พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อหุ้นส่วนสามัญถึงแก่กรรม
ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญคนหนึ่งตาย ห้างเลิกกันโดยผลของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทผู้ลงนามเช็คต้องรับผิดในฐานะผู้สั่งจ่าย แม้ทำหน้าที่ในฐานะตัวแทน
ผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดตามเช็ค จะอ้างว่าทำในฐานะตัวแทนของบริษัทจำกัดที่ตนเป็นกรรมการ จึงไม่รับผิดเป็นส่วนตัวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง และการชำระหนี้โดยการส่งมอบทรัพย์
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกง ศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยซื้อหยกไปจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบให้จำเลยแล้วจำเลยยังไม่ชำระราคา เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่ผิดฐานฉ้อโกง พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด โจทก์มาฟ้องทางแพ่งให้จำเลยชำระราคาหยก ในคดีอาญาดังกล่าวศาลได้ยกประเด็นว่าจำเลยซื้อหยกไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยก่อน เมื่อฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยซื้อหยกไปจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคา จึงวินิจฉัยต่อไปว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่ ประเด็นว่าจำเลยซื้อหยกไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยในคดีอาญา ฉะนั้นในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาว่าจำเลยได้ซื้อหยกไปจริงและยังไม่ได้ชำระราคาให้โจทก์ตามฟ้อง
แม้ว่าการซื้อขายหยกจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่โจทก์มอบหยกให้จำเลยรับไปแล้ว ถือได้ว่ามีการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 แล้วจึงไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกราคาหยกจากจำเลยได้
แม้ว่าการซื้อขายหยกจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่โจทก์มอบหยกให้จำเลยรับไปแล้ว ถือได้ว่ามีการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 แล้วจึงไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกราคาหยกจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภารจำยอมที่ไม่ต้องติดกัน
ทางภารจำยอมอาจมีในที่ดินซึ่งไม่ต้องมีเขตแดนติดต่อกันก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ: ผู้ออกจากซอยต้องระวังเป็นพิเศษ, ความเร็วเกินกำหนดเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
รถของโจทก์ออกจากซอยสู่ถนนใหญ่ต้องใช้ความระวังมากกว่ารถของจำเลยที่ขับมาตามทางตรงหรือทางเอก แต่เมื่อจำเลยขับรถมาเกินกำหนด 60 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง มิฉะนั้นก็อาจหยุดหรือเกิดความเสียหายน้อยลง การที่รถทั้งสองชนกันศาลให้รับผิดฝ่ายละกึ่ง จำเลยต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463-1464/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย - คุณลักษณะสินค้า - การส่งมอบตามสัญญาและตัวอย่าง
กองทัพเรือซื้อแผ่นกั้นแบตเตอรี่จากจำเลยระบุในสัญญาว่าความหนาของพื้นเรียบ 0.9 ม.ม. จำเลยส่งตัวอย่างไว้ด้วยตัวอย่างที่ส่งไว้พื้นเรียบหนาไม่ถึง 0.9 ม.ม. ดังนี้ จำเลยต้องส่งมอบของตรงทั้งตามรายละเอียดและตัวอย่างคือต้องหนา 0.9 ม.ม. ด้วย ค่าเสียหายคือราคาที่ผู้ซื้อต้องซื้อแพงขึ้นเต็มตามจำนวนในสัญญาตามที่ต้องการซื้อ แม้ผู้ซื้อยังซื้อของใหม่ไม่เต็มตามจำนวนในสัญญาก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าปากเปล่า: สิทธิเรียกร้องค่าเช่า vs. ค่าเสียหาย
เช่าโรงภาพยนต์ไม่มีหนังสือเป็นหลักฐาน ผู้ให้เช่าฟ้องเรียกค่าเช่าไม่ได้ แต่เรียกค่าของที่ผู้เช่าทำสูญหายไปได้ รวมทั้งค่าไฟฟ้าค่าเช่าโทรศัพท์ที่ผู้ให้เช่าได้ออกแทนไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดเข้าเป็นคู่ความเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และผลกระทบต่อสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยร่วมที่ 7 ร้องสอดอ้างว่าที่พิพาทตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย โจทก์ไม่ใช่เจ้าของ และจำเลยไม่มีอำนาจนำที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยพลการ สัญญาไม่มีผลบังคับจำเลย ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องได้มีอยู่ จึงร้องสอดเข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ดังนี้ แม้คำร้องจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วม และเมื่อศาลสอบถามผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดก็แถลงยืนยันขอเป็นจำเลยร่วมก็ดีแต่เนื้อความแห่งคำร้อง การระบุมาตรา แสดงเหตุแห่งการขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามจึงเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1)
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) โดยเป็นจำเลยร่วมที่ 7 แล้วพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งเจ็ดคนแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และใช้ค่าเสียหาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามคำร้องสอดของจำเลยร่วมที่ 7 เป็นการร้องสอดตามมาตรา 57 (1) และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยคนละประเด็นกับที่จำเลยเดิมต่อสู้ไว้ จึงเป็นเหตุสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ แต่ควรให้ดำเนินการพิจารณาใหม่ระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีใหม่บางส่วน ส่วนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อผลแห่งคดีของจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งมีผลไปถึงเจ้าของรวมคนอื่นคือจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ด้วย จึงต้องให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 เสียด้วย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) โดยเป็นจำเลยร่วมที่ 7 แล้วพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งเจ็ดคนแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และใช้ค่าเสียหาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามคำร้องสอดของจำเลยร่วมที่ 7 เป็นการร้องสอดตามมาตรา 57 (1) และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยคนละประเด็นกับที่จำเลยเดิมต่อสู้ไว้ จึงเป็นเหตุสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ แต่ควรให้ดำเนินการพิจารณาใหม่ระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีใหม่บางส่วน ส่วนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อผลแห่งคดีของจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งมีผลไปถึงเจ้าของรวมคนอื่นคือจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ด้วย จึงต้องให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 เสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดตามมาตรา 57(1) เพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และผลกระทบต่อสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยร่วมที่ 7 ร้องสอดอ้างว่าที่พิพาทตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย โจทก์ไม่ใช่เจ้าของ และจำเลยไม่มีอำนาจนำที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยพลการ สัญญาไม่มีผลบังคับจำเลย ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องได้มีอยู่จึงร้องสอดเข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ดังนี้ แม้คำร้องจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วม และเมื่อศาลสอบถามผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดก็แถลงยืนยันขอเป็นจำเลยร่วมก็ดีแต่เนื้อความแห่งคำร้อง การระบุมาตรา แสดงเหตุแห่งการขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามจึงเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) โดยเป็นจำเลยร่วมที่ 7แล้วพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งเจ็ดคนแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และใช้ค่าเสียหาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามคำร้องสอดของจำเลยร่วมที่ 7 เป็นการร้องสอดตามมาตรา 57(1) และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยคนละประเด็นกับที่จำเลยเดิมต่อสู้ไว้ จึงเป็นเหตุสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่แต่ควรให้ดำเนินการพิจารณาใหม่ระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีใหม่บางส่วน ส่วนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อผลแห่งคดีของจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งมีผลไปถึงเจ้าของรวมคนอื่นคือจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ด้วยจึงต้องให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 เสียด้วย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) โดยเป็นจำเลยร่วมที่ 7แล้วพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยและจำเลยร่วมทั้งเจ็ดคนแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และใช้ค่าเสียหาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าตามคำร้องสอดของจำเลยร่วมที่ 7 เป็นการร้องสอดตามมาตรา 57(1) และมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยคนละประเด็นกับที่จำเลยเดิมต่อสู้ไว้ จึงเป็นเหตุสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่แต่ควรให้ดำเนินการพิจารณาใหม่ระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีใหม่บางส่วน ส่วนคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อผลแห่งคดีของจำเลยและผู้ร้องสอดเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งมีผลไปถึงเจ้าของรวมคนอื่นคือจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 ด้วยจึงต้องให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 6 เสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวม-สิทธิครอบครอง: การขายทรัพย์สินส่วนรวมต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมอื่น
ที่ดินมือเปล่า 22 ไร่ พ. ยกให้โจทก์และ น.สามีเป็นของรับไหว้ในวันแต่งงาน จึงเป็นสินสมรส น. และโจทก์เป็นบิดามารดาจำเลย เมื่อ น.ตายโจทก์มีส่วนแบ่งในฐานะภริยาและทายาท จำเลยมีส่วนแบ่งในฐานะทายาท แต่ยังไม่ได้แบ่งกัน จำเลยกับบุตรคนอื่น ๆ ของ น. และโจทก์เข้าทำนาและมีบ้านเรือนถาวรอยู่ในที่ดินแปลงนี้ บุตรคนหนึ่งช่วยโจทก์ทำนาและโจทก์ไป ๆ มา ๆ ที่บ้านบุตรโจทก์ในที่ดินถือว่าโจทก์จำเลยและทายาทอื่น ๆ ใช้สิทธิครอบครองร่วมกันและแทนกันมีฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน ซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งจะจำหน่ายทรัพย์สินโดยเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง ฉะนั้นเมื่อโจทก์ไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอขายที่ดินบางส่วนของที่พิพาท กับขอให้ออก น.ส.3 ให้ด้วย จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางและยื่นคำร้องคัดค้านได้ โจทก์จะมาฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องหาได้ไม่