พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6893/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินตาม พ.ร.บ.เวนคืน และสิทธิร่วมกันของเจ้าของที่ดิน
การดำเนินการเวนคืนในคดีนี้ แม้ขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาโดยอาศัยหลักเกณฑ์โดยถือตามมาตรา 21(2) หรือ(3) ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคสี่บัญญัติไว้ก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ต่อมาความในวรรคสี่ของมาตราดังกล่าวถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนโดยข้อ 1 แห่งประกาศคณะรักษาความ-สงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้แก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนี้การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้ถือเอาหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 เฉพาะข้อ (2) และ (3) มากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่บังคับใช้ในภายหลัง
เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 18 บัญญัติให้กำหนดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดโจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2540)
เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 18 บัญญัติให้กำหนดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดโจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4132/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทน ความเสียหาย และความรับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับราคาที่ดินของโจทก์รวมทั้งต้นไม้และความเสียหายจากการที่ถูกเวนคืนโดยคำนวณราคาจากสภาพที่ดิน ราคาต้นไม้ยืนต้นอาคารโรงงานและสิ่งปลูกสร้างและความเสียหายหากมีการซื้อขายหรือรื้อถอนอาคารโรงงานของโจทก์รวมทั้งโรงงานที่จะต้องสร้างใหม่ ซึ่งเป็นคำฟ้องโจทก์ที่ได้บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วโจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่า>ราคาซื้อขายที่ดินแปลงละเท่าใด ต้นไม้ยืนต้นเป็นต้นไม้อะไร ปลูกเมื่อใด ให้ผลอย่างไร โรงงานสร้างเมื่อใด ราคาเท่าใดโรงงานตั้งที่ไหนมีรายละเอียดเช่นใด เพราะเป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของโรงงานพิพาทนับแต่ซื้อโรงงานมาจากบริษัทล.ซึ่งเป็นเวลาก่อน พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีและอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2509 ใช้บังคับโจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนได้ โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละคนตั้งแต่ปี 2516 มีการเจรจากันเรื่อยมา แต่ตกลงกันไม่ได้โดยมีการเปลี่ยนอนุญาโตตุลาการทั้งสองฝ่ายเมื่อปี 2522 และมีการนัดเจรจากันหลายครั้ง ดังนี้ จะถือว่าอนุญาโตตุลาการเพิกเฉยไม่กระทำการตามหน้าที่ยังไม่ได้ ส่วนการเจรจาไม่เสร็จสิ้นภายในเวลาอันสมควรนั้น เนื่องมาจากสาเหตุราษฎรร้องเรียนให้ยกเลิกการเวนคืน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอพระราชบัญญัติยกเลิกการเวนคืนถึง 2 ครั้ง ดังนั้นความเป็นอนุญาโตตุลาการจึงยังไม่เป็นอันสิ้นสุด ต้องถือว่าอยู่ในขั้นตอนพิจารณาดำเนินการของอนุญาโตตุลาการ แม้จำเลยที่ 1จะแจ้งราคาเด็ดขาดให้ฝ่ายโจทก์ทั้งสองทราบและนำเงินค่าทดแทนไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์แล้วก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนไป ถือว่าโจทก์ทั้งสองยังโต้แย้งจำนวนค่าทดแทนอยู่ เมื่อต่อมามี พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับ ให้มีผลยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ในส่วนที่เกี่ยวแก่กรณีที่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการและยังมิได้ชี้ขาดให้เป็นอันยกเลิกอนุญาโตตุลาการนั้น โดยให้คู่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์และฟ้องคดีได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์และฟ้องคดีนี้ได้ โจทก์ที่ 2 ขยายโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรกลเพิ่มขึ้นภายหลังจากมี พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนดังกล่าวใช้บังคับซึ่งในเรื่องนี้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีหลักเกณฑ์อยู่ว่าหากผู้ที่ถูกเวนคืนปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างใดเพิ่มขึ้นภายหลังจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธินำมาเรียกค่าทดแทนได้ ส่วนสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่เดิมก่อน พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับผู้ที่ถูกเวนคืนยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนได้ โจทก์ที่ 2 จึงยังคงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนที่มีอยู่ก่อน พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ แม้จำเลยที่ 3 กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์จะเป็นการกำหนดค่าทดแทนถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 แต่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เพราะเวลาล่วงเลยมาเป็นเวลาหลายปีการกำหนดเงินค่าทดแทนยังไม่สิ้นสุด โจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทน ส่วนที่ดินมีราคาสูงขึ้น ต่อมา พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ออกใช้บังคับ ฉะนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นใหม่ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการแก้ไขเพิ่มราคาค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนให้แก่ประชาชนผู้ถูกเวนคืนให้ได้รับความเป็นธรรมยิ่งขึ้น พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคท้าย บัญญัติให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน และบุคคลดังกล่าวได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นด้วย การที่โจทก์ต้องรื้อถอนโรงงานออกไปจากที่ดินที่ถูกเวนคืนจำต้องหยุดการผลิต ทำให้ขาดรายได้จากการประกอบการโจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายดังกล่าวส่วนค่าชดเชยค่าจ้างที่ต้องเลิกจ้างคนงาน หากโจทก์ที่ 2ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 1และที่ 3 ได้ กองทัพเรือจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลสังกัดกระทรวงกลาโหมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องใช้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจของจำเลยที่ 1เมื่อโจทก์เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนไม่เป็นธรรม ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 และเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดี จึงต้องร่วมรับผิดโดยตำแหน่งหน้าที่กับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4132/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการเวนคืน: การประเมินราคาที่ดิน, ความเสียหายทางธุรกิจ, และการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับราคาที่ดินของโจทก์รวมทั้งต้นไม้และความเสียหายจากการที่ถูกเวนคืนโดยคำนวณราคาจากสภาพที่ดิน ราคาต้นไม้ยืนต้นอาคารโรงงานและสิ่งปลูกสร้าง และความเสียหายหากมีการซื้อขายหรือรื้อถอนอาคารโรงงานของโจทก์รวมทั้งโรงงานที่จะต้องสร้างใหม่ ซึ่งเป็นคำฟ้องโจทก์ที่ได้บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วโจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่า ราคาซื้อขายที่ดินแปลงละเท่าใด ต้นไม้ยืนต้นเป็นต้นไม้อะไร ปลูกเมื่อใด ให้ผลอย่างไร โรงงานสร้างเมื่อใด ราคาเท่าใด โรงงานตั้งที่ไหนมีรายละเอียดเช่นใด เพราะเป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของโรงงานพิพาทนับแต่ซื้อโรงงานมาจากบริษัท ล. ซึ่งเป็นเวลาก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอเมืองรนะยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2509ใช้บังคับ โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนได้
โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละคนตั้งแต่ปี 2516 มีการเจรจากันเรื่อยมา แต่ตกลงกันไม่ได้ โดยมีการเปลี่ยนอนุญาโตตุลาการทั้งสองฝ่ายเมื่อปี 2522 และมีการนัดเจรจากันหลายครั้ง ดังนี้จะถือว่าอนุญาโตตุลาการเพิกเฉยไม่กระทำการตามหน้าที่ยังไม่ได้ ส่วนการเจรจาไม่เสร็จสิ้นภายในเวลาอันสมควรนั้น เนื่องมาจากสาเหตุราษฎรร้องเรียนให้ยกเลิกการเวนคืน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ พ.ร.บ.ยกเลิกการเวนคืนถึง 2 ครั้ง ดังนั้นความเป็นอนุญาโตตุลาการจึงยังไม่เป็นอันสิ้นสุด ต้องถือว่าอยู่ในขั้นตอนพิจารณาดำเนินการของอนุญาโตตุลาการ แม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งราคาเด็ดขาดให้ฝ่ายโจทก์ทั้งสองทราบและนำเงินค่าทดแทนไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์แล้วก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนไป ถือว่าโจทก์ทั้งสองยังโต้แย้งจำนวนค่าทดแทนอยู่ เมื่อต่อมามี พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับ ให้มีผลยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ในส่วนที่เกี่ยวแก่กรณีที่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการและยังมิได้ชี้ขาดให้เป็นอันยกเลิกอนุญาโตตุลาการนั้น โดยให้คู่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์และฟ้องคดีได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ดังนั้นโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์และฟ้องคดีนี้ได้
โจทก์ที่ 2 ขยายโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรกลเพิ่มขึ้นภายหลังจากมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนดังกล่าวใช้บังคับซึ่งในเรื่องนี้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มีหลักเกณฑ์อยู่ว่า หากผู้ที่ถูกเวนคืนปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างใดเพิ่มขึ้นภายหลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธินำมาเรียกค่าทดแทนได้ ส่วนสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่เดิมก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับผู้ที่ถูกเวนคืนยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนได้ โจทก์ที่ 2 จึงยังคงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนที่มีอยู่ก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
แม้จำเลยที่ 3 กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์จะเป็นการกำหนดค่าทดแทนถูกต้องตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 แต่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เพราะเวลาล่วงเลยมาเป็นเวลาหลายปีการกำหนดเงินค่าทดแทนยังไม่สิ้นสุด โจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทน ส่วนที่ดินมีราคาสูงขึ้น ต่อมา พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ออกใช้บังคับ ฉะนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นใหม่ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการแก้ไขเพิ่มราคาค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนให้แก่ประชาชนผู้ถูกเวนคืนให้ได้รับความเป็นธรรมยิ่งขึ้น
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคท้าย บัญญัติให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหา-ริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน และบุคคลดังกล่าวได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นด้วย การที่โจทก์ต้องรื้อถอนโรงงานออกไปจากที่ดินที่ถูกเวนคืน จำต้องหยุดการผลิต ทำให้ขาดรายได้จากการประกอบการ โจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายดังกล่าว ส่วนค่าชดเชยค่าจ้างที่ต้องเลิกจ้างคนงาน หากโจทก์ที่ 2ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้
กองทัพเรือจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลสังกัดกระทรวงกลาโหมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องใช้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนไม่เป็นธรรม ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 และเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดี จึงต้องร่วมรับผิดโดยตำแหน่งหน้าที่กับจำเลยที่ 1
โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของโรงงานพิพาทนับแต่ซื้อโรงงานมาจากบริษัท ล. ซึ่งเป็นเวลาก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอเมืองรนะยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2509ใช้บังคับ โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนได้
โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละคนตั้งแต่ปี 2516 มีการเจรจากันเรื่อยมา แต่ตกลงกันไม่ได้ โดยมีการเปลี่ยนอนุญาโตตุลาการทั้งสองฝ่ายเมื่อปี 2522 และมีการนัดเจรจากันหลายครั้ง ดังนี้จะถือว่าอนุญาโตตุลาการเพิกเฉยไม่กระทำการตามหน้าที่ยังไม่ได้ ส่วนการเจรจาไม่เสร็จสิ้นภายในเวลาอันสมควรนั้น เนื่องมาจากสาเหตุราษฎรร้องเรียนให้ยกเลิกการเวนคืน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ พ.ร.บ.ยกเลิกการเวนคืนถึง 2 ครั้ง ดังนั้นความเป็นอนุญาโตตุลาการจึงยังไม่เป็นอันสิ้นสุด ต้องถือว่าอยู่ในขั้นตอนพิจารณาดำเนินการของอนุญาโตตุลาการ แม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งราคาเด็ดขาดให้ฝ่ายโจทก์ทั้งสองทราบและนำเงินค่าทดแทนไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์แล้วก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนไป ถือว่าโจทก์ทั้งสองยังโต้แย้งจำนวนค่าทดแทนอยู่ เมื่อต่อมามี พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับ ให้มีผลยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ในส่วนที่เกี่ยวแก่กรณีที่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการและยังมิได้ชี้ขาดให้เป็นอันยกเลิกอนุญาโตตุลาการนั้น โดยให้คู่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์และฟ้องคดีได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ดังนั้นโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์และฟ้องคดีนี้ได้
โจทก์ที่ 2 ขยายโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรกลเพิ่มขึ้นภายหลังจากมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนดังกล่าวใช้บังคับซึ่งในเรื่องนี้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มีหลักเกณฑ์อยู่ว่า หากผู้ที่ถูกเวนคืนปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างใดเพิ่มขึ้นภายหลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธินำมาเรียกค่าทดแทนได้ ส่วนสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่เดิมก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับผู้ที่ถูกเวนคืนยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนได้ โจทก์ที่ 2 จึงยังคงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนที่มีอยู่ก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
แม้จำเลยที่ 3 กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์จะเป็นการกำหนดค่าทดแทนถูกต้องตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 แต่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เพราะเวลาล่วงเลยมาเป็นเวลาหลายปีการกำหนดเงินค่าทดแทนยังไม่สิ้นสุด โจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทน ส่วนที่ดินมีราคาสูงขึ้น ต่อมา พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ออกใช้บังคับ ฉะนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นใหม่ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการแก้ไขเพิ่มราคาค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนให้แก่ประชาชนผู้ถูกเวนคืนให้ได้รับความเป็นธรรมยิ่งขึ้น
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคท้าย บัญญัติให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหา-ริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน และบุคคลดังกล่าวได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นด้วย การที่โจทก์ต้องรื้อถอนโรงงานออกไปจากที่ดินที่ถูกเวนคืน จำต้องหยุดการผลิต ทำให้ขาดรายได้จากการประกอบการ โจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายดังกล่าว ส่วนค่าชดเชยค่าจ้างที่ต้องเลิกจ้างคนงาน หากโจทก์ที่ 2ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้
กองทัพเรือจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลสังกัดกระทรวงกลาโหมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องใช้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนไม่เป็นธรรม ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 และเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดี จึงต้องร่วมรับผิดโดยตำแหน่งหน้าที่กับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การหักราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่ราคาสูงขึ้น และดอกเบี้ยค่าทดแทน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มีอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืนและมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์พ.ศ. 2516 เนื่องด้วย พระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของรัฐในการสร้างทางและปรับปรุงระบบระบายน้ำสำหรับกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นงานส่วนหนึ่งในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินกิจการเกี่ยวกับการทำให้มีและการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามมาตรา 66(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518และมาตรา 12 ประกอบมาตรา 19 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ บัญญัติให้กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนซึ่งมีอำนาจหน้าที่บริหารราชการทั้งปวงของจำเลยที่ 1 ต่อมามีการยกเลิก พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2528 แต่ก็ได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1ความสัมพันธ์ของจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวไว้ในมาตรา 89(6)มาตรา 44 วรรคหนึ่ง และมาตรา 49 ดังนั้น การดำเนินการของจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 ถือเป็นการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 นั่นเอง ฉะนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในคดีนี้เป็นการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ. 2511 และพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์พ.ศ. 2516 แต่ภายหลังจาก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้นการดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 36 วรรคสอง และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับ 44 ข้อ 4 วรรคหนึ่งและเนื่องจาก พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นการเฉพาะ การกำหนดเงินค่าทดแทนจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 21แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงอนุมาตรา (1) ถึง (5) ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืนในกรณีปกติแล้วการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1) ถึง (5) นั้น ย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม สำหรับคดีนี้ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ. 2511มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2511 แล้วแต่กลับปรากฏว่าฝ่าจำเลยเพิ่งมีหนังสือลงวันที่ 3 มิถุนายน2534 แจ้งราคาค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทราบการที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการกำหนดค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่โจทก์ปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานกว่า 20 ปี เป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้น การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21(1) ถึง (5) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบ สภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ในปีที่ใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกากับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนดังกล่าวอย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการฯ ซึ่งเป็นชุดที่ทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนนั้นได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2531หลังจากนั้นคณะกรรมการชุดนี้จึงได้ประชุมกันเพื่อกำหนดค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอันเนื่องจากอสังหาริมทรัพย์ถูกเวนคืนตามระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 และฝ่ายจำเลยเพิ่งมีหนังสือลงวันที่ 3 มิถุนายน 2534 แจ้งราคาค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทราบ การดำเนินการเพื่อจ่ายเงินค่าทดแทนในกรณีนี้เพิ่งเริ่มต้นใหม่ในปี 2531 ดังนั้นการใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) เว้นแต่วันที่เป็นฐานที่ตั้งสำหรับราคาอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ เป็นปี 2531 อันเป็นปีที่มีการเริ่มดำเนินการเพื่อจ่ายค่าทดแทนใหม่ ย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ตรงกับหลักการสำคัญของการกำหนดเงินทดแทนอสังหาริมทรัพย์แล้ว เมื่อราคาที่ดินโจทก์สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ การที่คณะกรรมการฯ กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์โดยถือตามราคาประเมินที่ดินเป็นเกณฑ์กำหนด อันเป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใช้บัญชีดังกล่าว ย่อมมิใช่ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามความเป็นจริง ทั้งที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่ไม่มากจนถึงกับว่าเมื่อมีการซื้อขายกันจะต้องกำหนดราคาให้แตกต่างกันเป็นส่วน ๆการที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์เฉลี่ยตามตารางวา โดยถือเกณฑ์ราคาประเมินที่ดินรวมกับราคาเฉลี่ยของราคาที่ดินที่สูงขึ้นต่อปีใกล้เคียงกับราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ตามที่เป็นอยู่ในปี 2531 จึงนับว่าเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมแล้ว แม้โจทก์จะได้ขายที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนให้แก่บุคคลภายนอกไปก่อนที่คณะกรรมการจะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ประมาณ 10 ปี แล้วก็ตาม แต่การที่จะพิจารณาว่าที่ดินที่ถูกเวนคืนแปลงใดมีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นหรือไม่ จะต้องพิจารณาในขณะเริ่มต้นของการกำหนดแนวเขตที่ดินที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับเป็นสำคัญนั่นก็หมายถึงว่าพิจารณาถึงวันบังคับใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนหรือขณะบังคับใช้ พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ที่จะเวนคืนแล้วแต่กรณี พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 ใช้บังคับ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่มีการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 ใช้บังคับต่างบัญญัติไว้ในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง และมาตรา 21 วรรคสองตามลำดับ ให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนอันเนื่องมาจากการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้ ดังนั้น การที่จะพิจารณาว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินเหลือจากการดำเนินการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ทั้งหมดตามโฉนดที่ดินของโจทก์ที่มีอยู่ในขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับคือวันที่ 16 ตุลาคม 2511 แม้ภายหลังโจทก์ได้โอนขายที่ดินโฉนดที่แบ่งแยกจากโฉนดที่ดินแปลงเดิมที่ถูกเวนคืนอันเป็นที่ดินส่วนที่มิได้อยู่ในแนวเขตเวนคืนให้แก่ผู้อื่นไปแล้วตั้งแต่ปี 2523 ก่อนที่คณะกรรมการฯจะกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ประมาณ 10 ปีก็ตาม ที่ดินส่วนที่มิได้อยู่ในแนวเขตเวนคืนซึ่งโจทก์ได้ขายไปแล้วนั้นก็ยังต้องถือว่าเป็นที่ดินส่วนที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืน เมื่อที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนของโจทก์อยู่ในทำเลที่ดีกว่าเดิมเช่นนี้ ราคาที่ดินแปลงดังกล่าวก็ย่อมจะสูงกว่าเดิมอันเนื่องมาจากการตัดถนนของทางราชการอย่างแน่นอน การที่ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมดังกล่าวจะต้องนำราคาที่ดินที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสองมิฉะนั้นแล้วจะเป็นช่องทางให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนหลีกเลี่ยงบทบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ซึ่งเป็นการแปลความที่ไม่สอดคล้องกับสามัญสำนึกและความเป็นธรรม และบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสาม ที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนและให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติ ที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลงก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้เมื่อปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้น เพราะการเวนคืน จึงต้องนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน: ศาลกำหนดราคาเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และดอกเบี้ยนับแต่วันจำเลยมีหน้าที่วางเงิน
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า ค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำหนดให้แก่โจทก์ตำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่เป็นธรรม จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินติดถนนซอยและที่มีทางสาธารณะเข้าออกได้หลายทาง ภายในที่ดินมีการปลูกผลอาสินจำพวกมะม่วง มะพร้าว และกล้วย มิได้ถูกขุดหน้าดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อทั้งเป็นที่ดินแปลงเล็กเหมาะแก่การใช้เป็นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ มีราคาสูงกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดให้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ของมาตรา 21(1) ถึง(5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมและไม่ขัดกับมาตรา 22 เพราะมาตรา 22 ให้เป็นดุลพินิจที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ ไม่ได้บังคับว่าต้องกำหนดให้ต่ำกว่ามาตรา 21 เสมอไปจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนแก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดอีก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสุดท้ายที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฎว่าได้การตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่จะถูกเวนคืนกันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 2 มีหนังสือลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2534 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายใน15 วัน นับแต่วันหนังสือ โจทก์ได้รับหนังสือนี้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2534 แต่โจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนตามกำหนดเวลาในหนังสือดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 2 ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางในวันถัดจากวันครบกำหนด 15 วันนับแต่รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่ 14 มีนาคม 2534 จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2534 หาใช่วันที่ 11 สิงหาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่มีประกาศสำนักงานยกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนและไม่ใช่นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 นำเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปฝากธนาคารออมสินเพราะเป็นวันภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางแล้ว สำหรับจำนวนเงินต้นในการคำนวณดอกเบี้ยนั้น เมื่อไม่ปรากฎว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนให้เพิ่มขึ้นตามที่รัฐมนตรีวินิจฉัยหรือไม่ตั้งแต่เมื่อใดและได้ชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไปตั้งแต่เมื่อใด จึงนำเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีมารวมกับที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มเพื่อคำนวณดอกเบี้ยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทน, ดอกเบี้ย, และหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า ค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำหนดให้แก่โจทก์ต่ำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหา-ริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่เป็นธรรม จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้ ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินติดถนนซอยและที่มีทางสาธารณะเข้าออกได้หลายทาง ภายในที่ดินมีการปลูกผลอาสินจำพวก มะม่วงมะพร้าว และกล้วย มิได้ถูกขุดหน้าดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อ ทั้งเป็นที่ดินแปลงเล็กเหมาะแก่การใช้เป็นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯมีราคาสูงกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดให้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ของมาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมและไม่ขัดกับมาตรา 22 เพราะมาตรา 22 ให้เป็นดุลพินิจที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ ไม่ได้บังคับว่าต้องกำหนดให้ต่ำกว่ามาตรา 21 เสมอไป จึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนแก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดอีก
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสุดท้ายที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าได้การตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่จะถูกเวนคืนกันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 2 มีหนังสือลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2534 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือ โจทก์ได้รับหนังสือนี้เมื่อวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2534 แต่โจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนตามกำหนดเวลาในหนังสือดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28วรรคสอง ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 2 ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางในวันถัดจากวันครบกำหนด 15 วัน นับแต่รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่ 14 มีนาคม 2534 จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2534 หาใช่วันที่ 11สิงหาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนและไม่ใช่นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 นำเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปฝากธนาคารออมสินเพราะเป็นวันภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางแล้ว สำหรับจำนวนเงินต้นในการคำนวณดอกเบี้ยนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนให้เพิ่มขึ้นตามที่รัฐมนตรีวินิจฉัยหรือไม่ตั้งแต่เมื่อใดและได้ชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไปตั้งแต่เมื่อใด จึงนำเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีมารวมกับที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มเพื่อคำนวณดอกเบี้ยด้วย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้ ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินติดถนนซอยและที่มีทางสาธารณะเข้าออกได้หลายทาง ภายในที่ดินมีการปลูกผลอาสินจำพวก มะม่วงมะพร้าว และกล้วย มิได้ถูกขุดหน้าดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อ ทั้งเป็นที่ดินแปลงเล็กเหมาะแก่การใช้เป็นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯมีราคาสูงกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดให้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ของมาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมและไม่ขัดกับมาตรา 22 เพราะมาตรา 22 ให้เป็นดุลพินิจที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ ไม่ได้บังคับว่าต้องกำหนดให้ต่ำกว่ามาตรา 21 เสมอไป จึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนแก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดอีก
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสุดท้ายที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าได้การตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่จะถูกเวนคืนกันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 2 มีหนังสือลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2534 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือ โจทก์ได้รับหนังสือนี้เมื่อวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2534 แต่โจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนตามกำหนดเวลาในหนังสือดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28วรรคสอง ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 2 ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางในวันถัดจากวันครบกำหนด 15 วัน นับแต่รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่ 14 มีนาคม 2534 จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2534 หาใช่วันที่ 11สิงหาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนและไม่ใช่นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 นำเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปฝากธนาคารออมสินเพราะเป็นวันภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางแล้ว สำหรับจำนวนเงินต้นในการคำนวณดอกเบี้ยนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนให้เพิ่มขึ้นตามที่รัฐมนตรีวินิจฉัยหรือไม่ตั้งแต่เมื่อใดและได้ชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไปตั้งแต่เมื่อใด จึงนำเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีมารวมกับที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มเพื่อคำนวณดอกเบี้ยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม, ดอกเบี้ย, และการชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่1และที่2กำหนดให้แก่โจทก์ตำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา6แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ไม่เป็นธรรมจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินติดถนนซอยและที่มีทางสาธารณะเข้าออกได้หลายทางภายในที่ดินมีการปลูกผลอาสินจำพวกมะม่วงมะพร้าวและกล้วยมิได้ถูกขุดหน้าดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อทั้งเป็นที่ดินแปลงเล็กเหมาะแก่การใช้เป็นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯมีราคาสูงกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดให้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ของมาตรา21(1)ถึง(5)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมและไม่ขัดกับมาตรา22เพราะมาตรา22ให้เป็นดุลพินิจที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา21ก็ได้ไม่ได้บังคับว่าต้องกำหนดให้ต่ำกว่ามาตรา21เสมอไปจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนแก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดอีก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสุดท้ายที่บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าได้การตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่จะถูกเวนคืนกันตามมาตรา10จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา11ดังนั้นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนจำเลยที่2มีหนังสือลงวันที่8กุมภาพันธ์2534แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายใน15วันนับแต่วันหนังสือโจทก์ได้รับหนังสือนี้เมื่อวันที่26กุมภาพันธ์2534แต่โจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนตามกำหนดเวลาในหนังสือดังกล่าวจำเลยที่2จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา28วรรคสองซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่2ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางในวันถัดจากวันครบกำหนด15วันนับแต่รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่14มีนาคม2534จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่14มีนาคม2534หาใช่วันที่11สิงหาคม2533ซึ่งเป็นวันที่มีประกาศสำนักงานยกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนและไม่ใช่นับแต่วันที่จำเลยที่2นำเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปฝากธนาคารออมสินเพราะเป็นวันภายหลังจากวันที่จำเลยที่2มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางแล้วสำหรับจำนวนเงินต้นในการคำนวณดอกเบี้ยนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1และที่2ได้ชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนให้เพิ่มขึ้นตามที่รัฐมนตรีวินิจฉัยหรือไม่ตั้งแต่เมื่อใดและได้ชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไปตั้งแต่เมื่อใดจึงนำเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีมารวมกับที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มเพื่อคำนวณดอกเบี้ยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักการคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม, การหักกลบลบราคาที่สูงขึ้น, และดอกเบี้ย
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี2531มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์และเห็นว่าค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์ได้รับดังกล่าวน้อยกว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาเพิ่มขึ้นเมื่อนำมาหักกลบลบกันแล้วค่าทดแทนที่ดินย่อมหมดไปคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯจึงมีมติไม่จ่ายค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์คงจ่ายให้เฉพาะค่าทดแทนอาคารค่าถมดินค่าพื้นคอนกรีตและค่าพืชผลต้นไม้เมื่อปรากฏว่าในวันที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯมีการประชุมลงมตินั้นมีประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้วดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา9และมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ดังนั้นในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงต้องคำนึงถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดสภาพและสถานที่ตั้งของที่ดินมาประกอบการพิจารณาด้วยการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้ในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสองและวรรคสามเป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียวในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา21ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา21วรรคสี่เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา21เท่านั้นแม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสองหรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา21วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา21วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ดังนั้นหากปรากฎชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้วจำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้ เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาลโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา26วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีเพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักการคำนวณค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, การหักลบราคาที่ดินที่สูงขึ้น, และดอกเบี้ยค่าทดแทน
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2531 มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ และเห็นว่าค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์ได้รับดังกล่าวน้อยกว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาหักกลบลบกันแล้วค่าทดแทนที่ดินย่อมหมดไป คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯจึงมีมติไม่จ่ายค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ คงจ่ายให้เฉพาะค่าทดแทนอาคาร ค่าถมดิน ค่าพื้นคอนกรีต และค่าพืชผลต้นไม้เมื่อปรากฏว่าในวันที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯมีการประชุมลงมตินั้น มีประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้ว ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ จึงต้องคำนึงถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด สภาพและสถานที่ตั้งของที่ดินมาประกอบการพิจารณาด้วย การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้ในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21 ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสอง หรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 21 วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นหากปรากฎชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้ว จำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้ เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใด เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนที่ดิน และการหักกลบราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่สูงขึ้น
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยนำราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2531มาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ และเห็นว่าค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์ได้รับดังกล่าวน้อยกว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาหักกลบลบกันแล้วค่าทดแทนที่ดินย่อมหมดไป คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯจึงมีมติไม่จ่ายค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ คงจ่ายให้เฉพาะค่าทดแทนอาคาร ค่าถมดินค่าพื้นคอนกรีต และค่าพืชผลต้นไม้ เมื่อปรากฏว่าในวันที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯมีการประชุมลงมตินั้น มีประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับแล้ว ดังนั้น การกำหนดค่าทดแทนจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ จึงต้องคำนึงถึงราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด สภาพและสถานที่ตั้งของที่ดินมาประกอบการพิจารณาด้วยการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้ในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา21 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21 ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสอง หรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21วรรคสอง และวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นหากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้ว จำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้
เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใด เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา21 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้ว หากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21 ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสอง หรือราคาลดลงตามวรรคสามออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ตามมาตรา21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21วรรคสอง และวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นหากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้ว จำเลยทั้งสองและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้
เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวว่ามีอัตราเท่าใด เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น