คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยิ่งศักดิ์ กฤษณจินดา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การขัดแย้งกันเองและหลักการผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีเช็ค
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็ค จำเลยให้การรับว่าเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คฉบับพิพาท แต่จำเลยไม่ต้องรับผิดใช้เงิน เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุผลคือ (ก) โจทก์กับผู้มีชื่อ (ผู้ที่โจทก์อ้างว่าโอนเช็คพิพาทให้โจทก์) ร่วมกันเป็นผู้ขายสินค้าให้จำเลย แต่สินค้าเสื่อมคุณภาพจำเลยไม่ต้องชำระราคา และโดยที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระค่าสินค้ารายนี้ จำเลยจึงชอบที่จะสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายได้ (ข)หากคดีฟังไม่ได้ตามข้อ(ก) จำเลยก็ขอต่อสู้ว่า โจทก์กับผู้มีชื่อดังกล่าวได้คบคิดกันโอนเช็คพิพาทให้โจทก์ เพื่อให้มาฟ้องบังคับเอากับจำเลยอันเป็นการฉ้อฉลจำเลย ดังนี้ ตามคำให้การของจำเลยในข้อ (ก) นั้น แม้โจทก์จะมิใช่ผู้รับเช็คไว้จากจำเลย แต่การที่ผู้มีชื่อรับเช็คไว้ก็ถือว่ารับในฐานะร่วมหรือแทนโจทก์นั่นเอง เมื่อโจทก์อยู่ในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายร่วมกับผู้มีชื่อเช่นนี้แล้ว ย่อมไม่มีทางที่โจทก์จะเป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทในลักษณะฉ้อฉลจำเลยตามข้อ (ข) ได้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ขัดกันเองและไม่ชอบด้วยเหตุผลไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2 จึงไม่ชอบที่จะนำสืบตามคำให้การของจำเลยได้เพราะถ้าจะสืบพยานตามคำให้การของจำเลยทั้งสองอย่าง จำเลยก็จะต้องสืบขัดแย้งกันเอง ทำให้รับฟังเป็นความจริงไม่ได้อยู่ในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การขัดแย้งกันเองของจำเลยทำให้ศาลไม่รับฟัง และโจทก์มีสิทธิเรียกเงินตามเช็คในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็ค จำเลยให้การรับว่าเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คฉบับพิพาท แต่จำเลยไม่ต้องรับผิดใช้เงินเพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยเหตุผลคือ (ก) โจทก์กับผู้มีชื่อ (ผู้ที่โจทก์อ้างว่าโอนเช็คพิพาทให้โจทก์) ร่วมกันเป็นผู้ขายสินค้าให้จำเลย แต่สินค้าเสื่อมคุณภาพจำเลยไม่ต้องชำระราคา และโดยที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระค่าสินค้ารายนี้ จำเลยจึงชอบที่จะสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายได้ (ข) หากคดีฟังไม่ได้ตามข้อ (ก) จำเลยก็ขอต่อสู้ว่า โจทก์กับผู้มีชื่อดังกล่าวได้คบคิดกันโอนเช็คพิพาทให้โจทก์ เพื่อให้มาฟ้องบังคับเอากับจำเลยอันเป็นการฉ้อฉลจำเลย ดังนี้ ตามคำให้การของจำเลยในข้อ (ก) นั้น แม้โจทก์จะมิใช่ผู้รับเช็คไว้จากจำเลย แต่การที่ผู้มีชื่อรับเช็คไว้ก็ถือว่ารับในฐานะร่วมหรือแทนโจทก์นั่นเอง เมื่อโจทก์อยู่ในฐานะผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายร่วมกับผู้มีชื่อเช่นนี้แล้ว ย่อมไม่มีทางที่โจทก์จะเป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทในลักษณะฉ้อฉลจำเลยตามข้อ (ข) ได้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ขัดกันเองและไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2 จึงไม่ชอบที่จะนำสืบตามคำให้การของจำเลยได้ เพราะถ้าจะสืบพยานตามคำให้การของจำเลยทั้งสองอย่าง จำเลยก็จะต้องสืบขัดแย้งกันเอง ทำให้รับฟังเป็นความจริงไม่ได้อยู่ในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251-2253/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง, วัตถุประสงค์บริษัท, อำนาจฟ้อง, และสัญญาเช่า: ศาลฎีกายกคำอุทธรณ์เรื่องข้อเท็จจริงที่ไม่ชอบ
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่บริษัทโจทก์เช่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมาให้เช่าช่วงเป็นการกระทำผิดวัตถุประสงค์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นเรื่องที่มิได้กระทบกระเทือนสิทธิของประชาชน จึงมิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาที่จำเลยไม่สามารถยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นเนื่องจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่าหรืออาศัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา224 บัญญัติห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ระหว่างจำเลยทั้งสามสำนวนกับโจทก์ไม่มีสัญญาต่างตอบแทนต่อกัน เพราะไม่ปรากฏว่ามีผู้อื่นรู้เห็นการตกลงดังกล่าวเป็นกิจลักษณะหรือมีหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดไว้ เป็นการกล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอย แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาข้อนี้มาก็เป็นการวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม และเมื่อเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251-2253/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดอำนาจศาลฎีกา: กรณีข้อเท็จจริงต้องห้าม และการอ้างสัญญาต่างตอบแทนที่มิได้ยกขึ้นในชั้นต้น
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่บริษัทโจทก์เช่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมาให้เช่าช่วงเป็นการกระทำผิดวัตถุประสงค์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นเรื่องที่มิได้กระทบกระเทือนสิทธิ์ของประชาชน จึงมิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาที่จำเลยไม่สามารถยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นเนื่องจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่าหรืออาศัย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 บัญญัติห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ระหว่างจำเลยทั้งสามสำนวนกับโจทก์ไม่มีสัญญาต่างตอบแทนต่อกัน เพราะไม่ปรากฏว่ามีผู้อื่นรู้เห็นการตกลงดังกล่าวเป็นกิจลักษณะ หรือมีหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดไว้ เป็นการกล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอย แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาข้อนี้มาก็เป็นการวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม และเมื่อเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนกับการฟ้องขับไล่: การโอนสิทธิการเช่าทำให้โจทก์หมดอำนาจฟ้องหรือไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและอาคารที่ให้จำเลยอาศัยจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์โอนสิทธิการเช่าที่ดินและอาคารให้จำเลยแล้ว โดยโจทก์เรียกเงินสองหมื่นบาทเป็นค่าตอบแทนในการโอนสิทธิการเช่า จึงเกิดประเด็นข้อพิพาทขึ้นว่า โจทก์โอนสิทธิการเช่าที่ดินและอาคารให้จำเลยโดยได้เรียกเงินค่าโอนกัน 20,000 บาทจริงหรือไม่ ซึ่งตรงกับที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้ว่า จำเลยเข้าอยู่ในห้องพิพาทเป็นสัญญาต่างตอบแทนหรือไม่นั่นเอง หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ก็ต้องถือว่ามีสัญญาต่างตอบแทนกันจริง มิใช่โจทก์ให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยตามฟ้อง และเมื่อสัญญามีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาก็จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยด้วย จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081-2082/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด ค่าเสียหายเรียกได้ภายใน 10 ปี แม้โจทก์รับชำระหนี้หลังผิดนัด
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ 3 ครั้ง ตามสัญญา 3 ฉบับ รวม 21 คันโดยชำระเงินในวันทำสัญญาแต่ละฉบับจำนวนหนึ่ง ส่วนที่เหลือนั้นผ่อนชำระเป็นงวดค่าเช่าซื้อที่จำเลยส่งชำระให้แก่โจทก์นั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ระบุให้ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถคันใดโดยเฉพาะ จึงเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328 ซึ่งถ้าลูกหนี้ไม่ได้ระบุว่าชำระหนี้รายใด ก็ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดชำระเงินค่าเช่าซื้อโดยไม่ชำระตรงตามวันและเดือนที่กำหนดไว้มาแต่เริ่มแรกและในระยะหลังๆ ก็ผิดนัดกว่า 2 เดือน ถึง 7 เดือน ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อให้ถือว่าโจทก์มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อได้ทันที และจำเลยต้องส่งรถคืนโจทก์ แต่โจทก์ก็ยอมผ่อนผันไม่ติดตามเอารถคืน ยังคงรับเงินจากจำเลยแบ่งเฉลี่ยชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อทั้ง 3 ฉบับ ยิ่งกว่านั้นเมื่อโจทก์ออกใบรับเงินให้จำเลย จำเลยก็มิได้ทักท้วงหรือโต้แย้ง จึงต้องถือว่าการแบ่งเฉลี่ยหนี้ของโจทก์เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยแล้ว จำเลยจะมาระบุว่าชำระหนี้สินรายใด ให้หนี้สินรายนั้นได้เปลื้องไปอีกหาได้ไม่
จำเลยชำระหนี้ค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลา โจทก์ก็ยอมผ่อนผันให้จำเลยชำระไม่บังคับตามสัญญาทันที ทั้ง ๆที่สัญญาเช่าซื้อกำหนดไว้ว่า เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด หรือผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอันมีผลบังคับทันที บรรดาเงินที่ชำระแล้วให้โจทก์ริบทั้งสิ้น และจำเลยต้องส่งรถคืนแล้วจำเลยก็ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อเกิน 2 ครั้งแล้วแต่ยังคงครอบครองและใช้รถเหล่านั้นตลอดมา โจทก์จึงได้ติดตามยึดรถคืน แต่หลังจากจำเลยผิดสัญญาแล้ว โจทก์ยังยอมรับชำระเงินจากจำเลยทั้งๆ ที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว โดยโจทก์ไม่ใช้สิทธิกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อจึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับเงินจากจำเลยเป็นค่าเสียหายในการที่จำเลยใช้รถที่เช่าซื้อนั่นเอง ดังนี้ โจทก์จะเรียกค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดถึงวันที่จำเลยชำระเงินครั้งสุดท้ายซ้ำอีกไม่ได้คงเรียกค่าเสียหายได้ตั้งแต่วันชำระเงินครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่โจทก์กลับเข้าครอบครองรถที่เช่าซื้อนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยเช่าซื้อมิได้บัญญัติเรื่องอายุความสำหรับฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาและยังใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อนั้นอยู่ไว้โดยตรง ผู้ให้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เพราะมิใช่ค่าเสียหายฐานละเมิด ส่วนการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งทรัพย์คืนหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น ก็เป็นเรื่องที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์สินคืน ย่อมมีอายุความ 10 ปีเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธปืนและการพกพาอาวุธปืน
ใช้อาวุธปืนขู่ปล้นทรัพย์ในเมือง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340วรรคสองผู้พกปืนมีความผิดตาม มาตรา 371 ต่างกระทงกัน เฉพาะผู้ที่ใช้ปืนขู่รับโทษหนักขึ้นตามม.340 ตรี จาก มาตรา 340วรรคสองอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค: การออกเช็คล่วงหน้าและการปฏิเสธการจ่ายเงิน
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือ ต่อมาผู้ทรงคนหนึ่งได้สลักหลังเช็คฉบับนี้มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ เมื่อครบกำหนดวันที่ลงในเช็ค โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินว่า เงินในบัญชีไม่พอจ่าย ดังนี้ จำเลยผู้สั่งจ่ายจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี หรือเจตนาไม่ให้ใช้เงินได้
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือ ต่อมาผู้ทรงคนหนึ่งได้สลักหลังเช็คฉบับนี้มาชกำระหนี้ให้แก่โจทก์ เมื่อครบกำหนดวันที่ลงในเช็ค โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินว่า เงินในบัญชีไม่พอจ่าย ดังนี้ จำเลยผู้สั่งจ่ายจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953-1956/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ผู้ขับขี่ไม่ต้องรับผิดหากความเสียหายเกิดจากการกระทำของผู้อื่น
เมื่อสาเหตุที่รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับไปชนกับรถยนต์ของนาย ซ.โจทก์เป็นเหตุให้นาย ซ.นาย ส. นาย ค. และ นาย น. โจทก์ทั้งสี่สำนวนเสียหายนั้น เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของผู้ขับรถยนต์คันอื่น ไม่ใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้าง ก็ไม่ต้องรับผิด
of 37