คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บัญญัติ สุชีวะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 340 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต้องแสดงข้อเท็จจริงชัดเจนและครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิฉะนั้นเป็นคำร้องเคลือบคลุม
การพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2511 ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ฉะนั้น คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งจึงต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ด้วย
คำร้องบรรยายว่าได้มีการให้และรับว่าจะให้ทรัพย์สินและผลประโยชน์แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในหลายท้องที่เพื่อจูงใจให้ลงคะแนนให้แก่ผู้ได้รับเลือกตั้งจัดยานพาหนะให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปกลับ ยังหน่วยเลือกตั้งโดยไม่เสียค่าโดยสารหรือค่าจ้าง และทำการโฆษณาภายในเขตปริมณฑลเลือกตั้ง โดยมิได้กล่าวให้แจ้งชัดว่าทรัพย์สินและผลประโยชน์นั้นคืออะไร ได้ให้หรือรับว่าจะให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนประมาณเท่าใด ในหน่วยเลือกตั้งใด การจัดยานพาหนะให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการโฆษณาภายในเขตปริมณฑลเลือกตั้งได้กระทำที่หน่วยเลือกตั้งใด เป็นเหตุให้ผลการลงคะแนนเปลี่ยนแปลงเพียงใดหรือไม่จึงเป็นคำร้องเคลือบคลุม
คำร้องบรรยายว่ามีการใช้บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรลงคะแนนปลอมใช้ใบแทนบัตรประจำตัวของผู้อื่น อ่านหมายเลขบัตรผิด นับจำนวนบัตรไม่ครบและไม่ตรงกับหมายเลขบัตร โดยมิได้บรรยายในคำร้องให้ชัดเจนว่าได้กระทำที่หน่วยเลือกตั้งใดเป็นจำนวนประมาณเท่าใด จึงเป็นคำร้องเคลือบคลุม
คำร้องบรรยายว่าเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งแนะนำและจูงใจผู้ลงคะแนนให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนสนับสนุน โดยมิได้บรรยายว่าเป็นเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งใด และแนะนำจูงใจให้ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งหมายเลขอะไรจำนวนประมาณเท่าใด เป็นคำร้องเคลือบคลุม
คำร้องบรรยายว่า นายอำเภอได้แต่งตั้งผู้ไม่มีตัวตนเป็นกรรมการตรวจคะแนนประจำหน่วย โดยมิได้บรรยายว่าเป็นหน่วยเลือกตั้งใด และผู้ที่อ้างว่าไม่มีตัวตนนั้นเป็นเหตุให้กรรมการตรวจคะแนนมีจำนวนไม่ครบห้าคนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2511 หรือไม่ จึงเป็นคำร้องเคลือบคลุม
คำร้องบรรยายว่าเจ้าหน้าที่ในการเลือกตั้งจัดให้บุคคลอื่นลงคะแนนเลือกตั้งแทนผู้ถึงแก่กรรมไปแล้วร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เก็บบัตรสำคัญที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงคะแนนโดยนำมากรอกในแบบพิมพ์ ทั้งๆ ที่ผู้มีสิทธิลงคะแนนมิได้ลงคะแนนลงบัตรดังกล่าวโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งมิได้มาลงคะแนน มิได้ลงรายละเอียดของบัตรสำคัญของผู้ลงคะแนนเป็นการผิดระเบียบและไม่สุจริต คณะกรรมการตรวจคะแนนอ่านและนับคะแนนไม่ตรงต่อความจริง โดยอ่านคะแนนของผู้ร้องให้ผิดความจริง คะแนนที่คณะกรรมการตรวจคะแนนประกาศในหน่วยเลือกตั้งหลายหน่วยไม่ตรงกับจำนวนบัตรในหีบเลือกตั้ง และจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งที่คณะกรรมการตรวจคะแนนบันทึกไว้ ไม่ตรงกับจำนวนบัตรเลือกตั้งในหีบบัตรเลือกตั้งโดยมิได้บรรยายข้อเท็จจริงให้แจ้งชัดว่าการกระทำดังกล่าวได้กระทำที่หน่วยเลือกตั้งใด และการกระทำที่อ้างว่ามิชอบนั้นเป็นเหตุให้คะแนนของผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งผู้ใดผิดพลาดอย่างใด จำนวนประมาณเท่าใดและถึงแก่จะเป็นเหตุให้คะแนนของผู้ร้องเพิ่มมากน้อยขึ้นเพียงใด จึงเป็นคำร้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมโดยไม่มีหมายจับ: กรณีอาจสงสัยว่าจะหลบหนี และการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ
จำเลยจับโจทก์ในข้อหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น แม้ว่าการจับครั้งนี้จะไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า แต่ก็เป็นกรณีอาจออกหมายจับได้โดยมีเหตุอันสมควรสงสัยว่าโจทก์จะหลบหนี และจำเลยรักษาการแทนผู้บังคับกองเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ไปจับโจทก์ด้วยตนเอง แม้ไม่มีหมายจับก็ย่อมทำได้โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 วรรคสุดท้าย เมื่อจำเลยมีอำนาจจับโจทก์ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการรับของโจร พิจารณาจากเหตุผลแวดล้อมและพิรุธพฤติการณ์
การที่จะค้นหาเจตนาของจำเลยว่ารับทรัพย์ของกลางไว้โดยรู้หรือไม่ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดนั้น เป็นการยากที่โจทก์จะนำสืบด้วยประจักษ์พยานได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลกรณีแวดล้อมและพิรุธแห่งการกระทำเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลย เมื่อจำเลยให้การในชั้นจับกุมในชั้นสอบสวน และนำสืบในชั้นศาลแตกต่างกัน ไม่อยู่กับร่องรอย จำเลยรู้ว่ารถถูกเปลี่ยนยี่ห้อ แสดงให้เห็นว่าจำเลยรับทรัพย์ของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่คนร้ายได้มาจากการกระทำผิด จึงมีความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขีดฆ่าอากรแสตมป์และการใช้สัญญากู้เป็นพยานหลักฐาน รวมถึงดอกเบี้ยผิดนัด
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 103 จะให้ความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ว่า "การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับได้ลงลายมือชื่อหรือ ลงชื่อ ห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษ และลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย ฯลฯ" ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่า ความมุ่งหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" นั้น ก็เพื่อจะให้แสตมป์ที่ปิดทับเอกสารนั้นใช้ไม่ได้ต่อไปเท่านั้น มาตรา 103 จึงให้ความหมายไว้ในตอนแรกว่า เป็นการ กระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก ส่วนข้อความตอนต่อไปนั้นเป็นเพียงการอธิบายเพิ่มเติมวิธีกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อได้กระทำการใด ๆ ให้แสตมป์นั้นใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามข้อความที่อธิบายเพิ่มเติมไว้ก็ถือได้ว่าเป็นการขีดฆ่าตามความหมายของ มาตรา 103 ที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับคำว่า ขีดฆ่า นั้นแล้ว
การขีดฆ่าอากรแสตมป์ที่ปิดบนเอกสารสัญญากู้ด้วยหมึกเพื่อมิให้อากรแสตมป์นั้นใช้ได้อีกต่อไป เป็นการขีดฆ่าที่ชอบแล้ว แม้จะมิได้ลง วัน เดือน ปี ที่ขีดฆ่าก็ถือว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องนี้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญากู้เพราะดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยต้องรับผิดใช้ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินกู้ให้โจทก์ในระหว่างที่จำเลย ผิดนัดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 224 และเมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีได้ มีการผิดนัด จำเลยจึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขีดฆ่าอากรแสตมป์ไม่จำเป็นต้องลงวันเดือนปี หากมีเจตนาทำให้ใช้ไม่ได้ สัญญาใช้เป็นพยานหลักฐานได้
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 103 จะให้ความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ว่า "การกระทำเพื่อมิใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับได้ลงลายมือชื่อ หรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย ฯลฯ"ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่า ความมุ่งหมายขอคำว่า "ขีดฆ่า" นั้น ก็เพื่อจะให้แสตมป์ที่ปิดทับเอกสารนั้นใช้ไม่ได้ต่อไปเท่านั้น มาตรา 103 จึงให้ความหมายไว้ในตอนแรกว่า เป็นการกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก ส่วนข้อความตอนต่อไปนั้นเป็นเพียงการอธิบายเพิ่มเติมวิธีกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อได้กระทำการใด ๆ ให้แสตมป์นั้นใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามข้อความที่อธิบายเพิ่มเติมไว้ก็ถือได้ว่าเป็นการขีดฆ่าตามความหมายของมาตรา 103 ที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับคำว่า ขีดฆ่า นั้นแล้ว
การขีดฆ่าอากรแสตมป์ที่ปิดบนเอกสารสัญญากู้ด้วยหมึกเพื่อมิให้อากรแสตมป์นั้นใช้ไดอีกต่อไป เป็นการขีดฆ่าที่ชอบแล้ว แม้จะมิได้ลงวัน เดือน ปี ที่ขีดฆ่าก็ถือว่า สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องนี้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่ทำสัญญากู้เพราะดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยต้งอรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อไปในต้นเงินกู้ให้โจทก์ในระหว่างที่จำเลยผิดนัดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 224 และเมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีได้มีการผิดนัด จำเลยจึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์เรื่องฉ้อฉลทนายร่วมกับโจทก์ ศาลอุทธรณ์สั่งไต่สวนและวินิจฉัย
ศาลพิพากษาให้เป็นไปตามยอม จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าทนายจำเลยฉ้อฉลร่วมกับโจทก์ ดังนี้ อุทธรณ์ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138(1),225 ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อที่จำเลยอ้างว่าฉ้อฉล แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว ฎีกาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี และความรับผิดร่วมของหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะตัวแทนของนิติบุคคล
ผู้ใดแจ้งข้อความไม่ตรงต่อความจริง โดยผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จ ทั้งนี้ เพื่อประสงค์จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร คือภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ย่อมมีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 แล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภาษี โดยแสดงรายรับที่ต้องคำนวณเสียภาษีต่ำกว่ารายรับที่ได้รับจากการขายสินค้าประจำเดือนแต่ละเดือน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้รู้เห็นในการยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีทุกฉบับดังนี้ ย่อมถือเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย และเป็นการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แล้ว แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้เป็นผู้ลงนามในแบบแสดงรายการการค้านั้นทุกฉบับก็ตาม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบัญญัติความใหม่นั้น มิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ฉะนั้นเมื่อจำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของประกาศดังกล่าว จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในการกระทำผิดของนิติบุคคล
ผู้ใดแจ้งข้อความไม่ตรงต่อความจริง โดยผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จทั้งนี้ เพื่อประสงค์จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร คือภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ย่อมมีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 แล้ว
จำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือน ภาษี โดยแสดงรายรับที่ต้องคำนวณเสียภาษีต่ำกว่ารายรับที่ได้รับจากการขายสินค้าประจำเดือนและเดือน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้รู้เห็นในการยื่นแบบแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีทุกฉบับ ดังนี้ ย่อมถือเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย และเป็นการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แล้ว แม้จำเลยที่ 2จะมิได้เป็นผู้ลงนามในแบบแสดงรายการการค้านั้นทุกฉบับก็ตาม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบัญญัติความใหม่นั้น มิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ฉะนั้น เมื่อจำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของประกาศดังกล่าว จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่าจากพฤติกรรมร้ายแรง: การประพฤติชั่ว ติดยาเสพติด และกลั่นแกล้งครอบครัว
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยประพฤติชั่ว ติดยาเสพติดและประพฤติตัวเป็นนักเลงอันธพาล ไม่ยอมทำมาหากิน ไม่ยอมทำนาเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวและหาความเดือนร้อนมาสู่ครอบครัวอยู่เสมอ และได้กลั่นแกล้งโจทก์และลูก ๆ โดยการไม่ยอมให้เข้าทำนาเมื่อถึงฤดูทำนา ฯลฯ" เช่นนี้ อย่างน้อยก็ตีความได้ว่าจำเลยประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(2) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่าจากพฤติกรรมประพฤติชั่วร้ายแรง: การตีความเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1500(2)
บรรยายฟ้องว่าจำเลยประพฤติชั่วติดยาเสพติดและประพฤติตัวเป็นนักเลงอันธพาล ไม่ทำมาหากิน ไม่ยอมทำนาเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวและ หาความเดือดร้อนมาสู่ครอบครัวอยู่เสมอ และได้กลั่นแกล้งโจทก์และลูก ๆ โดยการไม่ยอมให้เข้าทำนาเพื่อถึงฤดูทำนา ฯลฯ" เช่นนี้ อย่างน้อยก็ตีความได้ว่าจำเลยประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(2) แล้ว
of 34