พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกที่ดินร่วมกัน โดยมีการครอบครองแทนกัน และการพิสูจน์การแบ่งมรดก
โจทก์ฟ้องว่าเดิมโจทก์จำเลยได้ครอบครองที่นามรดกร่วมกัน 2 แปลง เรียกว่านา ต. กับนา ห. ต่อมาจึงแยกกันทำนา โดยโจทก์ทำนา ต. จำเลยทำนา ห. แต่จำเลยไปขอ น.ส.3 เป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว โจทก์ขอให้แบ่งกันคนละแปลงจำเลยไม่ยอม ขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่นามรดกกับโจทก์คนละแปลง โดยให้โจทก์ได้นา ต. ซึ่งโจทก์ครอบครองอยู่ จำเลยให้การว่าได้แบ่งมรดกกันแล้วโดย นา ต. กับ นา ห. ให้แก่จำเลย ได้ความว่านาทั้งสองแปลงนี้เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์จำเลยได้รับมา โจทก์จำเลยแยกกันทำนาคนละแปลง แต่ต่างฝ่ายต่างครอบครองแทนอีกฝ่ายหนึ่งตลอดมา โจทก์จำเลยต่างยังเป็นเจ้าของนาทั้งสองแปลงร่วมกัน นาต. ก็เป็นทรัพย์มรดกที่จำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย จะแบ่งให้แต่โจทก์ฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงพิพากษาว่านาทั้งสองแปลงเป็นทรัพย์มรดกได้แก่โจทก์จำเลย ให้แบ่งนา 2 แปลงนี้ให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินวัดและภารจำยอม: วัดมิอาจเสียสิทธิในที่ดินโดยอายุความ แม้เป็นวัดร้าง
คดีก่อนโจทก์รับมรดกความจากมารดาซึ่งได้ฟ้องผู้เช่าที่ดินวัดร้างเป็นจำเลยมิได้ฟ้องกรมการศาสนาจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าด้วย ศาลพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์ว่าเดินเข้าออกที่สะพานปลาไม่จำเป็นต้องรับอนุญาตจากใคร ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ว่าโจทก์ใช้เป็นทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะและท่าปลามาเป็นเวลา 60 ปีเศษได้ภารจำยอม บัดนี้จำเลยล้อมรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กปิดกั้นทางผ่านของโจทก์ จึงเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องว่าได้ภารจำยอม โดยทางอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34 ครอบคลุมถึงอายุความได้ภารจำยอมด้วย ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับวัดในเรื่องที่ดินของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ไม่ได้
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวัดร้างวัดร้างก็หาได้เสียสภาพจากการเป็นวัดไปไม่ (อ้างฎีกาที่ 44/2464 และฎีกาที่ 966/2474)
จำเลยจะปลูกสร้างอาคารและรั้วผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตามเมื่อไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของทางฝ่ายพนักงานปกครองและเทศบาลที่จะจัดการกับจำเลย หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34 ครอบคลุมถึงอายุความได้ภารจำยอมด้วย ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับวัดในเรื่องที่ดินของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ไม่ได้
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวัดร้างวัดร้างก็หาได้เสียสภาพจากการเป็นวัดไปไม่ (อ้างฎีกาที่ 44/2464 และฎีกาที่ 966/2474)
จำเลยจะปลูกสร้างอาคารและรั้วผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตามเมื่อไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของทางฝ่ายพนักงานปกครองและเทศบาลที่จะจัดการกับจำเลย หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินวัดและที่ธรณีสงฆ์ห้ามยกอายุความขึ้นต่อสู้ และการได้ภารจำยอมโดยอายุความใช้ไม่ได้กับที่ดินวัด
คดีก่อนโจทก์รับมรดกความจากมารดาซึ่งได้ฟ้องผู้เช่าที่ดินวัดร้างเป็นจำเลยมิได้ฟ้องกรมการศาสนาจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าด้วย ศาลพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์ว่าเดินเข้าออกที่สะพานปลาไม่จำเป็นต้องรับอนุญาตจากใครดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ว่าโจทก์ใช้เป็นทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะและท่าปลามาเป็นเวลา 20 ปีเศษ ได้ภารจำยอม บัดนี้จำเลยล้อมรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กปิดกั้นทางผ่านของโจทก์ จึงเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องว่าได้ภารจำยอม โดยทางอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 จึงเป็นฟ้องซ้ำ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ครอบคลุมถึงอายุความได้ภารจำยอมด้วย ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับวัดในเรื่องที่ดินของวัด หรือที่ธรณีสงฆ์ไม่ได้
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2504 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวัดร้าง วัดร้างก็หาได้เสียสภาพจากการเป็นวัดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 44/2464 และฎีกาที่ 966/2474)
จำเลยจะปลูกสร้างอาคารและรั้วผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตาม เมื่อไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของทางฝ่ายพนักงานปกครองและเทศบาลที่จะจัดการกับจำเลย หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ครอบคลุมถึงอายุความได้ภารจำยอมด้วย ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับวัดในเรื่องที่ดินของวัด หรือที่ธรณีสงฆ์ไม่ได้
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2504 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวัดร้าง วัดร้างก็หาได้เสียสภาพจากการเป็นวัดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 44/2464 และฎีกาที่ 966/2474)
จำเลยจะปลูกสร้างอาคารและรั้วผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตาม เมื่อไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของทางฝ่ายพนักงานปกครองและเทศบาลที่จะจัดการกับจำเลย หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากผู้ทำละเมิด: อายุความ 1 ปี ไม่ใช้บังคับ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนหรือใช้เงินซึ่งจำเลยยักยอกของโจทก์ไป เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานละเมิด ซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336ฉะนั้นจึงนำอายุความ 1 ปี นับแต่โจทก์ได้ทราบมูลละเมิดตามมาตรา 448มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ค่าเสียหายเพื่อระงับคดีอาญาแผ่นดินเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113
จำเลยทำสัญญายอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์แจ้งความดำเนินคดีอาญากับบุตรจำเลยในการที่ทำให้บุตรโจทก์ตาย โจทก์ตกลงด้วยวัตถุประสงค์ของสัญญาเป็นการตกลงให้ระงับคดีอาญาแผ่นดิน ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 สัญญาจึงตกเป็นโมฆะกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ค่าเสียหายเพื่อระงับคดีอาญาแผ่นดินเป็นโมฆะ
จำเลยทำสัญญายอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์แจ้งความดำเนินคดีอาญากับบุตรจำเลยในการที่ทำให้บุตรโจทก์ตาย โจทก์ตกลงด้วยวัตถุประสงค์ของสัญญาเป็นการตกลงให้ระงับคดีอาญาแผ่นดิน ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 สัญญาจึงตกเป็นโมฆะกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละการครอบครองเช็คและการมีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินตามเช็ค
โจทก์รับเช็คพิพาทตามฟ้องจากจำเลยที่ 2 เช็คดังกล่าวมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย และจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลัง เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงได้คืนเช็คพร้อมใบคืนเช็คให้จำเลยที่ 2 และรับเช็คที่จำเลยที่ 2 ออกให้ใหม่แทนเช็คพิพาทดังนี้ ถือว่าโจทก์สละการครอบครองเช็คพิพาทรวมทั้งสิทธิเรียกร้องตามเช็คนั้นแล้วโจทก์จึงไม่เป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็คดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละการครอบครองเช็คและการมีอำนาจฟ้องในฐานะผู้ทรงเช็ค
โจทก์รับเช็คพิพาทตามฟ้องจากจำเลยที่ 2 เช็คดังกล่าวมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย และจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลัง เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงได้คืนเช็คพร้อมใบคืนเช็คให้จำเลยที่ 2 และรับเช็คที่จำเลยที่ 2 ออกให้ใหม่แทนเช็คพิพาท ดังนี้ ถือว่าโจทก์สละการครอบครองเช็คพิพาทรวมทั้งสิทธิเรียกร้องตามเช็คนั้นแล้ว โจทก์จึงไม่เป็นผู้ทรงเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็คดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คู่สัญญาต้องผูกพันตามสัญญาเมื่อมีการชำระหนี้ตามข้อตกลง แม้จะอ้างว่าไม่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง
โจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญากัน โดยจำเลยที่ 2 เช่าภาพยนตร์จากจำเลยที่ 1 ในราคา 450,000 บาท และชำระค่าเช่า 50,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 ไปในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือ 400,000 บาท ตกลงกันให้จำเลยที่ 2 จ่ายเงินจำนวน 100,000 บาท กับเช็คเงินสดล่วงหน้างวดละ 60,000 บาท ต่อหนึ่งเดือนรวม 5 งวดให้แก่โ จ. ซึ่งเป็นคนกลางนำไปให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์ย่อมมิใช่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 หากแต่เป็นคู่สัญญาด้วย เพราะมีการตกลงกันถึงการชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์อยู่ โจทก์จึงต้องถูกผูกมัดตามเนื้อความในสัญญานี้ โจทก์อ้างว่าตนไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดใด ๆ ที่จะเกี่ยวข้องด้วย คงมีแต่สิทธิที่จะได้รับชำระเงินจากจำเลยที่ 2 แต่เพียงถ่ายเดียวหาได้ไม่ และเมื่อตามสัญญา จำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายเงินค่าเช่าให้ จ. เพื่อนำไปชำระหนี้ให้โจทก์ ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์ให้จำเลยที่ 2 เป็นการตอบแทน แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์ให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ตามมาตรา 369
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญา 3 ฝ่าย การชำระหนี้ผ่านคนกลาง และผลของการไม่ส่งมอบสิ่งตอบแทน
โจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญากัน โดยจำเลยที่ 2 เช่าภาพยนตร์จากจำเลยที่ 1 ในราคา 450,000 บาท และชำระค่าเช่า 50,000 บาทให้จำเลยที่ 1 ไปในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือ 400,000 บาท ตกลงกันให้จำเลยที่ 2 จ่ายเงินจำนวน 100,000 บาทกับเช็คเงินสดล่วงหน้างวดละ 60,000 บาทต่อหนึ่งเดือน รวม 5 งวดให้แก่ จ. ซึ่งเป็นคนกลางนำไปให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์ย่อมมิใช่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 หากแต่เป็นคู่สัญญาด้วยเพราะมีการตกลงกันถึงการชำระหนี้จำนวน 400,000 บาทที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์อยู่ โจทก์จึงต้องถูกผูกมัดตามเนื้อความในสัญญานี้โจทก์จะอ้างว่าตนไม่มีหน้าที่หรือความรับผิดใดๆ ที่จะเกี่ยวข้องด้วย คงมีแต่สิทธิที่จะได้รับชำระเงินจากจำเลยที่ 2 แต่เพียง ถ่ายเดียวหาได้ไม่ และเมื่อตามสัญญาจำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายเงินค่าเช่าให้ จ. เพื่อนำไปชำระหนี้ให้โจทก์ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์ให้จำเลยที่ 2 เป็นการตอบแทน แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์ให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ตามมาตรา 369