พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การช่วยเหลือจำหน่ายทรัพย์ที่ได้มาจากการลักทรัพย์เข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร
จำเลยรู้แล้วว่ารถจักรยานยนต์ของเจ้าทรัพย์ถูกคนร้ายลักไปและจำเลยเป็นคนติดต่อเรียกค่าไถ่จากเจ้าทรัพย์จนได้มีการไถ่รถคันดังกล่าวคืนมา ทั้งนี้โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าทรัพย์ขอร้องให้จำเลยช่วย และจำเลยเป็นคนรับเงินค่าไถ่ไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการช่วยเหลือคนร้ายจำหน่ายทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2340/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ออกและการใส่ความ - ข้อความในหนังสือไล่ออกไม่ถึงขั้นใส่ความทำให้เสียชื่อเสียง
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทจำกัดซึ่งจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการ จำเลยมีหนังสือไล่โจทก์ออกจากการเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าเสียใจว่าการที่ท่านปฏิเสธเช่นนั้น ทำให้เราไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากไล่ท่านออกจากการเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ โดยให้มีผลทันที เราแน่ใจว่าท่านคงเข้าใจว่าเพราะธุรกิจของเรามีการแข่งขันกันอยู่มาก จึงเป็นการดีมากที่ท่านจะออกไปจากที่ทำการของบริษัทฯในวันนี้ ขอให้ท่านทิ้งทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัทไว้รวมทั้งลูกกุญแจสำหรับไขโต๊ะ ประตูหรือยานพาหนะใดๆ ที่ท่านมีอยู่ในความครอบครอง และกระดาษและเอกสารทั้งหลายเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของบริษัทฯ เราขอเตือนท่านว่า ข่าวสารใดที่เป็นหนังสือหรือสิ่งอื่นใดที่ท่านได้มาในขณะที่ท่านเป็นลูกจ้างของบริษัทฯอันเกี่ยวเนื่องกับกิจการและนโยบายของบริษัทฯ ความสัมพันธ์กับลูกค้า และกิจการงานของลูกค้าของบริษัทฯนั้น ย่อมเป็นความลับ"
หนังสือดังกล่าวเป็นการแสดงความจำนงของจำเลยซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทฯให้โจทก์ออกจากงานของบริษัทฯ ถึงแม้จะมีข้อความที่มิได้แสดงไมตรีต่อโจทก์ แต่ก็มิได้มีตอนใดแสดงว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์เป็นบุคคลที่น่ารังเกียจในวงสังคม เปิดเผยความลับของบริษัทฯและลูกค้า ข้อความในหนังสือดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการใส่ความ โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังไม่
หนังสือดังกล่าวเป็นการแสดงความจำนงของจำเลยซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทฯให้โจทก์ออกจากงานของบริษัทฯ ถึงแม้จะมีข้อความที่มิได้แสดงไมตรีต่อโจทก์ แต่ก็มิได้มีตอนใดแสดงว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์เป็นบุคคลที่น่ารังเกียจในวงสังคม เปิดเผยความลับของบริษัทฯและลูกค้า ข้อความในหนังสือดังกล่าวจึงหาใช่เป็นการใส่ความ โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นเจ้าของรวมในที่ดินย่อมทำให้เป็นเจ้าของรวมในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น แม้การยกให้สิ่งปลูกสร้างไม่ได้ทำเป็นหนังสือ
ซ. ปลูกสร้างบ้านพิพาทแล้วยกให้ผู้ร้องกับหลานอีกคนหนึ่ง ต่อมา ซ. ได้จดทะเบียนยกที่ดินที่บ้านพิพาทปลูกอยู่ให้ผู้ร้องกับหลานอีก ดังนี้ แม้การยกบ้านพิพาทให้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่ทำให้การให้ไร้ผล เพราะผู้ร้องได้เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน จึงเป็นเจ้าของรวมในบ้านพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบกับที่ดินนั้นด้วย
เมื่อจำเลยไม่มีส่วนเป็นเจ้าของในบ้านพิพาท โจทก์จึงนำยึดบ้านเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้
เมื่อจำเลยไม่มีส่วนเป็นเจ้าของในบ้านพิพาท โจทก์จึงนำยึดบ้านเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางภาษี การนับระยะเวลาฟ้องคดี และอำนาจฟ้อง
คนยามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้จากบุรุษไปรษณีย์ ณ สำนักงานใหญ่ที่บริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนไว้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2513 ดังนี้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้รับแจ้งความคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามความในประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) ในวันนั้นแล้ว พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์นำสืบซึ่งทำให้ที่ปรึกษากฎหมายของโจทก์ได้รับเอกสารดังกล่าวในวันที่ 1 กันยายน 2513นั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับเจ้าหน้าที่ของตนจะนำมาใช้ยันต่อจำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 30 กันยายน 2513 เกินกำหนด30 วัน คดีโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีหมิ่นประมาท: สถานที่ปรากฏข้อความหมิ่นประมาทเป็นที่เกิดเหตุ
ความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นต้องถือว่าเกิดขึ้นในตำบลที่ข้อความหมิ่นประมาทปรากฏขึ้นด้วย โจทก์บรรยายถึงที่เกิดเหตุในฟ้องคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสารหนังสือพิมพ์ว่า" ฯลฯ เหตุเกิดที่สำนักงานหนังสือพิมพ์ นน.ปช.แขวงวัดสระเกศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานครและตลอดทั่วราชอาณาจักรไทย เพราะหนังสือพิมพ์ นน.ปช. มีจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร ฯลฯ" เช่นนี้พอเข้าใจได้แล้วว่าหนังสือพิมพ์ที่มีข้อความหมิ่นประมาทนั้นปรากฏขึ้นในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วย จึงต้องถือว่าความผิดได้เกิดในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งย่อมรวมทั้งอำเภอที่อยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงเชียงใหม่ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลแขวงเชียงใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 และคำบรรยายฟ้องดังกล่าวเป็นการบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดพอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว ศาลแขวงเชียงใหม่จึงต้องดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิริบเงินมัดจำจากสัญญาจะซื้อขายหลังล้มละลาย: การสวมสิทธิเจ้าของเดิม & ผลกระทบจากคำสั่งไม่ยอมรับสิทธิ
จำเลยทำสัญญาจะซื้อที่ดินและวางเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยไม่สามารถชำระราคา เกรงจะถูกริบเงินมัดจำ จึงให้ผู้ร้องชำระราคาที่เหลือให้ผู้ร้องครอบครองและรับโอนมา โดยผู้ร้องกับจำเลยตกลงกันว่าผู้ร้องจะต้องขายที่ดินนี้ให้แก่จำเลยภายใน 1 ปี และให้ถือว่าเงินที่จำเลยวางมัดจำไว้เป็นเงินมัดจำที่จำเลยวางกับผู้ร้อง ดังนี้เป็นการแสดงเจตนาร่วมกันให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิของเจ้าของที่ดินนั่นเอง ปรับได้กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าผู้ร้องมิได้รับเงินมัดจำเป็นตัวเงินนั้น หาได้ลบล้างการแสดง เจตนาของคู่กรณีหรือทำให้ผลในกฎหมายของกรณีนี้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เงินนี้จึงเป็นเงินมัดจำ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้มีอยู่ต่อบุคคลใดตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯนั้น มีความหมายว่า ในฐานะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมา มิใช่หมายถึงว่าจะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นเช่นผู้ร้องจะพึงได้รับไป ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าว จึงมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องตามข้อสัญญาในการที่จะริบเงินมัดจำต้องสูยเสีบไปแต่ประการใด
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้มีอยู่ต่อบุคคลใดตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯนั้น มีความหมายว่า ในฐานะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมา มิใช่หมายถึงว่าจะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นเช่นผู้ร้องจะพึงได้รับไป ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าว จึงมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องตามข้อสัญญาในการที่จะริบเงินมัดจำต้องสูยเสีบไปแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันและการเลิกกันแล้วต่อกันเมื่อมีการชำระหนี้ตามสัญญา การโอนหุ้นถือเป็นการชำระหนี้
โจทก์จำเลยกับพวกอีก 4 คนได้เข้าหุ้นร่วมกันทำการค้าตั้งภัตตาคาร และตกลงกันว่าจะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดแต่แล้วกิจการไม่ดีต้องเรียกค่าหุ้นเพิ่มอีก 200,000 บาท ในการเรียกค่าหุ้นเพิ่มนี้โจทก์จำเลยกับพวกได้ทำสัญญากันไว้ว่า ผู้ถือหุ้นทุกคนตกลงให้บริษัทฯกู้เงินจากโจทก์200,000 บาท และให้ลงบัญชีให้โจทก์เป็นเจ้าหนี้บริษัทฯโดยไม่ต้องขอมติที่ประชุมบริษัทฯอีก จำเลยกับพวกอีก 4 คนยอมเป็นผู้ค้ำประกัน หากหนี้รายนี้ไม่มีวิธีอื่นหรือไม่สะดวกที่จะบังคับได้ ผู้ค้ำประกันยอมโอนขายหุ้นของแต่ละคนให้โจทก์ตามราคาในใบหุ้น ดังนี้ สัญญาที่ทำขึ้นนี้หาใช่สัญญาที่จำเลยกับพวกกู้เงินโจทก์ไม่ แต่เป็นสัญญาที่บริษัทฯเป็นผู้กู้ และจำเลยกับพวกเป็นผู้ค้ำประกันโดยกำหนดวิธีการแก้ไขให้โจทก์ได้เงินกู้คืนไว้ล่วงหน้าว่า ให้จำเลยกับพวกโอนขายหุ้นของตนให้โจทก์เท่านั้น เมื่อต่อมาไม่มีการตั้งบริษัทขึ้น และจำเลยกับพวกได้ขายหุ้นของตนที่มีอยู่ในภัตตาคารให้โจทก์ไปหมดทุกคนแล้ว ก็ย่อมเป็นอันเลิกแล้วต่อกัน ไม่มีหนี้ต่อกันอีก โจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญาดังกล่าวจากจำเลยตามส่วนเฉลี่ยที่จำเลยรับผิดชอบอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดเดิมหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด และผลกระทบต่อผู้ร่วมกระทำผิด
คดีก่อนผู้เสียหายฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ในข้อหาบุกรุกความผิดต่อเสรีภาพ และ ทำให้เสียทรัพย์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง ต่อมาพนักงานอัยการได้นำการกระทำอันเดียวกันกับคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีกในข้อหาบุกรุก แม้คดีก่อนศาลอุทธรณ์จะพิพากษายืนคดีถึงที่สุดหลังจากที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีนี้ก็ตามก็ถือได้ว่าสำหรับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธิของพนักงานอัยการที่นำคดีนี้มาฟ้องจึงระงับไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดนั้นๆ หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษจำเลยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2509)
แม้จำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนก็ตาม แต่ก็ย่อมได้รับผลตามคำพิพากษาด้วยเพราะคำพิพากษาในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้ว่าการกระทำของจำเลยกับพวกไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก ศาลจึงต้องยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดนั้นๆ หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษจำเลยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2509)
แม้จำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนก็ตาม แต่ก็ย่อมได้รับผลตามคำพิพากษาด้วยเพราะคำพิพากษาในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้ว่าการกระทำของจำเลยกับพวกไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก ศาลจึงต้องยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการกระทำละเมิดส่วนตัว หน่วยงานไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นบุรุษไปรษณีย์ ได้ขับรถยนต์ของกรมไปรษณีย์ฯจำเลยที่ 2 ไปเก็บไปรษณีย์ภัณฑ์ตามตู้ไปรษณีย์ตามหน้าที่ และจอดรถไว้ที่ขอบถนน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานควบคุมการจราจรบอกให้จำเลยที่ 1 ไปจอดรถบนไหล่ถนน เพราะการจราจรคับคั่งจำเลยที่ 1 ด่าโจทก์แล้วกลับไปขึ้นรถ โจทก์ตามไปยืนเอามือเท้าขอบประตูรถตรงที่นั่งคนขับและชะโงกศีรษะเข้าไปในรถแจ้งข้อหาว่าดูหมิ่นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 1 ขับรถออกไปโดยเร็วและผลักโจทก์ตกจากรถ ทำให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บ การที่จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมโดยขับรถเคลื่อนออกไปและผลักโจทก์ตกจากรถจนได้รับบาดเจ็บนี้เป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 1 และเป็นการทำร้ายร่างกายกันโดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และไม่ได้เป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ส่งสินค้ากรณีสุนัขตายระหว่างขนส่ง สิทธิไม่ตกเป็นของผู้รับตราส่ง
บริษัทโจทก์ทำสัญญาขายสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพอดรวม 20 ตัวให้กรมตำรวจ และได้ตกลงว่าจ้างบริษัทจำเลยขนส่งสุนัขดังกล่าวโดยเครื่องบินจากประเทศเยอรมันตะวันตกมายังท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อส่งให้แก่กรมตำรวจ เมื่อจำเลยขนส่งสุนัขมาถึงท่าอากาศยานดอนเมืองอันเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่งปรากฏว่าสุนัขตายไป 12 ตัว อีก 8 ตัวมีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากความผิดของบริษัทจำเลยที่มิได้จัดให้มีอากาศหายใจ เพียงพอสำหรับสุนัขเหล่านั้น กรรมการบริษัทโจทก์ที่ไปรับมอบจึงได้รับสุนัขที่ยังมีชีวิตจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยมาเพียง 8 ตัว ดังนี้ เมื่อปรากฏว่ากรมตำรวจผู้รับตราส่งยังมิได้เรียกให้ส่งมอบสุนัขตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 สิทธิทั้งหลายของบริษัทโจทก์ผู้ส่งสุนัขอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นจึงยังมิได้ตกไปได้แก่กรมตำรวจผู้รับตราส่ง โจทก์ในฐานะผู้ส่งจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้