พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.การขนส่ง พ.ศ.2497
จำเลยจัดให้มีการเดินรถยนต์โดยสารที่เรียกว่ารถทัวร์โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่ง วิ่งรับส่งผู้โดยสารโดยเก็บค่าโดยสารจากต้นทางถึงปลายทางเป็นรายบุคคล มีกำหนดเวลาออกรถแน่นอนทุกวันเป็นประจำ ผู้โดยสารที่มากับรถยนต์จำเลยต่างมาธุรกิจส่วนตัว มิใช่มาท่องเที่ยว และมิได้มีการนำเที่ยวแต่อย่างใด พฤติการณ์แสดงชัดว่าจำเลยดำเนินกิจการรับขนส่งผู้โดยสารเพื่อสินจ้างธรรมดา หาใช่เป็นการจัดให้มีการทัศนาจรโดยจ้างเหมาเป็นเที่ยวๆ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการประกอบการขนส่งเพื่อสินจ้างอันเป็นกิจการที่จะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 10 เมื่อจำเลยไม่ได้รับอนุญาต ต้องมีความผิดตามมาตรา 59 ไม่ว่ารถยนต์ที่จำเลยนำมาใช้เพื่อกิจการของจำเลยดังกล่าวจะเป็นของจำเลยหรือของผู้อื่น
บทบัญญัติมาตรา 10 ว่าด้วยการประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตกับมาตรา 14 ว่าด้วยผู้ได้รับอนุญาตขนส่งสาธารณะทำการขนส่งแข่งขันในเส้นทางของผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งประจำทางในเส้นทางนั้น เป็นกรรมความผิดแยกต่างหากจากกันเมื่อจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องและมิได้หลงข้อต่อสู้ แม้โจทก์จะฟ้องรวมกันมา ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติการขนส่งพ.ศ.2497มาตรา 10,14,59,60 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งเฉพาะข้อประกอบการขนส่งโดยมิได้รับอนุญาต และระบุเจาะจงขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามมาตรา 10,59 แสดงว่าโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์โต้แย้งในข้อหาความผิดตามมาตรา 14,60 ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 14,60 ไม่ได้ เป็นการเกินคำขอ
บทบัญญัติมาตรา 10 ว่าด้วยการประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตกับมาตรา 14 ว่าด้วยผู้ได้รับอนุญาตขนส่งสาธารณะทำการขนส่งแข่งขันในเส้นทางของผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งประจำทางในเส้นทางนั้น เป็นกรรมความผิดแยกต่างหากจากกันเมื่อจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องและมิได้หลงข้อต่อสู้ แม้โจทก์จะฟ้องรวมกันมา ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติการขนส่งพ.ศ.2497มาตรา 10,14,59,60 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งเฉพาะข้อประกอบการขนส่งโดยมิได้รับอนุญาต และระบุเจาะจงขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามมาตรา 10,59 แสดงว่าโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์โต้แย้งในข้อหาความผิดตามมาตรา 14,60 ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 14,60 ไม่ได้ เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ขนส่ง: ผู้ประกอบการขนส่ง vs. พนักงานขับรถและผู้จัดการเดินรถ
ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497มาตรา 14 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะเข้าทำการขนส่งในเส้นทางใดในลักษณะที่เป็นการแข่งขันกับผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งประจำทางในเส้นทางนั้น คือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะคือบริษัท พ. จำเลยที่ 1 เป็นเพียงคนขับรถ จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการฝ่ายเดินรถของบริษัท พ. มิใช่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 14
ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 51 คือผู้ที่ประกอบการรับจัดการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเมื่อปรากฏว่าการขนส่งคนโดยสารเป็นการประกอบการรับจัดการขนส่งของบริษัทพ.จำเลยที่ 1 เป็นเพียงบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งโดยเป็นคนขับหรือควบคุมเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ดำเนินการรับจัดการขนส่งแทนบริษัท พ. ในฐานะที่เป็นผู้จัดการฝ่ายเดินรถของบริษัท พ. ดังนี้ จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามมาตรา 51
ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 51 คือผู้ที่ประกอบการรับจัดการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเมื่อปรากฏว่าการขนส่งคนโดยสารเป็นการประกอบการรับจัดการขนส่งของบริษัทพ.จำเลยที่ 1 เป็นเพียงบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งโดยเป็นคนขับหรือควบคุมเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ดำเนินการรับจัดการขนส่งแทนบริษัท พ. ในฐานะที่เป็นผู้จัดการฝ่ายเดินรถของบริษัท พ. ดังนี้ จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามมาตรา 51
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ขนส่ง: ผู้ประกอบการฯ และบทบาทของกรรมการ/ผู้จัดการฝ่ายเดินรถ
ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 14 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะเข้าทำการขนส่งในเส้นทางใดในลักษณะที่เป็นการแข่งขันกับผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งประจำทางในเส้นทางนั้น คือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธาณะคือบริษัท พ. จำเลยที่ 1 เป็นเพียงคนขับรถ จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการฝ่ายเดินรถของบริษัท พ. มิใช่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธาณะ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดความมาตรา 14
ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 51 คือ ผู้ที่ประกอบการรับจัดการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เมื่อปรากฏว่าการขนส่งคนโดยสารเป็นการประกอบการรับจัดการขนส่งของบริษัท พ. จำเลยที่ 1 เป็นเพียงบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งโดยเป็นคนขับหรือควบคุมเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ดำเนินการรับจัดการขนส่งแทนบริษัท พ. ในฐานะที่เป็นผู้จัดการฝ่ายเดินรถของบริษัท พ. ดังนี้ จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามมาตรา 51
ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 51 คือ ผู้ที่ประกอบการรับจัดการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เมื่อปรากฏว่าการขนส่งคนโดยสารเป็นการประกอบการรับจัดการขนส่งของบริษัท พ. จำเลยที่ 1 เป็นเพียงบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งโดยเป็นคนขับหรือควบคุมเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ดำเนินการรับจัดการขนส่งแทนบริษัท พ. ในฐานะที่เป็นผู้จัดการฝ่ายเดินรถของบริษัท พ. ดังนี้ จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามมาตรา 51
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481-2485/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งนอกเส้นทางที่อนุญาต และความรับผิดของผู้ขับรถ โดยผู้ประกอบการขนส่ง
บริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางจากจังหวัดสิงห์บุรีถึงบ้านชันสูตร การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ได้ร่วมกันนำรถยนต์โดยสารเข้าไปรับส่งคนโดยสารและสินค้าในเส้นทางซึ่งนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนนั้น ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 10 อันมีโทษตามมาตรา 59 ตามฟ้องโดยตรง เพราะออกวิ่งนอกเส้นทางที่กำหนดให้ประกอบการขนส่งหาได้เป็นความผิดเกี่ยวกับมาตราอื่นที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษไม่
จำเลยที่ 7 ของแต่ละสำนวนเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารประจำทางตามฟ้อง จึงเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497มาตรา 34(1) ซึ่งบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะจำเลยที่ 7 จึงมิใช่ผู้ประกอบการขนส่งด้วย ไม่มีความผิดตามมาตรา 10 ดังฟ้อง
จำเลยที่ 7 ของแต่ละสำนวนเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารประจำทางตามฟ้อง จึงเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497มาตรา 34(1) ซึ่งบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะจำเลยที่ 7 จึงมิใช่ผู้ประกอบการขนส่งด้วย ไม่มีความผิดตามมาตรา 10 ดังฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481-2485/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งประจำทางนอกเส้นทางอนุญาตเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การขนส่ง และผู้ขับรถไม่ใช่ผู้ประกอบการขนส่ง
บริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางจากจังหวัดสิงห์บุรีถึงบ้านชันสูตร การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ได้ร่วมกันนำรถยนต์โดยสารเข้าไปรับส่งคนโดยสารและสินค้าในเส้นทางซึ่งนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนนั้น ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 10 อันมีโทษตามมาตรา 59 ตามฟ้องโดยตรง เพราะออกวิ่งนอกเส้นทางที่กำหนดให้ประกอบการขนส่ง หาได้เป็นความผิดเกี่ยวกับมาตราอื่นที่โจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษไม่
จำเลยที่ 7 ของแต่ละสำนวนเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารประจำทางตามฟ้อง จึงเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 34(1) ซึ่งบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะ จำเลยที่ 7 จึงมิใช่ผู้ประกอบการขนส่งด้วยไม่มีความผิดตามมาตรา 10 ดังฟ้อง
จำเลยที่ 7 ของแต่ละสำนวนเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารประจำทางตามฟ้อง จึงเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 34(1) ซึ่งบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะ จำเลยที่ 7 จึงมิใช่ผู้ประกอบการขนส่งด้วยไม่มีความผิดตามมาตรา 10 ดังฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการขนส่งคนโดยสารด้วยรถยนต์หลายคัน โดยแต่ละคันถือเป็นองค์ประกอบความผิดแยกต่างหาก
จำเลยที่ 1 นำรถยนต์อันเป็นเครื่องอุปกรณ์การขนส่งจำนวน 3 คันออกวิ่งรับส่งคนโดยสารและเก็บค่าโดยสาร โดยนำรถยนต์คันหนึ่งซึ่งได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะออกวิ่งทับเส้นทางรถประจำทางในสัมปทานของบริษัทอื่นซึ่งเป็นลักษณะของการแข่งขัน เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 14 และนำรถยนต์อีกสองคันซึ่งเป็นรถที่สังกัดอยู่ในสัมปทานรถประจำทางของจำเลยที่ 1 ออกวิ่งนอกเส้นทางที่กำหนด อันเป็นความผิดตามมาตรา 10 ดังนี้ รถยนต์โดยสารแต่ละคันเป็นองค์สำคัญแห่งความผิด การขนส่งของรถแต่ละคันเป็นความผิดต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งโดยรถยนต์โดยสารแต่ละคันเป็นความผิดต่างกรรมกัน ต้องลงโทษทุกกรรม
จำเลยที่ 1 นำรถยนต์อันเป็นเครื่องอุปกรณ์การขนส่งจำนวน3 คันออกวิ่งรับส่งคนโดยสารและเก็บค่าโดยสาร โดยนำรถยนต์คันหนึ่งซึ่งได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะ ออกวิ่งทับเส้นทางรถประจำทางในสัมปทานของบริษัทอื่นซึ่งเป็นลักษณะของการแข่งขัน เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการขนส่งพ.ศ.2497 มาตรา 14 และนำรถยนต์อีกสองคันซึ่งเป็นรถที่สังกัดอยู่ในสัมปทานรถประจำทางของจำเลยที่ 1 ออกวิ่งนอกเส้นทางที่กำหนด อันเป็นความผิดตามมาตรา 10 ดังนี้ รถยนต์โดยสารแต่ละคันเป็นองค์สำคัญแห่งความผิด การขนส่งของรถแต่ละคันเป็นความผิดต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันจากการขนส่งคนโดยสารด้วยรถยนต์หลายคัน โดยแต่ละคันถือเป็นองค์สำคัญแห่งความผิด
จำเลยที่ 1 นำรถยนต์อันเป็นเครื่องอุปกรณ์การขนส่งจำนวน 3 คัน ออกวิ่งรับส่งคนโดยสารและเก็บค่าโดยสาร โดยนำรถยนต์คันหนึ่งซึ่งได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะ ออกวิ่งทับเส้นทางรถประจำทางในสัมปทานของบริษัทอื่นซึ่งเป็นลักษณะของการแข่งขัน เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 14 และนำรถยนต์อีกสองคันซึ่งเป็นรถที่สังกัดอยู่ในสัมปทานรถประจำทางของจำเลยที่ 1 ออกวิ่งนอกเส้นทางที่กำหนด อันเป็นความผิดตามมาตรา 10 ดังนี้รถยนต์โดยสารแต่ละคันเป็นองค์สำคัญแห่งความผิด การขนส่งของรถแต่ละคันเป็นความผิดต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างขับรถไม่ถือเป็นผู้ประกอบการขนส่งตามกฎหมาย
จำเลยเป็นแต่เพียงลูกจ้างขับรถยนต์ซึ่งรับจ้างบรรทุกคนโดยสารและบรรทุกของเพื่อสินจ้าง ย่อมจะถือว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการขนส่งตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 ไม่ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่12/2506)