คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 856

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อหักทอนบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยถึงวันหักบัญชี
จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีเดินสะพัดกับโจทก์แบบไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดจึงใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ โดยจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรืออัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดและให้คิดดอกเบี้ยทบต้นตามวิธีและประเพณีของธนาคาร มี ช. ทำสัญญาจำนำสิทธิการรับฝากเงินที่ฝากไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ดังกล่าว ปรากฏว่าหลังวันที่ 30 เมษายน จำเลยขอเพิ่มวงเงินจากโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอม วันที่ 2 กันยายน จำเลยจึงแจ้งให้โจทก์นำเงินฝากและดอกเบี้ยของ ช. ที่ประกันหนี้ไว้มาชำระหนี้แก่โจทก์ แสดงว่า หลังวันที่ 30 เมษายน จำเลยยังประสงค์จะกู้เบิกเงินเกินบัญชีและเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ต่อไป จึงมิได้แจ้งให้โจทก์นำเงินฝากของ ช. มาหักทอนบัญชี แต่เพิ่งแจ้งเมื่อวันที่ 2 กันยายน ทั้งที่จำเลยเคยเป็นพนักงานสินเชื่อของธนาคารมาก่อนย่อมต้องทราบดีถึงการคิดดอกเบี้ยของธนาคารตามสัญญาดังกล่าว สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสิ้นสุดในวันที่ 2 กันยายนซึ่งเป็นวันหักทอนบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 2 กันยายน ดังนั้น การที่โจทก์มิได้นำเงินฝากของ ช. มาหักทอนบัญชีเสียก่อนที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงจึงหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาลักษณะพิเศษที่กฎหมายใช้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะคำนวณดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้ได้ แต่หลังจากที่สัญญาเลิกกันแล้วสิทธิในการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นย่อมหมดไป คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้จึงเป็นการผิดนัดที่เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราที่ตกลงกันไว้ในสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าดอกเบี้ยภายหลังสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงถือเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลมีอำนาจลดลงได้และเมื่อโจทก์มิได้แสดงอัตราดอกเบี้ยที่คิดแก่จำเลยหลังสัญญาสิ้นสุดให้ชัดเจนจึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เป็นข้อวินิจฉัยที่ไม่ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่สูงกว่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาสัญญาบัญชีเดินสะพัด การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา และดอกเบี้ยปรับ
จำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด ต่อมาโจทก์โอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ช. มาชำระหนี้ของจำเลยเพื่อหักทอนบัญชีเดินสะพัด แต่เมื่อหักทอนบัญชีกันแล้ว จำเลยคงเป็นหนี้โจทก์อยู่อีกจำนวนหนึ่ง หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีก พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์ให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดอันเป็นสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยอีก
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาลักษณะพิเศษที่กฎหมายให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในอันที่จะคำนวณดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้ได้ หลังจากบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้ว สิทธิในการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นย่อมหมดไป คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. 391 วรรคหนึ่งจำเลยต้องชำระหนี้เงินที่เบิกเกินบัญชีอยู่แก่โจทก์การที่จำเลยไม่ชำระหนี้จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากการเลิกสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กรณีไม่ใช่เบี้ยปรับที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลยผู้ผิดสัญญาที่หากสูงเกินส่วนศาลอาจปรับลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9223/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, และการคิดดอกเบี้ยทบต้น: หลักเกณฑ์ตามกฎหมายและสัญญา
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ผู้กู้ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกวันที่สิ้นสุดของเดือน หากผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยก็มีข้อกำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้ผู้ให้กู้มีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินเดิมเป็นต้นเงินใหม่ได้ทันที แต่มิได้ให้สิทธิผู้ให้กู้ที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ดังนี้ เมื่อสัญญายังไม่เลิก ผู้ให้กู้จึงจะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดโดยอ้างเหตุผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยหาได้ไม่
ผู้ให้กู้บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปยังผู้กู้กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และผู้กู้ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 เดือนเดียวกัน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเลิกกันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 ซึ่งเป็นวันที่สัญญาเลิกกันยังไม่ถึง 1 เดือน ตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ยไม่ทบต้น
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด แต่ยังมีการเดินบัญชีตลอดมา สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงยังมีผลอยู่ โดยไม่มีกำหนดเวลา การที่ผู้ให้กู้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้โดยผู้กู้มิได้ผิดสัญญา จึงเป็นกรณีที่ผู้ให้กู้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ให้กู้ย่อมไม่มีสิทธิอ้างบันทึกข้อตกลงที่กำหนดให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในกรณีผู้กู้ผิดสัญญาได้
สัญญารับชำระหนี้ที่ผู้กู้ทำให้ไว้แก่ผู้ให้กู้เพื่อเป็นหลักฐานในการรับจะชำระหนี้ มิใช่สัญญากู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้กับผู้กู้ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร สัญญารับชำระหนี้ดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
แม้สัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับจะมีผู้ค้ำประกันเกินกว่าหนึ่งคน แต่เป็นการร่วมกันค้ำประกันในภาระหนี้รายเดียวกัน การปิดอากรแสตมป์แต่ละฉบับเพียง 10 บาท จึงครบถ้วนตามประมวลรัษฎากรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากบัญชีเดินสะพัด: เริ่มนับเมื่อสัญญาสิ้นสุดโดยปริยาย
การเบิกเงินเกินบัญชีและเดินสะพัดทางบัญชีไม่ได้กำหนดเวลาและวงเงินไว้ จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีมาจนถึงวันที่ 29 มีนาคม 2515 หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชี คงมีเพียงรายการดอกเบี้ยที่โจทก์คิดตามสัญญาตลอดมาจนถึงวันหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2517 แสดงว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดโดยปริยายในวันที่ 26 ธันวาคม 2517 โจทก์ย่อมบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2517 แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 28 กรกฎาคม 2540 เกินกำหนด 10 ปี คดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6957/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต แม้มีข้อตกลงโอนหนี้เข้าบัญชีเดินสะพัด ศาลพิจารณาจากมูลหนี้เดิม
แม้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันว่าหากจำเลยมีหนี้สินความรับผิดชอบใดต่อโจทก์ ยอมให้โจทก์หักเงินในบัญชีเดินสะพัดของจำเลย หากเงินในบัญชีไม่พอจำเลยยอมให้โจทก์นำหนี้ตามจำนวนต้องรับผิดชอบลงในบัญชีเดินสะพัดได้ มิใช่การเปลี่ยนสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะทำให้มูลหนี้จากการใช้บัตรเครดิตเปลี่ยนเป็นหนี้อันเกิดจากบัญชีเดินสะพัด
การวินิจฉัยเรื่องอายุความจึงต้องพิจารณาจากมูลหนี้เดิมจากการใช้บัตรเครดิต เมื่อจำเลยใช้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายวันที่ 9 มีนาคม2536 และโจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 2 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: สัญญาบริการอำนวยความสะดวกมีอายุความ 2 ปี ไม่ใช่ 10 ปี
การที่โจทก์แม้จะเป็นธนาคารพาณิชย์ แต่โจทก์ก็ได้ให้บริการประเภทบัตรเครดิตแก่สมาชิกซึ่งทำให้สมาชิกสามารถใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปชำระค่าสินค้าหรือบริการได้โดยไม่ต้องนำเงินสดไปชำระในทันทีมีลักษณะเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกโดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการและค่าธรรมเนียมรายปีด้วยถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2537 แล้วมิได้ชำระหนี้อีกเลยอันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2537 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 3 ตุลาคม 2540 พ้นกำหนด 2 ปี แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
กรณีที่โจทก์ให้จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฎบัตรเครดิตถือมิได้ว่า เป็นบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากโจทก์ได้คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเป็นรายปี และค่าบริการในแต่ละคราว ย่อมมิใช่การกู้เบิกเงินเกินบัญชี
สินเชื่อบัตรเครดิตไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องจากบริการบัตรเครดิต: พิจารณาจากลักษณะบริการไม่ใช่การกู้ยืม
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ แต่โจทก์ก็ได้ให้บริการประเภทบัตรเครดิตแก่สมาชิกซึ่งทำให้สมาชิกสามารถใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปชำระค่าสินค้าหรือบริการได้โดยไม่ต้องนำเงินสดไปชำระในทันที มีลักษณะเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกโดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการและค่าธรรมเนียมรายปี ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(7) แม้โจทก์จะให้จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฏบัตรเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากโจทก์ได้คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเป็นรายปี และค่าบริการในแต่ละคราวย่อมมิใช่การกู้เบิกเงินเกินบัญชีในอันที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์
สินเชื่อบัตรเครดิตไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาธรรมดาที่ไม่มีชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ย่อมประกอบกิจการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องบัตรเครดิต: ไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นการให้บริการ
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ แต่โจทก์ก็ได้ให้บริการประเภทบัตรเครดิตแก่สมาชิกซึ่งทำให้สมาชิกสามารถใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปชำระค่าสินค้าหรือบริการได้โดยไม่ต้องนำเงินสดไปชำระในทันที มีลักษณะเป็นกิจการงานบริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก โดยโจทก์เรียกเก็บค่าบริการและค่าธรรมเนียมรายปี ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/34 (7) แม้โจทก์จะให้จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฏบัตรเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากโจทก์ได้คิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเป็นรายปี และค่าบริการในแต่ละคราวย่อมมิใช่การกู้เบิกเงินเกินบัญชีในอันที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์
สินเชื่อบัตรเครดิตไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แต่เป็นสัญญาธรรมดาที่ไม่มีชื่อตาม ป.พ.พ.บุคคลอื่นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ย่อมประกอบกิจการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, อำนาจฟ้อง, และการลดอัตราดอกเบี้ย: ประเด็นสำคัญในการพิพากษาคดี
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เงินทั้งสามฉบับและหนี้เบิกเงินเกินบัญชี 1 รายการ จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามสัญญา จึงเป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์ เมื่อข้อตกลงในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้ทั้งสามฉบับยอมให้โจทก์บอกกล่าวเลิกสัญญาได้ก่อนสัญญาครบกำหนด การที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยก่อนสัญญาครบกำหนดจึงหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ เพราะหากโจทก์จะปล่อยให้จำเลยกู้เงินต่อไปก็ยิ่งจะเป็นภาระหนักแก่จำเลยที่ไม่อาจชำระหนี้คืนแก่โจทก์ได้แน่นอน และการที่โจทก์ยอมให้บริษัท ร. อันเป็นบริษัทในเครือของจำเลยกู้เงินจากโจทก์ มาชำระหนี้แก่โจทก์เพื่อลดหนี้ของจำเลย และยอมให้จำเลยกู้เงินจากโจทก์ นำมาลดหนี้ของจำเลย ตามฎีกาของจำเลยก็ล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยเองทั้งสิ้น หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยได้รับหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว แต่จำเลยนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพียงบางส่วนเท่านั้น มิได้ชำระทั้งหมดตามจำนวนที่โจทก์ทวงถาม ย่อมไม่ทำให้การทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองสิ้นผลไป เพราะสามารถนำส่วนที่จำเลยชำระนั้นมาหักลดหนี้เดิมได้ แล้วคิดดอกเบี้ยในหนี้ส่วนที่ยังค้างชำระอยู่ต่อไปจนถึงวันฟ้อง แม้ยอดหนี้ตามคำฟ้องจะมีตัวเลขไม่ตรงตามหนังสือทวงถามก่อนที่จำเลยจะชำระหนี้บางส่วน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องมีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองใหม่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของโจทก์สำนักเพลินจิต ว่า ภายหลังจากวันครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด อันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้ชำระหนี้ของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินไปจากโจทก์ และจำเลยก็มิได้ชำระหนี้แก่โจทก์ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว แสดงว่าเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์กับจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะสะพัดกันทางบัญชีต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ต่อไป คงคิดดอกเบี้ยได้โดยไม่ทบต้นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกสัญญาโดยปริยายจากการไม่มีการสะพัดนาน การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มีกำหนดเวลา แต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นเอกเทศสัญญามีลักษณะเฉพาะโดยสัญญาจะคงสภาพอยู่ต่อไปได้ก็จะต้องมีการสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องและภายในระยะเวลาอันสมควร เมื่อจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลยเป็นระยะเวลานานถึง 9 ปีเศษ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายแล้ว
โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราบัญชีของลูกค้าอยู่ตลอดว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าโจทก์ไม่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชีโจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรืออาจบอกเลิกสัญญา ภายในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในระยะเวลายาวนานเกินสมควรเช่นนี้ ถือได้ว่าการใช้สิทธิของโจทก์มิได้กระทำโดยสุจริต เมื่อมีข้อสงสัยก็ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องเสียหายในมูลหนี้ โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่จำเลยมีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายคือวันที่จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้าย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2543)
of 37