คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง การจับและควบคุมตัวผู้ต้องหา
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาที่ถูกจับไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลให้ทันภายในกำหนดระยะเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับนั้นเป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้าและทำให้ผู้ต้องหาต้องถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น คดีนี้นอกจากผู้ร้องจะได้ขออายัดตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนในคดีอื่นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 แล้ว และในวันเดียวกันผู้ร้องยังได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหา แจ้งสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา รวมทั้งได้สอบคำให้การผู้ต้องหาไว้ด้วยดังนี้ กรณีหาใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องขออายัดตัวผู้ต้องหาแต่เพียงอย่างเดียวไม่ แต่ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องได้จับผู้ต้องหาแล้ว หรือผู้ต้องหาถูกจับแล้วตั้งแต่นั้น แม้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ในคดีอื่น และพนักงานสอบสวนในคดีนี้เพิ่งได้ตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดีในภายหลัง โดยผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวไปในคดีนี้ ก็คงมีผลแต่เพียงทำให้ผู้ร้องมิต้องยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 8 เท่านั้น แต่ผู้ร้องยังมีหน้าที่ต้อง ส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ต้องหาให้ทันภายใน กำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ ดังกล่าว และถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด ผู้ร้องก็จะต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลต่อไป เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องคดีนี้เกินกำหนดเวลา สี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับศาลจึงไม่อาจ รับ คำร้อง ของ ผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไปได้ ชอบที่ศาลจะสั่ง ยกคำร้องขอผัดฟ้องของผู้ร้องเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7003/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: เช็คไม่มีมูลหนี้ คดีเช็ค
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย1เดือนและศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา4ที่จำเลยฎีกาว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้เพราะจำเลยสั่งจ่ายให้ผู้เสียหายโดยมีเจตนาค้ำประกันการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถแม็คโครมิใช่เพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อจึงไม่มีความผิดและขอให้รอการลงโทษจำคุกไว้เป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจของศาลในการรับฟังพยานหลักฐานและการลงโทษจำเลยอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีใช้เอกสารปลอม: การได้ตัวผู้ต้องหามาศาลเป็นสำคัญ แม้มีการผัดฟ้อง
ข้อหาความผิดฐานใช้เอกสารปลอมซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน3ปีต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมาศาลภายใน10ปีนับแต่วันกระทำความผิดจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่3ธันวาคม2527วันสุดท้ายของอายุความ10ปีคือวันที่3ธันวาคม2537แม้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้เมื่อวันที่28พฤศจิกายน2537และพนักงานสอบสวนอนุญาตให้จำเลยประกันตัวไปในวันเดียวกันต่อมาพนักงานอัยการขอผัดฟ้องโดยไม่ได้นำตัวจำเลยส่งศาลในวันที่30พฤศจิกายน2537แม้ศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องได้ก็ยังถือไม่ได้ว่าได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลแล้วเพราะไม่มีการส่งมอบตัวจำเลยต่อศาลเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ในวันที่2ธันวาคม2537โดย ไม่ได้ ตัวจำเลยมาศาล จนกระทั่งถึงวันที่7มีนาคม2538อันเป็นวันนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ก็ไม่มีตัวจำเลยมาศาลคดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดหลายกระทง: ศาลแขวงและศาลจังหวัด กรณีความผิดเกี่ยวพันกัน
โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาพร้อมกับข้อหาความผิดเกี่ยวกับเอกสารต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด โดยมิต้องผัดฟ้อง ฝากขังจำเลยตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 เพราะเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาหลายกระทง และการพิจารณาคดีในศาลที่มีอำนาจชำระคดี
โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาพร้อมกับข้อหาความผิดเกี่ยวกับเอกสารต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด โดยมิต้องผัดฟ้อง ฝากขังจำเลยตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499เพราะเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2532).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน: ศาลจังหวัดพิจารณารวมได้ แม้บางความผิดอยู่ในอำนาจศาลแขวง
โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฯ ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวงพร้อมกับข้อหาความผิดเกี่ยวกับเอกสารต่อศาลจังหวัดโดยมิต้องผัดฟ้องฝากขังจำเลยตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯเพราะเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจอนุญาตฟ้องได้ แม้พ้นกำหนดผัดฟ้อง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 9 ได้ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการไว้อย่างกว้างขวางในอันที่จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไปว่า คดีอาญาคดีใดที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้ว หากผู้ว่าคดีมิได้ยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาเจ็ดสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับก็ดี หรือเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดสิบสองชั่วโมงไปแล้วมิได้มีการขอผัดฟ้องก็ดี อธิบดีกรมอัยการจะเห็นสมควรอนุญาตให้ฟ้องคดีนั้น ๆ หรือไม่ แม้ในการสอบสวนไม่มีการขอผัดฟ้องทั้ง ๆ ที่ระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวตลอดมานับแต่วันเวลาที่จำเลยถูกจับก็ตามเมื่ออธิบดีกรมอัยการได้พิจารณาแล้วอนุญาตให้ฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
บทบัญญัติมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯมุ่งถึงการควบคุมตัวผู้ต้องหาเป็นสารสำคัญ ส่วนกำหนดเวลาที่พนักงานสอบสวนหรือผู้ว่าคดีจะต้องปฏิบัติในการยื่นฟ้องหรือขอผัดฟ้องผู้ต้องหา ย่อมเป็นไปตามมาตรา 7 อำนาจของอธิบดีกรมอัยการตามความในมาตรา 9 หาได้ถูกลบล้างแต่ ประการใดไม่ (อ้างฎีกาที่ 661/2503 และ 133/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาหลังพ้นกำหนด 72 ชั่วโมง: อำนาจฟ้องของผู้ว่าคดีเมื่ออธิบดีกรมอัยการอนุญาต
จำเลยหลบหนีไปจากสถานที่ควบคุมในระหว่างที่ถูกคุมขังอยู่ในข้อหาเรื่องอื่น พนักงานสอบสวนมิได้ส่งตัวจำเลยไปฟ้องหรือขอผัดฟ้องภายในกำหนด 72 ชั่วโมง นับแต่จำเลยถูกจับ ผู้ว่าคดีเพิ่งฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงเมื่อจำเลยถูกจับในคดีหลบหนีฯ นี้แล้ว 3 เดือนเศษ เมื่อได้ความว่าอธิบดีกรมอัยการได้อนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องได้