พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกเกินบัญชี: ข้อตกลงดอกเบี้ยสูงสุดตามสัญญา
ตามข้อตกลงการฝากเงินบัญชีกระแสรายวันของธนาคารโจทก์ข้อ 10 ระบุว่า ในกรณีธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินไปก่อนด้วยเหตุใดก็ตาม ทั้งที่เงินฝากคงเหลือในบัญชีของข้าพเจ้ามีไม่พอจ่ายตามเช็คที่มาขอขึ้นเงิน ซึ่งตามปกติธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินนั้นเสียก็ได้นั้น ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เบิกเกินนั้นคืนให้ธนาคารโดยถือเสมือนหนึ่งว่า ข้าพเจ้าได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารและยินยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินส่วนที่เกินบัญชีให้แก่ธนาคารในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่เบิกเกินจนถึงวันชำระหนี้เงินเบิกเกินคืน ฯลฯและข้อ 11 ระบุว่า ในกรณีที่ข้าพเจ้านำเช็คฝากเข้าบัญชีและในวันนำฝากนั้นธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินส่วนหนึ่งหรือเต็มมูลค่าเช็คที่นำฝากนั้นให้ไปก่อน โดยที่ธนาคารยังไม่ทราบผลการเรียกเก็บเงิน และเช็คดังกล่าวถูกคืนมาโดยมิใช่เนื่องจากความบกพร่องของธนาคารเอง ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เบิกเกินนั้นคืนให้ธนาคาร โดยถือเสมือนหนึ่งว่าได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคาร และยินยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินส่วนที่เบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคารในอัตราสูงสุดเท่าที่กฎหมายจะอนุญาต นับแต่วันที่เบิกเกินจนถึงวันชำระหนี้เงินเบิกเกินคืน ฯลฯ ซึ่งข้อความในข้อ 11 นั้นหมายถึงจำเลยนำเช็คมาฝากเข้าบัญชีและโจทก์จ่ายเงินตามเช็คที่มาขอเบิกให้จำเลยไปก่อน แต่แล้วโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ ไม่ใช่กรณีโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินให้จำเลยไปโดยไม่มีการนำเช็คฝากเข้าบัญชี ซึ่งต้องบังคับกันตามข้อตกลงข้อ 10 เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยนำเช็คมาฝากเข้าบัญชีโดยโจทก์จ่ายเงินตามเช็คที่มาขอเบิกให้จำเลยไปก่อน แต่แล้วโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5408/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, การคิดดอกเบี้ย, และการผิดนัดชำระหนี้จากการเบิกเกินบัญชีและเงินกู้
แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีการโอนบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยจากสาขาใดไปสาขาใดเพราะเหตุใด และใครเป็นผู้สั่งให้โอนแต่จำเลยให้การว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า เหตุใดจึงมีการโอนบัญชีและใครเป็นผู้สั่งโอนจึงเป็นการกล่าวลอย ๆ มิได้แสดงให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ฟ้องโจทก์จึงเคลือบคลุม ดังนี้ ตามคำให้การดังกล่าวเป็นการยอมรับว่าได้มีการโอนบัญชี ส่วนจะโอนเพราะเหตุใดและใครเป็นผู้สั่งให้โอนนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณา นอกจากนี้ไม่ว่าจำเลยจะเป็นหนี้โจทก์สาขาใดโจทก์ก็ฟ้องจำเลยได้อยู่แล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์จำเลยได้ตกลงเพิ่มวงเงินเบิกเกินบัญชีและต่ออายุสัญญากันอีกหลายครั้ง สัญญาครบกำหนดวันที่ 1 สิงหาคม 2529 ซึ่งในวันดังกล่าวปรากฏตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์เกินวงเงินที่อาจเบิกได้ไปแล้วหลังจากนั้นในวันที่22 สิงหาคม 2529 และวันที่ 26 กันยายน 2529 จำเลยยังได้เบิกเงินเกินบัญชีไปอีก 2 ครั้ง แต่จำเลยมิได้นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนอีกเลย ดังนี้เมื่อสัญญาครบกำหนดจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้หมดสิ้นตามสัญญา โจทก์ยังคงยอมให้จำเลยเป็นหนี้อยู่ต่อไป และยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีไปอีก 2 ครั้ง แสดงว่าคู่สัญญายังคงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา และไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ลงวันที่16 มีนาคม 2530 กำหนดให้ชำระภายใน 30 วัน จำเลยได้รับหนังสือในวันที่ 19 มีนาคม 2530 แล้วไม่ชำระภายในกำหนด จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2530 เป็นต้นไป โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในยอดเงินซึ่งค้างชำระเมื่อวันที่ 26 กันยายน2529 จนถึงวันผิดนัดและดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของธนาคารในการเปิดบัญชี - อำนาจของผู้เปิดบัญชี - ความรับผิดของห้างหุ้นส่วน
คำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อความกำหนดไว้ว่าห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันต้องส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงถึงรายนามผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการ และอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ของโจทก์ที่กำหนดขึ้นเองเพื่อใช้แก่กรณีที่ผู้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยเฉพาะข้อกำหนดดังกล่าวมีไว้เพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้ทราบว่าผู้ที่โจทก์เข้าทำสัญญาด้วยเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจริง และผู้มาขอเปิดบัญชีเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนห้างดังกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นสาระสำคัญของการเข้าทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ใช้เช็คของโจทก์ และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ตามสัญญาหากมีต่อไปได้ แต่โจทก์กลับไม่เรียกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ส่งหนังสือรับรองความเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 คงเชื่อเพียงข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1เพราะเหตุที่มีตราประทับของจำเลยที่ 1 มาด้วยเท่านั้น เป็นการที่โจทก์เข้าทำสัญญานั้นทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และตราประทับนั้นเป็นตราของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่ ตลอดจนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จะมีอยู่จริงหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร ซึ่งหากโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 2 ส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามที่โจทก์กำหนดไว้เอง โจทก์ก็จะทราบได้โดยง่ายว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่ต้องเสียหายเพราะการที่ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 เปิดบัญชีในนามของจำเลยที่ 1 ประกอบกับไม่ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมายื่นคำขอเปิดบัญชี จำเลยที่ 2 เคยมาติดต่อกับโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนจำเลยที่ 1 มาก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้นำเงินที่เบิกจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตลอดจนไม่ปรากฏพฤติการณ์อื่นใดในขณะที่จำเลยที่ 2 มาขอเปิดบัญชีกับโจทก์ว่า จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามป.พ.พ. มาตรา 821 กรณีจึงไม่อาจให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของธนาคารในการเปิดบัญชีให้ผู้ไม่มีอำนาจ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
คำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อความกำหนดไว้ว่าห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันต้องส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงถึงรายนามผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนผู้จัดการ และอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ของโจทก์ที่กำหนดขึ้นเองเพื่อใช้แก่กรณีที่ผู้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยเฉพาะข้อกำหนดดังกล่าวมีไว้เพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้ทราบว่าผู้ที่โจทก์เข้าทำสัญญาด้วยเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจริงและผู้มาขอเปิดบัญชีเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนห้างดังกล่าวซึ่งนับว่าเป็นสาระสำคัญของการเข้าทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ใช้เช็คของโจทก์และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาหากมีต่อไปได้แต่โจทก์กลับไม่เรียกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ส่งหนังสือรับรองความเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 คงเชื่อเพียงข้ออ้างของจำเลยที่ 2ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 เพราะเหตุที่มีตราประทับของจำเลยที่ 1 มาด้วยเท่านั้น เป็นการที่โจทก์เข้าทำสัญญานั้นทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และตราประทับนั้นเป็นตราของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่ตลอดจนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จะมีอยู่จริงหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ประกอบธุรกิจธนาคารซึ่งหากโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 2 ส่งหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามที่โจทก์กำหนดไว้เอง โจทก์ก็จะทราบได้โดยง่ายว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่ต้องเสียหายเพราะการที่ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 เปิดบัญชีในนามของจำเลยที่ 1 ประกอบกับไม่ปรากฎว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 จะมายื่นคำขอเปิดบัญชี จำเลยที่ 2 เคยมาติดต่อกับโจทก์ในฐานะผู้ทำการแทนจำเลยที่ 1 มาก่อน ทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 2 ได้นำเงินที่เบิกจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตลอดจนไม่ปรากฎพฤติการณ์อื่นใดในขณะที่จำเลยที่ 2 มาขอเปิดบัญชีกับโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821กรณีจึงไม่อาจให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและหลักประกันทางสัญญา การคิดดอกเบี้ยหลังครบกำหนดสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี และเพิ่มหลักประกันเป็น 320,000 บาท มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันโดยมีสมุดเงินฝากประจำเป็นประกัน ถือว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งหลังจำนวน 320,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมค้ำประกันผู้กู้ที่ได้กู้เงินจำนวน320,000 บาท และดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องจ่ายเงินไปในการบังคับชำระหนี้จำนวนที่ค้างอยู่นั้นไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในวงเงินที่กู้ และการที่จำเลยที่ 3 นำสมุดเงินฝากประจำมอบไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ในการทำสัญญาค้ำประกันแต่ละคราว ก็ด้วยเจตนาที่จะให้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้นแม้ตามสัญญาจำนำสิทธิตามตราสารสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำจะมีข้อความว่าผู้จำนำตกลงยินยอมให้ธนาคารใช้สิทธิในเงินตามสมุดเงินฝากที่จำนำหักกลบลบหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ซึ่งผู้จำนำจะต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำหรือผู้ค้ำประกันแทนลูกหนี้ได้ทันที และเมื่อหักกลบลบหนี้แล้วหากลูกหนี้ยังเป็นหนี้ธนาคารอยู่อีก ผู้จำนำตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่เหลือค้าง และตกลงรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนตามสัญญาที่ลูกหนี้ได้เป็นหนี้ธนาคารอยู่นั้นก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวทำในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาค้ำประกันแสดงว่าเป็นการนำหลักประกันมามอบแก่โจทก์เพิ่มเติมจากการทำสัญญาค้ำประกัน หาใช่เป็นการค้ำประกันขึ้นใหม่โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี และดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี และเพิ่มหลักประกันเป็น 320,000 บาท มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน โดยมีสมุดเงินฝากประจำเป็นประกัน ถือว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาทำสัญญาค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งหลังจำนวน 320,000 บาท แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมค้ำประกันผู้กู้ที่ได้กู้เงินจำนวน 320,000 บาท และดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียมค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องจ่ายเงินไปในการบังคับชำระหนี้จำนวนที่ค้างอยู่นั้น ไม่ว่ายอดหนี้ตามบัญชีจะต่ำกว่าหรือสูงขึ้นจากที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ทั้งสิ้นก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในวงเงินที่กู้ และการที่จำเลยที่ 3นำสมุดเงินฝากประจำมอบไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ในการทำสัญญาค้ำประกันแต่ละคราว ก็ด้วยเจตนาที่จะให้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้นแม้ตามสัญญาจำนำสิทธิตามตราสารสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำจะมีข้อความว่าผู้จำนำตกลงยินยอมให้ธนาคารใช้สิทธิในเงินตามสมุดเงินฝากที่จำนำหักกลบลบหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ซึ่งผู้จำนำจะต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำหรือผู้ค้ำประกันแทนลูกหนี้ได้ทันที และเมื่อหักกลบลบหนี้แล้วหากลูกหนี้ยังเป็นหนี้ธนาคารอยู่อีก ผู้จำนำตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันเงินที่เหลือค้าง และตกลงรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารจนครบถ้วนตามสัญญาที่ลูกหนี้ได้เป็นหนี้ธนาคารอยู่นั้นก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวทำในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาค้ำประกัน แสดงว่าเป็นการนำหลักประกันมามอบแก่โจทก์เพิ่มเติมจากการทำสัญญาค้ำประกัน หาใช่เป็นการค้ำประกันขึ้นใหม่โดยไม่จำกัดจำนวนไม่
หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น
หลังจากวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วไม่มีการเบิกถอนเงินออกจากบัญชีอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยของโจทก์และการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้เพียงอย่างเดียว ไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด: การคิดดอกเบี้ยทบต้นและการพิจารณาคดีใหม่
ตามระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ข้อ 2 มีข้อความว่า การฝากเงินผู้ฝากต้องกรอกรายการลงในใบนำฝากตามแบบของธนาคาร ข้อ 6 มีข้อความว่าการถอนเงินต้องกระทำโดยใช้เช็คหรือเอกสารสั่งจ่ายอย่างอื่นที่ธนาคารอนุมัติให้ใช้ได้ ข้อ 11 มีข้อความว่า เมื่อธนาคารจ่ายเงินตามเช็คทั้ง ๆ ที่ยอดเงินในบัญชีมีไม่เพียงพอแล้ว ผู้ฝากตกลงและยินยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นคืนให้ธนาคารพร้อมทั้งยินยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่ง-ประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารเรียกเก็บได้ในขณะนั้นนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินเป็นต้นไป ข้อ 17 มีข้อความว่า ธนาคารจะจัดส่งรายการเดินสะพัดของบัญชีเงินฝากไปยังผู้ฝากเดือนละครั้ง และข้อ 20 มีข้อความว่า ให้นำวิธีการและประเพณีอันเกี่ยวกับการดำเนินบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปปฏิบัติมาใช้บังคับถึงการฝากและถอนเงินตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันคดีนี้ด้วยและธนาคารยังได้สงวนสิทธิที่จะหักทอนบัญชีของผู้ฝากเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ธนาคารจะเห็นสมควร ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวแสดงว่า นับแต่ที่จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝาก-กระแสรายวันกับโจทก์แล้ว โจทก์จำเลยตกลงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีตามบัญชี-เงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวสืบไปโดยจำเลยใช้ใบฝากเงินตามแบบของโจทก์ในการฝากเงิน และใช้เช็คในการเบิกถอนเงินจากบัญชีของจำเลย หากโจทก์จ่ายเงินตามเช็คไปทั้งที่เงินในบัญชีไม่เพียงพอ จำเลยก็ตกลงจะใช้เงินที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีไปคืนให้โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาต นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินเป็นต้นไป ทั้งนี้โดยโจทก์จะจัดส่งรายการเดินสะพัดทางบัญชีเงินฝากไปยังจำเลยเดือนละหนึ่งครั้งการฝากและการถอนเงินจากบัญชี-กระแสรายวันดังกล่าวนี้โจทก์จำเลยตกลงให้นำวิธีการและประเพณีอันเกี่ยวกับการดำเนินบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปถือปฏิบัติมาใช้บังคับด้วย และโจทก์ยังสงวนสิทธิที่จะหักทอนบัญชีของจำเลยเมื่อใดก็ได้ความผูกพันระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแก่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่คงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 แล้ว โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันตามฟ้องได้ตามประเพณี-การค้าขายของธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
แต่ปัญหาดังกล่าว ศาลล่างทั้งสองยังมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เมื่อปรากฎว่าคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ขณะที่โจทก์ยื่นฎีกา ฎีกาโจทก์ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของโจทก์ในประเด็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวนี้เสียใหม่
แต่ปัญหาดังกล่าว ศาลล่างทั้งสองยังมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เมื่อปรากฎว่าคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ขณะที่โจทก์ยื่นฎีกา ฎีกาโจทก์ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของโจทก์ในประเด็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวนี้เสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีเดินสะพัด: การคิดดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีการค้าขายธนาคารพาณิชย์
ตามระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่โจทก์ได้ทำไว้กับจำเลยซึ่งเป็นลูกค้า ข้อ 2 มีข้อความว่า การฝากเงินผู้ฝากต้องกรอกรายการลงในใบนำฝากตามแบบของธนาคาร ข้อ 6 มีข้อความว่า การถอนเงินต้องกระทำโดยใช้เช็คหรือเอกสารสั่งจ่ายอย่างอื่นที่ธนาคารอนุมัติให้ใช้ได้ ข้อ 11 มีข้อความว่า เมื่อธนาคารจ่ายเงินตามเช็คทั้ง ๆที่ยอดเงินในบัญชีมีไม่เพียงพอแล้ว ผู้ฝากตกลงและยินยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นคืนให้ธนาคาร พร้อมทั้งยินยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารเรียกเก็บได้ในขณะนั้นนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินเป็นต้นไปข้อ 17 มีข้อความว่า ธนาคารจะจัดส่งรายการเดินสะพัดของบัญชีเงินฝากไปยังผู้ฝากเดือนละครั้ง และข้อ 20 มีข้อความว่า ให้นำวิธีการและประเพณีอันเกี่ยวกับการดำเนินบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปปฏิบัติมาใช้บังคับถึงการฝากและถอนเงินตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันนี้ด้วย และธนาคารยังได้สงวนสิทธิที่จะหักทอนบัญชีของผู้ฝากเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ธนาคารจะเห็นสมควรดังนี้ แสดงว่า นับแต่ที่จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์แล้ว ความผูกพันระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแก่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองหักกลบลบกันและคงชำระแต่ส่วนที่คงเหลือโดยดุลภาคอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ได้ตามประเพณีการค้าขายของธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบ & ความชัดเจนของฟ้อง: การที่ศาลไม่อนุญาตให้แก้ไขหน้าที่นำสืบหลังการสืบพยาน และฟ้องไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบไม่ถูกต้อง ขอให้ทำการชี้สองสถานและกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นดำเนินการ-สืบพยานจนเสร็จสำนวนและพิพากษาคดีแล้ว จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในเรื่องหน้าที่-นำสืบนี้อีกไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) และ 247
คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ได้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีตลอดมา คงเป็นหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญา ขอให้บังคับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา คำฟ้องดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนวิธีการคำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินและวันเดือนปีใดแม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ ก็เป็นเรื่องรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงเบิกเงิน-เกินบัญชี และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ต่อไป เป็นการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง
คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ได้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีตลอดมา คงเป็นหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญา ขอให้บังคับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา คำฟ้องดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนวิธีการคำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินและวันเดือนปีใดแม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ ก็เป็นเรื่องรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงเบิกเงิน-เกินบัญชี และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ต่อไป เป็นการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบ, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, และดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบไม่ถูกต้อง ขอให้ทำการชี้สองสถานและกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจนเสร็จสำนวนและพิพากษาคดีแล้ว จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในเรื่องหน้าที่นำสืบนี้อีกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)และ 247 คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ได้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีตลอดมา คงเป็นหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญาขอให้บังคับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา คำฟ้องดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนวิธีการคำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินและวันเดือนปีใดแม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ ก็เป็นเรื่องรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงเบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ต่อไป เป็นการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญาโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง