พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวม-สิทธิครอบครอง: การขายทรัพย์สินส่วนรวมต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมอื่น
ที่ดินมือเปล่า 22 ไร่ พ. ยกให้โจทก์และ น.สามีเป็นของรับไหว้ในวันแต่งงาน จึงเป็นสินสมรส น. และโจทก์เป็นบิดามารดาจำเลย เมื่อ น.ตายโจทก์มีส่วนแบ่งในฐานะภริยาและทายาท จำเลยมีส่วนแบ่งในฐานะทายาท แต่ยังไม่ได้แบ่งกัน จำเลยกับบุตรคนอื่น ๆ ของ น. และโจทก์เข้าทำนาและมีบ้านเรือนถาวรอยู่ในที่ดินแปลงนี้ บุตรคนหนึ่งช่วยโจทก์ทำนาและโจทก์ไป ๆ มา ๆ ที่บ้านบุตรโจทก์ในที่ดินถือว่าโจทก์จำเลยและทายาทอื่น ๆ ใช้สิทธิครอบครองร่วมกันและแทนกันมีฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน ซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งจะจำหน่ายทรัพย์สินโดยเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง ฉะนั้นเมื่อโจทก์ไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอขายที่ดินบางส่วนของที่พิพาท กับขอให้ออก น.ส.3 ให้ด้วย จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางและยื่นคำร้องคัดค้านได้ โจทก์จะมาฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์และพาเพื่อการอนาจาร: การไม่ค้านพยานทำให้ศาลไม่เชื่อพยาน
พาหญิงไปเพื่อการอนาจารและพรากผู้เยาว์ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284,318 เป็นความผิดหลายกระทง
จำเลยนำสืบว่าผู้เสียหายเขียนจดหมายถึงจำเลยระหว่างต้องขังในเรือนจำระหว่างพิจารณา ศาลยกเป็นเหตุว่า จำเลยไม่ได้ถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อนประกอบเหตุอื่น ไม่เชื่อข้อนำสืบนี้
จำเลยนำสืบว่าผู้เสียหายเขียนจดหมายถึงจำเลยระหว่างต้องขังในเรือนจำระหว่างพิจารณา ศาลยกเป็นเหตุว่า จำเลยไม่ได้ถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อนประกอบเหตุอื่น ไม่เชื่อข้อนำสืบนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในสัญญาจากตัวแทนที่ไม่ได้รับมอบหมาย และการรับรองเอกสารนิติบุคคล
มีผู้อ้างว่าเป็นตัวแทนของจำเลยสั่งซื้อบัตร ส.ค.ส. จากโจทก์ใน พ.ศ.2514 โจทก์ส่งของและเก็บเงินจากจำเลยโดยผ่านธนาคารไปแล้ว พ.ศ.2515 ผู้นั้นอ้างเป็นตัวแทนจำเลยสั่งซื้อบัตร ส.ค.ส. จากโจทก์อีก คราวนี้จำเลยปฏิเสธ ดังนี้จำเลยเชิดบุคคลออกแสดงเป็นตัวแทนจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์
เอกสารคำรับรองของโนตารีปับลิกว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ระบุชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทำการในนามของห้างได้โดยลำพังฟังได้ในข้อที่ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและหุ้นส่วนคนหนึ่งมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ศาลรับฟังเอกสารนี้ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 แม้โจทก์ไม่ได้ระบุพยานนี้ไว้
เอกสารคำรับรองของโนตารีปับลิกว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ระบุชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนทำการในนามของห้างได้โดยลำพังฟังได้ในข้อที่ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและหุ้นส่วนคนหนึ่งมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ศาลรับฟังเอกสารนี้ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 แม้โจทก์ไม่ได้ระบุพยานนี้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และผลผูกพันของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง
ศาลทหารมีคำพิพากษาถึงที่สุดฟังว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทแซงรถคันอื่นขึ้นมาล้ำเข้าไปในเส้นทางของรถยนต์โดยสาร จนเป็นเหตุให้ชนรถยนต์โดยสารได้รับความเสียหาย ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งเฉพาะเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 54 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ส่วนจำเลยที่ 2 นายจ้างของจำเลยที่ 1 มิได้ถูกฟ้องในคดีอาญาด้วยคำพิพากษาในคดีอาญาจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะยกข้อต่อสู้และนำสืบได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายละเมิด หากเป็นแต่ความประมาทของคนขับรถยนต์โดยสารฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง
ศาลทหารมีคำพิพากษาถึงที่สุดฟังว่า จำเลยที 1 ขับรถยนต์โดยประมาทแซงรถคันอื่นขึ้นมาล้ำเข้าไปในเส้นทางของรถยนต์โดยสาร จนเป็นเหตุให้ชนรถยนต์โดยสารได้รับความเสียหาย ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งเฉพาะเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามพระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 54 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ส่วนจำเลยที่ 2 นายจ้างของจำเลยที่ 1 มิได้ถูกฟ้องในคดีอาญาด้วย คำพิพากษาในคดีอาญาจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะยกข้อต่อสู้และนำสืบได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายละเมิด หากเป็นแต่ความประมาทของคนขับรถยนต์โดยสารฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055-1056/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิดำเนินคดีระงับ แม้ทำนอกศาล
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนโรงเรือนออกจากที่เช่าอันเป็นข้อพิพาทที่มีอยู่ ต่อมาคู่กรณีได้ตกลงกันทำสัญญามุ่งหมายที่จะให้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการเช่าที่ดินให้เสร็จสิ้นไปโดยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นข้อที่เกี่ยวกับฟ้อง ฉะนั้นเมื่อทั้งสองฝ่ายยอมผ่อนผันอันเกี่ยวกับข้อพิพาทที่กำลังมีอยู่แก่กัน ทำให้ข้อพิพาทเดิมของคู่กรณีได้ระงับสิ้นไป จึงมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และแม้สัญญาจะทำภายหลังโจทก์ฟ้องคดีแล้ว และกระทำกันนอกศาลก็ตาม ย่อมมีผลทำให้สิทธิดำเนินคดีของโจทก์ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055-1056/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิฟ้องระงับ แม้ทำนอกศาล
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนโรงเรือนออกจากที่เช่าอันเป็นข้อพิพาทที่มีอยู่ ต่อมาคู่กรณีได้ตกลงกันทำสัญญามุ่งหมายที่จะให้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการเช่าที่ดินให้เสร็จสิ้นไป โดยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นข้อที่เกี่ยวกับฟ้อง ฉะนั้น เมื่อทั้งสองฝ่ายยอมผ่อนผันอันเกี่ยวกับข้อพิพาทที่กำลังมีอยู่แก่กัน ทำให้ข้อพิพาทเดิมของคู่กรณีได้ระงับสิ้นไป จึงมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และแม้สัญญาจะทำภายหลังโจทก์ฟ้องคดีแล้ว และกระทำกันนอกศาลก็ตาม ย่อมมีผลทำให้สิทธิดำเนินคดีของโจทก์ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สาธารณสถาน-ที่รโหฐาน: สถานที่ค้าประเวณีเป็นสาธารณสถาน เจ้าพนักงานมีอำนาจค้นจับ
สถานที่ใดจะเป็นสาธารณสถานหรือไม่ ไม่ต้องคำนึงว่าสถานที่นั้นจะเป็นสถานที่ผิดกฎหมาย เช่นสถานการค้าประเวณีหรือไม่เพียงแต่พิจารณาว่าสถานที่นั้นประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้หรือไม่และต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป ถ้าประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ สถานที่นั้นก็เป็นสาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน
ได้ความว่าเจ้าของสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีมิได้หวงห้ามผู้หนึ่งผู้ใดที่จะไปหาความสุขกับหญิงโสเภณี หรือไปธุระอื่นที่จะเข้าไปในห้องโถงซึ่งใช้เป็นที่รับแขกในสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีนั้นห้องโถงจึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้เป็นสาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน พนักงานตำรวจมีอำนาจค้นและจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93,78(3) จำเลยมีและใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวางมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140, 289(2),80,52(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2519)
ได้ความว่าเจ้าของสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีมิได้หวงห้ามผู้หนึ่งผู้ใดที่จะไปหาความสุขกับหญิงโสเภณี หรือไปธุระอื่นที่จะเข้าไปในห้องโถงซึ่งใช้เป็นที่รับแขกในสถานการค้าประเวณีหรือซ่องโสเภณีนั้นห้องโถงจึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้เป็นสาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน พนักงานตำรวจมีอำนาจค้นและจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93,78(3) จำเลยมีและใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้ขัดขวางมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140, 289(2),80,52(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831-833/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บอกเลิกสัญญาเช่าไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
บอกเลิกการเช่าตาม มาตรา 566 ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาในคดีเช่าทรัพย์สิน: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
คดีฟ้องเรียกค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์อันมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท และขอให้ขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาท จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 3 และต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์