คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บัญญัติ สุชีวะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 340 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: การรับรู้ของตัวแทนกรมทางหลวง และขอบเขตอำนาจมอบหมาย
แม้เจ้าหน้าที่โจทก์จะได้รับแจ้งถึงการที่มีผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ อายุความในเรื่องละเมิดยังไม่เริ่มนับจนกว่าอธิบดีกรมโจทก์ ซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์ได้รู้ถึงการกระทำละเมิดดังกล่าวแล้ว
กรมมอบอำนาจให้ส่วนราชการอื่นแจ้งความกล่าวโทษผู้กระทำละเมิด แต่เมื่อมิได้มอบให้ติดตามเรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายด้วย การที่ส่วนราชการผู้รับมอบอำนาจรู้เรื่องการกระทำละเมิด ไม่ถือว่ากรมรู้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี, การอุทธรณ์การประเมิน, และข้อยกเว้นภาษีการค้าสำหรับชิ้นส่วนรถยนต์
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้มีการอุทธรณ์การประเมินในบางกรณีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนแล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลได้นั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20,30(2) มิได้บัญญัติเลยว่าการอุทธรณ์ การประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องมีเหตุผลอย่างไร และเหตุผลนั้นจะต้องเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่โจทก์สั่งเข้ามาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็มีความเห็นเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานประเมินเพียงแต่ละภาษีการค้าลงบ้างเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ถูกต้องอย่างไร ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลได้ แม้จะอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ก็ตามถือว่าในการยื่นฟ้องเกี่ยวกับการประเมินภาษีการค้า (นำเข้า) สำหรับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่โจทก์สั่งเข้ามานั้น โจทก์ได้ดำเนินการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ารถยนต์เท่านั้น หาได้เป็นผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์ไม่ เพราะโจทก์มิใช่ผู้ขายชิ้นส่วนของรถยนต์ หากแต่เป็นเพียงผู้นำชิ้นส่วนของรถยนต์เข้ามาประกอบหรือผลิตเป็นรถยนต์แล้วจำหน่ายรถยนต์ที่ประกอบหรือผลิตนั้นเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์
ที่จะถือว่าเป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ(1)ที่ใช้บังคับในขณะเกิดคดีนี้นั้น จะต้องเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (ที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร) หรือเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิดอื่น โดยมิใช่นำมาขายหรือโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขาย (อ้างฎีกาที่ 1606/2512)เมื่อโจทก์สั่งชิ้นส่วนของรถยนต์ เข้ามาเพื่อผลิตรถยนต์ขาย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขายสินค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 79 ทวิ(1)
ตามมาตรา 79 ทวิ(3) ที่ใช้บังคับในขณะเกิดคดีนั้น จะถือเป็นการขายสินค้า ก็ต่อเมื่ออัตราภาษีการค้าไปใช้หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือโอนการครอบครองซึ่งสินค้าดังกล่าวโดยมิใช่เพื่อขาย แต่เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์เสียแล้ว กรณีจึงไม่เข้าอยู่ในบังคับของมาตรา 79 ทวิ(3) อันจะถือเป็นการขายสินค้า
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504 มาตรา 3(4)บัญญัติให้ยกเว้นภาษีการค้าเฉพาะ ในกรณีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ได้รับยกเว้นภาษีศุลกากรเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหากผู้ใดจะต้องเสียภาษีการค้าในการนำของเจ้ามาในราชอาณาจักร แต่ถ้าของนั้นเป็นของที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร ผู้นั้นก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับของนั้น เมื่อของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นชิ้นส่วนของรถยนต์ มิใช่รถยนต์หากโจทก์จะได้รับการยกเว้นภาษีการค้าโจทก์ก็คงได้รับการยกเว้นภาษีการค้าเฉพาะแต่ชิ้นส่วนของรถยนต์เท่านั้นซึ่งโจทก์ไม่ต้องเสียอยู่แล้ว โจทก์หาได้รับการยกเว้นภาษีการค้าจากรายรับในการขายรถยนต์ของโจทก์ไม่ เพราะรถยนต์มิใช่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร(ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี การประเมิน การอุทธรณ์ และข้อยกเว้นภาษี กรณีนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้มีการอุทธรณ์การประเมินในบางกรณีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนแล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลได้นั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20,30 (2) มิได้บัญญัติเลยว่าการอุทธรณ์ การประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องมีเหตุผลอย่างไร และเหตุผลนั้นจะต้องเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่โจทก์สั่งเข้ามาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็มีความเห็นเช่นเดียวกับเจ้าพนักงานประเมิน เพียงแต่ลดภาษีการค้าลงบ้านเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ถูกต้องอย่างไร ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยนั้นต่อศาลได้ แม้จะอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ก็ตาม ถือว่าการยื่นฟ้องเกี่ยวกับการประเมินภาษีการค้า(นำเข้า) สำหรับชิ้นส่วนของรถยนต์ที่โจทก์สั่งเข้ามานั้น โจทก์ได้ดำเนินการตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเพียงผู้ประกอบการค้ารถยนต์เท่านั้น หาได้เป็นผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์ไม่ เพราะโจทก์มิใช่ผู้ขายชิ้นส่วนรถยนต์ หากแก่เป็นเพียงผู้นำชิ้นส่วนของรถยนต์เข้ามาประกอบหรือผลิตเป็นรถยนต์แล้วจำหน่ายรถยนต์ที่ประกอบหรือผลิตนั้นเท่านั้น โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์
ที่จะถือว่าเป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ(1) ที่ใช้บังคับในขณะเกิดคดีนี้นั้น จะต้องเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (ที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควรหรือเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิดอื่น โดยมิใช่นำมาขายหรือโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขาย(อ้างฎีกาที่ 1606/2512) เมื่อโจทก์สั่งชิ้นส่วนของรถยนต์เข้ามาเพื่อผลิตรถยนต์ขาย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขายสินค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 79 ทวิ(1)
ตามมาตรา 79 ทวิ(3) ที่ใช้บังคับในขณะเกิดคดีนี้ จะถือเป็นการขายสินค้าก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการค้านำสินค้าของตนตามประเภทการค้าทุกชนิด และประเภทการค้า 2 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าไปใช้หรือโอนกรรมสิทธิ์หรือโอนการครอบครองซึ่งสินค้าดังกล่าวโดยมิใช่เพื่อขาย แต่เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าชิ้นส่วนของรถยนต์เสียแล้ว กรณีจึงไม่เข้าอยู่ในบังคับของมาตรา 79 ทวิ(3) อันจะถือเป็นการขายสินค้า
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504 มาตรา 3(4) บัญญัติให้ยกเว้นภาษีการค้าเฉพาะในกรณีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งของที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหากผู้ใดจะต้องเสียภาษีการค้าในการนำของเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ถ้าของนั้นเป็นของที่ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร ผู้นั้นก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับของนั้น เมื่อของโจทก์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นชิ้นส่วนของรถยนต์ มิใช่รถยนต์ หากโจทก์จะได้รับการยกเว้นภาษีการค้า โจทก์ก็คงได้รับการยกเว้นภาษีการค้าเฉพาะแต่ชิ้นส่วนของรถยนต์เท่านั้น ซึ่งโจทก์ก็ไม่ต้องเสียอยู่แล้ว โจทก์หาได้รับการยกเว้นภาษีการค้าจากรายรับในการขายรถยนต์ของโจทก์ไม่ เพราะรถยนต์มิใช่ของที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3(4) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์: สิทธิเหนือกว่าผู้ซื้อสุจริตเมื่อขาดการจดทะเบียน
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยครอบครองเกิน 10 ปี แต่ไม่ได้จดทะเบียน ใช้ยัน อ. ผู้ซื้อโดยสุจริตไม่ได้ โจทก์ครอบครองต่อมาไม่ถึง 10 ปี อ. ขายที่ดินต่อไปแก่จำเลย ไม่ว่าจำเลยสุจริตหรือไม่ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลย คำสั่งศาลที่โจทก์ร้องขอให้แสดงว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ใช้ยัน อ. และจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทต้องระบุในฟ้องหรือคำให้การเท่านั้น
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทต้องกล่าวในฟ้อง คำให้การหรือแถลงให้ปรากฏต่อศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 มิใช่กล่าวในคำแถลงการณ์ปิดคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2471/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความผิดตามประมวลรัษฎากรเกี่ยวกับใบรับเงิน: เอกชนไม่มีสิทธิฟ้อง
ความผิดฐานไม่ออกใบรับให้แก่ผู้ซื้อตามประมวลรัษฎากร มาตรา 105 และความผิดฐานไม่ออกใบรับเมื่อผู้มีส่วนได้เสียเรียกร้องตามมาตรา 106 เป็นความผิดที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลคือพนักงานอัยการเท่านั้นจะฟ้องได้ เอกชนมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายที่จะมีอำนาจฟ้องจึงเป็นโจทก์ฟ้องในความผิดดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยเกินกว่าเหตุ: การแทงหลายครั้งหลังถูกลวนลาม
ส. บุตรสาวของจำเลยลงไปอาบน้ำที่บันไดริมแม่น้ำในเวลา 1 ทุ่มเศษน้ำลึกแค่หน้าอกผู้ตายดำน้ำมากอดเอวจับนมและของลับของส.ส.ร้องเรียกให้จำเลยช่วย จำเลยจึงคว้ามีดไปช่วยและแทงผู้ตายจนผู้ตายจมหายไป ดังนี้ ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันส.แต่ผู้ตายเพียงแต่ดำน้ำมาจับนมและของลับของส. เท่านั้นการที่จำเลยใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตายไปหลายครั้ง จนปรากฏบาดแผลที่ตัวผู้ตายถึง 5 แผล คือ ที่นมขวา เหนือลิ้นปี่ ต้นแขนขวาต้นแขนซ้าย และส้นเท้าซ้าย ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญ นิติกรรมค้ำประกันและจำนองเป็นโมฆะ
ธ.หลอกให้ว.พิมพ์ลายนิ้วมือลงในใบมอบอำนาจให้จำนองและในสัญญาค้ำประกันแก่ ก. โดยอ้างว่าเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินแก่ ธ.เป็นการสำคัญผิดในสารสำคัญแห่งนิติกรรม การค้ำประกันและจำนองเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่ของผู้ทรงสิทธิเก็บกิน และผลของการไม่ได้แจ้งคำเตือนก่อนฟ้อง
แม้ที่ดินที่อยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เยาว์แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1417 วรรคสองบัญญัติให้ผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีอำนาจจัดการทรัพย์สิน และการฟ้องขับไล่ออกจากที่ดินและบ้านพิพาทที่อยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินก็เป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนี้ ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้เองโดยมิต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กเยาวชนเสียก่อน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินในขณะยื่นฟ้องย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยได้ แม้โจทก์จะมิได้มีคำบอกกล่าวให้คำเตือนแก่จำเลยก่อนยื่นฟ้องก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ต้องเสียไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเกิดก่อน/หลังขยายอำนาจ ศาลจังหวัดและศาลแขวงพิจารณาได้
ตามฟ้องระบุวันเกิดเหตุระหว่างตั้งแต่ก่อนจนถึงภายหลังขยายอำนาจศาลแขวงมาถึงที่เกิดเหตุ จึงเป็นเรื่องที่ศาลจังหวัดและศาลแขวงพิจารณาคดีได้ แม้คดีในอำนาจศาลแขวง ศาลจังหวัดก็พิจารณาได้ศาลจังหวัดจึงควรรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา
of 34