ซึ่งเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ