พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7821/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้กำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้ และจำเลยได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เรื่อยมาโดยตลอดจำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก คงมีแต่รายการที่โจทก์นำเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระของแต่ละเดือนทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชีที่จำเลยจะต้องชำระในเดือนถัดไป กรณีเช่นนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกัน หรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชี และให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 856 และ 859 ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกันโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกัน ในวันครบกำหนดโจทก์เรียกให้ชำระหนี้ตามหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์คือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงวันดังกล่าว
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศเรื่อง อัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไข จึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้ ดอกเบี้ยร้อยละ 25 จึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 688, 689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่าผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศเรื่อง อัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไข จึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้ ดอกเบี้ยร้อยละ 25 จึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 688, 689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่าผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7821/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, เบี้ยปรับ, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้กำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้ และจำเลยได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เรื่อยมาโดยตลอด จำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก คงมีแต่รายการที่โจทก์นำเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระของแต่ละเดือนทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชีที่จำเลยจะต้องชำระในเดือนถัดไป กรณีเช่นนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชี และให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยให้ชำระหนี้คงเหลือ อันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 และ 859 ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกันโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกันเมื่อปรากฏว่า วันครบกำหนดที่โจทก์เรียกให้ชำระหนี้ตามหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์คือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงวันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขจึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยแล้ว ดังนี้ ดอกเบี้ยร้อยละ 25จึงเป็นเบี้ยปรับ
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่าผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่า ผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขจึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยแล้ว ดังนี้ ดอกเบี้ยร้อยละ 25จึงเป็นเบี้ยปรับ
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่าผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่า ผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5295/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยตามสัญญา แม้จำเลยไม่ผิดนัด ไม่ถือเป็นเบี้ยปรับ ศาลฎีกาแก้คำพิพากษา
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์เพียงว่าส่งสำเนาคำร้องนี้ให้จำเลยพร้อมสำเนาอุทธรณ์ หากจะคัดค้านประการใดให้แถลงคัดค้านภายใน15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ แล้วจึงจะพิจารณาสั่งต่อไปและศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ว่ารับอุทธรณ์ของโจทก์ หมายส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ภายใน 15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน ดังนี้แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่เมื่อจำเลยไม่คัดค้านคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาแล้วจึงอนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิวรรคหนึ่ง แล้ว
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคาร สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีในระหว่างสัญญาได้แม้จำเลยมิได้ผิดนัดชำระหนี้จึงเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสามแม้ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในครั้งแรกเพียงอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี ก็เป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา จึงยังเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไปโดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีตามข้อตกลงในสัญญาได้อีก ข้อสัญญาดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และแม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะระบุว่า หากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดได้ก็ตามแต่ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราเท่ากับอัตราตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น มิได้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจึงมิใช่เบี้ยปรับศาลย่อมไม่มีอำนาจลดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งได้
ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์เพียงว่าส่งสำเนาคำร้องนี้ให้จำเลยพร้อมสำเนาอุทธรณ์ หากจะคัดค้านประการใดให้แถลงคัดค้านภายใน15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ แล้วจึงจะพิจารณาสั่งต่อไปและศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ว่ารับอุทธรณ์ของโจทก์ หมายส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ภายใน 15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน ดังนี้แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่เมื่อจำเลยไม่คัดค้านคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาแล้วจึงอนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิวรรคหนึ่ง แล้ว
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคาร สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีในระหว่างสัญญาได้แม้จำเลยมิได้ผิดนัดชำระหนี้จึงเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสามแม้ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในครั้งแรกเพียงอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี ก็เป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา จึงยังเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไปโดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีตามข้อตกลงในสัญญาได้อีก ข้อสัญญาดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และแม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะระบุว่า หากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดได้ก็ตามแต่ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราเท่ากับอัตราตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น มิได้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจึงมิใช่เบี้ยปรับศาลย่อมไม่มีอำนาจลดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5295/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาและการคิดดอกเบี้ยตามสัญญา การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและการลดเบี้ยปรับ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์เพียงว่าส่งสำเนาคำร้องนี้ให้จำเลยพร้อมสำเนาอุทธรณ์ หากจะคัดค้านประการใดให้แถลงคัดค้านภายใน 15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ แล้วจึงจะพิจารณาสั่งต่อไป และศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ว่ารับอุทธรณ์ของโจทก์ หมายส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ภายใน15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วันดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่เมื่อจำเลยไม่คัดค้านคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาแล้วจึงอนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิวรรคหนึ่ง แล้ว
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีหรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคาร สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาได้แม้จำเลยมิได้ผิดนัดชำระหนี้จึงเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสามแม้ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในครั้งแรกเพียงอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี ก็เป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา จึงยังเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไปโดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้อีก ข้อสัญญาดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และแม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะระบุว่า หากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดได้ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราเท่ากับอัตราตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น มิได้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจึงมิใช่เบี้ยปรับ ศาลย่อมไม่มีอำนาจลดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่งได้
ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์เพียงว่าส่งสำเนาคำร้องนี้ให้จำเลยพร้อมสำเนาอุทธรณ์ หากจะคัดค้านประการใดให้แถลงคัดค้านภายใน 15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ แล้วจึงจะพิจารณาสั่งต่อไป และศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ว่ารับอุทธรณ์ของโจทก์ หมายส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ภายใน15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วันดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่เมื่อจำเลยไม่คัดค้านคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาแล้วจึงอนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิวรรคหนึ่ง แล้ว
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีหรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคาร สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาได้แม้จำเลยมิได้ผิดนัดชำระหนี้จึงเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสามแม้ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในครั้งแรกเพียงอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี ก็เป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา จึงยังเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไปโดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้อีก ข้อสัญญาดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และแม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะระบุว่า หากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดได้ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราเท่ากับอัตราตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น มิได้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจึงมิใช่เบี้ยปรับ ศาลย่อมไม่มีอำนาจลดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4898/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้เบิกเงินเกินบัญชี เริ่มนับจากวันหักทอนบัญชีและเรียกร้องหนี้คงเหลือ
แม้จำเลยสั่งจ่ายเช็คครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2523 แต่ธนาคารโจทก์ทวงถามให้ชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2530 สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลือ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้อง 25 มีนาคม 2539 ไม่ถึง 10 ปี นับแต่วันหักทอนบัญชี คดีไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4898/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การบอกเลิกสัญญาและอายุความของหนี้
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมีว่า ถ้าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็ค โดยปกติธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายให้ไป ผู้ฝากย่อมเป็นอันยอมรับผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เกินคืนให้ธนาคารเสมือนหนึ่งได้ขอร้องเปิดเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคาร ในกรณีที่เงินในบัญชีเงินฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็คหลายฉบับที่นำมาเรียกเก็บพร้อม ๆ กัน ธนาคารทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะจ่ายเงินตามเช็คฉบับใดก็ได้ และธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ย เงินเกินบัญชีเป็นรายวัน (ดอกเบี้ยทบต้น) และจะนำผลดอกเบี้ยนั้นหักบัญชีเป็นรายเดือน ข้อตกลงนี้จะใช้ในทุกกรณี เห็นได้ว่ามีการตกลงกันซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลย
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ขณะโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ มีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีและ เบิกเงินเกินบัญชีอยู่เรื่อย ๆ โดยวิธีใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้ง และยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร ดังนี้เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังจากจำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเบิกเงินครั้งสุดท้ายแล้วบัญชีของจำเลยได้หยุดเดินสะพัด โดยจำเลยมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์อีกเลย จนถึงวันฟ้องจะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม กรณีก็ต้องนำบทบัญญัติเกี่ยวด้วยเรื่องบัญชีเดินสะพัดมาปรับ
การชำระหนี้ตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ เมื่อไม่ปรากฏว่าการเบิกเงินเกินบัญชีได้ตกลงกันชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกันและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ อันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856, 859
ปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันว่าในวันที่ 30 มีนาคม 2530 อันเป็นวันหักทอนบัญชี จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ 67,711.90 บาท โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย ฝ่ายจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านยอดหนี้และ ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยนับแต่วันหักทอนบัญชีกันแล้วเมื่อ วันที่ 30 มีนาคม 2530 สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกันแล้วและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2539 จึงยังไม่ถึง 10 ปี นับแต่วันหักทอนบัญชีกัน ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ขณะโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ มีการนำเงินเข้าฝากในบัญชีและ เบิกเงินเกินบัญชีอยู่เรื่อย ๆ โดยวิธีใช้เช็คสั่งจ่ายหลายครั้ง และยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร ดังนี้เข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด แม้หลังจากจำเลยใช้เช็คสั่งจ่ายเบิกเงินครั้งสุดท้ายแล้วบัญชีของจำเลยได้หยุดเดินสะพัด โดยจำเลยมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์อีกเลย จนถึงวันฟ้องจะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม กรณีก็ต้องนำบทบัญญัติเกี่ยวด้วยเรื่องบัญชีเดินสะพัดมาปรับ
การชำระหนี้ตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ เมื่อไม่ปรากฏว่าการเบิกเงินเกินบัญชีได้ตกลงกันชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระเงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกันและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ อันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856, 859
ปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันว่าในวันที่ 30 มีนาคม 2530 อันเป็นวันหักทอนบัญชี จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ 67,711.90 บาท โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย ฝ่ายจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านยอดหนี้และ ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยนับแต่วันหักทอนบัญชีกันแล้วเมื่อ วันที่ 30 มีนาคม 2530 สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีกันแล้วและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2539 จึงยังไม่ถึง 10 ปี นับแต่วันหักทอนบัญชีกัน ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันบัญชีเดินสะพัดยังผูกพัน แม้บอกเลิกสัญญาค้ำประกันแล้ว หากยังมิได้ชำระหนี้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดย สิ้นเชิงจะครบกำหนดวันที่ 2 เมษายน 2534 แม้จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันในวันดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่า มีการหักทอนบัญชีและชำระหนี้คงเหลือให้เสร็จสิ้นไป ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่ การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แต่ฝ่ายเดียวย่อมไม่มีผล ดังนั้น สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังมีผลผูกพันกันอยู่และกลายเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 อยู่ตราบใด จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้บัตรเครดิต: การคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหากไม่ใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด
แม้ข้อตกลงในการใช้บัตรหลักและบัตรเสริมจะให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้โดยหักจากบัญชีออมทรัพย์และบัญชีกระแสรายวันที่เปิดไว้เพื่อการนี้ การที่จำเลยขอใช้บัตรเครดิตของธนาคารโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ แทนเงินสดเป็นสำคัญโดยให้โจทก์ออกเงินชำระแทนไปก่อน บัญชีที่เปิดไว้ก็เพียงเพื่อให้โจทก์หักเงินไปชำระหนี้หาใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างกันอย่างบัญชีเดินสะพัดไม่ เพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ด้วย รวมทั้งไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการ และมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็คแม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตจะมีข้อความตกลงให้บัญชีดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดก็เป็นเพียงความเข้าใจและเป็นไปตามรูปแบบของสัญญาสำเร็จรูปของโจทก์ ไม่เข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น เมื่อคำให้การเดิมจำเลยมิได้ยืนยันให้การต่อสู้คดีในเรื่องมีการฉ้อฉลทำรายการเพิ่มเติมในใบแจ้งหนี้ของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่ามีการฉ้อฉลทำรายการเพิ่มเติมในใบแจ้งหนี้ของโจทก์โดยไม่สุจริต จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่จำเลยไม่ได้ยกเหตุว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมไว้ต่อศาลว่าคดีขาดอายุความ ก็ไม่ทำให้เกิดประเด็นขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัตรเครดิตไม่ใช่สัญญาเดินสะพัด โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 เป็นสัญญาซึ่งบุคคล 2 คน ตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างบุคคลทั้งสองนั้นตามบัญชีหนี้ที่ได้จัดทำขึ้น บุคคลทั้งสองดังกล่าวต่างฝ่ายต่างต้องเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกัน หากฝ่ายใดเป็นเจ้าหนี้หรือเป็นลูกหนี้แต่ฝ่ายเดียวแม้จะมีบัญชีคิดหนี้สินกัน สัญญานั้นก็หาเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยเป็นเพียงบัญชีที่จำเลยยอมให้โจทก์หักชำระหนี้ตามบัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายทดรองไปก่อนเท่านั้น มิใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างบัญชีเดินสะพัด เพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวหาได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ด้วยไม่ การคิดบัญชีหนี้สินกันตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่การตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยแม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์จะมีข้อความว่า จำเลยตกลงให้บัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 ก็ไม่ทำให้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นกลายเป็นบัญชีเดินสะพัดไปได้
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตจะระบุว่า หากในบัญชีเดินสะพัดของจำเลยปรากฏยอดเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีได้และยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ เป็นข้อสัญญาที่โจทก์เป็นฝ่ายกำหนดขึ้นเองและพิมพ์อยู่ในแบบพิมพ์สำเร็จรูปของโจทก์มาแต่ต้น มิใช่ข้อสัญญาที่เกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างจริงจังและตามสัญญาดังกล่าวโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์และจำเลยมิได้มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการ และมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้จำเลยจะยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชี ก็ไม่ทำให้สัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวกลายเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีไปได้
จำเลยให้การว่า โจทก์อาจจะได้ใช้เล่ห์ฉ้อฉลแสดงตัวเลขจำนวนเงินเกินความเป็นจริงอย่างมากมายจนอาจถือได้ว่าเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นผู้หลงเชื่อเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างร้ายแรงอาจเป็นไปได้หรือไม่ที่จำเลยได้ตกเป็นเหยื่อรายหนึ่งของพนักงานธนาคารผู้ทุจริต จำเลยมิได้ยืนยันให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าวเท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยมิได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมต่อศาลว่าคดีโจทก์ขาดอายุความและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การถือไม่ได้ว่าปัญหาเรื่องอายุความเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยเป็นเพียงบัญชีที่จำเลยยอมให้โจทก์หักชำระหนี้ตามบัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายทดรองไปก่อนเท่านั้น มิใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างบัญชีเดินสะพัด เพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวหาได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ด้วยไม่ การคิดบัญชีหนี้สินกันตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่การตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยแม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์จะมีข้อความว่า จำเลยตกลงให้บัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 ก็ไม่ทำให้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นกลายเป็นบัญชีเดินสะพัดไปได้
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตจะระบุว่า หากในบัญชีเดินสะพัดของจำเลยปรากฏยอดเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีได้และยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ เป็นข้อสัญญาที่โจทก์เป็นฝ่ายกำหนดขึ้นเองและพิมพ์อยู่ในแบบพิมพ์สำเร็จรูปของโจทก์มาแต่ต้น มิใช่ข้อสัญญาที่เกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างจริงจังและตามสัญญาดังกล่าวโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์และจำเลยมิได้มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการ และมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้จำเลยจะยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชี ก็ไม่ทำให้สัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวกลายเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีไปได้
จำเลยให้การว่า โจทก์อาจจะได้ใช้เล่ห์ฉ้อฉลแสดงตัวเลขจำนวนเงินเกินความเป็นจริงอย่างมากมายจนอาจถือได้ว่าเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นผู้หลงเชื่อเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างร้ายแรงอาจเป็นไปได้หรือไม่ที่จำเลยได้ตกเป็นเหยื่อรายหนึ่งของพนักงานธนาคารผู้ทุจริต จำเลยมิได้ยืนยันให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าวเท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยมิได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมต่อศาลว่าคดีโจทก์ขาดอายุความและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การถือไม่ได้ว่าปัญหาเรื่องอายุความเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัตรเครดิตไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นมิชอบ
สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 เป็นสัญญาซึ่งบุคคล 2 คน ตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างบุคคลทั้งสองนั้นตามบัญชีหนี้ที่ได้จัดทำขึ้น บุคคลทั้งสองดังกล่าวต่างฝ่ายต่างต้องเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกัน หากฝ่ายใดเป็นเจ้าหนี้หรือเป็นลูกหนี้แต่ฝ่ายเดียวแม้จะมีบัญชีคิดหนี้สินกัน สัญญานั้นก็หาเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยเป็นเพียงบัญชีที่จำเลยยอมให้ โจทก์หักชำระหนี้ตามบัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายทดรองไปก่อนเท่านั้นมิใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างบัญชีเดินสะพัดเพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียว หาได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ด้วยไม่การคิดบัญชีหนี้สินกันตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่การตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์จะมีข้อความว่า จำเลยตกลงให้บัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 ก็ไม่ทำให้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นกลายเป็นบัญชีเดินสะพัดไปได้
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตจะระบุว่า หากในบัญชีเดินสะพัดของจำเลยปรากฏยอดเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีได้และยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ เป็นข้อสัญญาที่โจทก์เป็นฝ่ายกำหนดขึ้นเองและพิมพ์อยู่ในแบบพิมพ์สำเร็จรูปของโจทก์มาแต่ต้น มิใช่ข้อสัญญาที่เกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างจริงจัง และตามสัญญาดังกล่าวโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ และจำเลยมิได้มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการและมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้จำเลยจะยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีก็ไม่ทำให้สัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวกลายเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีไปได้
จำเลยมิได้ยืนยันให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยมิได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมต่อศาลว่าคดีโจทก์ขาดอายุความและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การ ถือไม่ได้ว่าปัญหาเรื่องอายุความเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยเป็นเพียงบัญชีที่จำเลยยอมให้ โจทก์หักชำระหนี้ตามบัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายทดรองไปก่อนเท่านั้นมิใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างบัญชีเดินสะพัดเพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียว หาได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ด้วยไม่การคิดบัญชีหนี้สินกันตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่การตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์จะมีข้อความว่า จำเลยตกลงให้บัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 ก็ไม่ทำให้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นกลายเป็นบัญชีเดินสะพัดไปได้
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตจะระบุว่า หากในบัญชีเดินสะพัดของจำเลยปรากฏยอดเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีได้และยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ เป็นข้อสัญญาที่โจทก์เป็นฝ่ายกำหนดขึ้นเองและพิมพ์อยู่ในแบบพิมพ์สำเร็จรูปของโจทก์มาแต่ต้น มิใช่ข้อสัญญาที่เกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างจริงจัง และตามสัญญาดังกล่าวโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ และจำเลยมิได้มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการและมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้จำเลยจะยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีก็ไม่ทำให้สัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวกลายเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีไปได้
จำเลยมิได้ยืนยันให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยมิได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมต่อศาลว่าคดีโจทก์ขาดอายุความและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การ ถือไม่ได้ว่าปัญหาเรื่องอายุความเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว