พบผลลัพธ์ทั้งหมด 340 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทผู้รับมรดกต้องรับผิดในหนี้เช็คของผู้ตาย โดยไม่ต้องบอกกล่าวและศาลชอบที่จะงดสืบพยานจำเลยที่ไม่ต่อสู้คดี
โจทก์ยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงิน เมื่อเช็คถึงกำหนดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้สั่งจ่ายได้ทันที ผู้สั่งจ่ายย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 959 ประกอบด้วยมาตรา 989 และมาตรา 204 เมื่อผู้สั่งจ่ายถึงแก่กรรม หน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้ย่อมตกทอดไปยังกองมรดกของผู้ตายโดยผลของกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายต้องรับผิด โดยโจทก์มิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอีก
แม้ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ ลูกหนี้ร่วมที่มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบในประเด็นเรื่องอายุความ
แม้ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ ลูกหนี้ร่วมที่มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบในประเด็นเรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดหนี้เช็ค - ผู้ทรงเช็คมีสิทธิไล่เบี้ยทันทีเมื่อเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์ยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงิน เมื่อเช็คถึงกำหนดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้สั่งจ่ายได้ทันที ผู้สั่งจ่ายย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 959 ประกอบด้วยมาตรา 989 และมาตรา 204 เมื่อผู้สั่งจ่ายถึงแก่กรรม หน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้ย่อมตกทอดไปยังกองมรดกของผู้ตายโดยผลของกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายต้องรับผิด โดยโจทก์มิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอีก
แม้ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ ลูกหนี้ร่วมที่มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบในประเด็นเรื่องอายุความ
แม้ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ ลูกหนี้ร่วมที่มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบในประเด็นเรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จเป็นมรดก, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม, การสืบพยานเรื่องพินัยกรรมปลอม
คดีขอตั้งผู้จัดการมรดก ศาลพิพากษาตามคำท้าว่าเงินบำเหน็จของผู้ตายเป็นมรดก แต่ให้สืบพยานในข้อผู้ร้องเป็นทายาทตามพินัยกรรมและไม่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ดังนี้ ผู้คัดค้านจะสืบพยานว่าพินัยกรรมปลอมดังที่ได้ต่อสู้คดีไว้แต่สละเสียแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมและการจงใจทิ้งฟ้อง ศาลมิถือว่าเป็นการจงใจทิ้งฟ้องหากโจทก์ได้ชำระค่าขึ้นศาลครบถ้วนก่อนการสืบพยาน
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระเพิ่มเติม โจทก์แถลงรับว่าจะนำมาชำระก่อนวันนัดสืบพยานคราวหน้า หากไม่นำมาชำระให้ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป ก่อนวันนัดสืบพยาน 1 วัน โจทก์ขอชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมเพียงบางส่วน ส่วนที่ยังขาดขอขยายเวลาไปอีก 30 วันศาลชั้นต้นไม่อนุญาต โจทก์แถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ รุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันนัด โจทก์ได้นำค่าขึ้นศาลส่วนที่เพิ่มมาชำระจนครบถ้วน ก่อนเวลาศาลจะเรียกเข้าห้องพิจารณาเพื่อดำเนินการสืบพยาน ดังนี้ จะถือว่าโจทก์จงใจทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมและการจงใจทิ้งฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการชำระค่าขึ้นศาลครบถ้วนก่อนการสืบพยาน ไม่ถือเป็นการจงใจทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระเพิ่มเติม โจทก์แถลงรับว่าจะนำมาชำระก่อนวันนัดสืบพยานคราวหน้า หากไม่นำมาชำระให้ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป ก่อนวันนัดสืบพยาน 1 วัน โจทก์ขอชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมเพียงบางส่วน ส่วนที่ยังขาดขอขยายเวลาไปอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต โจทก์แถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ รุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันนัด โจทก์ได้นำค่าขึ้นศาลส่วนที่เพิ่มมาชำระจนครบถ้วน ก่อนเวลาศาลจะเรียกเข้าห้องพิจารณาเพื่อดำเนินการสืบพยาน ดังนี้ จะถือว่าโจทก์จงใจทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิธีคำนวณภาษีเงินได้ที่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 การนำเงินภาษีที่นายจ้างจ่ายแทนลูกจ้างมารวมเป็นเงินได้พึงประเมิน
แม้โจทก์จะมิใช่ผู้มีเงินได้ แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 ที่จะต้องหักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ และจะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนที่ขาดไป ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 ฉะนั้น ในกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้
หนังสือที่ กค.0806/งด.4658 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2513 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้แจ้งให้โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 พร้อมกับชำระภาษีที่ขาดจำนวนภายใน 30 วันนั้น ถือเป็นหนังสือแจ้งการประเมิน เพราะได้แจ้งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้และได้มีการประเมินแล้วว่าโจทก์เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้อง ส่วนหนังสือที่ กค.0804/15759 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2514 นั้น ก็เป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นกัน เพราะหนังสือฉบับนี้มีข้อความว่า "คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ฯลฯ" และลงชื่ออธิบดีกรมสรรพากรในฐานะประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ จึงเท่ากับว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นโดยยื่นฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2)
เงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้ของลูกจ้างผู้ใดนั้น ก่อนที่จะทราบว่าเป็นเงินได้จำนวนเท่าใด ก็จะต้องทราบเสียก่อนว่า ลูกจ้างนั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินของตน (หากนายจ้างมิได้ออกค่าภาษีเงินได้ให้) เป็นจำนวนเท่าใด และภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างจะต้องเสียจำนวนนี้ หากนายจ้างออกให้ ก็จะต้องนำมารวมกับรายได้พึงประเมินเดิมของลูกจ้างเพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นของลูกจ้างผู้นั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 (1) แต่จะคำนวณทำนองนี้ต่อไปซ้ำแล้วซ้ำอีกแบบทศนิยมไม่รู้จบอันเป็นที่มาของสูตรสำเร็จดังที่กรมสรรพากรจำเลยคำนวณหาได้ไม่ เพราะการคำนวณวิธีนั้น จะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีเงินได้ที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ของประมวลรัษฎากร (ตามวรรค 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2518)
หนังสือที่ กค.0806/งด.4658 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2513 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้แจ้งให้โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 พร้อมกับชำระภาษีที่ขาดจำนวนภายใน 30 วันนั้น ถือเป็นหนังสือแจ้งการประเมิน เพราะได้แจ้งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้และได้มีการประเมินแล้วว่าโจทก์เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้อง ส่วนหนังสือที่ กค.0804/15759 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2514 นั้น ก็เป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นกัน เพราะหนังสือฉบับนี้มีข้อความว่า "คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ฯลฯ" และลงชื่ออธิบดีกรมสรรพากรในฐานะประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ จึงเท่ากับว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นโดยยื่นฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2)
เงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้ของลูกจ้างผู้ใดนั้น ก่อนที่จะทราบว่าเป็นเงินได้จำนวนเท่าใด ก็จะต้องทราบเสียก่อนว่า ลูกจ้างนั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินของตน (หากนายจ้างมิได้ออกค่าภาษีเงินได้ให้) เป็นจำนวนเท่าใด และภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างจะต้องเสียจำนวนนี้ หากนายจ้างออกให้ ก็จะต้องนำมารวมกับรายได้พึงประเมินเดิมของลูกจ้างเพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นของลูกจ้างผู้นั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 (1) แต่จะคำนวณทำนองนี้ต่อไปซ้ำแล้วซ้ำอีกแบบทศนิยมไม่รู้จบอันเป็นที่มาของสูตรสำเร็จดังที่กรมสรรพากรจำเลยคำนวณหาได้ไม่ เพราะการคำนวณวิธีนั้น จะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีเงินได้ที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ของประมวลรัษฎากร (ตามวรรค 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิธีคำนวณภาษีเงินได้ที่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 และการใช้ดุลยพินิจของศาล
แม้โจทก์จะมิใช่ผู้มีเงินได้ แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 ที่จะต้องหักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ และจะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไป ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54ฉะนั้น ในกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้
หนังสือที่ กค.0806/งด.4658 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2513 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้แจ้งให้โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 พร้อมกับชำระภาษีที่ขาดจำนวนภายใน 30 วันนั้น ถือเป็นหนังสือแจ้งการประเมิน เพราะได้แจ้งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้และได้มีการประเมินแล้วว่าโจทก์เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้องส่วนหนังสือที่ กค.0804/15759 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2514นั้น ก็เป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นกันเพราะหนังสือฉบับนี้มีข้อความว่า"คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ฯลฯ " และลงชื่ออธิบดีกรมสรรพากรในฐานะประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ จึงเท่ากับว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์โจทก์จึงมีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นโดยยื่นฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)
เงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้ของลูกจ้างผู้ใดนั้น ก่อนที่จะทราบว่าเป็นเงินได้จำนวนเท่าใด ก็จะต้องทราบเสียก่อนว่า ลูกจ้างผู้นั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินของตน(หากนายจ้างมิได้ออกค่าภาษีเงินได้ให้)เป็นจำนวนเท่าใด และภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างจะต้องเสียจำนวนนี้ หากนายจ้างออกให้ก็จะต้องนำมารวมกับรายได้พึงประเมินเดิมของลูกจ้างเพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นของลูกจ้างผู้นั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40(1) แต่จะคำนวณทำนองนี้ต่อไปซ้ำแล้วซ้ำอีกแบบทศนิยมไม่รู้จบอันเป็นที่มาของสูตรสำเร็จดังที่กรมสรรพากรจำเลยคำนวณหาได้ไม่ เพราะการคำนวณวิธีนั้นจะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีเงินได้ที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ของประมวลรัษฎากร (ตามวรรคสาม วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2518)
หนังสือที่ กค.0806/งด.4658 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2513 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้แจ้งให้โจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 พร้อมกับชำระภาษีที่ขาดจำนวนภายใน 30 วันนั้น ถือเป็นหนังสือแจ้งการประเมิน เพราะได้แจ้งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้และได้มีการประเมินแล้วว่าโจทก์เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่ถูกต้องส่วนหนังสือที่ กค.0804/15759 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2514นั้น ก็เป็นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นกันเพราะหนังสือฉบับนี้มีข้อความว่า"คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ฯลฯ " และลงชื่ออธิบดีกรมสรรพากรในฐานะประธานกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ จึงเท่ากับว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์โจทก์จึงมีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นโดยยื่นฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)
เงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้ของลูกจ้างผู้ใดนั้น ก่อนที่จะทราบว่าเป็นเงินได้จำนวนเท่าใด ก็จะต้องทราบเสียก่อนว่า ลูกจ้างผู้นั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินของตน(หากนายจ้างมิได้ออกค่าภาษีเงินได้ให้)เป็นจำนวนเท่าใด และภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างจะต้องเสียจำนวนนี้ หากนายจ้างออกให้ก็จะต้องนำมารวมกับรายได้พึงประเมินเดิมของลูกจ้างเพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นของลูกจ้างผู้นั้น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40(1) แต่จะคำนวณทำนองนี้ต่อไปซ้ำแล้วซ้ำอีกแบบทศนิยมไม่รู้จบอันเป็นที่มาของสูตรสำเร็จดังที่กรมสรรพากรจำเลยคำนวณหาได้ไม่ เพราะการคำนวณวิธีนั้นจะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีเงินได้ที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ของประมวลรัษฎากร (ตามวรรคสาม วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้อนุบาลและการเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งเนื่องจากละเลยหน้าที่ รวมถึงประเด็นอำนาจฟ้องของญาติ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานจากพี่ของมารดาของคนไร้ความสามารถฟ้องขอถอนจำเลยจากเป็นผู้อนุบาล ศาลพิพากษายุติไปแล้วว่าโจทก์ฟ้องได้ในฐานเป็นญาติสนิท จำเลยจะฎีกาในประเด็นข้อนี้ขึ้นมาพร้อมกับประเด็นข้ออื่นอีกไม่ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ศาลฎีกาก็พิจารณาปัญหานี้ไม่ได้ตาม มาตรา 144
ผู้อนุบาลไม่ดูแลคนไร้ความสามารถในเรื่องอาหารการกินและรักษาพยาบาล ศาลเพิกถอนและตั้งผู้อนุบาลใหม่ตามคำฟ้องของญาติสนิทได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นหญิงหม้าย เมื่อโจทก์เบิกความว่าโจทก์มีสามียังไม่ได้หย่า โจทก์ยื่นใบอนุญาตของสามีให้ฟ้องคดี ศาลอนุญาตได้ตาม มาตรา 56
ผู้อนุบาลไม่ดูแลคนไร้ความสามารถในเรื่องอาหารการกินและรักษาพยาบาล ศาลเพิกถอนและตั้งผู้อนุบาลใหม่ตามคำฟ้องของญาติสนิทได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นหญิงหม้าย เมื่อโจทก์เบิกความว่าโจทก์มีสามียังไม่ได้หย่า โจทก์ยื่นใบอนุญาตของสามีให้ฟ้องคดี ศาลอนุญาตได้ตาม มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกและละเมิดจากการรับจ้างทำของ: ความรับผิดนอกฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างทำของ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้าง จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุก จำเลยที่ 1 ตัดต้นไม้ในที่ดินของโจทก์ตามคำสั่งจำเลยที่ 2 เรียกค่าเสียหาย พิจารณาได้ความว่าคนงานของจำเลยที่ 1 ทำละเมิด เป็นเรื่องนอกฟ้องต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1571/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีลักทรัพย์โดยไม่ระบุคำว่า 'ลัก' หรือ 'โดยทุจริต' ยังไม่ทำให้ฟ้องเสีย หากเนื้อหาบ่งชี้เจตนาทุจริต
บรรยายฟ้องคดีลักทรัพย์ว่า จำเลยได้บังอาจร่วมกับ ม.ใช้ค้อนงัดเอาคิ้วทองเหลืองของพื้นตึกของผู้เสียหายไป แม้จะมิได้ระบุคำว่า "ลัก" และคำว่า "โดยทุจริต" ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เสียไป เพราะบรรยายไม่ครบองค์ประกอบความผิด เพราะคำว่า"บังอาจ" กับคำว่า"เอาไป" ประกอบกันก็บ่งอยู่แล้วว่ากระทำโดยทุจริตอยู่ในตัว