พบผลลัพธ์ทั้งหมด 340 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความได้สิทธิภารจำยอมและการละเมิดสิทธิจากเจ้าของภารทรัพย์
การนับระยะเวลาครอบครองติดต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 กล่าวไว้เฉพาะด้านผู้ครอบครองว่า ถ้าผู้ครอบครองได้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และครบ 10 ปีแล้ว ย่อมได้กรรมสิทธิ์ มิได้คำนึงถึงฝ่ายผู้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองแต่อย่างใด แม้จะบัญญัติว่าต้องเป็นการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น คำว่า "ผู้อื่น" ย่อมหมายถึงบุคคลทั่วไปซึ่งมิใช่ผู้ครอบครองปกปักษ์ ฉะนั้นในการนับเวลาครอบครองติดต่อกันตามมาตรานี้ จึงถือเอาระยะเวลาครอบครองของฝ่ายผู้ครอบครองเท่านั้น ไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบคอรงว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองให้แก่ผู้ใดหรือไม่ ทั้งไม่จำต้องถือเอาทางฝ่ายเจ้าของอสังริมทรัพย์แต่ละคนที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นเกณพ์ในการเริ่มระยะเวลาใหม่ทุกครั้งที่มีการเเปลี่ยนตัวเจ้าของ
ภารจำยอมที่อาจได้มาทางอายุความนั้น มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันเกี่ยวกับภารจำยอมโดยอายุความจึงต้องถือเอาการนับระยะเวลาตามเกณฑ์ในมาตรา 1382 มาเป็นหลักเมื่อได้ความว่าโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่น ๆ ได้ ตกลงกันและทำหนังสือสัญญากันไว้ยอมแบ่งที่ดินของตนฝ่ายตน 1เมตรทำเป็นทางออกสู่ถนนใหญ่ และโจทก์ก็ได้ใช้ทางนี้เป็นทางเข้าออกตลอดมา ครั้นโจทก์ใช้ทางพิพาทยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยได้รับโอนที่ดินมาจาก ส. โดยจำเลยรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่น ๆ ดี ดังนี้แม้สัญญาที่ทำกันไว้จะไม่ผูกพันจำเลยให้จำต้องปฏิบัติตาม แต่การที่จำเลยยังปล่อยให้โจทก์ใช้ทางพิพาทต่อมาโดยไม่ได้โต้แย้งขัดขวาง จนรวมเวลาเก่าใหม่เข้าด้วยกันเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมโดยทางอายุความ
จำเลยเป็นเจ้าของภารทรัพย์ย่อมต้องห้ามตามมาตรา 1390 มิได้ประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เมื่อโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์เป็นผู้ลาดพื้นซีเมนต์ทางเดินบนที่ดินของจำเลยซึ่งตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมการที่จำเลยขุดพื้นซีเมนต์ที่โจทก์ทำไว้เป็นหลุ่มเพื่อทำรั้วและทำให้พื้นซีเมนต์แตกไป จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อมาตรา 1390 และย่อมเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 420 ด้วย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ภารจำยอมที่อาจได้มาทางอายุความนั้น มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันเกี่ยวกับภารจำยอมโดยอายุความจึงต้องถือเอาการนับระยะเวลาตามเกณฑ์ในมาตรา 1382 มาเป็นหลักเมื่อได้ความว่าโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่น ๆ ได้ ตกลงกันและทำหนังสือสัญญากันไว้ยอมแบ่งที่ดินของตนฝ่ายตน 1เมตรทำเป็นทางออกสู่ถนนใหญ่ และโจทก์ก็ได้ใช้ทางนี้เป็นทางเข้าออกตลอดมา ครั้นโจทก์ใช้ทางพิพาทยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยได้รับโอนที่ดินมาจาก ส. โดยจำเลยรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่น ๆ ดี ดังนี้แม้สัญญาที่ทำกันไว้จะไม่ผูกพันจำเลยให้จำต้องปฏิบัติตาม แต่การที่จำเลยยังปล่อยให้โจทก์ใช้ทางพิพาทต่อมาโดยไม่ได้โต้แย้งขัดขวาง จนรวมเวลาเก่าใหม่เข้าด้วยกันเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมโดยทางอายุความ
จำเลยเป็นเจ้าของภารทรัพย์ย่อมต้องห้ามตามมาตรา 1390 มิได้ประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เมื่อโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์เป็นผู้ลาดพื้นซีเมนต์ทางเดินบนที่ดินของจำเลยซึ่งตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมการที่จำเลยขุดพื้นซีเมนต์ที่โจทก์ทำไว้เป็นหลุ่มเพื่อทำรั้วและทำให้พื้นซีเมนต์แตกไป จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อมาตรา 1390 และย่อมเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 420 ด้วย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การนับระยะเวลาครอบครองโดยไม่ยึดการเปลี่ยนเจ้าของ และการละเมิดสิทธิจากกรรมที่ลดประโยชน์ภารจำยอม
การนับระยะเวลาครอบครองติดต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 กล่าวไว้เฉพาะด้านผู้ครอบครองว่าถ้าผู้ครอบครองได้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และครบ 10 ปีแล้ว ย่อมได้กรรมสิทธิ์มิได้คำนึงถึงฝ่ายผู้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองแต่อย่างใด แม้จะบัญญัติว่าต้องเป็นการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น คำว่า 'ผู้อื่น' ย่อมหมายถึงบุคคลทั่วไปซึ่งมิใช่ผู้ครอบครองปรปักษ์ ฉะนั้นในการนับเวลาครอบครองติดต่อกันตามมาตรานี้ จึงถือเอาระยะเวลาครอบครองของฝ่ายผู้ครอบครองเท่านั้นไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองให้แก่ผู้ใดหรือไม่ ทั้งไม่จำต้องถือเอาทางฝ่ายเจ้าของอสังหาริมทรัพย์แต่ละคนที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นเกณฑ์ในการเริ่มนับระยะเวลาใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าของ
ภารจำยอมที่อาจได้มาทางอายุความนั้น มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ 3บรรพ 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลมฉะนั้นการนับระยะเวลาติดต่อกันเกี่ยวกับภารจำยอมโดยอายุความจึงต้องถือเอาการนับระยะเวลาตามเกณฑ์ในมาตรา 1382 มาเป็นหลักเมื่อได้ความว่าโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่นๆ ได้ตกลงกันและทำหนังสือสัญญากันไว้ยอมแบ่งที่ดินของตนฝ่ายละ 1 เมตรทำเป็นทางออกสู่ถนนใหญ่ และโจทก์ก็ได้ใช้ทางนี้เป็นทางเข้าออกตลอดมา ครั้นโจทก์ใช้ทางพิพาทยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยได้รับโอนที่ดินมาจาก ส. โดยจำเลยรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่นๆ ดี ดังนี้แม้สัญญาที่ทำกันไว้จะไม่ผูกพันจำเลยให้จำต้องปฏิบัติตาม แต่การที่จำเลยยังปล่อยให้โจทก์ใช้ทางพิพาทต่อมาโดยไม่โต้แย้งขัดขวางจนรวมเวลาเก่าใหม่เข้าด้วยกันเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมโดยทางอายุความ
จำเลยเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ย่อมต้องห้ามตามมาตรา 1390มิให้ประกอบกรรมใดๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกเมื่อโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์เป็นผู้ลาดพื้นซีเมนต์ทางเดินบนที่ดินของจำเลยซึ่งตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมการที่จำเลยขุดพื้นซีเมนต์ที่โจทก์ทำไว้เป็นหลุมเพื่อทำรั้วและทำให้พื้นซีเมนต์แตกไป จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อมาตรา 1390 และย่อมเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 420 ด้วย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ภารจำยอมที่อาจได้มาทางอายุความนั้น มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะ 3บรรพ 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลมฉะนั้นการนับระยะเวลาติดต่อกันเกี่ยวกับภารจำยอมโดยอายุความจึงต้องถือเอาการนับระยะเวลาตามเกณฑ์ในมาตรา 1382 มาเป็นหลักเมื่อได้ความว่าโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่นๆ ได้ตกลงกันและทำหนังสือสัญญากันไว้ยอมแบ่งที่ดินของตนฝ่ายละ 1 เมตรทำเป็นทางออกสู่ถนนใหญ่ และโจทก์ก็ได้ใช้ทางนี้เป็นทางเข้าออกตลอดมา ครั้นโจทก์ใช้ทางพิพาทยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยได้รับโอนที่ดินมาจาก ส. โดยจำเลยรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ส. และเจ้าของที่ดินแปลงอื่นๆ ดี ดังนี้แม้สัญญาที่ทำกันไว้จะไม่ผูกพันจำเลยให้จำต้องปฏิบัติตาม แต่การที่จำเลยยังปล่อยให้โจทก์ใช้ทางพิพาทต่อมาโดยไม่โต้แย้งขัดขวางจนรวมเวลาเก่าใหม่เข้าด้วยกันเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมโดยทางอายุความ
จำเลยเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ย่อมต้องห้ามตามมาตรา 1390มิให้ประกอบกรรมใดๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกเมื่อโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์เป็นผู้ลาดพื้นซีเมนต์ทางเดินบนที่ดินของจำเลยซึ่งตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมการที่จำเลยขุดพื้นซีเมนต์ที่โจทก์ทำไว้เป็นหลุมเพื่อทำรั้วและทำให้พื้นซีเมนต์แตกไป จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อมาตรา 1390 และย่อมเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 420 ด้วย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องยึด/อายัดทรัพย์สินซ้ำโดยไม่มีเหตุผลพิเศษ ศาลชอบที่จะยกคำร้องโดยไม่ต้องไต่สวน
โจทก์ได้ยื่นคำร้องเป็นกรณีมีเหตุฉุกเฉินขอให้ยึดหรืออายัดการทำเหมืองแร่ของจำเลย และทรัพย์สินต่าง ๆ ตามบัญชีท้ายฟ้องไว้ก่อนคำพิพากษาแล้วถึง 4 ครั้ง แต่ละครั้งก็อ้างเหตุผลทำนองเดียวกันว่า จำเลยกำลังจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องตลอดจนอุปกรณ์การทำเหมืองแร่และรถยนต์ ในการไต่สวนคำร้องดังกล่าวครั้งแรกนั้น คำเบิกความของโจทก์เป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ปราศจากพยานหลักฐานสนับสนุน กล่าวคลุม ๆ ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยกำลังจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ใดตามคำร้องให้แก่ผู้ใด เมื่อใด ยังไมได้ว่าคำขอนี้มีเหตุผลสมควรอันแท้จริงที่จะสั่งอนุญาตตามที่โจทก์ขอ เมื่อโจทก์มายื่นคำร้องขออย่างเดียวกันนั้นอีก (แต่ไม่อ้างกรณีฉุกเฉิน) โดยอ้างเหตุผลในการขอทำนองเดียวกับการร้องขอครั้งแรกที่ศาลได้เคยไต่สวนไว้แล้ว โดยไม่มีเหตุผลพิเศษอื่นใดนอกเหนือไปกว่าเดิม ศาลจึงชอบที่จะสั่งยกคำร้องโดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้องอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารไม่ต้องรับผิดละเมิดแม้เปิดบัญชีให้ผู้ปลอมแปลงเอกสาร หากตรวจสอบเอกสารด้วยความระมัดระวังตามปกติ
ข้อที่ว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว บุคคลทั้งหลายย่อมรู้นั้น จะผูกพันบุคคลทั่วไปเฉพาะนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ไม่มีผลถึงเรื่องละเมิด
ผ. มิได้เป็นกรรมการบริษัทโจทก์ ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ไว้กับธนาคารจำเลย แล้วนำเช็คที่ลูกค้าออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์เข้าบัญชีเงินฝากนั้น และออกเช็คเบิกเงินโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า การที่ ผ. ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ ได้มีเอกสารมาครบถ้วนตามระเบียบที่ธนาคารจำเลยวางไว้ ทั้งเอกสารระบุว่า ผ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้ และพนักงานของธนาคารจำเลยตรวจพิจารณาเอกสารเหล่านั้นด้วยความระมัดระวังตามปกติธรรมดาที่เคยปฏิบัติมาของธนาคาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วเพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกค้าแล้ว เชื่อโดยสุจริตว่า ผ. เป็นกรรมการของบริษัทโจทก์จริง จึงรับเปิดบัญชีเงินฝากให้ ผ. และไม่ได้สอบถามบริษัทโจทก์หรือกองทะเบียนกระทรวงพาณิชย์อีกแม้ต่อมาปรากฏว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ ผ. กับพวกร่วมกันปลอมขึ้น ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ผ. มิได้เป็นกรรมการบริษัทโจทก์ ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ไว้กับธนาคารจำเลย แล้วนำเช็คที่ลูกค้าออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์เข้าบัญชีเงินฝากนั้น และออกเช็คเบิกเงินโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า การที่ ผ. ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ ได้มีเอกสารมาครบถ้วนตามระเบียบที่ธนาคารจำเลยวางไว้ ทั้งเอกสารระบุว่า ผ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้ และพนักงานของธนาคารจำเลยตรวจพิจารณาเอกสารเหล่านั้นด้วยความระมัดระวังตามปกติธรรมดาที่เคยปฏิบัติมาของธนาคาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วเพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกค้าแล้ว เชื่อโดยสุจริตว่า ผ. เป็นกรรมการของบริษัทโจทก์จริง จึงรับเปิดบัญชีเงินฝากให้ ผ. และไม่ได้สอบถามบริษัทโจทก์หรือกองทะเบียนกระทรวงพาณิชย์อีกแม้ต่อมาปรากฏว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ ผ. กับพวกร่วมกันปลอมขึ้น ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารไม่ต้องรับผิดเมื่อเปิดบัญชีให้ผู้ปลอมเอกสาร หากตรวจสอบเอกสารตามปกติและเชื่อโดยสุจริต
ข้อที่ว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว บุคคลทั้งหลายย่อมรู้นั้น จะผูกพันบุคคลทั่วไปเฉพาะนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ไม่มีผลถึงเรื่องละเมิด
ผ. มิได้เป็นกรรมการบริษัทโจทก์ ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ไว้กับธนาคารจำเลย แล้วนำเช็คที่ลูกค้าออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์เข้าบัญชีเงินฝากนั้น และออกเช็คเบิกเงินโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า การที่ ผ. ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ ได้มีเอกสารมาครบถ้วนตามระเบียบที่ธนาคารจำเลยวางไว้ ทั้งเอกสารระบุว่า ผ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้ และพนักงานของธนาคารจำเลยตรวจพิจารณาเอกสารเหล่านั้นด้วยความระมัดระวังตามปกติธรรมดาที่เคยปฏิบัติมาของธนาคาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วเพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกค้าแล้ว เชื่อโดยสุจริตว่า ผ. เป็นกรรมการของบริษัทโจทก์จริง จึงรับเปิดบัญชีเงินฝากให้ ผ. และไม่ได้สอบถามบริษัทโจทก์หรือกองทะเบียนกระทรวงพาณิชย์อีก แต่ต่อมาปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ ผ. กับพวกร่วมกันปลอมขึ้น ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ผ. มิได้เป็นกรรมการบริษัทโจทก์ ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ไว้กับธนาคารจำเลย แล้วนำเช็คที่ลูกค้าออกชำระหนี้ให้แก่โจทก์เข้าบัญชีเงินฝากนั้น และออกเช็คเบิกเงินโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า การที่ ผ. ขอเปิดบัญชีเงินฝากในนามบริษัทโจทก์ ได้มีเอกสารมาครบถ้วนตามระเบียบที่ธนาคารจำเลยวางไว้ ทั้งเอกสารระบุว่า ผ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้ และพนักงานของธนาคารจำเลยตรวจพิจารณาเอกสารเหล่านั้นด้วยความระมัดระวังตามปกติธรรมดาที่เคยปฏิบัติมาของธนาคาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องการความรวดเร็วเพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกค้าแล้ว เชื่อโดยสุจริตว่า ผ. เป็นกรรมการของบริษัทโจทก์จริง จึงรับเปิดบัญชีเงินฝากให้ ผ. และไม่ได้สอบถามบริษัทโจทก์หรือกองทะเบียนกระทรวงพาณิชย์อีก แต่ต่อมาปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ ผ. กับพวกร่วมกันปลอมขึ้น ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีภาษีอากรที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทำให้ศาลยกฟ้องตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้า (ภ.ค. (พ)4) ทำให้ภาษีการค้าขาดไป ไม่ใช่กรณียื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้าแล้วยื่นไม่ครบแต่ประการใด แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษจำเลยในกรณีความผิดที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้า เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรอันเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 ทวิ หาใช่กรณีที่หลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรโดยการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้าอันเป็นเท็จโดยวิธียื่นขาดไปไม่ครบถ้วนซึ่งเป็นความผิดตาม มาตรา 37 ไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ยื่นเสียภาษีการค้าตลอดมาทุกเดือน เพียงแต่บางเดือนจำเลยยื่นไม่ครบบางเดือนก็ยื่นเกินกว่ารายรับ จึงเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญที่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องลงโทษจำเลยมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเลี่ยงภาษี การยื่นแบบไม่ครบถ้วนแตกต่างจากไม่ยื่นเลย ศาลยกฟ้องตามหลักประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้า (ภ.ด.(พ) 4) ทำให้ภาษีการค้าขาดไป ไม่ใช่กรณียื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้าแล้วยื่นไม่ครบแต่ประการใด แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษจำเลยในกรณีความผิดที่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้า เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรอันเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 ทวิ หาใช่กรณีที่หลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรโดยการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีการค้าอันเป็นเท็จโดยวิธียื่นขาดไปไม่ครบถ้วน ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 37 ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ยื่นเสียภาษีการค้าตลอดมาทุกเดือน เพียงแต่บางเดือนจำเลยยื่นไม่ครบ บางเดือนก็ยื่นเกินกว่ารายรับ จึงเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ลงโทษจำเลยมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ: ต้องเป็นผู้ใช้ยานพาหนะเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด หรือใช้ยานพาหนะพาทรัพย์/หลบหนี
ความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดหรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี นั้น ผู้กระทำผิดจะต้องเป็นผู้นำเอาพาหนะมาใช้ในการกระทำผิด โดยผู้กระทำผิดเป็นฝ่ายนำยานพาหนะมาใช้เป็นเครื่องมือประกอบอาชญากรรมชิงทรัพย์นั้นเอง หรือมิฉะนั้นก็ได้ใช้ยานพาหนะที่นำมานั้นพาทรัพย์ที่ตนชิงมาได้นั้นไป หรือได้ใช้ยานพาหนะนั้นพาตนให้พ้นการจับกุม การที่จำเลยชิงทรัพย์รถจักรยานยนต์และพารถจักรยานยนต์นั้นไป ไม่เป็นการชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไปตามความหมายของ มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ: ต้องเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง ไม่ใช่แค่พาทรัพย์ที่ชิงไป
ความผิดตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 15 มาตรา 340 ตรี นั้น ต้องได้ความว่าได้ชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด ฯลฯไม่ใช่ชิงรถจักรยานยนต์พาไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ไม่มีความยินยอมของลูกหนี้ ยังคงมีผลผูกพันบังคับค้ำประกันได้
สัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความว่าลูกหนี้ยินยอมด้วยเจ้าหนี้ ก็บังคับผู้ค้ำประกันได้