พบผลลัพธ์ทั้งหมด 340 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาคดีใหม่และการประเมินค่าเสียหายจากความสูญเสียในการประกอบอาชีพ
กรณีที่จำเลยจะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้จะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเสียก่อน การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลย และศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยประวิงคดีไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและถือว่าจำเลยไม่ติดใจนำพยานเข้าสืบนั้นมิใช่เรื่องจำเลยขาดนัดพิจารณาจำเลยจะขอให้พิจารณาคดีใหม่หาได้ไม่
แม้จะพิจารณาจากฎีกาของจำเลยที่ขอให้พิจารณาคดีดังกล่าวใหม่ว่าจำเลยมุ่งหมายที่จะให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีแล้วให้จำเลยนำพยานเข้าสืบ แต่คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยจะต้องโต้แย้งเสียก่อนจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ เมื่อมิได้โต้แย้งไว้ก็อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ในข้อนี้ให้จำเลยก็หามีสิทธิฎีกาต่อมาไม่ ศาลฎีกาย่อมให้ยกฎีกาของจำเลยดังกล่าว
โจทก์เป็นผู้เยาว์ช่วยมารดาขายของ นำของไปเร่ขายวันหนึ่งมีกำไร 10 บาทแม้จะเป็นการช่วยมารดาขายของ ก็เป็นการประกอบอาชีพอันเป็นความสามารถในการประกอบการงานและทางทำมาหาได้ของโจทก์นั่นเอง เมื่อโจทก์สามารถขายของมีกำไรวันละ 10 บาท และโจทก์ต้องเสียความสามารถดังกล่าวไปเพราะการละเมิดของจำเลย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ อันเป็นค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และในการคิดค่าเสียหาย ศาลชอบที่จะคิดจากการที่โจทก์เคยมีรายได้วันละ 10 บาทได้ หาใช่ว่าหากก่อนเกิดเหตุโจทก์ไม่ได้ทำงานทุกวัน จะต้องหักวันที่โจทก์ไม่ทำงานออกเสียก่อนไม่
แม้จะพิจารณาจากฎีกาของจำเลยที่ขอให้พิจารณาคดีดังกล่าวใหม่ว่าจำเลยมุ่งหมายที่จะให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีแล้วให้จำเลยนำพยานเข้าสืบ แต่คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยจะต้องโต้แย้งเสียก่อนจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ เมื่อมิได้โต้แย้งไว้ก็อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ในข้อนี้ให้จำเลยก็หามีสิทธิฎีกาต่อมาไม่ ศาลฎีกาย่อมให้ยกฎีกาของจำเลยดังกล่าว
โจทก์เป็นผู้เยาว์ช่วยมารดาขายของ นำของไปเร่ขายวันหนึ่งมีกำไร 10 บาทแม้จะเป็นการช่วยมารดาขายของ ก็เป็นการประกอบอาชีพอันเป็นความสามารถในการประกอบการงานและทางทำมาหาได้ของโจทก์นั่นเอง เมื่อโจทก์สามารถขายของมีกำไรวันละ 10 บาท และโจทก์ต้องเสียความสามารถดังกล่าวไปเพราะการละเมิดของจำเลย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ อันเป็นค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และในการคิดค่าเสียหาย ศาลชอบที่จะคิดจากการที่โจทก์เคยมีรายได้วันละ 10 บาทได้ หาใช่ว่าหากก่อนเกิดเหตุโจทก์ไม่ได้ทำงานทุกวัน จะต้องหักวันที่โจทก์ไม่ทำงานออกเสียก่อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องทำหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต สัญญาทำก่อนจึงไม่ใช่การสละมรดก
การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะกระทำได้ต่อเมื่อหลังจากที่เจ้ามรดกตายแล้ว และผู้สละเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกนั้นด้วย หากเจ้ามรดกยังไม่ตาย ก็ย่อมจะไม่มีมรดกตกทอดเพื่อให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกสละได้ ดังจะเห็นได้จากการที่มาตรา 1615 บัญญัติให้การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2501 ต่อมาวันที่ 1 ธันวาคม 2504 ผู้ร้องและเจ้ามรดกได้ทำสัญญากันมีใจความว่า ผู้ร้องไม่ขอเกี่ยวข้องในทรัพย์สินของเจ้ามรดก นอกจากนา 10 ไร่ และยุ้งข้าวครึ่งหนึ่งแล้ว ผู้ร้องยอมสละสิทธิหมดทุกอย่างเท่าที่มีสิทธิจะพึงได้ ต่อมาเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ดังนี้สัญญาดังกล่าวมิใช่เป็นการสละมรดก เพราะได้ทำไว้ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ไม่มีผลกระทบกระเทือนพินัยกรรมของเจ้ามรดกที่ทำไว้ข้างต้น และเมื่อผู้ร้องเป็นผู้เหมาะสม ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย จึงชอบที่จะตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2501 ต่อมาวันที่ 1 ธันวาคม 2504 ผู้ร้องและเจ้ามรดกได้ทำสัญญากันมีใจความว่า ผู้ร้องไม่ขอเกี่ยวข้องในทรัพย์สินของเจ้ามรดก นอกจากนา 10 ไร่ และยุ้งข้าวครึ่งหนึ่งแล้ว ผู้ร้องยอมสละสิทธิหมดทุกอย่างเท่าที่มีสิทธิจะพึงได้ ต่อมาเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ดังนี้สัญญาดังกล่าวมิใช่เป็นการสละมรดก เพราะได้ทำไว้ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ไม่มีผลกระทบกระเทือนพินัยกรรมของเจ้ามรดกที่ทำไว้ข้างต้น และเมื่อผู้ร้องเป็นผู้เหมาะสม ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย จึงชอบที่จะตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คทางไปรษณีย์: การพิสูจน์ข้อห้ามส่งตามระเบียบอธิบดี
พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2483 ไม่ได้บัญญัติว่าเช็คเป็นของมีค่าซึ่งห้ามส่งทางไปรษณีย์ จึงมิใช่ข้อกฎหมายที่ศาลรู้เอง แต่ต้องสืบพยานว่ามีระเบียบข้อบังคับที่อธิบดีวางไว้ตาม มาตรา 21(1)(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้โดยข้อตกลง: เจตนาต่อกันเพียงพอ ไม่ต้องฟ้องแย้งหรือทำเป็นหนังสือ
การหักกลบลบหนี้ซึ่งทำตามข้อตกลงของคู่กรณีนั้น อาจทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อกัน ไม่ต้องฟ้องแย้ง และไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภริยาในสินสมรสก่อนประมวลกฎหมายแพ่งฯ: การลงชื่อในโฉนดที่ดิน
สามีภริยาก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ภริยามีสิทธิร้องขอให้ลงชื่อในโฉนดที่ดินสินสมรสร่วมกับสามีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อค้างชำระ: ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกเงินค้างชำระได้
ข้อตกลงว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง ผู้เช่าซื้อต้องชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ทั้งหมดนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมาย ผู้ให้เช่าซื้อเรียกเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่จดทะเบียน: สัญญาไม่เป็นโมฆะหากมีการดำเนินการจดทะเบียน
ฎีกาที่ว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นโมฆะเสียเปล่า จะฟ้องร้องบังคับมิได้นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่าในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีการับวินิจฉัยให้
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินกัน โดยตกลงกันว่าจำเลยจะจัดการโอนกรรมสิทธิ์ภายในกำหนด 3 เดือน จำเลยผิดสัญญาไม่ไปจัดการจดทะเบียนให้ตามกำหนด โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ไปจัดการจดทะเบียน ดังนี้ สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยหาตกเป็นโมฆะไม่ เพราะอยู่ในระหว่างดำเนินการเพื่อจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้สมบูรณ์
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินกัน โดยตกลงกันว่าจำเลยจะจัดการโอนกรรมสิทธิ์ภายในกำหนด 3 เดือน จำเลยผิดสัญญาไม่ไปจัดการจดทะเบียนให้ตามกำหนด โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ไปจัดการจดทะเบียน ดังนี้ สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยหาตกเป็นโมฆะไม่ เพราะอยู่ในระหว่างดำเนินการเพื่อจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา แม้คำสั่งจะผิดพลาด
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลย และสั่งให้โจทก์ (น่าจะเป็นจำเลย) นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วัน ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดฝ่ายจำเลยเซ็นทราบคำสั่งนี้ ต่อมาอีก 1 เดือนเศษ จำเลยยังไม่นำส่งสำเนาฎีกา ดังนี้ เมื่อแบบพิมพ์ท้ายฎีกามีข้อความว่า "ฯลฯ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว" และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งดังกล่าวในวันที่จำเลยยื่นฎีกานั้นเอง จึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งผิดพลาดไป ควรจะสั่งว่า "ให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์" ก็ตาม แต่ผู้ที่ทราบคำสั่งก็ย่อมจะทราบได้ว่าตามคำสั่งนั้นหมายถึงให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกานั่นเอง เพราะจำเลยเป็นผู้ฎีกา เมื่อจำเลยมิได้นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเช่นนี้ จำเลยจึงทิ้งฟ้องฎีกา ศาลฎีกาจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา และผลของการมีข้อความท้ายฎีกาที่ระบุการรับทราบ
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลย และสั่งให้โจทก์(น่าจะเป็นจำเลย)นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วัน ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดฝ่ายจำเลยเซ็นทราบคำสั่งนี้ ต่อมาอีก 1 เดือนเศษ จำเลยยังไม่นำส่งสำเนาฎีกา ดังนี้ เมื่อแบบพิมพ์ท้ายฎีกามีข้อความว่า "ฯลฯ และรอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว" และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งดังกล่าวในวันที่จำเลยยื่นฎีกานั้นเอง จึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งผิดพลาดไปควรจะสั่งว่า " ให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์" ก็ตามแต่ผู้ที่ทราบคำสั่งก็ย่อมจะทราบได้ว่าตามคำสั่งนั้นหมายถึงให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกานั่นเอง เพราะจำเลยเป็นผู้ฎีกา เมื่อจำเลยมิได้นำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเช่นนี้ จำเลยจึงทิ้งฟ้องฎีกา ศาลฎีกาจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สันนิษฐานความจริงตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ข้อเท็จจริงที่เจ้าพนักงานพบเห็นเองเท่านั้น
บันทึกตาม พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 ซึ่งให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นความจริงตามข้อเท็จจริงในบันทึกนั้น หมายความถึงข้อเท็จจริงที่เจ้าพนักงานพบเห็นเอง ไม่ใช่ข้อที่จำเลยซื้อของไว้จากคนเรืออันเป็นข้อที่จำเลยรับต่อเจ้าพนักงานบันทึกไว้ตามคำรับนั้น