คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 684

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุไว้ชัดแจ้งว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินที่ได้เบิกไปในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และในสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันกับสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง ก็ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราดังกล่าว สำหรับหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 4 ฉบับนั้น ฉบับแรกไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ อัตราดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ฉบับที่สองและฉบับที่สามกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 17.5 ต่อปี เป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 19 ต่อปีเป็นร้อยละ 17.5 ต่อปี และฉบับที่สี่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ อัตราดอกเบี้ยจึงเป็นไปตามอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สามคือร้อยละ 17.5 ต่อปี ดังนี้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยไม่เกินกว่าอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นการพิพากษาที่ชอบแล้ว
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินไม่เกิน 600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีโดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าธรรมเนียมศาลแทนโจทก์เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่สำหรับค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนโจทก์นั้นเป็นจำนวนน้อยและต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดมากจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดลงหรือแยกให้จำเลยที่ 2 รับผิด ศาลฎีกาจึงให้จำเลยที่ 2 ร่วมชำระค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและหนังสือต่ออายุ การกำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุไว้ชัดแจ้งว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินที่ได้เบิกไปในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และในสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันกับสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง ก็ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตรา ดังกล่าว สำหรับหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 4 ฉบับนั้น ฉบับแรกไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ อัตราดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ฉบับที่สองและฉบับที่สามกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 17.5 ต่อปีเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 19 ต่อปีเป็นร้อยละ 17.5 ต่อปี และฉบับที่สี่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ อัตราดอกเบี้ยจึงเป็นไปตามอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สามคือร้อยละ 17.5 ต่อปีดังนี้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย ไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสอง ชำระดอกเบี้ยไม่เกินกว่าอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นการพิพากษาที่ชอบแล้ว จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินไม่เกิน 600,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีโดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าธรรมเนียมศาลแทนโจทก์เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่2 ต้องรับผิด เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่สำหรับค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนโจทก์นั้นเป็นจำนวนน้อยและต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดมากจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดลงหรือแยกให้จำเลยที่ 2 รับผิด ศาลฎีกาจึงให้จำเลยที่ 2ร่วมชำระค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุนการศึกษา, การหนีราชการถือเป็นการผิดสัญญา, การคำนวณค่าปรับจากเงินเดือน
จำเลยที่1ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศและได้รับทุนให้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทำสัญญาไว้ว่าจะกลับมารับราชการโดยไม่ลาออกหรือโอนไปรับราชการที่อื่นตามระยะเวลาที่กำหนดนั้นหากปรากฏว่าจำเลยที่1หนีราชการไปก่อนครบกำหนดระยะเวลาและกองทัพอากาศได้ปลดจำเลยที่1ออกจากราชการเนื่องจากเหตุดังกล่าวดังนี้ถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาเพราะคำว่าหนีราชการเป็นถ้อยคำที่แสดงบ่งชัดให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่ามีเจตนาที่จะไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการจึงจะอ้างว่ากองทัพอากาศปลดจำเลยที่1ออกเองจำเลยไม่ผิดสัญญาหาได้ไม่ เงินเดือนที่จำเลยที่1ได้รับในระหว่างไปศึกษาต่างประเทศนั้นอยู่ในความหมายของคำว่าเงินรายเดือนที่ทางราชการได้จ่ายให้เนื่องในการเดินทางและศึกษาตามข้อสัญญาที่จำเลยที่1ทำให้ไว้แก่โจทก์และยอมชดใช้ในกรณีผิดสัญญาจึงนำเงินเดือนมารวมคำนวณคิดเป็นค่าปรับได้ การที่จำเลยที่1ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ2ครั้งในระหว่างที่ปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาโดยมีข้อสัญญาว่าจะยอมปฏิบัติราชการชดใช้ทุนที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศต่อจากสัญญาฉบับอื่นนั้นจำเลยที่1จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศก่อนจากนั้นจึงนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนในการไปศึกษาต่อต่างประเทศครั้งที่1และครั้งที่2ต่อจากระยะเวลาที่ครบกำหนดการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียนจ่าอากาศตามลำดับ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2ที่3รับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในหนี้คนละจำนวนจำเลยที่2ที่3จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่ตนต้องรับผิดตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกหนี้จากผู้ค้ำประกันหลังลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และประเด็นการทวงถามหนี้
ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ไม่ขอพิสูจน์หนี้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้จากผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดร่วมกับลูกหนี้ได้
ศาลชั้นต้นสั่งว่า ข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้องไม่เป็นประเด็น ให้งดสืบพยาน จำเลยโต้แย้งคำสั่งให้งดสืบพยานแต่ไม่โต้แย้ง คำสั่งที่ว่าไม่มีประเด็นเรื่องทวงถาม จำเลยอุทธรณ์เรื่องมีประเด็นว่า โจทก์ไม่ทวงถามไม่ได้
ศาลให้ผู้ค้ำประกันเสียค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ได้ มิใช่กรณีให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้ต้องเสียไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันและการคืนโฉนดไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดตามสัญญา
สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697เป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่เจ้าหนี้เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เช่น การจำนอง จำนำ หรือบุริมสิทธิ โฉนดเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ ลูกหนี้มอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้จึงไม่ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิใดๆ ในตัวทรัพย์คือที่ดินตามโฉนดนั้นการที่เจ้าหนี้คืนโฉนดให้แก่ลูกหนี้ไป จึงไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 631/2474)
การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ในฐานที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แพ้คดีแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 นั้น จำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้อง ขึ้นเป็นข้อยกเว้นความรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้: การคืนโฉนดไม่ปลดเปลื้องความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697 เป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่เจ้าหนี้เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น การจำนอง จำนำ หรือบุริมสิทธิ โฉนดเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ ลูกหนี้มอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้จึงไม่ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิใดๆ ในตัวทรัพย์คือที่ดินตามโฉนดนั้น การที่เจ้าหนี้คืนโฉนดให้แก่ลูกหนี้ไป จึงไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 631/2474)
การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ในฐานที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แพ้คดีแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 นั้น จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้อง ขึ้นเป็นข้อยกเว้นความรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกัน, การผิดนัดชำระหนี้, และการบังคับชำระหนี้ตามสัญญา
ใบมอบอำนาจระบุว่ามอบอำนาจให้ ช.ทวงถามเงินกู้จากจ.และย. แต่งตั้งทนายฟ้องร้องคดีจนถึงที่สุด ดังนี้เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการอันเดียว มอบครั้งเดียว มอบให้กระทำการครั้งเดียว เมื่อปิดอากรแสตมป์ 5 บาท ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
การปิดแสตมป์ในตราสารเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติว่าต้องปิดก่อนหรือระหว่างการนำสืบ
ตามสัญญาได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระตามกำหนด ก็ตกเป็นผู้ผิดนัด เมื่อลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้จึงชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้นไม่จำต้องฟ้องลูกหนี้ก่อน และเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ค้ำประกันขอให้เรียกลูกหนี้ชำระก่อน ทั้งผู้ค้ำประกันยังเบิกความว่าไม่ทราบว่าลูกหนี้อยู่ที่ไหนจะมีเงินพอชำระหนี้ได้หรือไม่ ดังนี้ ผู้ค้ำประกันไม่อาจจะอ้างได้ว่าเจ้าหนี้ต้องฟ้องลูกหนี้ก่อนจึงจะฟ้องตนได้
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เงิน ลูกหนี้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีตามกฎหมาย และเมื่อจำเลยค้ำประกันโดยมิได้จำกัดจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องรับผิดการค้ำประกันนี้จึงคุ้มถึงดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ค้างชำระด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้จะมีหลักฐานในการทวงถามจำเลยหรือไม่ จะพอฟังว่าได้ทวงถามแล้วหรือไม่ก็ตาม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยโดยระบุเงินต้นอัตราระยะเวลาและจำนวนรวมมาด้วย แต่จำนวนที่ขอมานั้นต่ำกว่าจำนวนที่ควรจะคำนวณได้ ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตามอัตราและระยะเวลาที่โจทก์ขอ แต่จำกัดไว้ด้วยว่าไม่เกินจำนวนที่โจทก์ระบุขอมา (เจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ตามสัญญาที่ลูกหนี้ทำไว้แก่เจ้าหนี้ โดยมิได้ฟ้องลูกหนี้ด้วย ไม่ว่าเจ้าหนี้จะได้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้นั้นก่อนฟ้องหรือไม่ก็ตาม ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเพื่อใช้ค่าฤชาธรรมเนียมความที่ตนถูกเจ้าหนี้ฟ้องนั้น)