พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13705/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกไม่เสร็จสิ้น อายุความยังไม่เริ่มนับ ทายาทมีสิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดกคืน
ร. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ฟ. จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนในฐานะส่วนตัว โดยไม่ปรากฏว่า ร. ได้บอกกล่าวทายาทของ ฟ. ทุกคนว่า ไม่มีเจตนายึดถือทรัพย์แทนทายาททุกคนต่อไปมาเป็นการครอบครองในฐานะส่วนตัวโดยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว ย่อมถือได้ว่า ร. ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ฟ. แทนทายาทอื่นและเป็นตัวแทนของบรรดาทายาทในการแบ่งปันทรัพย์มรดกจนกระทั่ง ร. ถึงแก่ความตาย เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาจาก ร. ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ ฟ. เช่นเดียวกัน ประกอบกับที่ดินของ ฟ. อีกแปลงหนึ่ง ไม่ปรากฏว่าได้มีการแบ่งปันแก่ทายาทแล้ว แสดงว่าทรัพย์มรดกของ ฟ. ยังจะต้องมีการแบ่งปันแก่ทายาท การจัดการมรดกของ ฟ. ยังไม่เสร็จสิ้น อายุความที่ห้ามมิให้ทายาทฟ้องภายในห้าปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงจึงยังไม่เริ่มนับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ดังนั้น โจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิติดตามเอาที่ดินพิพาทคืนเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาทได้ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7844/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งมรดก: คดีจัดการมรดกใช้มาตรา 1733 วรรคสอง ไม่ใช่ 1754/1755
โจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 ต่างเป็นทายาทโดยธรรมของ พ. เจ้ามรดกลำดับเดียวกัน ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่ากัน ทั้งมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งร่วมกันจนกว่าจะแบ่งมรดกแล้วเสร็จ จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทเท่า ๆ กัน การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน จึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวจากจำเลยที่ 2 ได้ตามมาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363 เมื่อโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกกระทำการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวซึ่งไม่ถูกต้อง จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก กำหนดอายุความต้องบังคับตามมาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่บังคับตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1755
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก ครอบครองปรปักษ์ และการโอนสินสมรส
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ส. และจำเลยที่ 1 เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ สินสมรสส่วนของ ส. กึ่งหนึ่งจึงตกแก่ทายาทโดยธรรม จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ตามคำสั่งศาล จึงมีฐานะเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาทที่จะต้องจัดการมรดก เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาท เพราะอำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้จัดการมรดกต่อทายาทเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ใช่มีลักษณะเป็นตัวแทนของทายาทเพราะบทบัญญัติของกฎหมายบรรพ 6 ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายบรรพ 3 ลักษณะตัวแทนมาใช้โดยอนุโลมเท่านั้น
การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกของ ส. บางส่วนให้แก่ตนเองเป็นการส่วนตัว ในฐานะที่ตนเป็นทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรสของ ส. และให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งเป็นทายาทของ ส. อีกคนหนึ่ง การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722
ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่ทำการโอนที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทอื่นของ ส. ซึ่งมีโจทก์ทั้งห้ารวมอยู่ด้วยก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. และโจทก์ทั้งห้าที่จะว่ากล่าวกันต่างหาก ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งเป็นทายาทของ ส. คนหนึ่ง จึงเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องกระทำโดยตนเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 และมาตรา 1723
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ท. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส. แต่ผู้เดียวนับแต่เจ้ามรดกตาย โดยทายาทคนอื่นรวมทั้งโจทก์ทั้งห้าไม่ได้ร่วมครอบครองทรัพย์มรดกดังกล่าวด้วยแต่อย่างใดกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายสนับสนุนว่า ท. ครอบครองทรัพย์สินดังกล่าวแทนทายาทอื่น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปี จึงขาดอายุความตาม มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง
เมื่อสิทธิในทรัพย์มรดกตกแก่ ท. โดยสมบูรณ์ นับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2529 ซึ่งเป็นวันครบกำหนด 1 ปี นับแต่ ส. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นทายาทของ ท. ที่มีสิทธิรับมรดกของ ท. ทั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นบุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาทอื่นจะยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งห้าได้ ตาม มาตรา 1755
การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินทรัพย์มรดกภายหลังจากที่ทายาทอื่นของ ส. ซึ่งรวมทั้งจำเลยที่ 1 สิ้นสิทธิในการเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกแล้ว เป็นการยื่นเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียน เพื่อให้ ท. ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในทรัพย์มรดกเท่านั้น หาใช่เพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่นซึ่งสิ้นสิทธิในการฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกไปโดยบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง แล้วไม่
การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกของ ส. บางส่วนให้แก่ตนเองเป็นการส่วนตัว ในฐานะที่ตนเป็นทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรสของ ส. และให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งเป็นทายาทของ ส. อีกคนหนึ่ง การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722
ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่ทำการโอนที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทอื่นของ ส. ซึ่งมีโจทก์ทั้งห้ารวมอยู่ด้วยก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. และโจทก์ทั้งห้าที่จะว่ากล่าวกันต่างหาก ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งเป็นทายาทของ ส. คนหนึ่ง จึงเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องกระทำโดยตนเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 และมาตรา 1723
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ท. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส. แต่ผู้เดียวนับแต่เจ้ามรดกตาย โดยทายาทคนอื่นรวมทั้งโจทก์ทั้งห้าไม่ได้ร่วมครอบครองทรัพย์มรดกดังกล่าวด้วยแต่อย่างใดกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายสนับสนุนว่า ท. ครอบครองทรัพย์สินดังกล่าวแทนทายาทอื่น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปี จึงขาดอายุความตาม มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง
เมื่อสิทธิในทรัพย์มรดกตกแก่ ท. โดยสมบูรณ์ นับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2529 ซึ่งเป็นวันครบกำหนด 1 ปี นับแต่ ส. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นทายาทของ ท. ที่มีสิทธิรับมรดกของ ท. ทั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นบุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาทอื่นจะยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งห้าได้ ตาม มาตรา 1755
การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินทรัพย์มรดกภายหลังจากที่ทายาทอื่นของ ส. ซึ่งรวมทั้งจำเลยที่ 1 สิ้นสิทธิในการเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกแล้ว เป็นการยื่นเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียน เพื่อให้ ท. ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในทรัพย์มรดกเท่านั้น หาใช่เพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่นซึ่งสิ้นสิทธิในการฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกไปโดยบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง แล้วไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6389/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก การแบ่งทรัพย์มรดกโดยมิชอบ และอายุความการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ถือว่าผู้จัดการมรดกเป็นผู้ถือครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททุกคน และมีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อการแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 หากผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยมิชอบขัดต่อกฎหมายและถึงแก่ความตายก่อนจัดการมรดกเสร็จสิ้น ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของทายาทย่อมฟ้องผู้จัดการมรดกที่ศาลแต่งตั้งขึ้นใหม่ให้จัดการแก้ไขแบ่งทรัพย์มรดกให้ถูกต้องได้ภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคท้าย
ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกแก่ทายาทหลังเจ้ามรดกตายเกินกว่า 1 ปี การฟ้องขอเพิกถอนการโอนทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง มาใช้ไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้าย
ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกแก่ทายาทหลังเจ้ามรดกตายเกินกว่า 1 ปี การฟ้องขอเพิกถอนการโอนทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง มาใช้ไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสน ฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม-อายุความ-การครอบครองปรปักษ์
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสี่คนละ 1 ส่วน คิดเป็นเงิน 240,000 บาท แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน ที่ดินที่โจทก์ทั้งสี่แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีการะหว่างจำเลยและโจทก์ทั้งสี่แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามจำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเนื่องจากจำเลยร่วมกับ ห. เข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทมาตั้งแต่แรกและต่อมา ห. ได้ยกที่ดินพิพาทในส่วนของ ห. ให้แก่จำเลยแล้วก็ดี จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนจนได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้วก็ดี และแม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่นก็ตามแต่จำเลยก็ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นการยึดถือเพื่อตนแล้วก็ดี เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่ ห. ถึงแก่ความตายเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่วินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่ ห. ถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่ ห. ถึงแก่ความตายเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่วินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่ ห. ถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4095/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีมรดก: คดีเรียกร้องคืนทรัพย์มรดกไม่ใช่การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาท
ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย..." คำว่า คดีมรดก ตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า คดีที่พิพาทกันระหว่างทายาทที่มีสิทธิในทรัพย์มรดกด้วยกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดก ฉะนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของทายาทคือจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ บ. และโจทก์ ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินจากจำเลยทั้งสองเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาทของ บ. กรณีมิใช่เรื่องเรียกร้องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดก จำเลยที่ 2 ไม่อาจยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง ขึ้นกล่าวอ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเจ้าหนี้เรียกร้องจากทายาทหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่รู้ถึงการเสียชีวิต
นอกจากโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าเป็นการสบคบกันฉ้อฉลเพื่อไม่ให้โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้อง โจทก์ยังฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ ส. เจ้ามรดกได้ทำไว้กับโจทก์ด้วย จึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ฟ้องร้องคดีนี้หลังจากได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกเกินกว่า 1 ปี แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้
แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถือเป็นการฟ้องแบ่งมรดก ไม่ขาดอายุความ
ตามฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินของบ. ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่เป็นการฟ้องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกจากจำเลยซึ่งโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของบ.สามารถฟ้องเพื่อติดตามทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกให้กลับมาเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336และกรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตามเอาทรัพย์สินคืนไว้จึงนำอายุความมรดก1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคหนึ่งมาใช้บังคับไม่ได้คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ชั้นอุทธรณ์คดียังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าว.รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยชอบหรือไม่และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนการโอนหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีในประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อดังกล่าวและจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านไว้ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ไว้แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบแต่ในชั้นฎีกาแม้ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นกระแสความแล้วก็ตามแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยเสียก่อนทั้งนี้เพื่อให้การวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทอันเป็นเนื้อหาหลักของคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมิใช่การแบ่งมรดก และประเด็นอายุความในการติดตามทรัพย์สินคืน
ตามฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินของ บ. ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกจากจำเลย ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ.สามารถฟ้องเพื่อติดตามทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกให้กลับมาเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และกรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตามเอาทรัพย์สินคืนไว้ จึงนำอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับไม่ได้ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ชั้นอุทธรณ์คดียังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ว.รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยชอบหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนการโอนหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีในประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อดังกล่าว และจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านไว้ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ไว้ แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ แต่ในชั้นฎีกาแม้ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นกระแสความแล้วก็ตาม แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้การวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทอันเป็นเนื้อหาหลักของคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินมรดก: อายุความและลำดับชั้นศาล
ตามฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินของ บ.ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกจากจำเลย ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ.สามารถฟ้องเพื่อติดตามทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกให้กลับมาเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 และกรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตามเอาทรัพย์สินคืนไว้ จึงนำอายุความมรดก 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา1754 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับไม่ได้ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ชั้นอุทธรณ์คดียังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ว.รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยชอบหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนการโอนหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีในประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อดังกล่าว และจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านไว้ ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ไว้แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ แต่ในชั้นฎีกาแม้ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นกระแสความแล้วก็ตามแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้การวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทอันเป็นเนื้อหาหลักของคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล
ชั้นอุทธรณ์คดียังคงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ว.รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยชอบหรือไม่ และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนการโอนหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีในประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อดังกล่าว และจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านไว้ ทั้งโจทก์ก็ได้ยื่นแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ไว้แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ แต่ในชั้นฎีกาแม้ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นกระแสความแล้วก็ตามแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้การวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทอันเป็นเนื้อหาหลักของคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล