คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 144 (5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4414/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิกันส่วนเจ้าหนี้จำนองและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา: การบังคับคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอกันส่วนฉบับลงวันที่ 13 มีนาคม 2562 มาก่อน และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้ร้องไม่มีพยานมาให้ไต่สวน ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ตามคำร้องก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากธนาคาร อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 4873 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงของศาลแพ่ง ซึ่งศาลแพ่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของจำเลยในที่ดินโฉนดที่ 4873 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ทรัพย์จำนองที่ถูกยึดและขายทอดตลาดในคดีนี้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 322 (ใหม่) จึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 (5) กรณีตามคำร้องของผู้ร้องฉบับลงวันที่ 25 มิถุนายน 2562 จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคำร้องขอกันส่วนฉบับลงวันที่ 13 มีนาคม 2562 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 แต่อย่างใด และเมื่อได้ความว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้อง สำเนาคำร้องของผู้ร้องให้แก่โจทก์ จำเลย และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยระบุด้วยว่าหากจะคัดค้านให้ยื่นคัดค้านก่อนหรือในวันนัด มิฉะนั้นถือว่าไม่คัดค้าน ซึ่งมีการส่งสำเนาคำร้องให้แก่บุคคลดังกล่าวแล้ว ครั้นถึงวันนัดพิจารณาคำร้องปรากฏว่าไม่มีคู่ความฝ่ายใดมาศาล ย่อมถือว่าคู่ความดังกล่าวไม่ได้คัดค้านคำร้องของผู้ร้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากธนาคาร อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินแปลงข้างต้น พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงดังกล่าวของศาลแพ่ง และศาลแพ่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนแล้ว ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเพียงพอที่จะวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องแล้ว โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ และเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ดังกล่าวจึงเห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าหนี้จำนองมีสิทธิกันส่วนตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4076/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้จำนอง การไม่ถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ผู้ร้องที่ 1 เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของ ว. ในคดีแพ่งและเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองในที่ดินโฉนดเลขที่ 76843 ที่มีชื่อ ว. ผู้ประกันจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ซึ่งถูกยึดเพื่อขายทอดตลาดในคดีนี้ การที่ผู้ร้องที่ 1 ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองจึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องที่ 1 ได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 (5) และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 1 ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 76843 ก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้ว เมื่อผู้ร้องที่ 1 โอนขายสินทรัพย์และสิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ที่มีต่อ ว. รวมทั้งบุริมสิทธิจำนองในที่ดินโฉนดเลขที่ 76843 ให้แก่ผู้ร้องที่ 2 ผู้ร้องที่ 2 ย่อมยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นแทนผู้ร้องที่ 1 ในคดีนี้ได้ โดยได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 (5) เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14411/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองหลังการขายทอดตลาด แม้เคยถูกยกคำร้องก่อนหน้า
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของจำเลยทั้งสองในคดีแพ่งอีกสำนวนของศาลชั้นต้น และเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองของจำเลยที่ 2 ในทรัพย์จำนองที่ถูกยึดและขายทอดตลาดในคดีนี้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล ผู้ร้องได้รับยกเว้นไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 และกรณีไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือร้องซ้ำ ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะเคยยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองมาก่อนและศาลชั้นต้นยกคำร้องไปแล้วก็ตาม ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองอีก และเมื่อปรากฏว่าในการบังคับคดีนี้ยังมีเงินเหลืออยู่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวในฐานะผู้รับจำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824-4825/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและการคืนเงินเมื่อโอนที่ดินไม่ได้ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้คืนเงินพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์ผู้ร้องสอดและจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว มีใจความสำคัญว่าโจทก์ตกลงซื้อที่พิพาททั้งโฉนดคืนจากจำเลยที่ 3 เป็นเงินจำนวนหนึ่ง โดยจะนำเงินมาวางศาลภายในกำหนด และจำเลยที่3 จะโอนที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดให้โจทก์ เมื่อโจทก์นำเงินมาวางศาลตามกำหนด. จำเลยที่ 3 รับเงินจำนวนดังกล่าวไปแล้วแต่โอนที่ดินให้โจทก์ไม่ได้เพราะที่ดินถูกศาลสั่งอายัดไว้ในคดีอื่น. จำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่จำเลยที่ 3 ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เพราะสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน. เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหาย. แต่เมื่อคำพิพากษาได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านให้จำเลยที่ 3 ฟังแล้วจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับถือว่าผิดนัด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดดังกล่าวนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการโอนกรรมสิทธิ์: ผลของการยกเลิกการขายทอดตลาดต่อผู้ซื้อและผู้รับโอนสิทธิ
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ได้นำ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของ ส. ซึ่งได้นำมาประกันหนี้ ของจำเลยต่อศาลตามที่ได้อนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ และ ได้นำออกขายทอดตลาด ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินได้ต่อมา ส. ยื่นคำร้องว่าการขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้ศาลมีคำสั่ง ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้น ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องพร้อมส่ง สำเนาคำร้องกับแจ้งวันนัดให้ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ร้องที่ 1 ทราบ ผู้ร้องที่ 1 ยื่นคำแถลงว่า ผู้ร้อง ที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทโดยชอบ ขอให้ยกคำร้อง ของ ส. และผู้ร้องที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องที่ 2 แล้วผู้ร้องที่ 2 โอนให้ผู้ร้องที่ 3 ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิก การขายทอดตลาดที่ดินพิพาท มีการอุทธรณ์ฎีกาต่อมา โดย ผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์ฎีกา ระหว่างพิจารณาของ ศาลฎีกา ผู้ร้องทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง เพิกถอนคำสั่งที่ให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นเสีย เช่นนี้ เห็นได้ว่า ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการ บังคับคดีหากเสียหายอย่างไรก็ชอบที่จะยื่นคำร้องและ ขอสืบพยานเสียแต่ในชั้นไต่สวนคำร้อง ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของ ส. หรืออุทธรณ์ฎีกาคำสั่ง ของศาลชั้นต้นที่ให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นได้ แต่ ผู้ร้องที่ 1 ก็มิได้กระทำ ผู้ร้องที่ 1 จึงต้อง ผูกพันในผลแห่งคำสั่งศาลที่ว่าการขายทอดตลาดที่ดิน พิพาทไม่ชอบตามคำสั่งศาลที่ถึงที่สุด เมื่อการ ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไม่ชอบผู้ร้องที่ 1 ย่อมไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ผู้ร้องที่ 2 ที่ 3เป็นผู้รับซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้ร้องที่ 1 ย่อมไม่ มีสิทธิดีกว่าผู้ร้องที่ 1 ผู้โอน จึงไม่ได้กรรมสิทธิ ด้วยเช่นกัน ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้ง สาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินจากการบังคับคดี: กรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อเมื่อศาลยกเลิกการขายทอดตลาด
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ได้นำ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของ ส. ซึ่งได้นำมาประกันหนี้ของจำเลยต่อศาลตามที่ได้อนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ และ ได้นำออกขายทอดตลาด ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินได้ต่อมา ส. ยื่นคำร้องว่าการขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้ศาลมีคำสั่ง ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้น ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องพร้อมส่ง สำเนาคำร้องกับแจ้งวันนัดให้ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ร้องที่ 1 ทราบ ผู้ร้องที่ 1 ยื่นคำแถลงว่า ผู้ร้อง ที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทโดยชอบ ขอให้ยกคำร้อง ของ ส. และผู้ร้องที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องที่ 2 แล้วผู้ร้องที่ 2 โอนให้ผู้ร้องที่ 3ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิก การขายทอดตลาดที่ดินพิพาทมีการอุทธรณ์ฎีกาต่อมา โดยผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์ฎีการะหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง เพิกถอนคำสั่งที่ให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นเสีย เช่นนี้เห็นได้ว่า ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี หากเสียหายอย่างไรก็ชอบที่จะยื่นคำร้องและ ขอสืบพยานเสียแต่ในชั้นไต่สวนคำร้อง ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของ ส.หรืออุทธรณ์ฎีกาคำสั่ง ของศาลชั้นต้นที่ให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นได้ แต่ ผู้ร้องที่ 1 ก็มิได้กระทำ ผู้ร้องที่ 1 จึงต้องผูกพันในผลแห่งคำสั่งศาลที่ว่าการขายทอดตลาดที่ดิน พิพาทไม่ชอบตามคำสั่งศาลที่ถึงที่สุด เมื่อการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไม่ชอบผู้ร้องที่ 1 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ผู้ร้องที่ 2 ที่ 3เป็นผู้รับซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้ร้องที่ 1 ย่อมไม่ มีสิทธิดีกว่าผู้ร้องที่ 1 ผู้โอน จึงไม่ได้กรรมสิทธิด้วยเช่นกัน ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้ง สาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: กำหนดเวลาปฏิบัติคำบังคับไม่ใช่เงื่อนไขสิ้นสุดสิทธิ, ยื่นคำร้องใหม่ได้แม้ศาลเคยมีคำสั่งยก
ที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังแล้วสั่งบังคับภายใน 30 วัน มีความหมายว่าให้คู่ความปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาภายในกำหนดนั้น ถ้าไม่ปฏิบัติจะถูกบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 หากว่าเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาขอให้บังคับคดีเมื่อโจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกันทั้งสองฝ่ายย่อมมีสิทธิขอบังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาไม่ใช่ว่าเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามคำบังคับแล้วจะบังคับคดีไม่ได้
เรื่องการบังคับคดีเมื่อศาลมีคำสั่งไปครั้งหนึ่งแล้ว แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งนั้นโจทก์ก็ยื่นคำร้องขอใหม่ได้โดย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144(5) บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเช่าบ้าน: สิทธิผู้เช่าหลังครบกำหนดสัญญา และการบังคับคดีซ้ำ
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า แล้วโจทก์จำเลยตกลงประนีประนอมกันให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แม้จะไม่มีข้อความว่า เมื่อครบกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยยอมออกจากห้องเช่าที่ฟ้องขับไล่นั้นก็ตามแต่ก็ย่อมเห็นความประสงค์ของคู่กรณีว่าเป็นการยอมให้อยู่ต่อไปได้ชั่วระยะเวลาที่ระบุไว้เท่านั้น หมายความว่าเมื่อครบกำหนดนั้นแล้ว ผู้เช่าต้องออกจากห้องเช่าไป
คำสั่งศาลในการบังคับคดี หากปรากฏไม่ถูกต้อง ย่อมแก้ไขใหม่ได้จึงไม่เป็นการต้องห้ามทีโจทก์จะมีคำร้องขึ้นใหม่ โดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการบังคับคดีเช่า: เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ผู้เช่าต้องออกจากห้องเช่า
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า แล้วโจทก์จำเลย ตกลงประนีประนอมกันให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแม้จะไม่มีข้อความว่า เมื่อครบกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยยอมออกจากห้องเช่าที่ฟ้องขับไล่นั้นก็ตามแต่ก็ย่อมเห็นความประสงค์ของคู่กรณีว่า เป็นการยอมให้อยู่ต่อไปได้ชั่วระยะเวลาที่ระบุไว้เท่านั้น หมายความว่าเมื่อครบกำหนดนั้นแล้ว ผู้เช่าต้องออกจากห้องเช่าไป
คำสั่งศาลในการบังคับคดี หากปรากฏว่าไม่ถูกต้อง ย่อมแก้ไขใหม่ได้จึงไม่เป็นการต้องห้ามที่โจทก์จะมีคำร้องขึ้นใหม่ โดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งเดิม