คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 856

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัญชีเดินสะพัด: สิทธิเรียกร้องเกิดเมื่อหักทอนบัญชี/เลิกสัญญา, ไม่ขาดอายุความหากยื่นบังคับทรัพย์ภายใน 10 ปี
การชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกระทำได้เมื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่คงเหลือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่1ไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา856,859แม้จำเลยที่1มิได้เดินสะพัดทางบัญชีอีกนับแต่ครั้งสุดท้ายเป็นเวลากว่า10ปีแต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังไม่สิ้นสุดลงผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาได้จนถึงวันที่จำเลยที่1ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดอันถือว่าสัญญาเลิกกันโดยปริยายนับแต่วันนั้นและสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องเกิดขึ้นนับแต่นั้นเมื่อยื่นคำร้องขอให้บังคับทรัพย์ที่จำนองเป็นประกันหนี้ตามสัญญาดังกล่าวยังไม่พ้น10ปีหนี้จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการเบิกเงินเกินบัญชีและการเลิกสัญญาสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของผู้ร้องจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856, 859 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายในวันที่ 29 กรกฎาคม 2524 และหลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาต่อกัน สัญญาบัญชีเดินสะพัดก็ยังไม่สิ้นสุด เมื่อจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 สัญญาบัญชีเดินสะพัดต้องเลิกกันไปโดยปริยาย สิทธิเรียกร้องของผู้ร้องตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้น ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์2535 ขอให้บังคับทรัพย์จำนองจึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานไม่ขาดอายุความ ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 ซึ่งเป็นวันที่ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีก
ตามรายการในบัญชีเดินสะพัดในวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีวันที่19สิงหาคม2528ลูกหนี้เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวน2,812,773.64บาทซึ่งเป็นจำนวนที่เกินวงเงินที่ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้และนับแต่นั้นมาลูกหนี้ก็ไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีและเจ้าหนี้ก็ไม่ยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีได้อีกโดยมีแต่รายการนำเช็คของลูกหนี้ซึ่งสั่งจ่ายเบิกเงินจากบัญชีมาเรียกเก็บเงินแต่เจ้าหนี้ก็ไม่ยอมจ่ายเงินตามเช็คแต่ละรายการนั้นเลยซึ่งนับเป็นร้อยๆรายการอันเป็นข้อแสดงว่าเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีบัญชีเดินสะพัดอีกต่อไปนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีนั้นส่วนที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากตามที่ฎีกามานั้นนับแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดเจ้าหนี้ก็ไม่ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินตามเช็คตลอดมาที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินในเดือนตุลาคม2528จำนวน1ครั้งเป็นเงิน4,664บาทในเดือนเมษายนและเดือนพฤศจิกายน2529รวม2ครั้งเป็นเงิน30,000บาทและ3,162บาทตามลำดับแต่ละรายการจำนวนเงินเล็กน้อยและได้ทิ้งช่วงระยะเวลาห่างกันจนผิดปกติเป็นพิรุธและรายการถอนเงินในวันที่16กรกฎาคม2530จำนวน20,000บาทก็ปรากฏมีรายการแก้ไขในช่องรายการฝากเงินในวันเดียวกันและจำนวนเงินเดียวกันซึ่งเป็นการลงบัญชีผิดพลาดไม่ใช่การถอนเงินออกจากบัญชีแต่อย่างใดและที่เจ้าหนี้จ่ายเบี้ยประกันภัยของลูกหนี้เมื่อวันที่12มิถุนายน2530จำนวน1,375บาทหรือรายการฝากเช็คธนาคาร2ฉบับฉบับละ500,000บาทในวันที่23กุมภาพันธ์2531แต่ในวันรุ่งขึ้นกลับปรากฏในช่องรายการถอนโดยใช้อักษรภาษาอังกฤษ"LOAN" จำนวน1,000,000บาทโดยไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามรายการเดินสะพัดอย่างไรหรือไม่ส่อแสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นการปรับปรุงรายการบัญชีเดินสะพัดเพื่อจะแสดงให้เห็นว่ายังมีการเดินสะพัดทางบัญชีอยู่เพื่อจะอ้างเป็นเหตุให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เท่านั้นนับว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์จากลูกหนี้โดยไม่ชอบตามพฤติการณ์ยิ่งแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้ได้อย่างชัดแจ้งว่าหลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้วเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีแก่ลูกหนี้อีกต่อไปถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้สิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดสัญญาคือวันที่19สิงหาคม2528หลังจากนั้นเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี – ดอกเบี้ยทบต้น – เจตนาเจ้าหนี้ – การเดินสะพัดทางบัญชี
ตามรายการในบัญชีเดินสะพัด ในวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีวันที่ 19 สิงหาคม 2528 ลูกหนี้เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวน2,812,773.64 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่เกินวงเงินที่ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ และนับแต่นั้นมา ลูกหนี้ก็ไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีและเจ้าหนี้ก็ไม่ยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีได้อีก โดยมีแต่รายการนำเช็คของลูกหนี้ซึ่งสั่งจ่ายเบิกเงินจากบัญชีมาเรียกเก็บเงิน แต่เจ้าหนี้ก็ไม่ยอมจ่ายเงินตามเช็คแต่ละรายการนั้นเลย ซึ่งนับเป็นร้อย ๆ รายการ อันเป็นข้อแสดงว่าเจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีบัญชีเดินสะพัดอีกต่อไปนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีนั้น ส่วนที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากตามที่ฎีกามานั้นนับตั้งแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด เจ้าหนี้ก็ไม่ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินตามเช็คตลอดมา ที่เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้เบิกเงินในเดือนตุลาคม 2528 จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน4,664 บาท ในเดือนเมษายนและเดือนพฤศจิกายน 2529 รวม 2 ครั้งเป็นเงิน 30,000 บาท และ 3,162 บาท ตามลำดับแต่ละรายการจำนวนเงินเล็กน้อย และได้ทิ้งช่วงระยะเวลาห่างกันจนผิดปกติเป็นพิรุธ และรายการถอนเงินในวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 จำนวน 20,000 บาท ก็ปรากฏมีรายการแก้ไขในช่องรายการฝากเงินในวันเดียวกันและจำนวนเงินเดียวกัน ซึ่งเป็นการลงบัญชีผิดพลาดไม่ใช่การถอนเงินออกจากบัญชีแต่อย่างใด และที่เจ้าหนี้จ่ายเบี้ยประกันภัยของลูกหนี้เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2530 จำนวน 1,375 บาทหรือรายการฝากเช็คธนาคาร 2 ฉบับ ฉบับละ 500,000 บาท ในวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2531 แต่ในวันรุ่งขึ้นกลับปรากฏในช่องรายการถอนโดยใช้อักษร-ภาษาอังกฤษ "LOAN" จำนวน 1,000,000 บาท โดยไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ตามรายการเดินสะพัดอย่างไร หรือไม่ ส่อแสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นการปรับปรุงรายการบัญชีเดินสะพัดเพื่อจะแสดงให้เห็นว่ายังมีการเดินสะพัดทางบัญชีอยู่เพื่อจะอ้างเป็นเหตุให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เท่านั้น นับว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์จากลูกหนี้โดยไม่ชอบ ตามพฤติการณ์ยิ่งแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้ได้อย่างชัดแจ้งว่าหลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้ว เจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีแก่ลูกหนี้อีกต่อไป ถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ สิ้นสุดลงนับแต่วันครบกำหนดสัญญา คือวันที่ 19 สิงหาคม 2528 หลังจากนั้นเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด-การหักหนี้-ฟ้องเคลือบคลุม-ค่าทนายความ-ทุนทรัพย์
โจทก์จำเลยตกลงกันโดยโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินล่วงหน้าและออกเงินทดรองค่าใช้จ่ายแทนจำเลย เมื่อจำเลยนำปลาไปขายให้โจทก์ก็จะมีการคิดบัญชีหักหนี้จากราคา ปลาเงินส่วนที่เหลือเป็นของจำเลย ข้อตกลงเช่นนี้ต้องด้วยลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 ซึ่งไม่บังคับว่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือกรณีมิใช่จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์โดยตรง แม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือก็ฟ้องจำเลยได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ตกลงกับจำเลย ยอมให้จำเลยเบิกเงินล่วงหน้า และยอมออกเงินทดรองค่าใช้จ่ายอื่น ๆแทนจำเลย เมื่อจำเลยหาปลาได้แล้วจะต้องนำมาขายให้โจทก์ แล้วคิดหักบัญชีกัน แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ามีการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์เมื่อวันที่เท่าใดบ้าง เป็นจำนวนเงินเท่าใดและเป็นค่าอะไรบ้าง รายละเอียดเหล่านี้ปรากฏอยู่ในสำเนาเอกสารท้ายฟ้องแม้จำเลยจะอ้างว่าสำเนาภาพถ่ายไม่ชัดเจนอ่านไม่ออก ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 ถ้าคู่ความไม่ยอมชำระค่าอ้างเอกสาร ศาลมีอำนาจไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้นได้ ซึ่งคำว่าไม่ยอม มีความหมายว่าจงใจฝ่าฝืนไม่ชำระ แต่ในกรณีหลงลืมซึ่งไม่จงใจฝ่าฝืน ศาลย่อมมีอำนาจรับชำระค่าอ้างเอกสารหลังจากมีคำพิพากษาแล้วได้ เพราะชำระเพียงครั้งเดียวรับฟังได้ถึงสามชั้นศาล ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้รับฟังหากเพิ่งชำระในชั้นศาลสูง ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ คิดตามทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์มากเกินกว่าร้อยละ 3 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด – การฟ้องเรียกหนี้จากข้อตกลงเบิกเงินล่วงหน้า และการชำระค่าเอกสารในชั้นศาล
โจทก์จำเลยตกลงกันโดยโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินล่วงหน้าและออกเงินทดรองค่าใช้จ่ายแทนจำเลย เมื่อจำเลยนำปลาไปขายให้โจทก์ก็จะมีการคิดบัญชีหักหนี้จากราคาปลาเงินส่วนที่เหลือเป็นของจำเลย ข้อตกลงเช่นนี้ต้องด้วยลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 ซึ่งไม่บังคับว่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ กรณีมิใช่จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์โดยตรง แม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือก็ฟ้องจำเลยได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ตกลงกับจำเลย ยอมให้จำเลยเบิกเงินล่วงหน้า และยอมออกเงินทดรองค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แทนจำเลย เมื่อจำเลยหาปลาได้แล้วจะต้องนำมาขายให้โจทก์แล้วคิดหักบัญชีกัน แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ามีการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์เมื่อวันที่เท่าใดบ้าง เป็นจำนวนเงินเท่าใดและเป็นค่าอะไรบ้าง รายละเอียดเหล่านี้ปรากฏอยู่ในสำเนาเอกสารท้ายฟ้องแม้จำเลยจะอ้างว่าสำเนาภาพถ่ายไม่ชัดเจนอ่านไม่ออก ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 149 ถ้าคู่ความไม่ยอมชำระค่าอ้างเอกสาร ศาลมีอำนาจไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้นได้ ซึ่งคำว่าไม่ยอม มีความหมายว่าจงใจฝ่าฝืนไม่ชำระ แต่ในกรณีหลงลืมซึ่งไม่จงใจฝ่าฝืน ศาลย่อมมีอำนาจรับชำระค่าอ้างเอกสารหลังจากมีคำพิพากษาแล้วได้ เพราะชำระเพียงครั้งเดียวรับฟังได้ถึงสามชั้นศาล ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้รับฟังหากเพิ่งชำระในชั้นศาลสูง
ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์คิดตามทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์มากเกินกว่าร้อยละ 3 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, ค่าทนายความ, การชำระค่าเอกสาร, ทุนทรัพย์
โจทก์ประกอบกิจการแพปลา รับซื้อปลาจากชาวประมง จำเลยเป็นชาวประมง เมื่อออกเรือจับปลาได้แล้วนำไปขายให้โจทก์ แต่การออกเรือจับปลาจะต้องลงทุนเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โจทก์จำเลยตกลงกันโดยโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินล่วงหน้าและโจทก์ยังยอมออกเงินทดรองเป็นค่าใช้จ่ายแทนจำเลย เมื่อจำเลยนำปลาไปขายให้โจทก์ก็จะมีการคิดบัญชี แล้วหักหนี้จากราคาปลา เงินส่วนที่เหลือเป็นของจำเลย ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยให้หักทอนบัญชีอันเกิดจากกิจการในระหว่างเขาทั้งสองแล้วหักกลบลบหนี้ให้ทราบว่าฝ่ายใดเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ อันต้องด้วยลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 ซึ่งไม่บังคับว่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ กรณีไม่ใช่จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์โดยตรง แม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือก็ฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 ถ้าคู่ความไม่ยอมชำระค่าอ้างเอกสาร ศาลมีอำนาจไม่รับฟังพยานเอกสารนั้นได้ซึ่งคำว่า ไม่ยอม มีความหมายว่าจงใจฝ่าฝืนไม่ชำระ แต่ในกรณีหลงลืมซึ่งไม่จงใจฝ่าฝืน ศาลย่อมมีอำนาจรับชำระค่าอ้างเอกสารหลังจากมีคำพิพากษาแล้วได้ เพราะชำระเพียงครั้งเดียวรับฟังได้ถึงสามชั้นศาล ดังนั้น จะชำระในชั้นศาลใดย่อมไม่มีผลแตกต่างไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้รับฟังหากเพิ่งชำระในศาลชั้นสูงเมื่อชำระแล้วก็รับฟังได้ ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์คิดตามทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6249/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด: สิทธิธนาคารในการปฏิเสธจ่ายเช็ค, ปิดบัญชี, และหักหนี้
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ข้อ 11 มีข้อความว่า ถ้าบัญชีของผู้ฝากมีเงินไม่พอจ่ายตามเช็ค ธนาคารมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งมีสิทธิที่จะปิดบัญชีของผู้ฝาก โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และยินยอมให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คไปก่อนได้ถึงแม้ว่าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่าย โดยผู้ฝากยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นคืนพร้อมทั้งยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารเรียกเก็บได้ขณะนั้น นับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินโดยที่เจ้าของบัญชีจะรับทราบหรือไม่ก็ตาม ข้อ 16 มีใจความว่า ให้ธนาคารมีสิทธิหักหนี้สินใด ๆที่ผู้ฝากเป็นหนี้ธนาคารอยู่ และข้อ 17 มีใจความว่า ธนาคารจะจัดส่งรายการเดินสะพัดของบัญชีเงินฝากไปยังผู้ฝาก เมื่อพิจารณาข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่าคู่กรณีมีเจตนาที่จะเดินสะพัดบัญชีกัน ดังนั้นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6249/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด: การตัดบัญชีหนี้สินและดอกเบี้ยระหว่างธนาคารกับลูกค้า
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ข้อ 11 มีข้อความว่า ถ้าบัญชีของผู้ฝากมีเงินไม่พอจ่ายตามเช็ค ธนาคารมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งมีสิทธิที่จะปิดบัญชีของผู้ฝาก โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และยินยอมให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คไปก่อนได้ถึงแม้ว่าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่าย โดยผู้ฝากยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นคืนพร้อมทั้งยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารเรียกเก็บได้ขณะนั้น นับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินโดยที่เจ้าของบัญชีจะรับทราบหรือไม่ก็ตามข้อ 16 มีใจความว่า ให้ธนาคารมีสิทธิหักหนี้สินใด ๆ ที่ผู้ฝากเป็นหนี้ธนาคารอยู่ และข้อ 17 มีใจความว่า ธนาคารจะจัดส่งรายการเดินสะพัดของบัญชีเงินฝากไปยังผู้ฝาก เมื่อพิจารณาข้อความดังกล่าวเห็นได้ว่าคู่กรณีมีเจตนาที่จะเดินสะพัดบัญชีกัน ดังนั้นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงที่แตกต่างกันตามประเภทการทำรายการ
ตามข้อตกลงการฝากเงินบัญชีกระแสรายวันของธนาคารโจทก์ข้อ 10 ระบุว่า ในกรณีธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินไปก่อนด้วยเหตุใดก็ตาม ทั้งที่เงินฝากคงเหลือในบัญชีของข้าพเจ้ามีไม่พอจ่ายตามเช็คที่มาขอขึ้นเงิน ซึ่งตามปกติธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินนั้นเสียก็ได้นั้น ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เบิกเกินนั้นคืนให้ธนาคารโดยถือเสมือนหนึ่งว่า ข้าพเจ้าได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารและยินยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินส่วนที่เกินบัญชีให้แก่ธนาคารในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่เบิกเกินจนถึงวันชำระหนี้เงินเบิกเกินคืน ฯลฯ และข้อ 11 ระบุว่า ในกรณีที่ข้าพเจ้านำเช็คฝากเข้าบัญชีและในวันนำฝากนั้นธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินส่วนหนึ่งหรือเต็มมูลค่าเช็คที่นำฝากนั้นให้ไปก่อนโดยที่ธนาคารยังไม่ทราบผลการเรียกเก็บเงิน และเช็คดังกล่าวถูกคืนมาโดยมิใช่เนื่องจากความบกพร่องของธนาคารเอง ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เบิกเกินนั้นคืนให้ธนาคารโดยถือเสมือนหนึ่งว่าได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารและยินยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินส่วนที่เบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคารในอัตราสูงสุดเท่าที่กฎหมายจะอนุญาต นับแต่วันที่เบิกเกินจนถึงวันชำระหนี้เงินเบิกเกินคืน ฯลฯ ซึ่งข้อความในข้อ 11 นั้นหมายถึงจำเลยนำเช็คมาฝากเข้าบัญชีและโจทก์จ่ายเงินตามเช็คที่มาขอเบิกให้จำเลยไปก่อน แต่แล้วโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ ไม่ใช่กรณีโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินให้จำเลยไปโดยไม่มีการนำเช็คฝากเข้าบัญชี ซึ่งต้องบังคับกันตามข้อตกลงข้อ 10 เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยนำเช็คมาฝากเข้าบัญชีโดยโจทก์จ่ายเงินตามเช็คที่มาขอเบิกให้จำเลยไปก่อน แต่แล้วโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี
of 37