พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเบิกเกินบัญชี: คำฟ้องชัดเจน พยานหลักฐานต้องนำสืบในชั้นศาล ข้อฎีกาใหม่ต้องห้าม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยเบิกเกินบัญชี โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ และตกลงว่าในกรณีเงินฝากคงเหลือในบัญชีดังกล่าวของจำเลยไม่พอจ่าย หากโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินไปก่อนแล้ว จำเลยยอมชำระเงินจำนวนที่เบิกเกินบัญชีคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย โดยส่งคำขอเปิดบัญชีและหลักฐานการหักทอนบัญชีมาพร้อมคำฟ้องนั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว ส่วนข้อที่ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์เมื่อใด มูลหนี้เกี่ยวกับอะไรและที่มาของมูลหนี้นั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถจะสืบได้ในชั้นพิจารณา จำเลยยื่นเช็คและใบคืนเช็คมาท้ายฎีกาเพื่อสนับสนุนข้อฎีกาของจำเลยที่ว่าไม่เคยทำข้อตกลงบัญชีเดินสะพัดกับโจทก์ โดยจำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุเช็คกับใบคืนเช็คดังกล่าวเป็นพยาน และไม่ได้นำสืบไว้ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงรับฟังเช็คและใบคืนเช็คดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ จำเลยฎีกาว่า โจทก์อนุมัติจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายจากบัญชีของจำเลยโดยประมาทเลินเล่อ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินและดอกเบี้ยโดยจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเบิกเกินบัญชีและการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยเบิกเกินบัญชี โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ และตกลงว่าในกรณีเงินฝากคงเหลือในบัญชีดังกล่าวของจำเลยไม่พอจ่าย หากโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินไปก่อนแล้วจำเลยยอมชำระเงินจำนวนที่เบิกเกินบัญชีคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย โดยส่งคำขอเปิดบัญชีและหลักฐานการหักทอนบัญชีมาพร้อมคำฟ้องนั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว ส่วนข้อที่ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์เมื่อใด มูลหนี้เกี่ยวกับอะไรและที่มาของมูลหนี้นั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถจะสืบได้ในชั้นพิจารณา
จำเลยยื่นเช็คและใบคืนเช็คมาท้ายฎีกาเพื่อสนับสนุนข้อฎีกาของจำเลยที่ว่าไม่เคยทำข้อตกลงบัญชีเดินสะพัดกับโจทก์ โดยจำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุเช็คกับใบคืนเช็คดังกล่าวเป็นพยาน และไม่ได้นำสืบไว้ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงรับฟังเช็คและใบคืนเช็คดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานไม่ได้
จำเลยฎีกาว่า โจทก์อนุมัติจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายจากบัญชีของจำเลยโดยประมาทเลินเล่อ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินและดอกเบี้ยโดยจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยยื่นเช็คและใบคืนเช็คมาท้ายฎีกาเพื่อสนับสนุนข้อฎีกาของจำเลยที่ว่าไม่เคยทำข้อตกลงบัญชีเดินสะพัดกับโจทก์ โดยจำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุเช็คกับใบคืนเช็คดังกล่าวเป็นพยาน และไม่ได้นำสืบไว้ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงรับฟังเช็คและใบคืนเช็คดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานไม่ได้
จำเลยฎีกาว่า โจทก์อนุมัติจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายจากบัญชีของจำเลยโดยประมาทเลินเล่อ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินและดอกเบี้ยโดยจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิธนาคารในการแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชีและการเรียกร้องหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังปิดบัญชี
จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยแต่เจ้าหน้าที่ธนาคารโจทก์พลั้งเผลอนำเช็คไปหักทอนบัญชีเงินฝากของบุคคลอื่น เมื่อโจทก์ทราบข้อผิดพลาด แม้เป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยขอปิดบัญชีแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิแก้ไขให้ถูกต้อง โดยนำเช็คฉบับนั้นไปหักทอนจากบัญชีของจำเลยตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลย เมื่อโจทก์ปรับปรุงบัญชีใหม่แล้ว จำเลยเป็นหนี้โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้หนี้ดังกล่าวแม้โจทก์จะยอมให้จำเลยไถ่ถอนจำนองและปิดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากบัญชีเดินสะพัด และการให้การลอยๆ ของจำเลย
จำเลยได้เบิกเงินเกินบัญชีเงินฝากกระแสรายวันซึ่งจำเลยเปิดบัญชีไว้กับโจทก์เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2519 โจทก์ได้หักทอนบัญชีของจำเลยและบอกเลิกสัญญากับจำเลยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2523นับแต่วันที่โจทก์หักทอนบัญชีถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2531 ซึ่งเป็นวันฟ้อง สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดยังไม่เกิน10 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 จำเลยให้การเพียงว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกิน 10 ปีโดยไม่มีสิทธิ และไม่มีรายละเอียดอื่นใด จึงเป็นการให้การลอย ๆไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด, เบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, อายุความ 10 ปี, การเลิกสัญญา
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์ โดยด้านหลังคำขอเปิดบัญชีปรากฏมีระเบียบการฝากเงินกระแสรายวันว่า ถ้าเงินในบัญชีมีไม่พอจ่ายตามเช็ค แต่โจทก์ได้จ่ายให้ไปจำเลยต้องจ่ายเงินส่วนที่เกินคืนให้โจทก์ เสมือนหนึ่งได้ขอเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร และโจทก์จะคิดดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีเป็นดอกเบี้ยทบต้นถือได้ว่าเป็นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยและการที่จำเลยนำเงินเข้าฝากในบัญชีและเบิกเงินเรื่อยไปโดยวิธีใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้งเข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเงินครั้งสุดท้ายวันที่ 12 มิถุนายน2522 และนำเงินเข้าฝากครั้งสุดท้าย วันที่ 10 มิถุนายน 2528โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงินหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859 เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถาม ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2530 ให้จำเลยชำระหนี้คิดเพียงวันที่ 27 เมษายน 2530 ภายในกำหนด 15 วันนับแต่ได้รับหนังสือทวงถาม ถือว่าได้มีการเลิกบัญชีเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ถึงวันที่ 27 เมษายน 2530 มูลหนี้อันเกิดจากสัญญาบัญชีเดินสะพัดมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อมีการตกลงผ่อนชำระหนี้และปลดจำนอง การคิดดอกเบี้ยหลังวันดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยธรรมดา
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้จึงใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา การที่โจทก์ตกลงกับจำเลยให้ชำระหนี้เพื่อลดหนี้ลงและปลดจำนองทรัพย์สินที่จำนองเป็นประกันไว้ไปบางรายการและได้มีการชำระหนี้บางส่วนตามที่ตกลงกันไว้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดบัญชีกันอีกต่อไป สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่มีการชำระหนี้บางส่วนนั้น หลังจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด, อายุความ, และการรับผิดชอบหนี้ทายาท
ก. กู้ยืมเงินโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินเมื่อวันที่ 8 มีนาคม2521 กำหนดชำระภายในวันที่ 8 มีนาคม 2522 ต่อมาวันที่ 15พฤษภาคม 2521 ก.ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน หลังจากนั้น ก.เบิกเงินและเอาสิ่งของแล้วตีราคาเป็นเงินไปจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ลงรายการรวมไว้ในบัญชีที่ ก. ค้างชำระอยู่ เมื่อ ก.นำมันสำปะหลังไปขายแก่โจทก์โจทก์ก็ตีราคามันสำปะหลังหักทอนบัญชีอันเกิดแก่กิจการระหว่างโจทก์และ ก. โดยวิธีหักกลบลบกันจากยอดหนี้ที่รวมไว้ทั้งหมด พฤติการณ์ที่ ก.และโจทก์ปฏิบัติต่อกันโดยจัดให้มีบัญชีหนี้ ซึ่งมีการหักทอนบัญชีเป็นคราว ๆเข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด มิใช่เรื่องการกู้ยืม เมื่อก. เริ่มเบิกเงินและเอาสิ่งของไปจากโจทก์ตั้งแต่หลังวันที่15 พฤษภาคม 2521 จนถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นเวลาล่วงเลยกำหนดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน จึงเป็นการที่คู่กรณีตกลงยกเลิกกำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินไปโดยปริยายโจทก์สามารถเรียกให้ ก. ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้หลังจากที่ได้ก่อหนี้กันครั้งสุดท้ายคือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2523 ซึ่งต่อมาวันที่ 19 มกราคม 2524 ก. นำมันสำปะหลังมาขายตีใช้หนี้เพื่อหักทอนบัญชีให้แก่โจทก์อันเป็นการชำระหนี้บางส่วน อายุความจึงสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2524 หนี้รายนี้เป็นบัญชีเดินสะพัดจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2531 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการใช้สิทธิเรียกร้องจากหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยที่ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน150,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย กับจำเลยที่ 1 มอบสมุดบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีเงินฝากอยู่จำนวน 150,000บาท ให้โจทก์ยึดถือไว้และยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นเพราะโจทก์มีสมุดบัญชีเงินฝากเป็นหลักประกันและไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินที่จำกัดไว้ในสัญญาค้ำประกัน กับการที่โจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักชำระหนี้ก็ไม่เกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ถอนเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1ได้ผิดนัดแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 กับตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ว่าถ้าโจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้คุ้มกับจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป ทั้งไม่มีเหตุผลที่จะพึงให้เข้าใจว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญากันโดยมีเจตนาให้เกิดผลในลักษณะเช่นนั้นดังนั้น การที่โจทก์ถอนเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 จำนวน 196,186.28บาท มาหักชำระหนี้ จึงไม่เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของ ผู้ค้ำประกัน เมื่อมีการหักชำระหนี้จากหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน150,000 บาท ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย กับจำเลยที่ 1 มอบสมุดบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีเงินฝากอยู่จำนวน 150,000 บาท ให้โจทก์ยึดถือไว้และยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวเพื่อนำมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นเพราะโจทก์มีสมุดบัญชีเงินฝากเป็นหลักประกันและไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าวงเงินที่จำกัดไว้ในสัญญาค้ำประกัน กับการที่โจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักชำระหนี้ก็ไม่เกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2เพราะจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ถอนเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ผิดนัดแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 กับตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ว่าถ้าโจทก์ใช้สิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำมาหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้คุ้มกับจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิด ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดหรือไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป ทั้งไม่มีเหตุผลที่จะพึงให้เข้าใจว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญากันโดยมีเจตนาให้เกิดผลในลักษณะเช่นนั้น ดังนั้น การที่โจทก์ถอนเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 จำนวน196,186.28 บาท มาหักชำระหนี้ จึงไม่เป็นผลให้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์
ในวันทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีว่าในส่วนที่เกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงเพิ่มเติมภายหลังจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชำระดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามวงเงินกู้ที่ระบุในสัญญา แม้เจ้าหนี้ยินยอมให้กู้เกินวงเงิน
ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ลูกค้าโจทก์ ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่า นับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกแม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 2 ครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว และโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นตลอดไปจนกว่าจะมีการชำระหนี้รายนี้เสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท หรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาทเท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 400,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ ดังนั้น เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน400,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เมื่อหนี้นั้นถึงกำหนดโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701 วรรคแรก แล้ว เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701,727 ประกอบด้วยมาตรา 744(3)