คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยิ่งศักดิ์ กฤษณจินดา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ศาลอาญาพิจารณาคดีแล้ว ไม่อาจอ้างภายหลังว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจ
โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลอาญา ศาลอาญาไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งคืนฟ้องให้ไปยื่นต่อศาลที่ความผิดเกิดขึ้นและจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลอาญาให้รับคำฟ้องไว้เพื่อมีคำสั่งในเรื่องไต่สวนมูลฟ้องต่อไป ศาลอาญาจึงมีคำสั่งให้ประทับฟ้องหมายเรียกจำเลยมาศาล และจะสอบถามคำให้การตามวันนัดได้กำหนดให้โจทก์นำส่งหมายเรียก ถ้าส่งไม่ได้ให้ปิดหมาย และได้ดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสำนวน ดังนี้ ย่อมถือว่าศาลอาญาได้รับพิจารณาคดีนั้นแล้ว จะกลับมาอ้างภายหลังว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238-1239/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมสำนวนคดีและการรอการลงโทษ: โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีต่อสำนวน
ในกรณีที่ศาลรวมการพิจารณาพิพากษาคดีที่จำเลยคนเดียวกันถูกฟ้องตั้งแต่ 2 สำนวนขึ้นไป คำว่า "ในคดีนั้น" ในตอนต้นของมาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หมายถึงคดีแต่ละสำนวนเป็นรายคดี เมื่อกำหนดโทษจำคุกที่ศาลลงแก่จำเลยในแต่ละสำนวนตามที่ได้ลดโทษให้แล้วไม่เกิน 2 ปี และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้รอการลงโทษได้ถ้าเห็นเป็นการสมควร (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238-1239/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมสำนวนคดีและการรอการลงโทษตามมาตรา 56 ประมวลกฎหมายอาญา กรณีโทษแต่ละสำนวนไม่เกิน 2 ปี
ในกรณีที่ศาลรวมการพิจารณาพิพากษาคดีที่จำเลยคนเดียวกันถูกฟ้องตั้งแต่ 2 สำนวนขึ้นไป คำว่า "ในคดีนั้น" ในตอนต้นของมาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หมายถึงคดีแต่ละสำนวนเป็นรายคดี เมื่อกำหนดโทษจำคุกที่ศาลลงแก่จำเลยในแต่ละสำนวนตามที่ได้ลดโทษให้แล้วไม่เกิน 2 ปี และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้รอการลงโทษได้ถ้าเห็นเป็นการสมควร
( ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2518 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษผู้ร่วมกระทำความผิดปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน: จำเลยที่ใช้ปืนต้องโทษหนักกว่า
ข้อความของบทบัญญัติมาตรา 340 ตรีแห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเพิ่มเติมโดยข้อ 15 ของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 นั้นแสดงความมุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะตัวผู้ซึ่งต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษนี้เท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นเช่นนี้ทุกคนเสมอไปจำเลยที่ 1 ที่ 3 กับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ ขณะทำการปล้น จำเลยที่ 3 ได้ใช้อาวุธปืนยิงขู่ด้วย จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดตามมาตรา 340 ตรี ต้องระวางโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 340 วรรคสี่อีกกึ่งหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 1 นั้นไม่ปรากฏว่าเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนด้วยจึงมีความผิดตามมาตรา 340วรรคสี่เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษผู้ร่วมกระทำความผิดปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน: แยกพิจารณาโทษตามบทบัญญัติที่แตกต่างกัน
ข้อความของบทบัญญัติมาตรา 340 ตรี แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเพิ่มเติมโดยข้อ 15 ของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 นั้น แสดงความมุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะตัวผู้ซึ่งต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษนี้เท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นเช่นนี้ทุกคนเสมอไป จำเลยที่ 1 ที่ 3 กับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ ขณะทำการปล้น จำเลยที่ 3 ได้ใช้อาวุธปืนยิงขู่ด้วย จำเลยที่ 3 จึงมีความผิดตามมาตรา 340 ตรี ต้องระวางโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 340 วรรคสี่อีกกึ่งหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 1 นั้นไม่ปรากฏว่าเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนด้วย จึงมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสี่เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดราคาทรัพย์สินในคดีขัดทรัพย์: ศาลใช้ดุลพินิจจากสำนวน
ผู้ร้องขัดทรัพย์ตีราคาทรัพย์ 80,000 บาท และเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์นั้นศาลชั้นต้นกำหนดราคา 230,000 บาท ได้ตามมาตรา 190(2) เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดอยู่ในสำนวนก็ไม่ต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี - ศาลบังคับคดีต่อได้แม้เกิน 10 ปี
โจทก์ขอบังคับคดีนำยึดทรัพย์แล้วแต่ยังไม่ได้ขายจนพ้น 10 ปีนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาศาลบังคับต่อไปได้มิใช่ต้องบังคับคดีให้เสร็จภายใน 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องตามเช็คและการฟ้องบังคับชำระหนี้: การใช้สิทธิโดยชอบธรรมและการเลือกทางฟ้อง
การที่โจทก์นำเช็คพิพาทซึ่งจำเลยสั่งจ่ายไปฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาแล้วมาฟ้องเรียกเงินทางแพ่งจากจำเลยอีกนั้น หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
จำเลยซื้อเชื่อสินค้าไปจากโจทก์และได้ลงนามรับสินค้าไว้ในใบสั่งของทุกครั้งเมื่อคิดบัญชีกันปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง จำเลยจึงออกเช็คตามจำนวนนั้นชำระหนี้ให้โจทก์ ดังนี้เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ย่อมฟ้องบังคับจำเลยได้สองทาง คือฟ้องเรียกเงินตามเช็คก็ได้ หรือจะฟ้องเรียกค่าซื้อสินค้าตามใบสั่งของก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องเรียกเงินชำระหนี้จากเช็คและการเลือกใช้สิทธิทางแพ่ง
การที่โจทก์นำเช็คพิพาทซึ่งจำเลยสั่งจ่ายไปฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาแล้วมาฟ้องเรียกเงินทางแพ่งจากจำเลยอีกนั้น หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
จำเลยซื้อเชื่อสินค้าไปจากโจทก์และได้ลงนามรับสินค้าไว้ในใบสั่งของทุกครั้ง เมื่อคิดบัญชีกันปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง จำเลยจึงออกเช็คตามจำนวนนั้นชำระหนี้ให้โจทก์ดังนี้เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ย่อมฟ้องบังคับจำเลยได้สองทาง คือฟ้องเรียกเงินตามเช็คก็ได้หรือจะฟ้องเรียกเงินค่าซื้อสินค้าตามใบสั่งของก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1018/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีโดยทนายโจทก์ที่เพิ่งแต่งตั้ง: ศาลฎีกาพิจารณาเหตุผลสมควรและไม่เป็นการประวิงคดี
ทนายโจทก์คนแรกได้ขอถอนตัวจากการเป็นทนายให้โจทก์ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2516 ต่อมาวันที่ 3 ธันวาคม 2516 โจทก์แต่งตั้งให้ ส.เป็นทนายคนใหม่ และในวันเดียวกันนั้น ส. ก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดว่าความที่ศาลจังหวัดนครปฐมซึ่งนัดไว้ก่อน ดังนี้การขอเลื่อนคดีของ ส.ทนายโจทก์เป็นการขอเลื่อนครั้งแรก และได้ยื่นคำร้องก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่า "หากทนายไม่ว่าง ให้รีบแถลงศาล" เหตุที่ขอเลื่อนก็เป็นเหตุสมควร ไม่ใช่เป็นการประวิงคดี ทั้งทนายจำเลยก็มิได้คัดค้านคำร้องขอเลื่อนคดีของโจทก์ จึงสมควรให้เลื่อนคดีไปได้
of 37