พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยสมบูรณ์ก่อนเกิดเหตุปล้นรถ การรับผิดในสัญญาประกันภัย
โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขรถยนต์คันพิพาทมาจากโจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 2 นำรถไปประกอบการขนส่งโจทก์ที่ 2 จึงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันพิพาทอันมีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยได้.
ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยมีลายมือชื่อผู้จัดการของจำเลยและมีรายละเอียดต่าง ๆ คือ หมายเลขทะเบียนและรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย ทุนประกันระยะเวลาประกัน ทั้งระบุหมายเลขของกรมธรรม์ด้วย ดังนี้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้.
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 โจทก์ที่ 2 ได้โทรศัพท์ทางไกลจากจังหวัดมุกดาหาร ขอเสนอเอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทกับตัวแทนของจำเลยประจำ จังหวัดอุบลราชธานี ตัวแทนจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยของจำเลยให้แก่โจทก์ที่ 2 ในวันนั้น โดยระบุระยะเวลาประกันเริ่มวันที่ 3 พฤษภาคม 2524 สิ้นสุด 3 พฤษภาคม 2525 เวลา 0.01 นาฬิกาตัวแทนจำเลยได้โทรเลขแจ้งจำเลยที่กรุงเทพมหานครจำเลยได้รับโทรเลขวันที่ 4 เดือนเดียวกัน วันที่ 4 พฤษภาคม 2524โจทก์ที่ 2 ได้ส่งตั๋วแลกเงินชำระค่าประกันภัยให้ตัวแทนจำเลย และวันที่ 6 เดือนเดียวกันจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คันพิพาท ดังนี้ ต้องถือว่าการประกันภัยรายนี้ได้ตกลงกันแล้วระหว่างโจทก์ที่ 2 กับตัวแทนจำเลยในวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 เมื่อรถยนต์คันพิพาทถูกคนร้ายปล้นเอาไปตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2524 เวลา 22 นาฬิกา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสอง.
ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยมีลายมือชื่อผู้จัดการของจำเลยและมีรายละเอียดต่าง ๆ คือ หมายเลขทะเบียนและรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย ทุนประกันระยะเวลาประกัน ทั้งระบุหมายเลขของกรมธรรม์ด้วย ดังนี้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้.
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 โจทก์ที่ 2 ได้โทรศัพท์ทางไกลจากจังหวัดมุกดาหาร ขอเสนอเอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทกับตัวแทนของจำเลยประจำ จังหวัดอุบลราชธานี ตัวแทนจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยของจำเลยให้แก่โจทก์ที่ 2 ในวันนั้น โดยระบุระยะเวลาประกันเริ่มวันที่ 3 พฤษภาคม 2524 สิ้นสุด 3 พฤษภาคม 2525 เวลา 0.01 นาฬิกาตัวแทนจำเลยได้โทรเลขแจ้งจำเลยที่กรุงเทพมหานครจำเลยได้รับโทรเลขวันที่ 4 เดือนเดียวกัน วันที่ 4 พฤษภาคม 2524โจทก์ที่ 2 ได้ส่งตั๋วแลกเงินชำระค่าประกันภัยให้ตัวแทนจำเลย และวันที่ 6 เดือนเดียวกันจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คันพิพาท ดังนี้ ต้องถือว่าการประกันภัยรายนี้ได้ตกลงกันแล้วระหว่างโจทก์ที่ 2 กับตัวแทนจำเลยในวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 เมื่อรถยนต์คันพิพาทถูกคนร้ายปล้นเอาไปตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2524 เวลา 22 นาฬิกา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยรถยนต์: สัญญาเกิดขึ้นก่อนเหตุปล้น, ใบเสร็จเป็นหลักฐานสมบูรณ์, ผู้ครอบครองมีสิทธิทำประกัน
โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขรถยนต์คันพิพาทมาจากโจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 2 นำรถไปประกอบการขนส่ง โจทก์ที่ 2จึงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันพิพาทอันมีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยได้ ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยมีลายมือชื่อผู้จัดการของจำเลย และมีรายละเอียดต่าง ๆ คือ หมายเลขทะเบียนและรายละเอียดอื่นเกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย ทุนประกัน ระยะเวลาประกัน ทั้งระบุหมายเลขของกรมธรรม์ด้วย ดังนี้ ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 โจทก์ที่ 2 ได้โทรศัพท์ทางไกลจากจังหวัด มุกดาหาร ขอเสนอเอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทกับตัวแทนของจำเลยประจำจังหวัด อุบลราชธานี ตัวแทนจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยของจำเลยให้แก่โจทก์ที่ 2 ในวันนั้น โดยระบุระยะเวลาประกันเริ่มวันที่ 3 พฤษภาคม 2524 สิ้นสุด 3 พฤษภาคม 2525เวลา 0.01 นาฬิกา ตัวแทนจำเลยได้โทรเลขแจ้งจำเลยที่ กรุงเทพมหานครจำเลยได้รับโทรเลขวันที่ 4 เดือนเดียวกัน วันที่ 4 พฤษภาคม 2524โจทก์ที่ 2 ได้ส่งตั๋วแลกเงินชำระเบี้ยประกันภัยให้ตัวแทนจำเลยและวันที่ 6 เดือนเดียวกันจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คันพิพาท ดังนี้ ต้องถือว่าการประกันภัยรายนี้ได้ตกลงกันแล้วระหว่างโจทก์ที่ 2 กับตัวแทนจำเลยในวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 เมื่อรถยนต์คันพิพาทถูกคนร้ายปล้นเอาไปตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2524 เวลา22 นาฬิกา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยสมบูรณ์ก่อนเกิดเหตุ รถถูกปล้น จำเลยต้องรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขรถยนต์คันพิพาทมาจากโจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 2 นำรถไปประกอบการขนส่ง โจทก์ที่ 2จึงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันพิพาทอันมีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยได้ ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยมีลายมือชื่อผู้จัดการของจำเลย และมีรายละเอียดต่าง ๆ คือ หมายเลขทะเบียนและรายละเอียดอื่น ๆเกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย ทุนประกัน ระยะเวลาประกัน ทั้งระบุหมายเลขของกรมธรรม์ด้วย ดังนี้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 โจทก์ที่ 2 ได้โทรศัพท์ทางไกลจากจังหวัดมุกดาหารขอเสนอเอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทกับตัวแทนของจำเลยประจำจังหวัดอุบลราชธานี ตัวแทนจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยของจำเลยให้แก่โจทก์ที่ 2 ในวันนั้น โดยระบุระยะเวลาประกันเริ่มวันที่ 3 พฤษภาคม 2524 สิ้นสุด 3 พฤษภาคม 2525 เวลา0.01 นาฬิกา ตัวแทนจำเลยได้โทรเลขแจ้งจำเลยที่กรุงเทพมหานครจำเลยได้รับโทรเลขวันที่ 4 เดือนเดียวกัน วันที่ 4 พฤษภาคม 2524โจทก์ที่ 2 ได้ส่งตั๋วแลกเงินชำระเบี้ยประกันภัยให้ตัวแทนจำเลยและวันที่ 6 เดือนเดียวกันจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คันพิพาท ดังนี้ ต้องถือว่าการประกันภัยรายนี้ได้ตกลงกันแล้วระหว่างโจทก์ที่ 2 กับตัวแทนจำเลยในวันที่ 2 พฤษภาคม 2524เมื่อรถยนต์คันพิพาทถูกคนร้ายปล้นเอาไปตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม2524 เวลา 22 นาฬิกา จำเลยจึงต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยสมบูรณ์ก่อนเกิดเหตุปล้นทรัพย์ ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขรถยนต์คันพิพาทมาจากโจทก์ที่ 1 แล้วโจทก์ที่ 2 นำรถไปประกอบการขนส่ง โจทก์ที่ 2 จึงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันพิพาทอันมีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยได้
ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยมีลายมือชื่อผู้จัดการของจำเลย และมีรายละเอียดต่าง ๆ คือ หมายเลขทะเบียนและรายละเอียดอื่นเกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย ทุนประกัน ระยะเวลาประกัน ทั้งระบุหมายเลขของกรมธรรม์ด้วย ดังนี้ ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 โจทก์ที่ 2 ได้โทรศัพท์ทางไกลจากจังหวัด มุกดาหาร ขอเสนอเอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทกับตัวแทนของจำเลยประจำจังหวัด อุบลราชธานี ตัวแทนจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยของจำเลยให้แก่โจทก์ที่ 2 ในวันนั้น โดยระบุระยะเวลาประกันเริ่มวันที่ 3 พฤษภาคม 2524 สิ้นสุด 3 พฤษภาคม 2525 เวลา 0.01 นาฬิกา ตัวแทนจำเลยได้โทรเลขแจ้งจำเลยที่ กรุงเทพมหานครจำเลยได้รับโทรเลขวันที่ 4 เดือนเดียวกัน วันที่ 4 พฤษภาคม 2524 โจทก์ที่ 2 ได้ส่งตั๋วแลกเงินชำระเบี้ยประกันภัยให้ตัวแทนจำเลยและวันที่ 6 เดือนเดียวกันจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คันพิพาท ดังนี้ ต้องถือว่าการประกันภัยรายนี้ได้ตกลงกันแล้วระหว่างโจทก์ที่ 2 กับตัวแทนจำเลยในวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 เมื่อรถยนต์คันพิพาทถูกคนร้ายปล้นเอาไปตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2524 เวลา22 นาฬิกา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสอง
ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยมีลายมือชื่อผู้จัดการของจำเลย และมีรายละเอียดต่าง ๆ คือ หมายเลขทะเบียนและรายละเอียดอื่นเกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย ทุนประกัน ระยะเวลาประกัน ทั้งระบุหมายเลขของกรมธรรม์ด้วย ดังนี้ ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 โจทก์ที่ 2 ได้โทรศัพท์ทางไกลจากจังหวัด มุกดาหาร ขอเสนอเอาประกันภัยรถยนต์คันพิพาทกับตัวแทนของจำเลยประจำจังหวัด อุบลราชธานี ตัวแทนจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยของจำเลยให้แก่โจทก์ที่ 2 ในวันนั้น โดยระบุระยะเวลาประกันเริ่มวันที่ 3 พฤษภาคม 2524 สิ้นสุด 3 พฤษภาคม 2525 เวลา 0.01 นาฬิกา ตัวแทนจำเลยได้โทรเลขแจ้งจำเลยที่ กรุงเทพมหานครจำเลยได้รับโทรเลขวันที่ 4 เดือนเดียวกัน วันที่ 4 พฤษภาคม 2524 โจทก์ที่ 2 ได้ส่งตั๋วแลกเงินชำระเบี้ยประกันภัยให้ตัวแทนจำเลยและวันที่ 6 เดือนเดียวกันจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คันพิพาท ดังนี้ ต้องถือว่าการประกันภัยรายนี้ได้ตกลงกันแล้วระหว่างโจทก์ที่ 2 กับตัวแทนจำเลยในวันที่ 2 พฤษภาคม 2524 เมื่อรถยนต์คันพิพาทถูกคนร้ายปล้นเอาไปตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2524 เวลา22 นาฬิกา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัย: ตัวการที่มิได้เปิดเผยชื่อ และผลผูกพันสัญญา
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์คันที่เอาประกันภัยมาใช้ในกิจการของโจทก์โดยมอบหมายให้ พ.ผู้ถือหุ้นของบริษัทโจทก์เป็นผู้ดำเนินกิจการทุกอย่างเกี่ยวกับรถยนต์ของโจทก์ พ.นำรถยนต์คันดังกล่าวไปทำประกันภัยไว้กับจำเลยแทนโจทก์ และโจทก์เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยเช่นนี้ ถือว่าโจทก์เป็นผู้เอาประกันภัย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในรถยนต์คันที่เอาประกันภัยซึ่งโจทก์เช่าซื้อมา โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยย่อมมีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 กรณีเช่นนี้โจทก์เป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อ การตั้ง พ. เป็นตัวแทนจึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา 798 และโจทก์ตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อย่อมแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาประกันภัยที่ พ. ตัวแทนทำไว้กับจำเลยแทนตนได้ตามมาตรา 806
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไม่สามารถโอนไปยังผู้รับช่วงสิทธิในสัญญาเช่าซื้อได้ เว้นแต่มีการโอนสิทธิโดยตรง
การที่โจทก์ที่ 2 เข้าทำสัญญารับรองการเช่าซื้อของ โจทก์ที่ 1โดยในกรณีที่โจทก์ที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์รถที่เอาประกันภัยมาเป็นของโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ที่1 มีต่อผู้ให้เช่าซื้อมาเป็นของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น หาได้รวมไปถึงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ที่ 1 มีต่อ จำเลยที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยด้วยไม่ เพราะเป็นสัญญาอีก ฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อ ขณะเกิดวินาศภัยแก่รถที่เอาประกันภัยโจทก์ที่ 1 ยังอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าซื้อ สิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 3ใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุวินาศภัยย่อมเป็นของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ที่ 2 จะใช้สิทธิเรียกร้องนี้ได้ก็แต่โดยโจทก์ที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2เท่านั้น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 875 เพราะโจทก์ที่ 2 ได้รับโอนรถที่เอาประกันภัยมาภายหลังที่ความวินาศภัยได้ เกิดขึ้นแล้ว สิทธิอันมีอยู่ ในสัญญาประกันภัย ย่อมไม่โอนตามไป
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวัน มิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวัน มิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไม่โอนตามกรรมสิทธิ์รถ หากเกิดความเสียหายก่อนการโอนสิทธิ
การที่โจทก์ที่ 2 เข้าทำสัญญารับรองการเช่าซื้อของ โจทก์ที่ 1 โดยในกรณีที่โจทก์ที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์รถที่เอาประกันภัยมาเป็นของโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ที่1 มีต่อผู้ให้เช่าซื้อมาเป็นของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น หาได้รวมไปถึงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ที่ 1 มีต่อ จำเลยที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยด้วยไม่ เพราะเป็นสัญญาอีก ฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อ ขณะเกิดวินาศภัยแก่รถที่เอาประกันภัย โจทก์ที่ 1 ยังอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าซื้อ สิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุวินาศภัยย่อมเป็นของโจทก์ที่1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ที่ 2 จะใช้สิทธิเรียกร้องนี้ได้ก็แต่โดยโจทก์ที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2 เท่านั้น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 875 เพราะโจทก์ที่ 2 ได้รับโอนรถที่เอาประกันภัยมาภายหลังที่ความวินาศภัยได้ เกิดขึ้นแล้ว สิทธิอันมีอยู่ ในสัญญาประกันภัย ย่อมไม่โอนตามไป โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้วจึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้นระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวันมิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของตัวแทนย่อมผูกพันหลัก การประกันภัยรถยนต์ ความรับผิดของผู้รับประกัน
กรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อ อ. เป็นผู้เอาประกันภัย โดยไม่ระบุว่า กระทำในฐานะผู้แทนห้างจำเลยที่ 2 แต่ อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของ ห้างจำเลยที่ 2 และรถยนต์คันที่ เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 3 ก็เป็นของห้างจำเลยที่ 2 มิใช่ของ อ.เป็นส่วนตัวอ. จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย ในรถยนต์ที่เอาประกันภัย การที่ อ. นำรถยนต์ดังกล่าวไปทำ สัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 3 จึงเป็น การกระทำในฐานะผู้แทนของ ห้างจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล เพราะความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 ถือได้ว่าเป็นการกระทำของห้างจำเลยที่ 2 เอง การ ที่ไม่ระบุไว้ ในกรมธรรม์ประกันภัยว่า อ. กระทำการแทนห้าง จำเลยที่ 2 หาทำให้ การกระทำในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลกลับกลายเป็นการกระทำใน ฐานะส่วนตัวไปไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 3 เป็น ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 887
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
CIF, หน้าที่ประกันภัย, ข้อจำกัดความรับผิดโมฆะ, ตัวแทนรับผิดชอบสัญญา
การตกลงซื้อขายกันในราคา ซี. ไอ. เอฟ นั้น หมายความว่า ราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันรวมค่าประกันภัยและค่าระวางขนส่งด้วย ฉะนั้น ผู้ขายจึงมีหน้าที่ต้องเอาประกันภัยสินค้านั้นในระหว่างขนส่งไปยังผู้ซื้อ ถือได้ว่าผู้ขายมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้สัญญาประกันภัยที่ผู้ขายทำไว้กับโจทก์จึงมีผลผูกพันกันตามกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนส่งได้
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซี.ไอ.เอฟ., การประกันภัยขนส่ง, ข้อยกเว้นความรับผิด, ตัวแทนรับผิดแต่ลำพัง
การตกลงซื้อขายกันในราคา ซี.ไอ.เอฟ นั้นหมายความว่า ราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันรวมค่าประกันภัยและค่าระวางขนส่งด้วย ฉะนั้น ผู้ขายจึงมีหน้าที่ต้องเอาประกันภัยสินค้านั้นในระหว่างขนส่งไปยังผู้ซื้อ ถือได้ว่าผู้ขายมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้สัญญาประกันภัยที่ผู้ขายทำไว้กับโจทก์จึงมีผลผูกพันกันตามกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับขนส่งได้
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ. เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
การที่ผู้ส่งเพียงแต่ยอมรับใบตราส่งซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เพื่อเป็นหลักฐานไปขอรับเงินค่าสินค้าจากธนาคาร ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 625
จำเลยทำสัญญารับขนส่งสินค้าแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ. เมื่อสินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง