คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 863

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อรถยนต์และประกันภัย, ข้อจำกัดคำให้การจำเลย
ผู้เช่าซื้อรถยนต์มีสิทธิครอบครองผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อสามีผู้เช่าซื้อมีส่วนได้เสียเอาประกันภัยรถยนต์ได้
คำให้การจำเลยไม่มีในข้อค่าเสียหาย ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 จึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 877 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนประกันภัยและประเด็นความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน
โจทก์ครอบครองตึกของผู้อื่นในฐานะผู้อาศัย โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยตึกนั้นได้ตาม มาตรา 863 ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเมื่อไฟไหม้ตึก มีแต่สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเครื่องตกแต่งของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้
พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2510 มาตรา 31 ที่จะแจ้งเหตุสงสัยให้นายทะเบียนออกคำสั่งให้บริษัทงดจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่หมายความถึงรองผู้กำกับซึ่งรักษาการแทนผู้กำกับการตำรวจและแจ้งไปยังนายทะเบียนในฐานะรักษาการแทนผู้กำกับการตำรวจ มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ การแจ้งและคำสั่งของนายทะเบียนไม่มีผลให้บริษัทงดจ่ายค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ไม่จ้างคนยามเฝ้าสถานที่และจัดหาเครื่องดับเพลิงหลังจากที่ถูกวางเพลิงมาครั้งหนึ่ง ไม่เป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้เช่าซื้อในการทำประกันภัยรถยนต์ และอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด
ผู้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะเอาประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นแก่รถที่เช่าซื้อมากับบริษัทประกันภัยได้ และอยู่ในฐานะผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ทำละเมิดได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตนายจ้างต่อลูกจ้าง: ความมีส่วนได้เสีย, สัญญาประกันชีวิต vs. ประกันวินาศภัย, การจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน
1. โจทก์เอาประกันชีวิตลูกจ้างซึ่งขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจะต้องรับผิดต่อการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของลูกจ้าง และยังต้องรับผิดจ่ายเงินให้แก่ทายาทผู้อยู่ใต้อุปการะของลูกจ้างผู้ตายตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ประกอบกับการขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันย่อมต้องอาศัยบุคคลที่มีความชำนาญและไว้วางใจ เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันชีวิตลูกจ้างดังกล่าวนี้ได้
2. สัญญาประกันอุบัติเหตุของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตถือว่าเป็นสัญญาประกันชีวิต เพราะอาศัยความมรณะเป็นเงื่อนไขการใช้เงินตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889
3. สัญญาประกันชีวิตมิใช่สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัย แต่เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใจใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่งฉะนั้น เมื่อโจทก์นายจ้างเอาประกันชีวิตของลูกจ้างในกรณีอุบัติเหตุไว้กับจำเลยเป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และลูกจ้างที่ระบุในกรมธรรม์ได้ประสพอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตระหว่างอายุสัญญา จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ตามเงื่อนไขแห่งสัญญา
(ข้อ 1 และ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตนายจ้างกับลูกจ้าง: สิทธิเรียกร้องเงินประกันเต็มจำนวน แม้ไม่มีมูลค่าความเสียหายที่แท้จริง
1. โจทก์เอาประกันชีวิตลูกจ้างซึ่งขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจะต้องรับผิดต่อการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของลูกจ้าง และยังต้องรับผิดจ่ายเงินให้แก่ทายาทผู้อยู่ใต้อุปการะของลูกจ้างผู้ตายตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ประกอบกับการขับรถยนต์บรรทุกน้ำมันย่อมต้องอาศัยบุคคลที่มีความชำนาญและไว้วางใจ เช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันชีวิตลูกจ้างดังกล่าวนี้ได้
2. สัญญาประกันอุบัติเหตุของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตถือว่าเป็นสัญญาประกันชีวิต เพราะอาศัยความมรณะเป็นเงื่อนไขการใช้เงินตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889 3. สัญญาประกันชีวิตมิใช่สัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังเช่นสัญญาประกันวินาศภัย แต่เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงใจใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ โดยอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง ฉะนั้น เมื่อโจทก์นายจ้างเอาประกันชีวิตของลูกจ้างในกรณีอุบัติเหตุไว้กับจำเลยเป็นจำนวนเงินหนึ่งแสนบาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และลูกจ้างที่ระบุในกรมธรรม์ได้ประสพอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตระหว่างอายุสัญญา จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้โจทก์ตามเงื่อนไขแห่งสัญญา
(ข้อ 1 และ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: ผู้ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย สัญญาไม่ผูกพัน
โจทก์จัดให้นายโอ่งประกันชีวิตโดยโจทก์เป็นผู้เสียเบี้ยประกันและเป็นผู้รับประโยชน์ โจทก์จึงเป็นผู้เอาประกัน เมื่อโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้น สัญญาประกันภัยย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 โจทก์ย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากกรมธรรม์สัญญานั้น
of 9