พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเขตจังหวัดชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่มีกฎหมายเฉพาะ แต่กระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจข้าหลวงตรวจการดำเนินการได้
ในปี พ.ศ.2498 ยังไม่มีบทกฎหมายหรือกฎข้อบังคับใดที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะถึงวิธีปฏิบัติในเรื่องการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด เมื่อไม่แน่ว่าท้องที่หมู่บ้านหนึ่งอยู่ในเขตของจังหวัดใดในระหว่าง 2 จังหวัด ทีมีเขตติดต่อกัน กระทรวงมหาดไทยมอบให้ข้าหลวงตรวจการมหาดไทยภาคเป็นประธานของคณะกรรมการ ให้มีอำนาจกำหนดเขตระหว่าง 2 จังหวัดนี้ให้แน่นอน แล้วว่าการกำหนดเขตระหว่างจังหวัดนี้ไม่จำต้องทำเป็นประกาศกำหนดเขตตำบล โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457เพียงแต่ทำเป็นบันทึกข้อตกลงระหว่างจังหวัดทั้งสองพร้อมทั้งทำแผนที่แสดงแนวเขตให้ชัดแจ้งเก็บไว้เป็นหลักฐานทั้งทำแผนที่แนวเขตให้ชัดแจ้งเก็บไว้เป็นหลักฐานก็พอแล้ว ข้อหลวงตรวจการ ฯ ภาคจึงปฏิบัติการตามคำสั่งดังนี้ การกำหนดเขตจังหวัดทั้งสองจึงเป็นการชอบแล้ว
ในปี พ.ศ.2498 นั้น ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลได้ถูกยุบเลิกไปก่อนแล้ว ไม่มีสมุหเทศาภิบาลที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะขออนุมัติในการที่จะเปลี่ยนแปลงเขตหมู่บ้านและตำบลตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 6 แต่เมื่ออำนาจหน้าที่ในการบริหารตรวจการของสมุหเทศาภิบาลย่อมตกไปอยู่กับกระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทยสั่งการและมอบให้ข้าหลวงตรวจการ ฯ ภาค เป็นผู้ดำเนินการกำหนดเขตจังหวัดให้แน่นอน การที่ข้าหลวงตรวจการ ภาคกำหนดเขตจังหวัดจึงเป็นการชอบ แม้จะมีผลเป็น+เปลี่ยนแปลงเขตหมู่บ้านและตำบลด้วย ในปี พ.ศ.2497 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 ออกใช้แล้ว การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดหรือเขตอำเภอจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 32 และ 39 ผู้ว่าราชการภาคไม่มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดได้ ถ้าผู้ว่าราชการภาคกำหนดแนวเขตจังหวัดใหม่ ทำให้ที่พิพาทซึ่งเคยอยู่ในเขตจังหวัดจะต้องไปอยู่ในเขตจังหวัด บ.ก็ยังต้องถือว่าที่พิพาทยังขึ้นอยู่กับจังหวัด จ. ศาลจังหวัด จ. มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับที่พิพาท
ในปี พ.ศ.2498 นั้น ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลได้ถูกยุบเลิกไปก่อนแล้ว ไม่มีสมุหเทศาภิบาลที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะขออนุมัติในการที่จะเปลี่ยนแปลงเขตหมู่บ้านและตำบลตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 6 แต่เมื่ออำนาจหน้าที่ในการบริหารตรวจการของสมุหเทศาภิบาลย่อมตกไปอยู่กับกระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทยสั่งการและมอบให้ข้าหลวงตรวจการ ฯ ภาค เป็นผู้ดำเนินการกำหนดเขตจังหวัดให้แน่นอน การที่ข้าหลวงตรวจการ ภาคกำหนดเขตจังหวัดจึงเป็นการชอบ แม้จะมีผลเป็น+เปลี่ยนแปลงเขตหมู่บ้านและตำบลด้วย ในปี พ.ศ.2497 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 ออกใช้แล้ว การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดหรือเขตอำเภอจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 32 และ 39 ผู้ว่าราชการภาคไม่มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดได้ ถ้าผู้ว่าราชการภาคกำหนดแนวเขตจังหวัดใหม่ ทำให้ที่พิพาทซึ่งเคยอยู่ในเขตจังหวัดจะต้องไปอยู่ในเขตจังหวัด บ.ก็ยังต้องถือว่าที่พิพาทยังขึ้นอยู่กับจังหวัด จ. ศาลจังหวัด จ. มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับที่พิพาท