พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422-1423/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัย-การซื้อขายที่ดิน: ผลของการไม่จดทะเบียนสิทธิอาศัย และการเพิกถอนการซื้อขาย
ที่พิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3. เดิมเมื่อ พ.ศ. 2511 บ. เคยฟ้อง ม. แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดย บ. ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นของ ม. และ ม. ยินยอมให้ บ. อาศัยในเรือนของ บ. ที่ปลูกในที่พิพาท และให้ใช้คอกกระบือเดิมในที่พิพาทที่เคยใช้มาแล้วต่อไป ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแต่ บ. ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิอาศัยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมา พ.ศ. 2516 ม. ขายที่พิพาทให้ ช. โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนแล้วมีคดีพิพาทกันต่อมา 2 คดี คือ คดีแรก ช. เป็นโจทก์ฟ้อง บ. เป็นจำเลยว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก ม. เมื่อ พ.ศ. 2516 จำเลยได้มาปลูกคอกกระบือในที่พิพาทของโจทก์ ขอให้ขับไล่ คดีหลัง บ. เป็นโจทก์ฟ้อง ม. และ ช. ว่า ม. จดทะเบียนขายที่พิพาทให้ ช. โดยไม่มีค่าตอบแทนและไม่สุจริต ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนและให้ ม. จดทะเบียนสิทธิอาศัยให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความคดีทั้งสองขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแยกกัน ศาลฎีกามีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกันตามที่คู่ความขอ
ดังนี้ สำหรับคดีแรก การที่จำเลยให้การว่าคอกกระบือนั้นเป็นคอกกระบือเดิมที่ ม. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยใช้ต่อไปเท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าจำเลยมิได้เข้าปลูกคอกกระบือในที่ดินของโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2517 เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียแล้ววินิจฉัยว่า สิทธิของจำเลยได้มาตามสัญญาประนีประนอมยอมความยังมิได้จดทะเบียนไม่บริบูรณ์พิพากษาให้จำเลยรื้อคอกกระบือออกไป เป็นการงดสืบพยานไม่ชอบ แต่เมื่อคดีหลังได้มีการสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นกระแสความแล้วศาลฎีกาชอบที่จะ ไม่ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองแล้วให้สืบพยานต่อไป แต่ย่อมนำ พยานหลักฐานในคดีหลังมาวินิจฉัยได้ และเมื่อวินิจฉัยแล้วฟังไม่ได้ว่า จำเลยได้เข้าปลูกคอกกระบือในที่ดินของโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2517 ศาลย่อม พิพากษายกฟ้องโจทก์คดีแรกเสีย
สำหรับคดีหลัง เมื่อที่พิพาทยังเป็นของ ม. อยู่ ม. จึงมีสิทธิขายให้ ช. ได้ บ. โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง ทั้งเมื่อ ม. ขายที่พิพาท และมอบการครอบครองให้ ช. ไปแล้วโจทก์ย่อมฟ้องขอให้บังคับ ม. ไปจดทะเบียนสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมอีกมิได้ เพราะที่พิพาทไม่ได้เป็นของ ม. แล้วศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง คดีหลังด้วย
ดังนี้ สำหรับคดีแรก การที่จำเลยให้การว่าคอกกระบือนั้นเป็นคอกกระบือเดิมที่ ม. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยใช้ต่อไปเท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าจำเลยมิได้เข้าปลูกคอกกระบือในที่ดินของโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2517 เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียแล้ววินิจฉัยว่า สิทธิของจำเลยได้มาตามสัญญาประนีประนอมยอมความยังมิได้จดทะเบียนไม่บริบูรณ์พิพากษาให้จำเลยรื้อคอกกระบือออกไป เป็นการงดสืบพยานไม่ชอบ แต่เมื่อคดีหลังได้มีการสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นกระแสความแล้วศาลฎีกาชอบที่จะ ไม่ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองแล้วให้สืบพยานต่อไป แต่ย่อมนำ พยานหลักฐานในคดีหลังมาวินิจฉัยได้ และเมื่อวินิจฉัยแล้วฟังไม่ได้ว่า จำเลยได้เข้าปลูกคอกกระบือในที่ดินของโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2517 ศาลย่อม พิพากษายกฟ้องโจทก์คดีแรกเสีย
สำหรับคดีหลัง เมื่อที่พิพาทยังเป็นของ ม. อยู่ ม. จึงมีสิทธิขายให้ ช. ได้ บ. โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง ทั้งเมื่อ ม. ขายที่พิพาท และมอบการครอบครองให้ ช. ไปแล้วโจทก์ย่อมฟ้องขอให้บังคับ ม. ไปจดทะเบียนสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมอีกมิได้ เพราะที่พิพาทไม่ได้เป็นของ ม. แล้วศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง คดีหลังด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม & การขอเพิ่มโทษในชั้นฎีกา: ต้องอุทธรณ์ก่อนจึงฎีกาได้
โจทก์ร่วมจะขอเพิ่มเติมฟ้องของพนักงานอัยการที่มีอยู่เดิมโดยขอเพิ่มเติมบทลงโทษให้หนักขึ้นหาได้ไม่
โจทก์ร่วมจะฎีกา ขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้นอีก โดยที่โจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไว้ในชั้นอุทธรณ์หาได้ไม่ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
โจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอเพิ่มเติมฟ้อง (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289) และขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ขอเพิ่มเติมฟ้องนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาต ให้โจทก์ร่วมเพิ่มเติมฟ้องแล้ว ก็เท่ากับว่าไม่มีคำขอของโจทก์ให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าว ฉะนั้น ศาลอุทธรณ์จะอาศัยเหตุที่โจทก์ร่วมขอเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวนั้น โดยถือว่าโจทก์ร่วมได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แล้วพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยหาได้ไม่ เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 แม้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ร่วมจะฎีกา ขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้นอีก โดยที่โจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไว้ในชั้นอุทธรณ์หาได้ไม่ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
โจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอเพิ่มเติมฟ้อง (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289) และขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ขอเพิ่มเติมฟ้องนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาต ให้โจทก์ร่วมเพิ่มเติมฟ้องแล้ว ก็เท่ากับว่าไม่มีคำขอของโจทก์ให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าว ฉะนั้น ศาลอุทธรณ์จะอาศัยเหตุที่โจทก์ร่วมขอเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวนั้น โดยถือว่าโจทก์ร่วมได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แล้วพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยหาได้ไม่ เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 แม้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม, การเพิ่มเติมฟ้อง, และการขอลงโทษหนักขึ้นในชั้นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ร่วมจะขอเพิ่มเติมฟ้องของพนักงานอัยการที่มีอยู่เดิม โดยขอเพิ่มเติมบทลงโทษให้หนัดขึ้นหาได้ไม่
โจทก์ร่วมจะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้นอีก โดยที่โจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไว้ในชั้นอุทธรณ์หาได้ไม่ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
โจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอเพิ่มเติมฟ้อง (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289) และขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ขอเพิ่มเติมฟ้องนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมเพิ่มเติมฟ้องแล้ว ก็เท่ากับว่าไม่มีคำขอของโจทก์ให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าว ฉะนั้นศาลอุทธรณ์จะอาศัยเหตุที่โจทก์ร่วมขอเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวนั้น โดยถือว่าโจทก์ร่วมได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แล้วพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยหาได้ไม่ เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 แม้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ร่วมจะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้นอีก โดยที่โจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไว้ในชั้นอุทธรณ์หาได้ไม่ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
โจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอเพิ่มเติมฟ้อง (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289) และขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ขอเพิ่มเติมฟ้องนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมเพิ่มเติมฟ้องแล้ว ก็เท่ากับว่าไม่มีคำขอของโจทก์ให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าว ฉะนั้นศาลอุทธรณ์จะอาศัยเหตุที่โจทก์ร่วมขอเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวนั้น โดยถือว่าโจทก์ร่วมได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น แล้วพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยหาได้ไม่ เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 แม้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ และการไม่เป็นฟ้องซ้ำในความผิดเครื่องหมายการค้า
คดีเดิมเป็นเรื่องเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศและเหตุเกิดระหว่าง พ.ศ.2513 คดีนี้เป็นเรื่องเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในต่างประเทศ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ต้นฉบับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสมุดทะเบียนส่วนกลางของต่างประเทศเจ้าหน้าที่ของประเทศนั้นรับรองสำเนา สถานทูตไทยส่งสำเนานั้นมา ฟังสำเนานั้นเป็นพยานหลักฐานได้
ต้นฉบับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสมุดทะเบียนส่วนกลางของต่างประเทศเจ้าหน้าที่ของประเทศนั้นรับรองสำเนา สถานทูตไทยส่งสำเนานั้นมา ฟังสำเนานั้นเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรบุญธรรมมีสิทธิมรดกก่อนพี่น้องร่วมบิดามารดา สัญญาแบ่งมรดกก่อนเจ้ามรดกเสียชีวิตเป็นโมฆะ
เจ้ามรดกได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมจำเลยที่ 2 จึงมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586,1627 เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมโดยมิได้ทำพินัยกรรมมรดกจึงตกได้แก่จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว โจทก์ที่1 ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับเจ้ามรดกหามีสิทธิได้รับมรดกไม่
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกกัน แม้สัญญาดังกล่าวจะกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นในภายหน้าเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ก็เป็นสัญญาที่ให้จำเลยที่2 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแต่ผู้เดียวจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในการรับมรดกในทรัพย์มรดกบางส่วนให้แก่โจทก์เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619ไม่มีผลใช้บังคับ
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกกัน แม้สัญญาดังกล่าวจะกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นในภายหน้าเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ก็เป็นสัญญาที่ให้จำเลยที่2 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแต่ผู้เดียวจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในการรับมรดกในทรัพย์มรดกบางส่วนให้แก่โจทก์เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619ไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์ที่ยืมใช้ - ยืมโคแล้วไม่คืน ไม่ถือเป็นการละเมิด
ยืมโคไปใช้ อายุความเรียกโคคืนหรือใช้ราคามีกำหนด 10 ปี ตาม มาตรา164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าอุปการะและค่าปลงศพกรณีบุตรนอกสมรส & การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของมารดาผู้ตาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีหน้าที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตายไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นนั้น เฉพาะแต่บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 เท่านั้นที่มีหน้าที่จัดการศพ โจทก์ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย เพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่477/2514)
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่มารดาผู้ตายร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ถึงแม้จะบรรยายมาในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีความประสงค์ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยถือเอาคำฟ้องและหลักฐานต่าง ๆ ของโจทก์เป็นของผู้ร้องก็ตาม เมื่อฟังว่าผู้ร้องเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดทำให้บุตรของตนตายได้โดยตรงอยู่แล้ว ดังนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงแปลได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) นั่นเองโดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องหาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาตามมาตรา 57(2) ไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ร้องก็เข้ามาในคดีได้ (ข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2521)
จำเลยถือสิทธิครอบครองใช้แพที่เกิดเหตุซึ่งเดิมใช้สำหรับผู้โดยสารเรือเล็กที่รับส่งข้ามฟาก หรือไปมาในระยะใกล้เป็นครั้งคราวมาใช้สำหรับรับส่งคนโดยสาร-เรือด่วนของจำเลยเป็นประจำ วันเกิดเหตุผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น แพโป๊ะทานน้ำหนักไม่ได้เกิดแตกล่มจำเลยมีส่วนจะต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่มิได้ระมัดระวังป้องกัน ตรวจสภาพปรับปรุงซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้แข็งแรงคงทนเหมาะสมกับกิจการของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
การที่บุตรตายลง ย่อมทำให้ผู้เป็นมารดาต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมาย ทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงว่าผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูมารดาหรือไม่
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่น จะต้องพิจารณาตามสมควรตามความจำเป็นและตามฐานะของผู้ตาย และบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วยและต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นนั้น เฉพาะแต่บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 เท่านั้นที่มีหน้าที่จัดการศพ โจทก์ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย เพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่477/2514)
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่มารดาผู้ตายร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ถึงแม้จะบรรยายมาในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีความประสงค์ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยถือเอาคำฟ้องและหลักฐานต่าง ๆ ของโจทก์เป็นของผู้ร้องก็ตาม เมื่อฟังว่าผู้ร้องเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดทำให้บุตรของตนตายได้โดยตรงอยู่แล้ว ดังนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงแปลได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) นั่นเองโดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องหาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาตามมาตรา 57(2) ไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ร้องก็เข้ามาในคดีได้ (ข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2521)
จำเลยถือสิทธิครอบครองใช้แพที่เกิดเหตุซึ่งเดิมใช้สำหรับผู้โดยสารเรือเล็กที่รับส่งข้ามฟาก หรือไปมาในระยะใกล้เป็นครั้งคราวมาใช้สำหรับรับส่งคนโดยสาร-เรือด่วนของจำเลยเป็นประจำ วันเกิดเหตุผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น แพโป๊ะทานน้ำหนักไม่ได้เกิดแตกล่มจำเลยมีส่วนจะต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่มิได้ระมัดระวังป้องกัน ตรวจสภาพปรับปรุงซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้แข็งแรงคงทนเหมาะสมกับกิจการของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
การที่บุตรตายลง ย่อมทำให้ผู้เป็นมารดาต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมาย ทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงว่าผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูมารดาหรือไม่
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่น จะต้องพิจารณาตามสมควรตามความจำเป็นและตามฐานะของผู้ตาย และบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วยและต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประเมินความเสียหายต่อร่างกาย, รถยนต์ และค่าทนทุกข์ทรมาน
โจทก์ถูกรถจำเลยชน รอยแผลเป็นซึ่งไม่ทำให้โจทก์เสียบุคลิกและโจทก์ต้องทนทุกข์ทรมาน เป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกัน โจทก์เรียกได้ตาม มาตรา 446 รถยนต์ราคา 70,000 บาท ถูกชนแล้วขายซากรถไป 10,000 บาท เรียกค่าเสียหายที่ขาดเงินไป 60,000 บาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อละเมิดของบุตรผู้เยาว์ที่หลบหนีออกจากบ้านและขับรถประมาท
เด็กหนีจากบ้านไปตั้งแต่อายุ 12 ปี แม้ถูกล่ามโซ่ไว้ก็ยังหนีจนอายุ 18 ปี ไปรับจ้างขับรถยนต์บิดามารดาใช้ความระวังดูแลอย่างดีแล้ว นอกเหนืออำนาจของบิดามารดาจะระวังได้ บิดามารดาไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่บุตรขับรถชนผู้อื่นโดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จ/ฟ้องเท็จต่อศาล: ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172, 175
โจทก์ถูกควบคุมตัวในข้อหาจ้างผู้อื่นฆ่าสามีจำเลย โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยชั่วคราว การที่จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลโดยอ้างเหตุว่าไม่ควรให้ปล่อยชั่วคราวนั้น ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 เพราะศาลไม่ใช่เจ้าพนักงานตามความในกฎหมายมาตราดังกล่าวและไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 เพราะจำเลยมิได้ฟ้องหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาประการใด