พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการบังคับไถ่จำนองที่ดิน
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท แต่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยไถ่จำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1301
ธนาคารผู้รับจำนองเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเป็นจำเลยด้วย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงธนาคารให้ยินยอมให้จดทะเบียนไถ่จำนองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง
ทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิมในศาลชั้นต้น 80,000 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 5,000 บาท เกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. และศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
ธนาคารผู้รับจำนองเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเป็นจำเลยด้วย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงธนาคารให้ยินยอมให้จดทะเบียนไถ่จำนองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง
ทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิมในศาลชั้นต้น 80,000 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 5,000 บาท เกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. และศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มเป็นมูลหนี้ต่างราย ศาลยืนตามเดิม แต่แก้ไขค่าทนายความ
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี บัญญัติว่า เงินเพิ่มให้ถือเป็นเงินอากร หมายถึงให้ถือเป็นเงินประเภทเดียวกันเท่านั้น หาได้หมายความถึงเป็นมูลหนี้รายเดียวกันไม่ หนี้ค่าอากรขาเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ทวิ วรรคหนึ่ง ในขณะนั้นหนี้เงินเพิ่มยังไม่เกิดขึ้น หนี้เงินเพิ่มเกิดขึ้นเนื่องจากไม่ชำระค่าอากรภายในกำหนดตามมาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง หนี้ค่าอากรกับหนี้เงินเพิ่มจึงเป็นมูลหนี้หลายราย หนี้ค่าอากรเป็นหนี้รายที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้ย่อมได้รับปลดเปลื้องไปก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
คดีนี้มีทุนทรัพย์ 15,668.98 บาท ศาลภาษีอากรกลางกำหนดค่าทนายความให้โจทก์ 2,000 บาท เกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คดีนี้มีทุนทรัพย์ 15,668.98 บาท ศาลภาษีอากรกลางกำหนดค่าทนายความให้โจทก์ 2,000 บาท เกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถเป็นการฝากทรัพย์ จำเลยต้องรับผิดชอบรถหาย
โจทก์นำรถจักรยานยนต์ไปจอดไว้ที่สถานที่รับจอดรถของจำเลยโดยจำเลยคิดค่าบริการเป็นรายวันและออกบัตรอนุญาตจอดรถให้ โจทก์นำรถเข้าไปจอดในบริเวณสถานที่รับจอดรถของจำเลย โจทก์ล็อกกุญแจรถและเก็บกุญแจไว้ที่โจทก์ ในระหว่างจอดพนักงานของจำเลยเป็นผู้ดูแลรถโจทก์ หากโจทก์จะนำรถออกจากสถานที่จอดรถต้องแสดงบัตรอนุญาตต่อพนักงานของจำเลยซึ่งเฝ้าประตูทางเข้าออก หากไม่มีบัตรอนุญาตมาแสดง พนักงานของจำเลยจะไม่อนุญาตให้โจทก์นำรถออกจากสถานที่จอดรถ แสดงว่าโจทก์ส่งมอบรถจักรยานยนต์พิพาทให้จำเลยและจำเลยยอมรับรถจักรยานยนต์พิพาทจากโจทก์มาอยู่ในความอารักขาของจำเลยแล้ว โดยมีพนักงานของจำเลยเป็นผู้ดูแลรถ แม้บัตรอนุญาตให้จอดรถจักรยานยนต์จะไม่มีข้อความใดระบุว่าเป็นการรับฝากรถก็ตาม แต่การปฏิบัติระหว่างโจทก์และจำเลยเข้าลักษณะสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 657 เมื่อรถจักรยานยนต์พิพาทของโจทก์หายไปในระหว่างการรับฝากของจำเลย จำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9091/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ไม่จำเป็นต้องเป็นสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร และการกำหนดค่าทนายความ
ตามบันทึกข้อความเอกสารที่พิพาทมีข้อความว่า วันที่ 2 กรกฎาคม 2530 เรื่อง ขอยืมเงิน และมีข้อความต่อไปว่า ข้าพเจ้านายสวาท ภิรมย์เอี่ยม (จำเลย) ขอยืมเงินป้าเกศินีฯ (โจทก์) เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) และจำเลยได้ลงลายมือในบันทึกดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานด้วย เมื่อฟังประกอบข้อเท็จจริงที่เป็นยุติว่า โจทก์ได้ถอนเงินจากธนาคารและมอบเงินจำนวน 20,000 บาท ให้แก่จำเลย จำเลยจึงมอบบันทึกข้อความดังกล่าวแก่โจทก์ที่ธนาคาร ย่อมแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินจากโจทก์จำนวน 20,000 บาท จำเลยผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อความดังกล่าวไว้เป็นสำคัญ บันทึกข้อความย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
หลักฐานแห่งการกู้ยืมมิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่เข้าลักษณะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แม้จะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวมกันต่ำกว่าอัตราที่กำหนดตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
หลักฐานแห่งการกู้ยืมมิใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่เข้าลักษณะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 แม้จะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวมกันต่ำกว่าอัตราที่กำหนดตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528-6531/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์-ฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และประเด็นใหม่ในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 บุกรุกเข้าไปในที่ดินตามโฉนดที่ดินของโจทก์และปลูกบ้านอยู่อาศัย ขอให้บังคับขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ให้การกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดิน ที่ปลูกบ้านของจำเลยแต่ละคนเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ละคนโดยการครอบครองปรปักษ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกเข้าไปสร้างบ้านแยกต่างหากจากกันตามที่จำเลยแต่ละคนโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสี่ขนย้ายบ้านเรือน ทรัพย์สิน และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวนเดือนละ 300 บาท นับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะขนย้ายดังกล่าวเสร็จสิ้น จำเลยทั้งสี่ฎีกาขอให้ยกฟ้อง เมื่อทุนทรัพย์ตามฎีกาของจำเลยแต่ละคนแต่ละสำนวนที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวนไม่เกินจำนวน 200,000 บาท แม้จำเลยทั้งสี่จะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา ก็ห้ามมิให้จำเลยแต่ละคนฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 มีจำนวนเพียง 44,000 บาท ไม่เกินจำนวน 50,000 บาท ห้ามมิให้จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่3 ในข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกาในข้อเท็จจริงโต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยทั้งสี่ฎีกาในข้อกฎหมายว่า จำเลยทั้งสี่ให้การโดยชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต ไม่จำต้องบรรยายรายละเอียดในคำให้การเพราะจำเลยทั้งสี่สามารถสืบเหตุแห่งการได้มาโดยไม่สุจริตของโจทก์ในชั้นพิจารณาได้ คำให้การของจำเลยทั้งสี่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่ครอบครองที่ดินในส่วนพิพาทมายังไม่ถึง 10 ปี จำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และจำเลยทั้งสี่ไม่อาจฎีกาโต้แย้งการฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวของศาลอุทธรณ์ได้ แม้จะวินิจฉัยฎีกาในข้อกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ข้อนี้ให้ ก็ไม่มีผลทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าจำเลยทั้งสี่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่พิพาทและศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงในข้อดังกล่าวตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา แม้จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวมาโดยไม่สุจริต ก็ไม่มีผลทำให้จำเลยทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
นอกจากจำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณะแล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยังระบุไว้ในแผนผังท้ายคำให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่ในแนวเขตที่ดินตามโฉนดที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เท่ากับจำเลยทั้งสี่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ เพราะถ้าที่ดินส่วนที่พิพาทเป็นที่สาธารณะจำเลยทั้งสี่จะอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองไม่ได้ เพราะจำเลย ทั้งสี่ไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 ประกอบกับทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับว่า บ้านของจำเลยทั้งสี่อยู่ในเขตที่ดินของโจทก์จริง และเจ้าหน้าที่ได้ทำแผนที่วิวาทและคำนวณเนื้อที่และตำแหน่งที่ตั้งบ้านถูกต้องตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสี่นำชี้จริง เช่นนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณะหรือไม่ ที่จำเลยทั้งสี่ยกประเด็นนี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คดีทั้งสี่สำนวนมีทุนทรัพย์พิพาทกันในแต่ละสำนวนแยกต่างหากจากกันได้ ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดแต่ละสำนวนเกินกว่าอัตราขั้นสูง ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ. จึงไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหาดังกล่าว แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็น สมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 มีจำนวนเพียง 44,000 บาท ไม่เกินจำนวน 50,000 บาท ห้ามมิให้จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่3 ในข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกาในข้อเท็จจริงโต้เถียงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยทั้งสี่ฎีกาในข้อกฎหมายว่า จำเลยทั้งสี่ให้การโดยชัดแจ้งแล้วว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต ไม่จำต้องบรรยายรายละเอียดในคำให้การเพราะจำเลยทั้งสี่สามารถสืบเหตุแห่งการได้มาโดยไม่สุจริตของโจทก์ในชั้นพิจารณาได้ คำให้การของจำเลยทั้งสี่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่ครอบครองที่ดินในส่วนพิพาทมายังไม่ถึง 10 ปี จำเลยทั้งสี่ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และจำเลยทั้งสี่ไม่อาจฎีกาโต้แย้งการฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวของศาลอุทธรณ์ได้ แม้จะวินิจฉัยฎีกาในข้อกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ข้อนี้ให้ ก็ไม่มีผลทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่าจำเลยทั้งสี่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่พิพาทและศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงในข้อดังกล่าวตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา แม้จะวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวมาโดยไม่สุจริต ก็ไม่มีผลทำให้จำเลยทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
นอกจากจำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณะแล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยังระบุไว้ในแผนผังท้ายคำให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่ในแนวเขตที่ดินตามโฉนดที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เท่ากับจำเลยทั้งสี่ยอมรับว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ เพราะถ้าที่ดินส่วนที่พิพาทเป็นที่สาธารณะจำเลยทั้งสี่จะอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองไม่ได้ เพราะจำเลย ทั้งสี่ไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 ประกอบกับทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับว่า บ้านของจำเลยทั้งสี่อยู่ในเขตที่ดินของโจทก์จริง และเจ้าหน้าที่ได้ทำแผนที่วิวาทและคำนวณเนื้อที่และตำแหน่งที่ตั้งบ้านถูกต้องตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสี่นำชี้จริง เช่นนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณะหรือไม่ ที่จำเลยทั้งสี่ยกประเด็นนี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คดีทั้งสี่สำนวนมีทุนทรัพย์พิพาทกันในแต่ละสำนวนแยกต่างหากจากกันได้ ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดแต่ละสำนวนเกินกว่าอัตราขั้นสูง ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ. จึงไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในปัญหาดังกล่าว แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็น สมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น ศาลแก้คำพิพากษาให้ชัดเจนตามคำขอ และกำหนดค่าทนายความใหม่ในคดีไม่มีทุนทรัพย์
ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่า ห้ามจำเลยและจำเลยร่วมเกี่ยวข้องกับทางพิพาท เมื่อที่ดินส่วนที่เป็นทางพิพาทยังคงเป็นของจำเลยและจำเลยร่วม ทั้งโจทก์มิได้มีคำขอให้ห้ามจำเลยและจำเลยร่วมเกี่ยวข้องกับทางพิพาท จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ขอให้จำเลยเปิดถนนหรือทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมเปิดทางกว้าง 3 เมตร จากที่ดินของจำเลยร่วมไปถึงถนนสาธารณะ อันไม่ตรงตามคำขอและอาจก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับคดี ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยและจำเลยร่วมเปิดทางจำเป็นให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำเลยและจำเลยร่วมร่วมกันใช้ค่าทนายความในศาลชั้นต้น 5,000 บาท แทนโจทก์ แต่คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ กฎหมายกำหนดค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ 3,000 บาท แม้ศาลชั้นต้นจะสามารถกำหนดให้จำเลยร่วมใช้ค่าทนายความได้ถึง 6,000 บาท เพราะจำเลยร่วมฟ้องแย้งก็ตาม แต่จำเลยมิได้ฟ้องแย้งด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรกำหนดค่าทนายความในศาลชั้นต้นเสียใหม่
ตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ขอให้จำเลยเปิดถนนหรือทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมเปิดทางกว้าง 3 เมตร จากที่ดินของจำเลยร่วมไปถึงถนนสาธารณะ อันไม่ตรงตามคำขอและอาจก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับคดี ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยและจำเลยร่วมเปิดทางจำเป็นให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำเลยและจำเลยร่วมร่วมกันใช้ค่าทนายความในศาลชั้นต้น 5,000 บาท แทนโจทก์ แต่คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ กฎหมายกำหนดค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ 3,000 บาท แม้ศาลชั้นต้นจะสามารถกำหนดให้จำเลยร่วมใช้ค่าทนายความได้ถึง 6,000 บาท เพราะจำเลยร่วมฟ้องแย้งก็ตาม แต่จำเลยมิได้ฟ้องแย้งด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรกำหนดค่าทนายความในศาลชั้นต้นเสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีชำรุดบกพร่อง, การพิสูจน์ความชำรุดบกพร่อง, และการกำหนดค่าเสียหาย
โจทก์ซื้อห้องชุดพิพาทจากจำเลยและได้รับโอนการครอบครองไปเรียบร้อยแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้เข้าอยู่อาศัย ต่อมาประมาณกลางปี 2538 โจทก์ประสงค์จะเข้าอยู่อาศัย จึงได้ให้ช่างเข้าไปตกแต่ง ในระหว่างนั้นเกิดมีฝนตกหนัก น้ำฝนรั่วซึมเข้าไปในห้องชุดพิพาท ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ความเสียหายเกิดจากผนังบางส่วนมีรอยแตกร้าว และบริเวณระหว่างกำแพงที่เป็นปูนหรือส่วนที่เป็นพื้นกับวงกบอะลูมิเนียมของบานประตูหน้าต่างมีรอยต่อไม่สนิทหรือบางส่วนยาซิลิโคนไม่ทั่ว ทำให้น้ำฝนสามารถซึมเข้ามาตามห้องชุดตามรอยร้าวหรือรอยต่อที่ไม่สนิทเป็นความชำรุดบกพร่องอันไม่เห็นประจักษ์ในเวลาส่งมอบ ต่อเมื่อมีฝนตกหนัก น้ำฝนซึมเข้ามาจึงจะรู้ว่ามีการชำรุดบกพร่อง แม้โจทก์จะได้มอบหมายให้ตัวแทนโจทก์เข้าไปสำรวจตรวจสอบ ก็เป็นการตรวจสอบเพียงว่ามีทรัพย์สินใดเสียหายบ้าง แต่บุคคลทั้งสองไม่มีความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง การที่ตัวแทนโจทก์เสนอให้โจทก์ติดต่อหาผู้เชี่ยวชาญมาทำการตรวจสอบและโจทก์ได้ว่าจ้างให้ผู้ซึ่งมีความรู้เชี่ยวชาญเข้าไปทำการตรวจสอบให้แน่ชัด จึงเป็นการกระทำที่สมควร เมื่อผู้เชียวชาญได้ตรวจสอบเสร็จและเสนอรายการซ่อมให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2538 จึงถือได้ว่าโจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่องของห้องชุดพิพาทนับแต่เวลานั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2539 ยังไม่พ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ค่าจ้างตรวจสอบสาเหตุแห่งความเสียหายรวมทั้งทรัพย์สินที่เสียหายและค่าซ่อมแซมเป็นผลโดยตรงจากความชำรุดบกพร่องของห้องชุดพิพาทที่จำเลยขายให้โจทก์และเป็นจำนวนที่สมควร จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความไว้ในตาราง 6 โดยให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูง โดยให้พิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าความเรื่องนั้น ไม่ประสงค์จะให้คู่ความกำหนดอัตราค่าทนายความกันเองแล้วมาเรียกจากอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งศาลจะกำหนดค่าทนายความไว้ตอนท้ายของคำพิพากษา มิใช่กำหนดตามที่ผู้ชนะคดีจ่ายไปจริง
ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์จ่ายเงินค่าตรวจสอบไปเมื่อวันใด ส่วนค่าซ่อมแซมขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้ซ่อม โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับจากวันตามขอไม่ได้ ศาลกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
ค่าจ้างตรวจสอบสาเหตุแห่งความเสียหายรวมทั้งทรัพย์สินที่เสียหายและค่าซ่อมแซมเป็นผลโดยตรงจากความชำรุดบกพร่องของห้องชุดพิพาทที่จำเลยขายให้โจทก์และเป็นจำนวนที่สมควร จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความไว้ในตาราง 6 โดยให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูง โดยให้พิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าความเรื่องนั้น ไม่ประสงค์จะให้คู่ความกำหนดอัตราค่าทนายความกันเองแล้วมาเรียกจากอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งศาลจะกำหนดค่าทนายความไว้ตอนท้ายของคำพิพากษา มิใช่กำหนดตามที่ผู้ชนะคดีจ่ายไปจริง
ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์จ่ายเงินค่าตรวจสอบไปเมื่อวันใด ส่วนค่าซ่อมแซมขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้ซ่อม โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับจากวันตามขอไม่ได้ ศาลกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริตและจดทะเบียน สิทธิใครเหนือกว่า
ผู้คัดค้านซื้อที่ดินโฉนดพิพาทซึ่งรวมที่ดินพิพาทมาด้วย จาก ส. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก่อนที่ผู้คัดค้านจะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจาก ส. แต่เมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ร้องจึงยกเอาสิทธิที่ได้มาอยู่ก่อนและยังมิได้จดทะเบียน นั้นขึ้นใช้ยันผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดย เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองแม้ผู้ร้องจะยังครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาครอบครองใหม่ เมื่อยังไม่ถึง 10 ปี สิทธิของผู้ร้องจึงยกขึ้นอ้างต่อผู้คัดค้านไม่ได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจ ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เองโดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
ผู้คัดค้านลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์เอง และแม้ว่าทนายผู้คัดค้านจะลงชื่อเป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์ แต่ตามใบแต่งทนายความไม่ปรากฏว่ามีข้อความให้ทนายผู้คัดค้านมีอำนาจ ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้าน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านยื่นคำแก้อุทธรณ์เองโดยมิได้แต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7161/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การรับรองรายงานการประชุม และการพิจารณาคำร้องเรียน
แม้โจทก์ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งเส้นทางสายที่พิพาทเป็นเวลาถึง 30 ปี และกรมการขนส่งทางบกเคยกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการให้สัมปทานเดินรถประจำทางว่า จำนวนผู้ประกอบการเดินรถสายหนึ่งไม่ควรให้เกิน 1 รายเพื่อมิให้เกิดการแย่งผู้โดยสารกัน และในการประชุมสัมมนาผู้ประกอบการขนส่งทั่วประเทศของกรมการขนส่งทางบก มีมติว่า ถ้าเส้นทางเดินรถทับซ้อนกันเกินกว่าร้อยละ 30 ขึ้นไป ต้องให้ผู้ประกอบการขนส่งคนเดิมเป็นผู้ประกอบการขนส่งคนเดิมเป็นผู้ได้รับอนุญาตก็ตาม แต่นโยบายของกรมการขนส่งดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางที่กำหนดขึ้นจากการสัมมนาของผู้ประกอบการขนส่งตามกฎหมายเก่าคือพระราชบัญญัติการขนส่งพ.ศ. 2497 ซึ่งถูกยกเลิกแล้ว โดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 ทั้งมิใช่นโยบายของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และมิใช่ระเบียบปฏิบัติซึ่งออกใช้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งมีแนวทางกำหนดไว้ใหม่แล้ว จำเลยทั้งแปดจึงไม่จำต้องถือตาม นโยบายเดิมอีกต่อไป และเหตุที่จำเลยทั้งแปดพิจารณาไม่ให้โจทก์ ได้รับใบอนุญาตเดินรถในเส้นทางที่กำหนดขึ้นใหม่ เนื่องจากมีประชาชน ร้องเรียนหลายรายว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการเดินรถ หลายประการ คณะกรรมการจึงเห็นควรให้ผู้ประกอบการขนส่ง รายใหม่ได้รับใบอนุญาตเพื่อให้เกิดการแข่งขันในด้านบริการซึ่งจะทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ จึงถือไม่ได้ว่า จำเลย ทั้งแปดได้ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและขัดนโยบายต่อโจทก์ รายงานการประชุมครั้งที่ 2/2533 และครั้งที่ 3/2533ของคณะกรรมการชุดจำเลยทั้งแปดเมื่อวันที่ 24 กันยายน2533 และวันที่ 26 กันยายน 2533 ซึ่งลงมติให้ ส.ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เป็นรายงานการประชุมที่ถูกต้องตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดและการรับรองรายงานการประชุมเป็นวิธีปฏิบัติซึ่งกำหนดให้ทำเพื่อให้สามารถใช้บันทึกรายงานการประชุมดังกล่าว มาเป็นหลักฐานอ้างอิงว่าคณะกรรมการได้มีการประชุมเกี่ยวกับ เรื่องใด มีความเห็นหรือมีมติว่าอย่างไร ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการ ควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด อ.มีมติให้การประชุมให้ส. ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการขนส่งในเส้นทางสายใหม่แล้ว แม้จำเลยที่ 8 จะออกใบอนุญาตไปก่อนจะมีการรับรองรายงาน การประชุมครั้งดังกล่าว แต่ก็เป็นการปฏิบัติตรงตามมติของ คณะกรรมการในรายงานการประชุมดังกล่าว จึงไม่เป็นการผิดกฎหมาย การที่จำเลยทั้งแปดในฐานะคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด อ.มีมติให้ส. ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งในเส้นทางสายใหม่ และจำเลยที่ 8 ในฐานะนายทะเบียนได้ออก ใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามมติดังกล่าว จึงเป็นการปฏิบัติงาน ไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้จะทับเส้นทางเดินรถ ที่โจทก์ได้รับอนุญาตอยู่เดิม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิด ต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ดำเนินคดีด้วยตนเองตลอดมา มิได้แต่งทนาย ความ แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นพนักงานอัยการและเป็นทนายความแก้ต่าง ให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ก็ไม่มีค่าทนายความ ที่โจทก์ควรจะใช้แทนจำเลยที่ 3 การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ แทนจำเลยทั้งแปดจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7088/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ทุนทรัพย์, อัตราค่าทนายความ, และการคืนค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุกเข้าไปครอบครอง ขอให้ขับไล่จำเลย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็น น.ส. 3 โจทก์ขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นโต้เถียงกรรมสิทธ์ในที่ดินพิพาท เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท
แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยบุกรุกมีเนื้อที่ 1 งาน 47 ตารางวา แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายขอให้ทำแผนที่พิพาท ในการทำแผนที่พิพาทเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้รังวัดโดยคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นผู้นำชี้ และรับกันว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา จึงมีประเด็นโต้เถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน ในเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา ซึ่งคิดเป็นราคาในขณะที่ยื่นคำฟ้องเพียง 49,875 บาท คดีนี้จึงมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นเงินจำนวนดังกล่าว แม้จำเลยจะเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 55,125 บาท ก็ไม่ทำให้ทุนทรัพย์ในคดีเพิ่มขึ้นได้ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์เกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นการกำหนดโดยผิดกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัย ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. สองร้อยบาท แต่จำเลยเสียเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียเกินมาแก่จำเลย
แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยบุกรุกมีเนื้อที่ 1 งาน 47 ตารางวา แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายขอให้ทำแผนที่พิพาท ในการทำแผนที่พิพาทเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้รังวัดโดยคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นผู้นำชี้ และรับกันว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา จึงมีประเด็นโต้เถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน ในเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา ซึ่งคิดเป็นราคาในขณะที่ยื่นคำฟ้องเพียง 49,875 บาท คดีนี้จึงมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นเงินจำนวนดังกล่าว แม้จำเลยจะเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 55,125 บาท ก็ไม่ทำให้ทุนทรัพย์ในคดีเพิ่มขึ้นได้ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์เกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นการกำหนดโดยผิดกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัย ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. สองร้อยบาท แต่จำเลยเสียเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียเกินมาแก่จำเลย