คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 856

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดต้องมีเจ้าหนี้และลูกหนี้ทั้งสองฝ่าย ข้อตกลงในสัญญาบัตรเครดิตที่ขัดแย้งกับหลักการดังกล่าวไม่สมบูรณ์
สัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 เป็นสัญญาซึ่งบุคคล2 คน ตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างบุคคลทั้งสองนั้นตามบัญชีหนี้ที่ได้จัดทำขึ้น บุคคลทั้งสองดังกล่าวต่างฝ่ายต่างต้องเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกันหากฝ่ายใดเป็นเจ้าหนี้หรือเป็นลูกหนี้แต่ฝ่ายเดียวแม้จะมีบัญชีคิดหนี้สินกัน สัญญานั้นก็หาเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยเป็นเพียงบัญชีที่จำเลยยอมให้โจทก์หักชำระหนี้ตามบัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายทดรองไปก่อนเท่านั้น มิใช่บัญชีหักทอนหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างบัญชีเดินสะพัด เพราะจำเลยมีแต่เป็นลูกหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวหาได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์ด้วยไม่ การคิดบัญชีหนี้สินกันตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดังกล่าวจึงมิใช่การตัดทอนบัญชีหนี้หรือหักกลบลบหนี้กันอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ตามคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยทำให้ไว้แก่โจทก์จะมีข้อความว่า จำเลยตกลงให้บัญชีออมทรัพย์ดังกล่าวเป็นบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 ก็ไม่ทำให้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นกลายเป็นบัญชีเดินสะพัดไปได้
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตจะระบุว่า หากในบัญชีเดินสะพัดของจำเลยปรากฏยอดเป็นลูกหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยินยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีได้และยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ เป็นข้อสัญญาที่โจทก์เป็นฝ่ายกำหนดขึ้นเองและพิมพ์อยู่ในแบบพิมพ์สำเร็จรูปของโจทก์มาแต่ต้น มิใช่ข้อสัญญาที่เกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างจริงจัง และตามสัญญาดังกล่าวโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้โจทก์และจำเลยมิได้มีหน้าที่ต้องนำเงินฝากเข้าบัญชีก่อนซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการ และมิได้มีข้อสัญญาให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีด้วยเช็ค แม้จำเลยจะยอมให้โจทก์ถือว่าเป็นการเบิกเงินเกินบัญชี ก็ไม่ทำให้สัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวกลายเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีไปได้
จำเลยให้การว่า โจทก์อาจจะได้ใช้เล่ห์ฉ้อฉลแสดงตัวเลขจำนวนเงินเกินความเป็นจริงอย่างมากมายจนอาจถือได้ว่าเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นผู้หลงเชื่อเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างร้ายแรง อาจเป็นไปได้หรือไม่ที่จำเลยได้ตกเป็นเหยื่อรายหนึ่งของพนักงานธนาคารผู้ทุจริต จำเลยมิได้ยืนยันให้การโดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับไม่มีข้ออ้างหรือข้อเถียงเป็นประเด็นข้อพิพาท
จำเลยมิได้ยกประเด็นเรื่องอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การแม้จำเลยจะขออนุญาตเบิกความเพิ่มเติมต่อศาลว่าคดีโจทก์ขาดอายุความและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้เกิดเป็นประเด็นนี้ขึ้น เพราะเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การ ถือไม่ได้ว่าปัญหาเรื่องอายุความเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4516/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่ระบุเงื่อนไขการแจ้งอัตราดอกเบี้ย
โจทก์ผู้ให้กู้เป็นธนาคารพาณิชย์จะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้หรือไม่นั้น ย่อมสุดแท้แต่ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้กู้ หากในสัญญาระบุไว้โดยแจ้งชัดว่า ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้ หากผู้ให้กู้ไม่แจ้ง ย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยได้
ตามหนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทมีข้อความว่า ถ้าปรากฏว่าผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้เบิกเงินเกินจากบัญชีกระแสรายวันไปเกินกว่าวงเงินที่ตกลงกันผู้เบิกเงินเกินบัญชียินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในส่วนเบิกเกินไปนั้น ในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้สำหรับการให้กู้ยืมในขณะนั้นได้และยินยอมให้ธนาคารนำดอกเบี้ยนี้คำนวณทบต้นตามธรรมเนียมและประเพณีของธนาคารที่กล่าวไว้แล้วได้ด้วย และแม้ก่อนจะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ก็ตามก็ไม่ตัดสิทธิของธนาคารที่จะบอกเลิกสัญญาหรือที่จะลดวงเงินหรือที่จะเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารจะเห็นสมควร โดยธนาคารจะแจ้งให้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีทราบหรือไม่ก็ตามผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงยินยอมและขอปฏิบัติตามทุกประการโดยพลัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงแจ้งชัดแล้วว่า การที่จะเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทราบ โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ แม้จะไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4516/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิธนาคารในการปรับอัตราดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชีตามสัญญา
โจทก์ผู้ให้กู้เป็นธนาคารพาณิชย์จะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้หรือไม่นั้น ย่อมสุดแท้แต่ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้กู้ หากในสัญญาระบุไว้โดยแจ้งชัดว่า ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้หากผู้ให้กู้ไม่แจ้ง ย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยได้
ตามหนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทมีข้อความว่า ถ้าปรากฏว่าผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้เบิกเงินเกินจากบัญชีกระแสรายวันไปเกินกว่าวงเงินที่ตกลงกัน ผู้เบิกเงินเกินบัญชียินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในส่วนเบิกเกินไปนั้น ในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้สำหรับการให้กู้ยืมในขณะนั้นได้ และยินยอมให้ธนาคารนำดอกเบี้ยนี้คำนวณทบต้นตามธรรมเนียมและประเพณีของธนาคารที่กล่าวไว้แล้วได้ด้วย และแม้ก่อนจะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ก็ตาม ก็ไม่ตัดสิทธิของธนาคารที่จะบอกเลิกสัญญาหรือที่จะลดวงเงินหรือที่จะเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารจะเห็นสมควร โดยธนาคารจะแจ้งให้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีทราบหรือไม่ก็ตามผู้เบิกเงินเกินบัญชีตกลงยินยอมและขอปฏิบัติตามทุกประการโดยพลัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงแจ้งชัดแล้วว่า การที่จะเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทราบ โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ แม้จะไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัตรเครดิตกับบัญชีเดินสะพัด: ลักษณะสัญญาที่แท้จริง
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตวีซ่าชฎาทองฉบับพิพาท โจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าหากโจทก์ชำระเงินแทนจำเลยไป จำเลยยอมให้โจทก์นำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักทอนในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลย และยินยอมให้ถือเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันนั้นต่างมุ่งที่จะผูกพันตามบัตรเครดิตเป็นสำคัญ โดยโจทก์จะอนุมัติต่อเมื่อจำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันเพื่อเดินสะพัดกับโจทก์ แต่การที่โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ได้มีการใช้เช็คเบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันเพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวเท่านั้น จึงมิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันขึ้นเพื่อหักทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่ในกิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยนั้นหักกลบลบกัน แล้วคงชำระส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาคอันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด หนี้ที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ตามบัตรเครดิตวีซ่าชฎาทองจึงไม่ใช่หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4480/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้บัตรเครดิตกับสัญญาบัญชีเดินสะพัด: การพิจารณาความสัมพันธ์ของนิติสัมพันธ์และลักษณะของสัญญา
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตวีซ่าชฎาทองฉบับพิพาทโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าหากโจทก์ชำระเงินแทนจำเลยไปจำเลยยอมให้โจทก์นำเงินจำนวนดังกล่าวไปหักทอนในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลย และยินยอมให้ถือเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่โจทก์ และ จำเลยปฏิบัติต่อกันนั้นต่างมุ่งที่จะผูกพันตามบัตรเครดิตเป็นสำคัญ โดยโจทก์จะอนุมัติต่อเมื่อจำเลยได้ทำคำขอเปิด บัญชีกระแสรายวันเพื่อเดินสะพัดกับโจทก์ แต่การที่โจทก์ ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ได้มีการใช้เช็ค เบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวัน เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลย ฝ่ายเดียวเท่านั้น จึงมิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชี กระแสรายวันขึ้นเพื่อหักทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่ในกิจการ ในระหว่างโจทก์และจำเลยนั้นหักกลบลบกัน แล้วคงชำระส่วนที่เป็น จำนวนคงเหลือโดยดุล ภาคอันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด หนี้ที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ตามบัตรเครดิตวีซ่าชฎาทอง จึงไม่ใช่หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยกู้เบิกเงินเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยไม่ตรงวันสิ้นเดือนไม่ผิดสัญญา หากไม่ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นก่อนกำหนด
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกเดือนภายในวันสิ้นเดือน ในเวลาทำงานของผู้ให้กู้แต่ถ้าวันกำหนดชำระดอกเบี้ยเช่นว่านี้ตรงกับวันหยุดของผู้ให้กู้ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำงานที่ถัดไป เป็นข้อตกลงกำหนดเวลา ให้จำเลยผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีชำระดอกเบี้ยแต่ละเดือน หากจำเลย ไม่ชำระดอกเบี้ยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ให้ถือว่าจำเลยผิดนัด ชำระดอกเบี้ยซึ่งโจทก์มีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้าเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยในเดือนถัดไปตามประเพณีของธนาคาร แต่โจทก์และจำเลยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดว่าโจทก์จะต้องคิดดอกเบี้ยใน วันสิ้นเดือน หากโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ตรงวันสิ้นเดือน โจทก์ก็มิได้ คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยในระยะเวลาไม่ถึงรอบบัญชีรายเดือน เมื่อจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยถูกต้องตามสัญญา การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ตรงกับวันสิ้นเดือน จึงไม่ผิดจากข้อตกลงในสัญญา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงว่า ให้จำเลยใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยมิได้ระบุชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยผิดสัญญาและข้อตกลงการชำระดอกเบี้ยรายเดือน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกเดือนภายในวันสิ้นเดือน ในเวลาทำงานของผู้ให้กู้ แต่ถ้าวันกำหนดชำระดอกเบี้ยเช่นว่านี้ตรงกับวันหยุดของผู้ให้กู้ ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำงานที่ถัดไปเป็นข้อตกลงกำหนดเวลาให้จำเลยผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีชำระดอกเบี้ยแต่ละเดือน หากจำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ให้ถือว่าจำเลยผิดนัดชำระดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้าเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยในเดือนถัดไปตามประเพณีของธนาคารได้ แต่โจทก์และจำเลยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดว่าโจทก์จะต้องคิดดอกเบี้ยในวันสิ้นเดือน และหากโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ตรงวันสิ้นเดือน โจทก์ก็มิได้คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยในระยะเวลาไม่ถึงรอบบัญชีรายเดือนตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าว เมื่อจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยถูกต้องตามสัญญา การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ตรงกับวันสิ้นเดือนจึงไม่ผิดจากข้อตกลงในสัญญา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงว่า ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยมิได้ระบุชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชีและการปฏิบัติตามข้อตกลงสัญญา แม้มีการคิดดอกเบี้ยไม่ตรงวันสิ้นเดือน
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกเดือนภายในวันสิ้นเดือน ในเวลาทำงานของผู้ให้กู้ แต่ถ้าวันกำหนดชำระดอกเบี้ยเช่นว่านี้ตรงกับวันหยุดของผู้ให้กู้ ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำงานที่ถัดไปเป็นข้อตกลงกำหนดเวลาให้จำเลยผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีชำระดอกเบี้ยแต่ละเดือนหากจำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ให้ถือว่าจำเลยผิดนัดชำระดอกเบี้ย โจทก์มีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้าเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยในเดือนถัดไปตามประเพณีของธนาคาร แต่โจทก์และจำเลยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดว่าโจทก์จะต้องคิดดอกเบี้ยในวันสิ้นเดือนหาโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ตรงวันสิ้นเดือนโจทก์มิได้คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยในระยะเวลาไม่ถึงรอบบัญชีรายเดือนตามสัญญากู้ดังกล่าว เมื่อจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยถูกต้องตามสัญญาการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ตรงกับวันสิ้นเดือนจึงไม่ผิดจากข้อตกลงในสัญญา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงว่า ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยมิได้ระบุชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค้ำประกันหลังฟ้องคดี และดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเสนอชำระหนี้ให้โจทก์ ภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้แล้วโดยหนี้ตามสัญญา เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันตามฟ้องถึงกำหนดชำระ ตั้งแต่ก่อนฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เสนอขอชำระหนี้ ให้โจทก์ในช่วงเวลาดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นการขอ ชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701 วรรคแรก จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นคดีแล้ว จะหลุดพ้นจากความรับผิด ได้ ก็แต่โดยนำเงินตามที่เห็นว่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์มาวางศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 135,136 เท่านั้น สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่ม สูงขึ้นไปอีกก็ดี หรืออัตราต่ำลงประการใด ผู้เบิกเงินเกินบัญชี ยอมรับที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ และสัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันยินยอม เข้าค้ำประกันผู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงินไม่เกินกว่า 100,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ย ตลอดไปจนกว่า ธนาคารจะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้จนสิ้นเชิงทุกประการ ดังนี้ แม้สัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตรา ดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานซึ่งกำหนดให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ค้ำประกันไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศธนาคารโจทก์ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นไปตามสัญญาและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ระบุให้จำเลยที่ 1 ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกวันที่สิ้นเดือน และยอมให้เอายอดเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินที่ได้เบิกเงินเกินบัญชี ไปในทันที และให้ถือจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นกลายเป็น จำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไป โจทก์ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ย จากจำเลยที่ 1ผู้กู้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแบบทบต้นในทันที ที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามสัญญาเบิกเงิน เกินบัญชี จนกว่าบัญชีจะเลิกกัน และเฉพาะในจำนวนเงิน ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิด ดอกเบี้ยทบต้นได้เช่นเดียวกับที่คิดจากจำเลยที่ 1 หาใช่ สัญญาค้ำประกันมิได้ระบุเวลาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ จึงยังไม่มี วันที่จำเลยที่ 2 ผิดนัดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังฟ้องคดีค้ำประกัน และการคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเสนอชำระหนี้ให้โจทก์ภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เบิกเงินเกินบัญชีและจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้แล้วโดยหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันตามฟ้องถึงกำหนดชำระตั้งแต่ก่อนฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เสนอขอชำระหนี้ให้โจทก์ในช่วงเวลาดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นการขอชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 701วรรคแรก จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นคดีแล้ว จะหลุดพ้นจากความรับผิดได้ก็แต่โดยนำเงินตามที่เห็นว่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์มาวางศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 135,136 เท่านั้น
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นไปอีกก็ดี หรืออัตราต่ำลงประการใด ผู้เบิกเงินเกินบัญชี ยอมรับที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ และสัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันยินยอมเข้าค้ำประกันผู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงินไม่เกินกว่า100,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ย ตลอดไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้จนสิ้นเชิงทุกประการ ดังนี้ แม้สัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธาน ซึ่งกำหนดให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ค้ำประกันไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศธนาคารโจทก์ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นไปตามสัญญาและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ระบุให้จำเลยที่ 1 ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกวันที่สิ้นเดือน และยอมให้เอายอดเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินที่ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปในทันที และให้ถือจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นกลายเป็นจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไป โจทก์ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้กู้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแบบทบต้นในทันทีที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จนกว่าบัญชีจะเลิกกัน และเฉพาะในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้เช่นเดียวกับที่คิดจากจำเลยที่ 1 หาใช่สัญญาค้ำประกันมิได้ระบุเวลาให้จำเลยที่ 2ชำระหนี้ จึงยังไม่มีวันที่จำเลยที่ 2 ผิดนัดไม่
of 37