พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเบิกเกินบัญชีและอัตราดอกเบี้ย: ศาลฎีกาวินิจฉัยโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงและประกาศ
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมีข้อตกลงว่า เป็นการเปิดบัญชีกระแสรายวันเพื่อใช้เป็นบัญชีเดินสะพัด ถ้าเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายตามเช็ค ตามปกติโจทก์จะปฏิเสธการจ่ายเงินโดยสิ้นเชิง แต่ถ้าโจทก์ยอมผ่อนผันจ่ายไป จำเลยยอมรับผูกพันตนที่จ่ายเงินส่วนที่เกินคืนโจทก์เสมือนหนึ่งได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีไว้กับโจทก์ การคิดดอกเบี้ยเงินส่วนที่เกินบัญชีดังกล่าวมีข้อตกลงว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้เรียกเก็บได้ ซึ่งขณะทำคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราตามประกาศของธนาคาร โจทก์ได้ออกประกาศของโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกหนี้ประเภทต่าง ๆ และออกประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้ง โดยในกรณีของจำเลย เมื่อพิจารณาจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลย บันทึกการคิดอัตราดอกเบี้ย และประกาศของโจทก์แล้วเห็นได้ว่า โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราเดียวกับลูกค้าประเภทเบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงินและลูกค้าประเภทเบิกเงินเกินบัญชีโดยไม่มีวงเงิน ซึ่งโจทก์จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับลูกค้าทั่วไปที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าวโดยอาศัยข้อตกลงในการขอเปิดบัญชีกระแสรายวัน ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของโจทก์จึงทำได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญา กู้ยืมเงินเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ศาลแก้ไขคำพิพากษาดอกเบี้ย
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14ขณะจำเลยทั้งสองทำสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับดอกเบี้ยและส่วนลดให้สินเชื่อโจทก์จึงมีคำสั่งและประกาศอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับลูกค้ารายใหญ่และรายย่อยชั้นดีโดยอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดีทั้งประเภทเบิกเงินเกินบัญชีและเงินกู้แบบมีระยะเวลาอัตราร้อยละ 14.75 ต่อปี การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกค้ารายย่อยชั้นดีในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จึงเกินกว่าอัตราตามคำสั่งและประกาศของโจทก์เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 อันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3(ก) การกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี จึงตกเป็นโมฆะ แม้ตามความจริงโจทก์จะคิดดอกเบี้ยไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ก็ไม่อาจทำให้ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ตกเป็นโมฆะกลายเป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้ เมื่อข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นโมฆะแล้วเท่ากับสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีกแต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยความสมัครใจของลูกหนี้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ จึงไม่อาจนำมาหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินตามลำดับได้อีก ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246,247
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยความสมัครใจของลูกหนี้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ จึงไม่อาจนำมาหักชำระดอกเบี้ยและต้นเงินตามลำดับได้อีก ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ฟ้องไม่เคลือบคลุม-การคำนวณหนี้-เอกสารประกอบพยาน-การส่งเอกสารต่อศาล
หนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิได้มุ่งหมายให้ตัวแทนกระทำกิจการใดโดยเฉพาะเจาะจง ทั้งการฟ้องคดีก็มิได้ระบุตัวบุคคลผู้เป็นลูกหนี้หรือบุคคลที่จะถูกฟ้องว่าเป็นบุคคลใด ย่อมมีผลเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว โจทก์จึงใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวฟ้องลูกหนี้ของโจทก์ได้ทุกคดีโดยไม่มีจำกัดจำนวนคดีและตัวบุคคล แม้โจทก์จะเคยใช้หนังสือมอบอำนาจฟ้องจำเลยมาแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับเดิมมาฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงินรวม1,500,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ หลังจากนั้นมีการสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีเรื่อยมา ระยะหลังจำเลยเบิกเงินจากบัญชีจำนวนมากแต่นำเงินเข้าหักทอนบัญชีจำนวนน้อย โจทก์จึงบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์คำนวณหนี้คิดเพียงวันที่ 12 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันเลิกบัญชีเดินสะพัด จำเลยเป็นหนี้โจทก์1,877,571.48 บาท ตามบันทึกการคำนวณดอกเบี้ยเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาพอให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว ส่วนขั้นตอนของการคำนวณดอกเบี้ยแต่ละเดือนและยอดสรุปของหนี้แต่ละเดือนเป็นอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ในคดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนองศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่ายอดหนี้สำหรับหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคำนวณไม่ถูกต้องจึงให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความ และต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีที่สองในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีรายเดียวกันอีก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องโดยคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลกำหนดไว้ โจทก์ฟ้องและนำสืบในประเด็นเดิม จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ซึ่งคดีทั้งสองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าได้มีคำพิพากษาชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งคดีนี้โจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในคดีก่อนแล้ว จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้วในคดีเดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงินรวม1,500,000 บาท โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และมีการจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ หลังจากนั้นมีการสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีเรื่อยมา ระยะหลังจำเลยเบิกเงินจากบัญชีจำนวนมากแต่นำเงินเข้าหักทอนบัญชีจำนวนน้อย โจทก์จึงบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์คำนวณหนี้คิดเพียงวันที่ 12 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันเลิกบัญชีเดินสะพัด จำเลยเป็นหนี้โจทก์1,877,571.48 บาท ตามบันทึกการคำนวณดอกเบี้ยเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาพอให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว ส่วนขั้นตอนของการคำนวณดอกเบี้ยแต่ละเดือนและยอดสรุปของหนี้แต่ละเดือนเป็นอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ในคดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนองศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่ายอดหนี้สำหรับหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีคำนวณไม่ถูกต้องจึงให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความ และต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีที่สองในมูลหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีรายเดียวกันอีก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องโดยคำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลกำหนดไว้ โจทก์ฟ้องและนำสืบในประเด็นเดิม จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ซึ่งคดีทั้งสองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าได้มีคำพิพากษาชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งคดีนี้โจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยตามหลักเกณฑ์ที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในคดีก่อนแล้ว จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้วในคดีเดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นหนี้และการคิดดอกเบี้ยในคดีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิฟ้องใหม่
คดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2)ให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง และมาตรา 148(3) เป็นข้อยกเว้นในเรื่องฟ้องซ้ำกรณีเมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้ยกคำฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและขอให้บังคับจำนองแก่ที่ดินอันเป็นหลักประกัน ซึ่งจำเลยให้การต่อสู้หลายประการ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวินิจฉัยชี้ขาดไปตามประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 131(2) ได้ โดยคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่นั้นมีประเด็นเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยเพียงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเพียงใด หาได้มีประเด็นว่าต้นเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีเพียงใดไม่ การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่ได้อ้างส่งรายการบัญชีกระแสรายวันในวันที่ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงทำให้ไม่ทราบว่าวันดังกล่าวจำเลยมีหนี้ต้นเงินค้างชำระอยู่เพียงใด จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่นั้น ก็เพื่อให้โจทก์คิดดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ได้ ซึ่งย่อมเป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่ายหาได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใดไม่ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การหักกลบลบหนี้, ดอกเบี้ย, และสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินฝากประกัน
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้ว โจทก์ยังยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปอีก และโจทก์ก็มิได้บอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดออกไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม2534 แล้ว หลังจากนั้นไม่ปรากฏรายการเดินสะพัด คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1ค้างชำระในแต่ละเดือนทบเป็นต้นเงิน โดยมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 30 ธันวาคม2534 แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ว่าไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันเลิกกันในวันที่ 30 ธันวาคม2534 อันเป็นวันหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาได้เลิกกันในวันที่ 30 กันยายน 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์หักเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ค้างชำระของจำเลยที่ 1 ไม่ ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2534 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1
แม้ตามหนังสือยินยอมมอบเงินฝากเป็นประกันหนี้ของผู้อื่นซึ่งจำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์ โจทก์จะสามารถนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 หักทอนบัญชีหักลบกลบหนี้กับยอดเงินเบิกเกินบัญชีได้เมื่อใดก็ตาม แต่สิทธิและอำนาจนี้โจทก์ต้องดำเนินการในระหว่างสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลใช้บังคับ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันที่30 ธันวาคม 2534 และจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธินำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 มาหักโอนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทันที หลังจากนั้นหากจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้อยู่จำนวนเท่าใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระเสร็จ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงโจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนอีกต่อไปไม่ได้ คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีคือ อัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
แม้ตามหนังสือยินยอมมอบเงินฝากเป็นประกันหนี้ของผู้อื่นซึ่งจำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์ โจทก์จะสามารถนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 หักทอนบัญชีหักลบกลบหนี้กับยอดเงินเบิกเกินบัญชีได้เมื่อใดก็ตาม แต่สิทธิและอำนาจนี้โจทก์ต้องดำเนินการในระหว่างสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลใช้บังคับ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันที่30 ธันวาคม 2534 และจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธินำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 มาหักโอนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทันที หลังจากนั้นหากจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้อยู่จำนวนเท่าใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระเสร็จ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงโจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนอีกต่อไปไม่ได้ คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีคือ อัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีเดินสะพัด-อายุความ-การหักทอนบัญชี-สิทธิเรียกร้อง-สัญญา
ตามคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยระบุตรงกันว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 20/96 ถนนสุขุมวิท ซอยพร้อมมิตร แขวงคลองตันเหนือ เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ การที่จำเลยกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดขอนแก่นเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ขึ้นกล่าวอ้างเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้กล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจึงได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเดิมทั้งหมด โดยผลของกฎหมายตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 185 มิใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 จึงไม่ต้องทำหลักฐานการโอนหนี้เป็นหนังสือแม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการโอนหนี้ระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด กับโจทก์และไม่ได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อมาจำเลยทำความตกลงกับโจทก์เพื่อเป็นร้านค้าสมาชิกรับบัตรเครดิต ตกลงให้ใช้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเป็นบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยในการเรียกเก็บเงินตามหลักฐานการใช้บัตรเครดิตแทนการชำระเงินสดหรือเซลสลิปด้วย ข้อตกลงและการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการกำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดของคู่สัญญาโดยมีการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจดูแลกิจการผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ ฟ้องเรียกเอาเงินที่ออกทดรองไป เมื่อกฎหมายในเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
โจทก์นำเงินเข้าบัญชีของจำเลยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2536 และนำยอดเงินการใช้บัตรเครดิตแทนการชำระเงินสดที่โจทก์เรียกเก็บเงินไม่ได้มาหักจากบัญชีเดินสะพัดของจำเลยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2536 เมื่อหักทอนบัญชีกันในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2536 ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญากับจำเลยโดยให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว จำเลยได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2538 อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์2538 เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2540 ยังไม่พ้นกำหนดสิบปี จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยมิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เป็นอันเพิกถอนไป เป็นการสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
โจทก์จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจึงได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเดิมทั้งหมด โดยผลของกฎหมายตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 185 มิใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 จึงไม่ต้องทำหลักฐานการโอนหนี้เป็นหนังสือแม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการโอนหนี้ระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด กับโจทก์และไม่ได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อมาจำเลยทำความตกลงกับโจทก์เพื่อเป็นร้านค้าสมาชิกรับบัตรเครดิต ตกลงให้ใช้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเป็นบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยในการเรียกเก็บเงินตามหลักฐานการใช้บัตรเครดิตแทนการชำระเงินสดหรือเซลสลิปด้วย ข้อตกลงและการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการกำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดของคู่สัญญาโดยมีการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจดูแลกิจการผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ ฟ้องเรียกเอาเงินที่ออกทดรองไป เมื่อกฎหมายในเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
โจทก์นำเงินเข้าบัญชีของจำเลยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2536 และนำยอดเงินการใช้บัตรเครดิตแทนการชำระเงินสดที่โจทก์เรียกเก็บเงินไม่ได้มาหักจากบัญชีเดินสะพัดของจำเลยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2536 เมื่อหักทอนบัญชีกันในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2536 ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญากับจำเลยโดยให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว จำเลยได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2538 อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์2538 เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2540 ยังไม่พ้นกำหนดสิบปี จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยมิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เป็นอันเพิกถอนไป เป็นการสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีเดินสะพัด: สิทธิหน้าที่ ความรับผิด และอายุความของหนี้
คำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยระบุข้อเท็จจริงตรงกันว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ การที่จำเลยกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดขอนแก่นเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ขึ้นกล่าวอ้าง เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจึงได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเดิมทั้งหมดโดยผลของกฎหมายตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัดฯ มาตรา 185 มิใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 จึงไม่ต้องทำหลักฐานการโอนหนี้เป็นหนังสือ แม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการโอนหนี้ระหว่างธนาคาร ท. กับโจทก์ และไม่ได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
ข้อตกลงและการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลยเพื่อเป็นร้านค้าสมาชิกรับบัตรเครดิตเป็นการกำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดของคู่สัญญาโดยมีการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกันและคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
ตามคำฟ้องโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดมิใช่ผู้ประกอบธุรกิจดูแลกิจการผู้อื่นหรือรับทำงานต่าง ๆ ฟ้องเรียกเอาเงินที่ออกทดรองไป เมื่อกฎหมายในเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 3,000 บาท เท่านั้น มิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เป็นอันเพิกถอนไป เป็นการสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ถูกต้องได้
โจทก์จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจึงได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเดิมทั้งหมดโดยผลของกฎหมายตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัดฯ มาตรา 185 มิใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 จึงไม่ต้องทำหลักฐานการโอนหนี้เป็นหนังสือ แม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการโอนหนี้ระหว่างธนาคาร ท. กับโจทก์ และไม่ได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
ข้อตกลงและการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลยเพื่อเป็นร้านค้าสมาชิกรับบัตรเครดิตเป็นการกำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดของคู่สัญญาโดยมีการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกันและคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
ตามคำฟ้องโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดมิใช่ผู้ประกอบธุรกิจดูแลกิจการผู้อื่นหรือรับทำงานต่าง ๆ ฟ้องเรียกเอาเงินที่ออกทดรองไป เมื่อกฎหมายในเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 3,000 บาท เท่านั้น มิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เป็นอันเพิกถอนไป เป็นการสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การหักกลบลบหนี้, อายุความ 10 ปี, หลักฐานการใช้บัตรเครดิตปลอม, ความรับผิดตามสัญญา
จำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด ต่อมาจำเลยทำความตกลงกับโจทก์เพื่อเป็นร้านค้าสมาชิกรับบัตรเครดิต ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้ใช้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเป็นบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยในการเรียกเก็บเงินตามหลักฐานการใช้บัตรเครดิตแทนการชำระเงินสดหรือเซลสลิปด้วย โดยยินยอมให้โจทก์หักทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยหักกลบลบหนี้กันได้ ตามวิธีและประเพณีปฏิบัติของธนาคารเกี่ยวกับบัญชีเดินสะพัด โจทก์จะเรียกเก็บเงินตามเซลสลิปโดยคิดค่าธรรมเนียมเรียกเก็บแล้วจะโอนเงินเข้าบัญชีของจำเลย หากโจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเซลสลิปได้ จำเลยต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ และถ้าเงินในบัญชีไม่มีให้หักหรือมีแต่ไม่พอให้หักชำระหนี้ได้ครบจำนวน จำเลยยินยอมให้โจทก์นำหนี้ทั้งจำนวนนั้น หรือจำนวนที่คงเหลือหลังจากหักชำระแล้วนั้นลงจ่ายในบัญชีเพื่อให้เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชี และยินยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นของจำนวนเงินที่เป็นหนี้ตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคารด้วย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดสิทธิหน้าที่ความรับผิดของคู่สัญญาโดยมีการตัดทอนบัญชีอันเกิดแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชี้เดินสะพัด จำเลยจึงมีความรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
เมื่อกฎหมายในเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินที่ให้จำเลยรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ แต่มิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์อันเพิกถอนไป เป็นการไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เสียใหม่ให้ถูกต้อง
เมื่อกฎหมายในเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินที่ให้จำเลยรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ แต่มิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์อันเพิกถอนไป เป็นการไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เสียใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3436/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากบัญชีเงินฝาก: สิทธิของเจ้าหนี้ vs. หน้าที่ของลูกหนี้ในการรักษาผลประโยชน์ตนเอง
การที่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ ย่อมแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงให้มีการ ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หักกลบลบกัน โดยมีการ หักทอนบัญชีกันอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่า หลังจากที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด บัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ยังคงมีการเดินสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องโดยจำเลยที่ 1 ยังคงใช้เช็คฝากถอนเงินจากบัญชีตลอดมาอีกประมาณ 50 ครั้ง ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันให้นำหนี้อันเกิดจากสัญญาทรัสต์รีซีทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มาหักทอนบัญชีกันในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันด้วยแต่อย่างใด แม้ในสัญญาทรัสต์รีซีทที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์จะมีข้อตกลงว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัด ยินยอมให้โจทก์หักจากบัญชีเงินฝากทุกประเภทของจำเลยที่ 1 ได้ทันที ก็เป็นการแสดงเจตนาให้สิทธิแก่โจทก์ แต่มิใช่ข้อตกลงที่กำหนดหน้าที่ให้โจทก์ต้องปฏิบัติ การที่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ก็เพื่อความสะดวกและความคล่องตัวในการประกอบกิจการค้าขายของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ มิได้หักเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่งมาชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทเสียในเวลาที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด หรือภายในระยะเวลาอันสมควร ย่อมเป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ยังมีเงินฝากในบัญชีให้เดินสะพัดต่อไป ทำให้เกิดสภาพคล่องและธุรกิจของจำเลยที่ 1 ไม่หยุดชะงักเพราะขาดเงินสดหมุนเวียน ซึ่งหากธุรกิจของ จำเลยที่ 1 ต้องหยุดชะงักก็จะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าการที่จำเลยที่ 1 ยังคงต้องเสียดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีท อีกต่อไป การที่โจทก์มิได้หักเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันนั้น แม้จะเล็งเห็นได้ว่าโจทก์ย่อมได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่นานขึ้น แต่ก็เป็นลักษณะของผลประโยชน์โดยตรงจากการประกอบธุรกิจกิจการธนาคารพาณิชย์ตาม วัตถุประสงค์ของโจทก์อยู่แล้ว จำเลยที่ 1 เองก็มีหน้าที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของตนเช่นกัน ย่อมต้องทราบ ว่าเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันของตนมีอยู่เท่าใด และโจทก์ได้หักเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแล้วหรือไม่ หากโจทก์ยังไม่ได้หักเงินจากบัญชีกระแสรายวันภายในระยะเวลาอันสมควรและเงินในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ยังคงเป็นเจ้าหนี้โจทก์อยู่ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิถอนเงินจากบัญชีนั้นมาชำระหนี้เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยต่อไปได้ การที่จำเลยที่ 1 ยังเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์โดยเบิกถอนเงินในบัญชีของตนเรื่อยมาและมิได้ดำเนินการอย่างใด ๆ เมื่อได้รับหนังสือของโจทก์ที่ทวงถามให้ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่รักษาผลประโยชน์ของตนเอง กรณีจึงไม่อาจถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตที่ไม่หักเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาชำระหนี้รายนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกแล้ว การเลิกสัญญาโดยปริยาย และผลของการหยุดคิดดอกเบี้ย
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่า ถ้าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็คโดยปกติ ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายให้ไป ผู้ฝากย่อมเป็นอันยอมรับผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เกินคืนให้ธนาคาร เสมือนหนึ่งได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารและธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเงินที่เบิกเกินบัญชีเป็นรายวัน แล้วนำดอกเบี้ยนั้นไปหักบัญชีเป็นรายเดือนจึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย แต่เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดระยะเวลาคู่สัญญาจึงอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859
การบอกเลิกสัญญาสามารถกระทำได้โดยแสดงเจตนาแจ้งชัดไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือมีพฤติการณ์อันถือได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะเลิกสัญญากันโดยปริยายก็ได้เมื่อปรากฏตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2526 ต่อจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่รายการที่แสดงถึงดอกเบี้ยเท่านั้นเอง ถือได้ว่า โจทก์เจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยายแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นคือวันที่ 30 มิถุนายน 2530 แม้โจทก์จะมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2540 ก็ไม่ทำให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกกันไปแล้วกลับมีผลบังคับกันต่อไปได้อีก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 เกิน 10 ปี จึงขาดอายุความ
การบอกเลิกสัญญาสามารถกระทำได้โดยแสดงเจตนาแจ้งชัดไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือมีพฤติการณ์อันถือได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะเลิกสัญญากันโดยปริยายก็ได้เมื่อปรากฏตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2526 ต่อจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่รายการที่แสดงถึงดอกเบี้ยเท่านั้นเอง ถือได้ว่า โจทก์เจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยายแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นคือวันที่ 30 มิถุนายน 2530 แม้โจทก์จะมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2540 ก็ไม่ทำให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกกันไปแล้วกลับมีผลบังคับกันต่อไปได้อีก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 เกิน 10 ปี จึงขาดอายุความ