คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8214/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจำหน่ายและมีเมทแอมเฟตามีนครอบครอง ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครอง และจำเลยได้จำหน่าย เมทแอมเฟตามีนของกลางดังกล่าวให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ และเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานจำหน่าย เมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่ต้องปรับบทความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอีก พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง เพียงบทเดียว โจทก์มิได้อุทธรณ์ ส่วนจำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดฐานจำหน่าย เมทแอมเฟตามีน ขอให้ยกฟ้อง โดยจำเลยมิได้อุทธรณ์ให้ชัดแจ้งว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองด้วย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจริง ตามฟ้องและพิพากษายืน ดังนี้ ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองได้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว
พยานโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติราชการไปตามหน้าที่และไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าพยานจะสมคบกันมาเบิกความกลั่นแกล้งจำเลยให้ต้องรับโทษ ทั้งพยานโจทก์ดังกล่าวก็ เบิกความได้สอดคล้องต้องกันในข้อสาระสำคัญ และมีเหตุผลติดต่อเชื่อมโยงกันมาเป็นลำดับ มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
ที่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมก็มีเหตุผลน่าเชื่อว่าเป็นเพราะจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้โดยกะทันหันพร้อมด้วยธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อบางส่วนเป็นของกลางกับมีผู้มาชี้ตัวยืนยันความผิดของจำเลย จำเลยยังไม่มีโอกาสคิดไตร่ตรองหาข้อแก้ตัวได้ทันในขณะนั้น จึงต้องให้การรับสารภาพไปตามความสัตย์จริง ที่จำเลยเบิกความ อ้างลอย ๆ ว่า เจ้าพนักงานตำรวจบังคับให้จำเลยลงชื่อในบันทึกการตรวจค้นและจับกุม ทั้งมิได้ถามค้านพยานโจทก์ ผู้ทำบันทึกการจับกุมให้ข้อนี้ไว้จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้
โจทก์นำ อ. ผู้ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยมาเป็นประจักษ์พยานเบิกความพิสูจน์ความผิดของจำเลย อ. ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ไม่มีเหตุผลใดที่ อ. จะต้องให้การต่อพนักงานสอบสวนปรักปรำจำเลย ทั้ง อ. ก็ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนในวันเกิดเหตุนั้นเอง ยังไม่ทันมีโอกาสคบคิดกับผู้หนึ่งผู้ใดให้การช่วยเหลือหรือปรักปรำจำเลยได้ ที่ อ. เบิกความในชั้นพิจารณาในทำนองว่า ข้อเท็จจริงตามบันทึกคำให้การดังกล่าวไม่เป็นความจริง เป็นการเบิกความอ้างลอย ๆ ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้
โจทก์มีพนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความรับรองว่า ชั้นสอบสวน อ. ได้ให้การไว้จริง พนักงานสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติราชการไปตามหน้าที่ทั้งไม่เคยรู้จักจำเลยมาก่อน ไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะปรุงแต่งเรื่องราวตามบันทึกคำให้การขึ้นมาเอง พนักงานสอบสวนได้บันทึกคำให้การของ อ. ไปตามที่ อ. ให้การเองโดยสมัครใจ การที่ อ. พยานโจทก์มาเบิกความต่อศาลบิดเบือนข้อเท็จจริงในบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของตนเองเป็นอย่างอื่นให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยเพื่อช่วยเหลือจำเลยในภายหลัง จึงไม่ควรนำคำเบิกความของ อ. มาฟังเป็นประโยชน์แก่จำเลยหรือฟังเป็นข้อพิรุธทำลายน้ำหนักคำเบิกความของพยานโจทก์ผู้จับกุมจำเลย
การวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงแห่งคดี เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง ในสำนวนว่าข้อใดควรรับฟังได้เพียงใดหรือไม่ หาใช่พยานเบิกความอย่างไร แล้วศาลจะต้องรับฟังเสมอไปไม่ แม้คำให้การในชั้นสอบสวนของ อ. จะเป็นคำซัดทอดของผู้กระทำความผิดในมูลคดีเรื่องเดียวกันก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังทั้งมิใช่คำซัดทอดผู้อื่นเพื่อให้ตนเองพ้นจากความผิด ศาลจึงรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนของ อ. ประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์เพื่อลงโทษจำเลยได้
ในวันเกิดเหตุ อ. ได้ให้การต่อพยานโจทก์ผู้จับกุม จำเลยซัดทอดว่าจำเลยเป็นผู้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ อ. ทันที จึงเป็นเบาะแสไปสู่การตรวจค้นบ้านของจำเลยจนพบธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อบางส่วนเป็นของกลาง การที่ พยานโจทก์ผู้จับกุมจำเลยตรวจค้นพบธนบัตรที่ใช่ล่อซื้อบางส่วนตกมาอยู่ในกระเป๋าเสื้อของจำเลยนั้น จึงเป็นเหตุผลสนับสนุนคำให้การในชั้นสอบสวนของ อ. ประจักษ์พยานโจทก์มีน้ำหนักอันควรแก่การรับฟังยิ่งขึ้น
พนักงานสอบสวนพยานโจทก์เบิกความว่า วันเกิดเหตุพยานได้รับตัวจำเลยพร้อมของกลางจากพยานโจทก์ ผู้จับกุมจำเลยเมื่อเวลา 22 นาฬิกาเศษ ซึ่งห่างจากเวลาตรวจค้นและจับกุมจำเลยนานถึง 5 ชั่วโมงเศษ เหตุดังกล่าว น่าจะเป็นเพียงความล่าช้าในการปฏิบัติงานของผู้จับกุมจำเลยเท่านั้น ไม่น่าจะเป็นข้อพิรุธของพยานโจทก์ทำให้ น่าสงสัยว่าจำเลยมิได้ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม
แม้ปรากฏว่ามีการลงบันทึกเกี่ยวกับธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีคลาดเคลื่อนไป แต่ จากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาเมื่อนำมาฟังประกอบกันแล้ว มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่า จำเลยได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่ อ. จริงตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้
ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. ยาเสพติด- ให้โทษ พ.ศ. 2522 เป็นความผิดที่มีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกันและกระทำโดยอาศัยเจตนาที่แยกจากกัน จึงเป็นความผิดคนละบทหรือคนละกรรมกันแล้วแต่กรณี เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครอง จำนวน 94 เม็ด น้ำหนักรวม 8,420 กรัม และจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันและจำเลยได้จำหน่ายหมดไปในคราวเดียวกันโดย ไม่มีเหลืออยู่ในความครอบครองของจำเลยอีก จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยเสียใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เตรียมอุปกรณ์แบ่งบรรจุ แสดงเจตนาเพื่อขาย
เจ้าพนักงานตำรวจได้เข้าจับกุมจำเลยที่ 1 หลังจากที่ให้สายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด จากจำเลยที่ 1 พบจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกนั่งตัดหลอดพลาสติกอยู่ในห้องและค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 780 เม็ด อยู่ในถุงพลาสติกแขวนอยู่ที่ข้างฝา จำเลยที่ 2 ถูกจับกุมในห้องนั้นเอง พร้อมอุปกรณ์มีหลอดกาแฟตัดสั้น เทียนไข ไฟแช็ก และมีดคัทเตอร์ซึ่งมีไว้เพื่อบรรจุเมทแอมเฟตามีน โดยของกลางที่สายลับได้มาจากการล่อซื้อเป็นเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด บรรจุอยู่ในหลอดพลาสติกปิดหัวท้าย การที่จำเลยที่ 2 ถูกจับขณะตัดหลอดพลาสติกกับมีอุปกรณ์ในการบรรจุเมทแอมเฟตามีนครบครันและมีเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน780 เม็ด อยู่ในถุงพลาสติกแขวนอยู่ในห้อง ซึ่งเตรียมพร้อมที่จะบรรจุเมทแอมเฟตามีนในหลอดกาแฟโดยมีเทียนไขและไฟแช็กเพื่อใช้ในการลนหลอดพลาสติกปิดหัวท้ายในการบรรจุเมทแอมเฟตามีนพฤติการณ์เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 3 กับพวกบรรจุเมทแอมเฟตามีนและขายเมทแอมเฟตามีนโดยจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายตระเตรียมอุปกรณ์ในการบรรจุเมทแอมเฟตามีนลงในหลอดพลาสติกและจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายอันเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำและร่วม กระทำผิดด้วยกัน จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการในการกระทำผิดฐาน ขายเมทแอมเฟตามีนด้วย
จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและจำหน่าย จำเลยทั้งสามมิได้กระทำผิดโดยลำพัง จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 15 วรรคหนึ่ง,67 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติด, พยายามจำหน่าย, และความรับผิดของผู้สนับสนุนตามกฎหมายยาเสพติด
คำว่า "การมีไว้ในครอบครอง" ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 มิได้บัญญัติให้มีความหมายพิเศษ จึงต้องถือว่ามีความหมายทั่วไป ดังนี้ การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษจึงมีความหมายเพียงว่ายาเสพติดให้โทษนั้นอยู่ในความยึดถือหรือปกครองดูแลของจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยทั้งสองรู้ว่าเป็นยาเสพติดให้โทษ เมื่อปรากฏว่าเฮโรอีนของกลางจำนวน 60 ห่อ อยู่ในความยึดถือหรือปกครองดูแลของ ม. ที่ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และโจทก์ไม่ได้นำสืบว่ามีความเกี่ยวพันกับจำเลยทั้งสองอย่างไร ส่วนจำเลยทั้งสองอยู่ในราชอาณาจักรไทยซึ่งห่างไกลกันโดยระยะทาง ย่อมไม่อาจที่จะยึดถือหรือปกครองดูแลเฮโรอีนจำนวนดังกล่าวได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองรู้ที่เก็บเฮโรอีน และการนำเฮโรอีนของกลางออกมาจำหน่ายแก่สายลับยังต้องจ่ายเงินให้ผู้เก็บรักษาก่อนจึงจะนำออกมาได้ บ่งชี้ว่าจำเลยทั้งสองน่าจะไม่ใช่เจ้าของหรือมีสิทธิยึดถือ ปกครองดูแลเฮโรอีนของกลาง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
จำเลยทั้งสองติดต่อเจรจาเพื่อซื้อขายเฮโรอีนกับสายลับและนัดให้มีการส่งมอบเฮโรอีนจำนวน 6 ห่อ ที่ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย แต่พฤติการณ์ในการจับกุมปรากฏว่า เจ้าพนักงานตำรวจของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียที่จับกุมขณะที่ผู้ซื้อเฮโรอีนกำลังตรวจสอบเฮโรอีนห่อหนึ่งอยู่ ดังนี้ เมื่อมีการตรวจสอบเฮโรอีนแล้ว ยังมิได้มีการส่งมอบเฮโรอีนจำนวน 5 ห่อซึ่งอยู่ในกระเป๋า ส่วนสายลับก็ยังมิได้นำเงินตามจำนวนที่ตกลงกันมอบให้ฝ่ายผู้ขายแต่อย่างใด การซื้อขายเฮโรอีนจึงยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อผู้ขายถูกจับเสียก่อนที่จะส่งมอบเฮโรอีน การกระทำในส่วนนี้จึงเป็นความผิดเพียงฐานพยายามจำหน่ายเฮโรอีนจำนวน 6 ห่อ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมเจรจากับสายลับมาตั้งแต่เริ่มต้น โดยแสดงพฤติการณ์ทำนองว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเฮโรอีนที่จะจำหน่ายให้และได้ส่ง บ. และ ต. ไปประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อรับมอบเฮโรอีนจาก ม. มามอบให้แก่พวกของสายลับ รวมทั้งได้นำสำเนาสมุดคู่ฝากของธนาคารของจำเลยที่ 1 มาให้สายลับ เพื่อให้สายลับโอนเงินเข้าบัญชีหลังจากมีการส่งมอบเฮโรอีนทั้งหมดแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำกับ บ. และ ต. จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกพยายามจำหน่ายเฮโรอีน
จำเลยที่ 2 มากับจำเลยที่ 1 ในครั้งแรกแต่ไม่ได้เข้าร่วมเจรจากับสายลับแต่อย่างใดมีแต่ในระยะหลังที่จำเลยที่ 2 เข้าร่วมเจรจาพร้อมกับจำเลยที่ 1 และสายลับ ในตอนที่พวกของจำเลยที่ 1 นำเฮโรอีนจากผู้เก็บรักษามาไม่ได้ โดยผู้เก็บรักษาต้องการเงินก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะไปช่วยเจรจากับสายลับจนสายลับตกลงที่จะจ่ายเงินให้แก่ผู้เก็บรักษา แลกกับเฮโรอีนจำนวนหนึ่ง จากนั้นก็จะนำเฮโรอีนส่วนที่เหลือมามอบให้พร้อมกับให้สายลับนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 ก็ตาม พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ก็ยังไม่พอฟังว่า จำเลยที่ 2 สมคบโดยเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ฐานพยายามจำหน่ายเฮโรอีน คงฟังได้แต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 สมคบกับจำเลยที่ 1 เพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการจำหน่ายเฮโรอีนแก่สายลับ และเมื่อมีการกระทำความผิดฐานพยายามจำหน่ายเฮโรอีนตามที่สมคบกัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับโทษฐานพยายามจำหน่ายเฮโรอีนด้วย ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 8 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายยาเสพติดเป็นคนละกรรม
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ได้บัญญัติคำว่า จำหน่าย หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ เท่านั้น หาได้บัญญัติให้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วยไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่ง และเมื่อจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ จำเลยก็มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยมิได้เป็นความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกกระทงความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติด, ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี แม้จะนำโทษจำคุก 3 เดือน ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอื่นมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ เป็นจำคุก 10 ปี 3 เดือน ก็เป็นกรณีที่คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปีเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า พยานบุคคลของโจทก์ที่นำสืบขัดแย้งกับพยานวัตถุและ พยานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยส่งมอบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด ราคา 120บาท ให้แก่สายลับไปโดยสายลับยังไม่ได้ชำระราคาเมทแอมเฟตามีนแก่จำเลยเจ้าพนักงานตำรวจก็จับกุมจำเลยเป็นฎีกาที่จำเลยโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ในข้อที่ว่าจำเลยได้รับชำระราคาค่าเมทแอมเฟตามีนแล้วหรือยัง เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ขอให้ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสี่ เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาล เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอีกเช่นกัน การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนลักษณะของการกระทำต่างกัน เป็นการกระทำต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ ทั้งนี้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4ไม่ได้ นิยามความหมายของคำว่า จำหน่าย ให้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย ดังเช่นที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 มาตรา 4 ซึ่งแสดงว่า พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มุ่งประสงค์จะลงโทษการมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษทั้งสองกรณี
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่งแล้ว เมื่อจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด จำเลยก็มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง – การแยกกระทงความผิดฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายกับจำหน่ายยาเสพติด
คดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ต้องแยกพิจารณาโทษแต่ละกระทงเป็นเกณฑ์ คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 5 ปีรวมจำคุก 10 ปี แม้จะนำโทษจำคุก 3 เดือน ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอื่นมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ เป็นจำคุก 10 ปี 3 เดือนก็เป็นกรณีที่คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาว่า พยานบุคคลของโจทก์ที่นำสืบขัดแย้งกับพยานวัตถุและพยานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยส่งมอบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด ราคา 120 บาทให้แก่สายลับไปโดยสายลับยังไม่ได้ชำระราคาเมทแอมเฟตามีนแก่จำเลย เจ้าพนักงานตำรวจก็จับกุมจำเลย เป็นฎีกาที่จำเลยโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ในข้อที่ว่าจำเลยได้รับชำระราคาค่าเมทแอมเฟตามีนแล้วหรือยัง เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ขอให้ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสี่ เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาล เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอีกเช่นกัน
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ลักษณะของการกระทำต่างกัน เป็นการกระทำต่างขั้นตอนกันสามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ ทั้งนี้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ไม่ได้นิยามความหมายของคำว่า จำหน่าย ให้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วยดังเช่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ซึ่งแสดงว่า พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มุ่งประสงค์จะลงโทษการมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษทั้งสองกรณี
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่งแล้ว เมื่อจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1 เม็ด จำเลยก็มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งบรรจุยาเสพติดเข้าข่ายความผิดฐานผลิต แม้ยาเสพติดจะอยู่ในลักษณะเม็ด
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยได้ขณะจำเลยแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนใส่หลอดกาแฟ แล้วใช้ไฟลนหลอดกาแฟปิดหัวท้าย หลอดละ 10 เม็ด จำนวน 14 หลอด หลอดละ 20 เม็ด จำนวน 1 หลอด หลอดละ 1 เม็ด จำนวน 136 หลอดของกลาง แม้ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยสภาพอัดเป็นเม็ดไม่จำเป็นต้องแบ่งบรรจุเหมือนเฮโรอีนก็ตาม แต่บทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ได้ให้บทนิยามคำว่า "ผลิต" หมายความว่า เพาะปลูก ทำผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย ดังนี้แม้เมทแอมเฟตามีนมีการอัดเป็นเม็ดที่ไม่จำเป็นต้อง แบ่งบรรจุ ก็สามารถนำออกจำหน่ายได้สะดวกก็ตาม แต่ก็มิได้ หมายความว่าจะไม่สามารถแบ่งบรรจุได้ ดังนั้นเมื่อกระทำของ จำเลยเห็นได้ว่าเป็นการแบ่งบรรจุแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการ ผลิตตามที่ให้บทนิยามไว้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด ฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งบรรจุยาเสพติด (เมทแอมเฟตามีน) ถือเป็นการ “ผลิต” ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้ขณะจำเลยแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนใส่หลอดกาแฟ แล้วใช้ไฟลนหลอดกาแฟปิดหัวท้าย หลอดละ 10เม็ด จำนวน 14 หลอด หลอดละ 20 เม็ด จำนวน 1 หลอด หลอดละ 1 เม็ดจำนวน 136 หลอดของกลาง แม้ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยสภาพอัดเป็นเม็ดไม่จำเป็นต้องแบ่งบรรจุเหมือนเฮโรอีนก็ตาม แต่บทบัญญัติ มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ได้ให้บทนิยามคำว่า "ผลิต" หมายความว่า เพาะปลูกทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย ดังนี้แม้เมทแอมเฟตามีนมีการอัดเป็นเม็ดที่ไม่จำเป็นต้องแบ่งบรรจุ ก็สามารถนำออกจำหน่ายได้สะดวกก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่าจะไม่สามารถแบ่งบรรจุได้ ดังนั้นเมื่อกระทำของจำเลยเห็นได้ว่าเป็นการแบ่งบรรจุแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการผลิตตามที่ให้บทนิยามไว้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินที่ได้จากการจำหน่ายยาเสพติด: ศาลมีอำนาจริบได้ แม้ไม่ใช่โทษจำคุก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 67, 97, 102 ป.อ.มาตรา 91,83, 32, 33 และมีคำขอให้ริบของกลางคือธนบัตรที่จำเลยทั้งสองทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการล่อซื้อด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบหรือไม่ริบธนบัตรดังกล่าว คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ ป.อ.มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษสถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินที่ใช้ในความผิดยาเสพติด: ศาลฎีกายกประเด็นริบทรัพย์แม้ไม่ได้รับการฎีกา ชี้เป็นเรื่องความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,7,8,15,66,67,97,102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,83,32,33 และมีคำขอให้ ริบของกลางคือธนบัตรที่จำเลยทั้งสองทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจ ผู้ทำการล่อซื้อด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่า จะริบหรือไม่ริบธนบัตรดังกล่าว คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการ ล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐาน จำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษ สถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สิน ของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย
of 12